Games Science - วิทยาศาสตร์ของเกมส์ (ตอนที่ 1)


 

สวัสดีครับ เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2551 ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม Department of Games Science ของ Tokyo Polytechnic University (TPU) ซึ่งรายละเอียดในการเข้าชมในครั้งนี้นั้น ผมขอนำมาเล่าในตอนหน้าครับ แต่สำหรับตอนแรกนี้ผมจะเล่าเกี่ยวกับศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง ที่ทำงานอยู่ในภาควิชาเกมส์ ของมหาวิทยาลัยนี้ครับ ท่านชื่อว่า ศาสตราจารย์ Toru Iwatani ซึ่งท่านเพิ่งย้ายเข้ามาอยู่ที่ TPU เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 นี้เอง (ก่อนหน้านี้ท่านทำงานในบริษัท Namco Bandai ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นในการผลิตและขายเกมส์ตู้หยอดเหรียญทั้งหลาย นั่นแหล่ะครับ) พร้อมๆกับการเปิดภาควิชาใหม่ Department of Games ของมหาวิทยาลัยนี้ จะว่าไปแล้วภาควิชานี้ก็เปิดขึ้นมาเพื่อต้อนรับท่านนั้นแหล่ะครับ ความสำคัญของท่านต่อโลกของเกมส์หรืออุตสาหกรรมเกมส์ (Game Industry) หากผมเอ๋ยขึ้นมา ท่านผู้อ่านก็จะร้องอ๋อเลยครับ เพราะศาสตราจารย์ Toru Iwatani เป็นผู้คิดค้นเกมส์ Pac-Man ที่โด่งดังนั่นเอง ท่านได้รับสมญานามว่าเป็น บิดาของวีดิโอเกมส์ ท่านเริ่มต้นทำงานที่บริษัท Namco ในปี ค.ศ. 1977 ในเวลาแค่ 3 ปีท่าน คือปี ค.ศ. 1980 ได้คิดค้นเกมส์สะท้านโลก Pac-Man ซึ่งระบาดไปทั่วโลกเลยในสมัยนั้น เกมส์ Pac-Man ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของ Popular Culture แห่งยุค 80 เชียวครับ เพราะมันก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางสังคมหลายๆด้าน ที่หล่อหลอมผู้คนรวมทั้งวัยรุ่นในยุคนั้น เรียกว่า 94% ของคนที่เล่นเกมส์ในสมัยนั้นต้องเคยเล่นเกมส์นี้ ซึ่งตั้งแต่นั้นมาก็ยังไม่เคยมีเกมส์อะไรที่ทำได้แบบนี้เลยนะครับ


ก่อนที่ศาสตราจารย์ Toru Iwatani จะย้ายจากบริษัท Namco มาอยู่ที่ Tokyo Polytechnic University (TPU) นั้น ท่านได้เป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทนี้ ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า ตลอดเวลา 30 ปีที่ท่านทำงานอยู่ในบริษัทนี้นั้น แม้ท่านจะยังรักในการพัฒนาเกมส์ แต่ก็ต้องตัดใจ มาทำงานที่ท่านคิดว่าสังคมต้องการให้ท่านทำ นั่นคือมาเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ ที่จะเป็นนักออกแบบเกมส์ใหม่ๆ ในอนาคต ท่านได้กล่าวว่า "ผมรู้สึกว่าเด็กหนุ่มสาวสมัยนี้ มีความลุ่มหลงต่อเกมส์กว่าแต่ก่อนมาก และผมก็ตระหนักว่าการศึกษาในเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญ ดังนั้นเมื่อ TPU เสนอมาว่าจะตั้งภาควิชาเกมส์ขึ้น และต้องการให้ผมไปสอนที่นั่น ผมก็ตัดสินใจรับในทันทีครับ"


ตอนหน้าผมจะมาเล่าต่อนะครับ ..... วิทยาศาสตร์ของเกมส์ จริงแล้วก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของ การแต่งงานระหว่างวิทยาศาสตร์ กับ ศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในทศวรรษต่อไปครับ ..........
(ภาพบน: เกมส์ Pac-Man ได้เป็นสัญลักษณ์ของ Popular Culture ในยุค 80 และกลายเป็นงานศิลป์ที่จัดแสดงในปารีส)

 

หมายเลขบันทึก: 218630เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2008 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 05:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เปิดเรื่องมาได้น่าสนใจมากครับ ญี่ปุ่นมักมีสาขาวิชาแปลกใหม่ๆ แต่ทันสมัยและนำหน้าจริงๆครับ จำได้ว่าเมื่อหลายปีก่อน ญี่ปุ่นก็เป็นประเทศแรกที่มีสาขาแมคคาทรอนิกส์ เป็นการรวมศาสตร์หลายสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ ผนวกเข้ากับวิศวกรรมศาสตร์หลายสาขา โดยเฉพาะเครื่องกล อิเล็กทรอนกส์และคอมพิวเตอร์

และขอนับถืออาจารย์ Toru Iwatani จริงๆ ที่ยอมสละความรัก ความสุขในการสร้างเกม มาสอนลูกศิษย์รุ่นใหม่ๆ ถือเป็นการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม และอนาคตอย่างมาก

จะติดตามมาอ่านเรื่อยๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท