KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 600. KM กับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ


เช้าวันที่ ๑๓ ต.ค. ๕๑ ผมไปร่วมประชุมกลุ่มสามพราน   ที่มีการคุยกันเรื่องระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ   แล้วถกเถียงนิยามความหมายของคำ ๕ ๖ คำ    ทำให้ผมได้ความรู้เป็นอันมาก  

คุณหมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ หัวหน้าทีมศึกษาสถานภาพของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในประเทศไทย ได้ให้นิยามของรับบบริการสุขภาพปฐมภูมิในบริบทไทย ไว้ดังนี้

 

เครือข่ายบริการสุขภาพที่ประกอบด้วย สถานพยาบาลที่มีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ประจำในการให้บริการ   เช่น โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก หรือศูนย์แพทย์ชุมชน   และมาสถานีอนามัย หรือหน่วยบริการขนาดเล็ก จำนวนหนึ่ง ที่มิได้มีแพทย์ประจำ เป็นลูกข่ายในการให้บริการ    โยมีพื้นที่และจำนวนประชากรที่ต้องดูแล ชัดเจนกลุ่มหนึ่ง เช่น ๑๐,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ คน   และมีการสนับสนุนเชื่อมโยงกัน โดยอาศัยระบบข้อมูล การส่งต่อ และการสนับสนุนด้านความรู้และทรัพยากร

 

คนที่มีความรู้ และประสบการณ์ตรง เขาถกเถียงกันกว้างขวางมาก   หมอสมศักดิ์มีข้อมูลที่มาจากการวิจัย มานำเสนออย่างน่าตื่นตาตื่นใจ   ซึ่งข้อมูลบางส่วนมีคนบอกว่าปลอม   เป็นตัวเลขยกเมฆจากระบบบริการเอง    แต่อย่างไรก็ตาม ความงดงามของการประชุมมอยู่ที่การมีการทำงานวิจัยเก็บข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เอามานำเสนอเพื่อความเข้าใจเชิงระบบ    และส่วนที่มีการศึกษานำมาเสนอมากที่สุดคือระบบการเงิน และระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยของระบบ

 

ผมให้ความเห็นว่า ข้อมูลที่กลุ่ม นพ. สมศักดิ์ นำมาเสนอเป็นผลของ การสร้างความรู้แบบ conventional research   ได้ข้อมูลที่ normalized ภาพรวม    ตกอยู่ภายใต้ ข้อจำกัดของ reductionism    สิ่งที่ควรทำควบคู่กันไป คือการหาความรู้แนว KM คือเลือกศึกษาโดยแยกแยะระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิออกเป็น ๒ กลุ่ม    คือกลุ่มที่มีผลดีต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างชัดเจน   กับกลุ่มที่ไม่เห็นผล   แล้วจึงเปรียบเทียบรายละเอียดด้านต่างๆ ของ ๒ กลุ่ม   ก็จะได้ความรู้สำหรับขับเคลื่อนระบบต่อไป    แนวที่ ๒ นี้ เป็นแนวสร้างความรู้เพื่อ change management

 

ความเห็นอีกประเด็นหนึ่งที่ผมเสนอ เมื่อ นพ. สมศักดิ์ บอกว่าแผนการดำเนินการต่อไป จะใช้ KM ในการ ลปรร. ระหว่าง CUP ที่มี SS – Success Story จำนวนหนึ่ง    ผมเสนอให้ใช้เครื่องมือ KM ที่ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง (“คุณกิจ”) เกิด Systems Thinking ในเรื่องระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยอัตโนมัติ    เครื่องมือที่ว่านี้ คือ ตารางแห่งอิสรภาพ

 

วิจารณ์ พานิช

๑๓ ต.ค. ๕๑

1.บรรยากาศในห้องประชุม

2. อีกมุมหนึ่งในห้องประชุม

3. อีกมุมหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 219232เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2008 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

First Line Health Services (FLHS)

Primary Care Unit, Primary Care, Primary (Medical) Care

ทั้งๆที่ เป็น Private Practice มีแพทย์ประจำเต็มเวลา

แต่ก็เรียก "Health Services"

Care กับ Services ต่างกันอย่างไร ?

Quality of Care/Services

Health Care=? Health Services=?

http://gotoknow.org/blog/nopadol/199690

Belgium Population : physician = 500:1

Thailand Population : physician = 5,000-10,000:1

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท