ผ่านไปแล้วอีกเทอม


สอน และ สอบ

ผ่านไปแล้วอีกเทอม ระยะเวลาเดินไปเร็วมากนะ สอนไม่ทันไรเด็กๆ ก็ถามว่าจะสอบแล้วหรือ สอนและสอบเป็นของคู่กัน เช่น ครู-นักเรียน อาจารย์-นักศึกษา หรือทำข้อสอบกับเกรดที่จะได้มา แต่อยากเสนออะไรใหม่ๆบางอย่าง เพื่อความคล่องในการบริหารจัดการ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการสอนและสอบ อยากให้พิจารณาประเด็นดังกล่าวด้วย

1) ประเด็นแรก ในการกำหนดตารางเรียนหรือจัดตารางสอนให้อาจารย์แต่ละท่าน เป็นไปได้ไหมที่จะจัดให้มีการสอน 2-3 วันรวบเลย หลังจากนั้น อาจารย์ก็จะได้ใช้เวลาที่เหลือเพื่อใช้ในการทำวิจัยหรือบริการวิชาการให้สังคมอย่างเต็มที่ ไม่ใช่วันนี้มีสอน 1 ชั่วโมง พรุ่งนี้อีก 2 ชั่วโมง วันถัดไปอีก 3 ชั่วโมง วันรุ่งขึ้นอีก 5 ชั่วโมง แล้วสำหรับอาจารย์ที่สอน 12 คาบ หรือมากกว่านั้น จะเอาเวลาไหนไปทำวิจัย เขียนบทความวิชาการ หรือบริการความรู้ที่มีอยู่ให้แก่สังคม อีกอย่างความพร้อมของหนังสือในห้องสมุดของเราก็จำกัด จะเขียนงานวิชาการครั้งใดต้องวิ่งไป มอ. (ไปเช้า ตอนบ่ายกลับมาสอน ไม่ไหวเหมือนกันครับ)
2) ประเด็นที่สอง การจัดตารางคุมสอบ อยากให้มีการประเมินใหม่ครับ ใช่สามารถคุมสอบได้แค่คนเดียว หากมีกิจธุระต้องเข้าห้องน้ำ หรือ นศ. ขอกระดาษคำตอบเพิ่ม แล้วต้องวิ่งลงข้างล่างหละ (ทำไงดี) อาจารย์คุมมีแค่คนเดียว อีกอย่างถ้าจัดตารางคุมสอบให้เป็นเช้า-บ่าย เลยได้ไหม จะเป็นการดี จะช่วยประหยัดค่าน้ำมันสำหรับอาจารย์ที่บ้านอยู่ไกล ไม่จำเป็นต้องมาคุมสอบทุกวัน เพราะสุดท้ายอาจารย์ก็มีการสับเปลี่ยนตารางคุมสอบกันเอง (อยู่ดีแหละน่า) ปัญหา หากเราเปลี่ยนกับคนอื่นแล้ว ในวันดังกล่าวเขาไม่มา แล้วใครรับผิดชอบ ใครเสียหาย เพราะชื่อผู้คุมที่หน้าซองจะปรากฎอยู่ทั้งๆที่เรานั้นได้เปลี่ยนไปคุมในวันอื่นแล้ว รู้แล้วว่าอาจารย์คุมบริหารวัน เวลาอย่างไร ทำไมเราไม่บริหารจัดการให้เสร็จเสียเลย คือจัดให้มีการคุมเช้า-บ่าย 4/5 วันก็เปลี่ยนเป็นอาจารย์ท่านอื่นทำหน้าที่อีก
เห็นด้วยหรือป่าว อย่างไร คอมเมนต์ได้เลยครับ
แต่ละคนมีมุมมองที่ต่างกันครับ

หมายเลขบันทึก: 219020เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2008 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คุณครู.....สู้ ๆ ๆ ครับ ลองจัดระเบียบเวลาดูสิครับ ...จากผู้จัดสถานการณ์การเรียนการสอน

เรื่องการคุมสอบ พอดีมีโอกาสเข้าประชุมระดมปัญหา (เมื่อวาน) จะบอกว่า มีการพูดคุยเรื่องการให้คุมจำนวนน้อยลง ไม่ก็ให้อยู่ในวันเดียวกัน (สองวิชา เช้าบ่าย)

แต่ไม่ได้เพื่อให้เค้าไม่ต้องมาทำงาน เพราะการมาทำงาน เป็นหน้าที่หลักอยู่แล้ว หากวันนั้นคุณไม่คุมสอบ หมายถึง คุณก็ทำงานอื่นๆ (ตรงนี้ คงต้องไปดูภาระงานของอาจารย์ นั่นคือ การสอน วิจัย บริการวิชาการ บริการสังคม ฯลฯ) ซึ่งนี่ รวมๆ อยู่ใน ห้าวันทำการ และหากเราต้องทำวิจัยนอกสถานที่ อันนี้ก็ต้องมีลายลักษณ์อักษรชัดเจน

เรื่องการคุมแทน เวลาคนที่มาแทน คุม ก็เซ็นต์ชื่อตัวเองที่หน้าซอง แล้ววงเล็บว่าแทน อันนี้ก็ชัดเจน เข้าใจว่า หลายคนปฏิบัติเช่นนี้

เรื่องคุมเยอะ คุมแทน ฯลฯ ยังไม่ใช่ปัญหาหนัก หากเทียบกับการมาคุม ทุกอย่างพร้อม แต่ข้อสอบไม่มี อันนี้เป็นปัญหาที่มันไม่ควรเป็นปัญหาเลยก็ว่าได้ และมันก็เป็นอย่างนี้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า กับสถาบันเล็กๆ มันชี้ให้เห็นถึงอะไรที่ชัดมาก ...(ถึงมากที่สุด)

...

ผมเห็นด้วยกับ อ.มะดาโอะ ครับในหลายประเด็น เพราะถ้าคนที่ไม่เคยประสบปัญหาอย่างที่อาจารย์ว่าด้วยตัวเอง จะเข้าใจไม่รู้ซึ้ง ไม่ใช่ไม่เข้าใจนะครับ แต่จะเข้าใจไม่รู้ซึ้งเท่ากับคนที่ประสบเอง ผมเองก็เป็นคนนึงที่ประสบเรื่องปัญหาการหาข้อมูลหนังสือ ยิ่งอยู่ในช่วงต้องค้นคว้าทำวิทยานิพนธ์ อีกทั้งวิจัย และภาระงานสอน ปาเข้าไปกว่า ๒๐ คาบ คงไม่ต้องพูดถึงว่าต้องบริหารเวลาอย่างไร ไปกลับๆ แถมมีสอนเช้า ๗ โมงเลิก ๖ โมงแทบทุกวันที่มีสอน จะเปลี่ยนกับใครก็ไม่ได้เพราะมีคนเดียว เป็นแบบนี้มาแล้วกว่า ๒ ปีครับ

ส่วนประเด็นคุมสอบ ในกรณีคุมคนเดียว อันนี้ผมเห็นด้วยครับ เพราะผมก็โนคุมคนเดียวอยู่แทบทุกเทอม อย่างที่อาจารย์ว่า ปวดปัสสาวะ กระดาษไม่พอทำไง ต้องกลั้นไว้ครับ และของผมเจอคุมกับอาจารย์อาหรับบ่อยมากครับ พูดอังกฤษก็งูๆปลาๆแล้วเจอคุมกับคนที่ต้องพูดภาษาอาหรับ ยิ้มอย่างเดียวครับ โดนแทบทุกเทอมครับ เทอมละหลายวันด้วย ก็ขอให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยพิจารณาแล้วกันครับ

ความคิดเห็นที่แตกต่างคือการพัฒนาหากดูที่เหตุผล ความคิดเห็นที่เหมือนกันคือแรงผลักดันให้เกิดพลวัตรในการทำงานครับ...ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ทุกคนครับสำหรับคนทำงาน ทุกๆๆการงานของเราจะได้รับการตอบแทนครับ

หวังว่าเทอมนี้คงมีวันหยุดเหมือนคนอื่นๆเค้าบ้างนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท