บทเรียนที่ได้จากหนังสือ “สุดทางทุกข์”


. . .ไม่มีการฆ่าใดที่ชอบธรรม ไม่มีความต่างระหว่างความรุนแรงฝ่ายดีกับความรุนแรงฝ่ายเลว และไม่มีสงครามใดที่มีคุณธรรม . . .

         หนังสือ สุดทางทุกข์ หรือ “At Hell’s Gate” ที่ผมเพิ่งอ่านจบไป เป็นหนังสือที่ได้รับมาจากคุณอัฐพงศ์ เพลินพฤกษา สำนักพิมพ์ Oh My God เนื้อหาเป็นเรื่องราวของทหารอเมริกันที่ผ่าฟันเอาชีวิตรอดมาจากสงครามเวียตนามได้ หากแต่ว่าภายในกลับบอบช้ำๆ เหลือคณา ต้องผ่านการบำบัดรักษาต่างๆ นานา จนกระทั่งได้มาพบธรรมะในพระพุทธศาสนาที่สอนว่า ให้เริ่มต้นด้วยการพิจารณาทุกข์ ไม่ใช่ให้วิ่งหนีมันไป

        

         ในหน้า 64 มีข้อความตอนหนึ่งว่า . . .

         . . . ถ้าเราไม่ตระหนักถึงธรรมชาติอันละเอียดอ่อนซับซ้อนของความทุกข์ ไม่ว่าจะทุกข์กับอะไรก็ตาม ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดการเยียวยาและการเปลี่ยนแปลงภายในขึ้น และเราจะยังคงสร้างเสริมเติมต่อความทุกข์นั้นไม่สิ้นสุด แล้วก็ส่งผ่านความทุกข์ต่อไปยังคนอื่นๆ 

         การเยียวยาที่ว่านี้ มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการฟัง ดังที่กล่าวไว้ในหน้า 171 ว่า . . .

         . . . ขอให้เรามารับฟังกันและกันเถิด รับฟังอย่างแท้จริงโดยไม่พยายามจะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสิ่งใด ขณะฟังขอให้เปิดใจและแสดงไมตรีจิตออกไป นี่คือการเริ่มต้นสู่ทางแห่งการเยียวยา แม้เราอาจคิดว่าตัวเองรู้แล้วว่าจะรับฟังอย่างไร แต่บ่อยครั้งยามคนอื่นพูด เราไม่ได้กำลังรับฟังอย่างแท้จริง หากแต่จะคอยตัดสินสิ่งที่อีกฝ่ายพูด หรือไม่ก็ปกป้องตัวเอง มีปฏิกิริยาตอบโต้ ให้คำชี้แนะ หรือหาทางควบคุมสถานการณ์ในทางใดทางหนึ่ง ดังนั้นการรับฟังอย่างมีวินัยจึงมีประโยชน์อย่างยิ่ง

         อีกข้อความหนึ่งที่ โดนใจ ผมค่อนข้างมาก ท่านผู้เขียน (คล้อด อันชิน ธอมัส) เขียนไว้ในตอนเกริ่นนำว่า . . .

         . . .ฉันพบว่าไม่มีการฆ่าใดที่ชอบธรรม ไม่มีความต่างระหว่างความรุนแรงฝ่ายดีกับความรุนแรงฝ่ายเลว และไม่มีสงครามใดที่มีคุณธรรม สงครามเป็นเพียงการระเบิดออกของความทุกข์ระทมเท่านั้น

         หากมองสถานการณ์เมืองไทยที่กำลังเป็นไปในขณะนี้ ผมหวังว่าความทุกข์ระทมที่เรามีกันอยู่คงจะไม่ระเบิดออกมาเป็นอะไรที่รุนแรง เพราะอย่างที่ คล้อด อันชิน ธอมัส เตือนสติแล้วไว้แล้วว่า . . .

          . . .ไม่มีการฆ่าใดที่ชอบธรรม ไม่มีความต่างระหว่างความรุนแรงฝ่ายดีกับความรุนแรงฝ่ายเลว และไม่มีสงครามใดที่มีคุณธรรม . . .

หมายเลขบันทึก: 218870เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2008 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

วันนี้  ครูอ้อย มานั่งฟังอาจารย์ 2 วิชาแล้วค่ะ

ดีค่ะ  ทำให้ได้คิด  อย่างมีสติ  ยับยั้งอัตตา บ้างนะคะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์สบายดีนะคะ

สวัสดีครับ

  • เป็นสาระธรรมที่มีคุณค่า น่าพิจารณานำมาใส่ใจกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะชอบเสื้อสีอะไร
  • ท่านทั้งหลายที่ยังมากด้วยความหลง กำลังมาถึงบริเวณที่เรียกได้ว่า “At Hell’s Gate” กันแล้ว
  • ก้าวต่อไปอีกนิดก็คงได้รู้รสชาติเมื่อผ่าน Hell’s Gate เข้าไปแล้ว
  • แต่ถ้าสติมา ปัญญาเกิด จุดที่ท่านยืนกันอยู่ก็จะกลายเป็นที่ “สุดทางทุกข์” ได้ไม่ยากเย็น 
  • หยุดและทบทวนกันเถอะครับ .. กงจักร กับ ดอกบัว ไม่ได้คล้ายคลึงกันจนสติปัญญาของสัตว์ใจสูง(มนุษย์)อย่างท่าน แยกแยะไม่ได้มิใช่หรือ
  • ขอจงมีปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางให้ท่านนักสู้ทั้งหลาย ได้เข้าใกล้ที่อันเป็น “สุดทางทุกข์”  กันให้ยิ่งๆขึ้นไปด้วยเถิด
  • ขอบพระคุณครับ

ขอบคุณอาจารย์ Handy ที่กรุณาตอกย้ำ ทำให้เราได้สติ เพราะ ณ วินาทีนี้ คงไม่มีใครเตือนเราได้ หากเราไม่เตือนตัวเราเอง

ความทุกข์ระทมที่เรามีกันอยู่คงจะไม่ระเบิดออกมาเป็นอะไรที่รุนแรงได้เลย เพราะพวกเราใช้วิธีการแบบ "อหิงสา"

แต่ที่ระเบิดออกมาคือ รัฐบาลและตำรวจที่สั่งฆ่าพวกเรา

อ่านที่คุณจ๋าเขียนมา ผมไม่ค่อยชอบคำว่า "พวกเรา" เท่าใดนัก . . . ตอนนี้กำลังดูจิต เห็นความหงุดหงิดที่เกิดขึ้นในใจตัวเอง

แต่ถึงอย่างไ รก็ยังเชื่อในคำเตือนของ คล้อด อันชิน ธอมัส ที่ว่า . . . “ไม่มีการฆ่าใดที่ชอบธรรม ไม่มีความต่างระหว่างความรุนแรงฝ่ายดีกับความรุนแรงฝ่ายเลว และไม่มีสงครามใดที่มีคุณธรรม . . .”

ขอบคุณที่นำบทความที่เหมาะสมกับสถานการณ์มาให้อ่าน มีหลายคนที่เคยเลือกฝ่ายแล้วถอยหลังออกมาจำนวนมาก เพราะการมาหยุดจะได้มีเวลาทบทวนและจิตเบิกบานทำให้ปัญญาเกิดขึ้นจริง ๆ การยอมรับฟังก่อนนำความคิดของตนไปตัดสินก่อนการรับฟังกระทั้งจบอาจผิดพลาด และไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อธิบาย ปัญหาจึงไม่ถูกแก้ไข ดังนั้นช่วยกันฟังด้วยความตั้งใจและให้โอกาสผู้รับฟังได้พูด หากมีเหตุผลก็รวมกันแก้ไข พยายามพูดเรื่องในอนาคตที่เอาอดีตที่ไม่ดีมาเป็นบรรทัดฐาน

สวัสดีครับ

 

“ . . .ไม่มีการฆ่าใดที่ชอบธรรม ไม่มีความต่างระหว่างความรุนแรงฝ่ายดีกับความรุนแรงฝ่ายเลว และไม่มีสงครามใดที่มีคุณธรรม . . .”

• นับเป็นข้อคิดที่ดีมาก ๆ ครับ

ขอบคุณ คุณนิด สำหรับแง่คิดและคำแนะนำดีๆ ที่ว่า ". . . หยุดจะได้มีเวลาทบทวนและจิตเบิกบานทำให้ปัญญาเกิดขึ้นจริง ๆ การยอมรับฟังก่อนนำความคิดของตนไปตัดสิน . . ."

สวัสดีครับอาจารย์

อีกตอนหนึ่งจากเล่มนี้ที่สะกิดใจผมก็คือ "สงครามมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นนอกตัวเรา แต่เป็นส่วนขยายของพวกเราเอง"

ผมก็ชอบขอความนี้ เพราะทำให้ได้ตระหนักว่า เราเองก็มีสงคราม "ภายในใจ" เราตลอดเวลา เราทุกคนล้วนเป็นสาเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้งที่แสดงออกมาในสังคม !!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท