กายภาพบำบัดชุมชน


เรียนทุกท่าน ดิฉันได้จัดทำ blog นี้ ขึ้นเพื่อให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพ ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ และถือเป็นแหล่งรับฟังความคิดเห็นจากนักกายภาพบำบัดทั่วประเทศ  เกี่ยวกับการพัฒนางานกายภาพบำบัดให้ครอบคลุมไปยังประชาชนทั่วทั้งประเทศ...
มีต่อ

เรียนถามอ. เกี่ยวกับเรื่อง อัตราการมาตามนัด ในกลุ่ม ภาวะfrozen sh 2 ภาวะปวดจากm . , tendon 3 อัมพาตครึ่งซีก

ระยะเวลาเท่าไร ที่จะบอกว่าการที่ผู้ป่วยขาดนัด ไม่มาตามนัดกี่วัน จึงจะส่งผลทำให้อาการฟื้นตัว อาการของโรคผู้ป่วยหายช้าลง ขอข้อมูลอย่างละเอียดค่ะอาจา่รย์ ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

เรียน อ.ปนดา และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน

หนูอยากทราบเกี่ยวกับการทำกายภาพบำให้แก่ผู้พิการ ในกรณีที่แอดมิทในโรงพยาบาล เราสามารถคีย์การให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพในเว็บ สปสช.ได้มั๊ยค่ะ ซึ่งตอนนี้หนูงงมากว่าจะไปเกี่ยวข้องกับค่า DRG ด้วยมั๊ย อีกอย่างหนูยังไม่เข้าใจค่า DRG เลยค่ะ

อยากได้ตัวอย่างการสรุปผลงานกายภาพบำบัดที่ต้องส่งให้ สปสช. รบกวนส่งให้ที่ เมลล์ [email protected] จะขอบพระคุณมากค่ะ

เรียน อ.ปนดา และพี่ ๆ เพื่อน ๆ นักกายภาพบำบัดค่ะ

หนูขออนุญาตเรียนปรึกษาอาจารย์ เรื่องการเขียน service profile ค่ะ จากที่หนูได้ลองศึกษาการเขียนของหลาย ๆ รพ. นะคะ รพ.ส่วนใหญ่จะเขียนในรูปแบบที่เขาเซ็ตแผนกเรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับ รพ.ชุมชนที่หนูอยู่ ตอนนี้ยังไม่มีแผนก ไม่มีห้อง ไม่มีเครื่องมือใด ๆ ทั้งสิ้น ตอนนี้หนูก็ดูแลคนไข้ผู้พิการ, stroke ตามบ้าน (ออกชุมชน) เป็นหลัก เนื่องจากในรพ.หมอไม่ค่อยส่ง consult (เนื่องจากยังไม่มีอุปกรณ์ด้วยค่ะ) หนูก็เลยอยากขอแนวทางในการเขียน service profile ให้เหมาะสมกับงานของหนูน่ะค่ะ

ขอบคุณ อาจารย์ล่วงหน้ามาก ๆค่ะ (หนูทราบว่างานอาจารย์เยอะมาก คงไม่ค่อยมีเวลา แต่หนูไม่รู้จะปรึกษาใคร จริง ๆค่ะ )

e-mail : [email protected] ค่ะ

เรียน อ.ปนดา

หนูเปงนักกายภาพบำบัด รพ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งหนูมาเปิดแผนกใหม่ที่นี่ค่ะอาจารย์

หนูมีเรื่องสงสัย

1. การคีข้อมุลลงเกี่ยวกับค่าบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่ว่า เคสละ 150 นะครับ ก่อนอื่น PT ต้องขอ USERNAME and PASSWORD เห็นว่าต้องทำหนังสือให้ ผอ. เซ็นต์นี่ต้องทำแบบไหนค่ะ

2. หนูอยากขอหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง ค่าตอบแทนการออกชุมชน ค่ะ แล้วเราต้องทำเป็นโครงการไหมคะ คือตอนนี้หนูออกชุมชนร่วมกับกลุ่มเวชปฎิบัติค่ะ

3. ถ้าที่ รพ. ดูแลเรื่องการทำรองเท้าเบาหวานให้กับผู้ป่วยมีค่าตอบแทนอาไรให้บางคะ

ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ตอบกลับที่เมล [email protected]

ด้วยความเคารพอย่างสูง

กัลยา

เรียนอาจารย์ปนดาครับ ผมมีปัญหาเกี่ยวกับระบบข้อต่ออ่ะครับ มีปัญหาหนักที่สุดบริเวณกาม จะมีเสียงดังกึกๆเวลาอ้าปากโดยเฉพาะเวลาทานอาหารอ่ะครับ ปรึกษาเพื่อนที่เค้าเรียนสหเวชเค้าให้ลองมาปรึกษาอาจารย์ดูอ่ะครับ ไม่ทราบว่าคลินิคอาจารย์อยู่ที่ไหนครับและเปิดเวลากี่โมงครับ

ขอขอบคุณไว้ล่วงหน้าครับ

e-mail : [email protected]

เรียนคุณรุ้งกานต์ พลายแก้ว

คุณสามารถติดต่ออาจารย์ได้ที่ e-mail : [email protected] ค่ะ

ปนดา

ตอบ post ที่ 801

เรื่องที่จะตอบว่าการรักษาโรค ควรให้ผู้ป่วยมาพบกี่ครั้งต่อสัปดาห์ จึงจะได้ผล ถ้าขาดไปกี่ครั้งแล้วไม่ได้ผลนั้น มันตอบยาก เพราะมันก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง คือ 1.เราได้ให้โปรแกรมการรักษาทีบ้านได้อย่างเหมาะสมหรือไม่

2.ผู้ป่วยทำตามคำแนะนำหรือไม่ 3. มีเหตุการณ์อะไรที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่แย่ลงหรือไม่ 4. ชนิดของพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่ออ่อนนั้นๆ เป็นชนิดใด 5. ผู้ป่วยมีอาการมานานแค่ไหนแล้ว

สรุปคือขึ้นอยู่กับ 3 อย่างคือ ผู้ป่วย นักกายภาพ และพยาธิสภาพ

แต่ถ้าจะอิงหลักฐานงานวิจัย ก็พอจะเป็นหลักฐานได้เหมือนกัน แต่ก็ต้องทำการทบทวนวรรณกรรมนะคะ ว่าจากหลักฐานเชิงประจักษ์ เขาแนะนำว่าผู้ป่วยโรคนั้น โรคนี้ เขาควรจะใช้โปรแกรมอะไรรักษาดี และควรดูแลรักษาสัปดาห์ละกี่ครั้ง เป็ฯเวลากี่สัปดาห์

เท่าที่อาจารย์เคยได้ร่วมทำ CPG ของปํญหา Frozen shoulder น่าจะมีบอกไว้นะคะ กรุณาเข้าไป download CPG ของ frozen shoulder ที่หน้า web สภากายภาพบำบัดได้ค่ะ ถ้าไม่ได้ก็บอก e-mail มาจะส่งไปให้ค่ะ

ปนดา

สำหรับท่านที่มีปัญหา เรื่องการคีย์ข้อมูลผ่านระบบของสปสช. ขอให้สอบถามโดยตรงไปยังคุณกิตติ สมบรรดา ตามที่อยู่และเบอร์โทรข้างล่างนี้โดยตรงเลยนะคะ

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

มือถือ: 0860559353

e-mail:[email protected]

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

สำหรับคุณธวัชชัย post 806

คุณสามารถเข้าไปศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำได้จาก web ที่อาจารย์เผยแพร๋ ที่ http://gotoknow.org/blog/spinal-clinic/129447?page=16

ช่วงนี้อาจารย์ยุ่งมากๆ เพราะกำลังเตรียมสอบวิทยานิพนธ์ ขอให้น้องศึกษาด้วยตนเองไปก่อนนะ เพราะมีคนจำนวนมากที่เป็นแบบน้อง อาจารย์ได้เคยให้คำแนะนำไปแล้ว อาจารย์ยังไม่ได้กลับไปทำงานทางคลินิก คิดว่าจะกลับไปประมาณ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ คิดว่าถึงเวลานั้นน้องคงจะมีอาการดีขึ้นมากแล้วล่ะค่ะ

ปนดา

ตอบ post 804 สำหรับน้องที่ปรึษาเรื่อง service profile ก็ดูตัวอย่างขอพี่ๆ แล้วก็เขียนไปตาม format แต่เนื้อหาก็ควรเขียนตามงานที่เราทำจริง จะดีกว่า ลองโทรไปปรึกษาพี่กิตติ ดูไหม

ส่วนอาจารย์จะส่งตัวอย่างไปให้อีกแบบหนึ่งนะ

ปนดา

อาจารย์ค่ะอยากให้อาจารย์ช่วยเขียนjobงานบทบาทของพีที ที่อยู่รพสตหรืออนามัยให้หน่อยค่ะพอดีหัวหน้าอนามัยต้องการแต่หนูไม่ทราบว่างานกายภาพในรพสตที่เด่นชัดทำไรได้บ้างรบกวนอาจารเขียนร่างให้หนูหน่อยนะค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

CPG ของปํญหา Frozen shoulder , (hemi , ภาวะpain)เข้าไป ที่หน้า web สภากายภาพบำบัดไม่เจอค่ะ หนูคงต้องรบกวนให้อาจรย์ส่งแล้วล่ะค่ะ

e-mail [email protected] ขอบพระคุณค่ะอาจารย์

น.ส.จริยา สมุหเสนีโต

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดิฉัน จริยา สมุหเสนีโต เป็นPTรพช. รพ.กงหรา จ.พัทลุง เริ่มทำงานได้ประมาณ 4 เดือนแล้วค่ะ เรื่องงาน/หน้าที่ค่อนข้างลงตัว

ค่ะแต่ที่มีปัญหาคือ เรื่องการทำService Profile ของงานกายภาพบำบัด, CPG การออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย, CPG อื่นๆๆที่เกี่ยวกับงาน/โรคทางกายภาพ, งานควบคุมภายใน และงานความเสี่ยงทางกายภาพบำบัด หนูยังไม่มีแนวทางเลยค่ะ จึงอยากจะรบกวนอาจารย์ชี้แนะ

หากมีเอกสาร/ไฟล์ที่เกี่ยวข้องรบกวนอาจารย์ส่งมายัง [email protected] หรือ กภ.จริยา สมุหเสนีโต (รพ.กงหรา164 ม.8 ต.คลองทรายขาว จ.พัทลุง 93180) และหนูได้อ่านโพสต์ด้านบนพบว่ามีCPGเรื่องการงดยาสูบ ซึ่งหนูกำลังมีส่วนเกี่ยวด้วยในโครงการนี้ที่รพ. รบกวนอาจารย์อีกด้วยน่ะค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้ามากเลยค่ะ อาจารย์เป็นที่พึ่งของเราชาวPTจริงๆ

เคารพอย่างยิ่ง

กภ.จริยา สมุหเสนีโต

ตอบคุณจิราภรณ์

สำหรับเรื่องบทบาทของงาน PT ในชุมชน อาจารย์คงจะยังไม่สามารถเขียนให้คุณได้แต่จะรับไว้พิจารณาในคณะทำงานกำลังคนระบบปฐมภูมินะคะ แต่ในเบื้องต้น อาจารย์อยากให้คุณพยายามเขียนด้วยตนเองก่อน โดยคิดถึงบทบาทของงานเราในด้าน การส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู และงานของเราก็ครอบคลุมหลาย field ไม่ว่าจะเป็นทาง ortho neuro chest pedriatic sport และถ้าพูดถึง กลุ่ม population งานเราก็ทำได้เกือบทุกวัยตั้งแต่เด็กอยู่ในท้อง คลอดออกมา วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ น้องก็ลองคิดดูว่าน้องอยากทำอะไร อย่างไรแค่ไหน โดยดูจากความต้องการของชุมชนเป็นหลักด้วย ถ้าเขียนเป็นกรอบกว้างๆ ก็คงจะมีประมาณนี้

ปนดา

สำหรับ CPG เรื่องการงดบุหรี่ สามารถ download ได้ที่ http://www.pt.or.th/download_center.php

ส่วน CD Kit ความรู้จะส่งไปให้ทางไปรษณีย์นะคะ มีใครยากได้อีกไหมจะได้ไปทีเดียวค่ะ

ส่วนเอกสารอื่นๆที่ขอมาจะจัดให้ทาง e-mail ค่ะ

ปนดา

CPG ของทาง hemi ขอไปที่รพ.ประสาทนะคะ

เขามีแน่นอน

ปนดา

เรียน อ. ปนดาและผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน

หนูได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเรื่องงานผู้พิการทั้งเรื่องการฟื้นฟูและรวมไปถึงสั่งซื้อกายอุปกรณ์ผู้พิการ จะสอบถามเรื่องบริษัทที่จัดจำหน่ายกายอุปกรณ์ให้แก่ผู้พิการ และอยากทราบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วผู้พิการ paraplegia ใช้รถเข็นแบบไหน เนื่องจากเขตหนูยังไม่มีราคากลางของ wheelchair และสอบถามไปทางเขตแล้ว เค้าบอกว่าตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการประชุมดำเนินการเรื่องราคากลาง ถ้าจะสั่งซื้อ wheelchair ก้อให้สอบถามราคาจากหลายๆบริษัท แล้วก้อเทียบให้เป็นราคากลางไปก่อน

อ. ค่ะ ขอรวบกาวนให้ทางสภาช่วยตรวจสอบข้อสอบอีกที และช่วยดูว่ามีความผิดพลาดอะไรเกิดขึ้น หนูเป้นคนหนึ่งทีสอบไม่ผ่าน ผลออกมาอย่างนี้ หนูรู้สึกแย่จริงๆ หนูมั่นใจว่าหนูทำข้อสอบได้และต้องสอบผ่านแน่นอน นับตั้งแต่รู้ผลหนูไม่สามารถทำอะไรต่อได้เลย

เรียนอาจารย์ปนดา

เมื่อวานนี้ รพ.ของผมรับการประเมินเอชเอ ขั้นสาม จาก สรพ. อาจารย์เข้าประเมินงานกายภาพบำบัดด้วยครับ บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนาน เน้าclinal population และการตามรอย RCA กระบวนการดูแลให้การรักษาทางกายภาพบำบัด การเชื่อมโยงกับทีมนำด้านอื่นๆ การส่งเสริมสุขภาพสูงอายุ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และการป้องกันงานเบาหวาน จากการประเมินภาพรวมอาจารย์พึงพอใจกับงานกายภาพบำบัดมากครับ หลังจบการประเมิน จนท รพ ที่ตามอาจารย์ต่างก้อยกนิ้วให้ผมทิ้งท้ายก่อนเดินจากห้องไป แล้วอาจารย์ยังไปชมงานของเราในที่ประชุมว่าที่นี้งานกายภาพบำบัดทำได้ดี ซึ่งเป็นงานเดียวและเป็นเรื่องยากมากที่อาจารย์จะออกปากชม ทำให้คนทั้ง รพ หันมามองงานของเราและสนใจอยากรู้วิธีการตอบคำถามอาจารย์อย่างมาก ซึ่งทำให้ผมมีกำลังใจที่จะงานเพิ่มมากขึ้ยนด้วยเช่นกันครับ แล้วจะพยายามพัฒนางานให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆครับ เพราะยังต้องเรียนรู้งานบริหารอีกมาก ปีใหม่นี้ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง เป็นที่พึงที่ปรึกษาให้แก่นักกายภาพบำบัดชุมชนตลอดไป

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 34150

ตอบคุณนิดหน่อย 819

เรื่องราคา wheelchair ไม่ทราบว่าหนูทำงานอยู่เขตไหน ถ้าอยู่แถวอีสาน ก็โทรถามพี่กิตติ ได้ แต่ถ้าอยู่ภาคเหนือก็ถามรพ.พุทธชินราช หรือรพ.แพร่ก็ได้เขาทำเรื่องเครื่องช่วยคนพิการและ wheel chair มาก ราคาของ wheel chair ก็ขึ้นอยู่กับ spec ด้วย แต่ถ้าเป็นราคาที่ขายกันตามท้องตลาดก็อยู่ที่ราคา 3 พันกว่าบาท ส่วนรถโยกสำหรับผู้พิการราคาเท่าไรไม่ทราบแน่ชัด แต่ที่รพ.แพร่ทราบแน่เขาผลิตขายด้วยซ้ำไป แพทย์ทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ชื่อคุณหมอวัชระ เขามีลูกสาวเรียน PT ด้วย น่ารักมาก เขารับผิดชอบเรื่องนี้อยูนะ

ปนดา

ตอบ post 820

เรื่องให้อาจารย์ไปขอการตรวจข้อสอบสภาฯ นั้นคงไม่ได้ที่อยู่ๆจะไปตรวจเขา แต่อาจารย์ก็เข้าใจหนูนะ คงต้องตั้งสติให้ดีๆ อย่าวิตกจนเกินไป เรื่องสอบไม่ผ่านหลายคนก็เคยมีประสบการณ์แบบเดียวกับหนู บางทีหนูอาจจะขาดไปแค่คะแนนเดียวก็ตกแล้ว เพื่อนอาจารย์ที่อยู่ที่อเมริกายังสอบตั้ง 3 ครั้ง แต่ละครั้งตกไปแค่ 1 คะแนนเท่านั้น แต่ในที่สุดเขาก็สอบผ่าน ปัจจุบันมีชิวิตที่มีความสุขไปแล้ว มันคงเป็นแค่ช่วงหนึ่งของชีวต ตอนนี้เราคงต้องแข่งกับตัวเอง ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพเราไม่ได้ไปแข่งขันกับใคร เพราะอิงเกณฑ์ เราต้องพยายามแปรสภาพความผิดหวัง ให้กลับมาเป็นกำลังใจในการต่อสู้ต่อไป นะคะ ตั้งใจดูหนังสือให้มากขึ้น ถือเป็นการทบทวน ความรู้จะได้แน่นๆ ได้ประโยชน์ทั้งตัวเราและผู้ป่วยด้วย อย่าไปคิดว่ามันคือความอัปยศอะไรทำนองนั้น ถือว่าเป็นประสบการณ์ชีวิต เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งเหล่านี้จะมีคุณค่า เล่าให้ลูกหลานฟังได้ว่า เราเคยผ่านอุปสรรคต่างๆ มาได้อย่างไร สามารถเป็นกำลังใจให้คนรุ่นหลังๆได้อีกเยอะนะคะ อุปสรรคทำให้ชีวิตเราแกร่งขึ้นเข้มแข็งขึ้นต่างหากล่ะคะ อ่อนแอได้ค่ะ แต่อย่านานและอย่ายอมแพ้ อาจารย์ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่สอบไม่ผ่านนะคะ สู้ต่อไปค่ะ

ปนดา

ยินดีกับคุณกิตติด้วยนะคะ อาจารย์ได้แนะนำให้น้องๆ ไปขอคำแนะนำจากคุณเยอะมาก ต่อไปคงรับโทรศัพท์ไม่ไหว เรื่องการทำคู่มือ PT อาจารย์ขอให้สอบผ่านวิทยานิพนธ์ในวันที่ 25 ม.ค. 54 ไปก่อนนะ แล้วค่อยมาเว้ากันใหม่เน้อะค่ะ

Merry Christmas และสุขสันต์วันปีใหม่นะคะ

ปนดา

เรียนอาจารย์ปนดาและขออนุญาติตอบคำถามคุณแป้ง

เกี่ยวกัย IPD case สามารถลงเวป สปสช ได้หรือไม่นั้น ผมได้รับข้อมูลจากพี่น้อยสมใจ หน.กายภาพ รพ.สปส บอกว่าสามารถลงข้อมูลได้ครับเพราะตอนนี้ รพ.สปส มีปัญหาว่าลงข้อมูลได้น้อยเพราะไม่นำคนไข้ในมาลงด้วย และผมได้คอนเฟิร์มอีกครั้งโดยการโทรไปสอบถามผู้รับผิดชอบงานฟื้นฟู สปสช เขต 10 ให้คำตอบว่าสามารถลงในเวปได้เหมือนกานออกเยี่ยมบ้าน เนื่องจาก IPD case ไม่มีโปรมการเคลมแล้ว และวิธีปฏิบัตินี้ใช้กันทั่วประเทศ

กภ.กิตติ สมบรรดา

ตอบคำถามคุณนิดหน่อย

เรื่องคนพิการ paraplegia ควรใช้ wheel chฟรr แบบใดนั้น โดยปกติแบบปรับแขนได้จะสะดวกให้การเคลื่อนย้ายมากกว่าแต่มักจะราคาแพงกว่าชนิดปรับไม่ได้ โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าแบบปรับแขนไม่ได้ก้อสามารถเบิกจ่ายให้คนไข้ได้แต่อาจต้องมีการแนะนำการปรับสิ่งแวดล้อมเช่น เตียง ที่มีลักษณะสามารถเข็นรถเข้าไปใต้เตียงได้เล็กน้อยเพื่อให้คนไข้เคลื่อยย้ายขึ้นและลงเตียงจากท่าหันหลังให้รถ (ไม่ทราบว่าคิดภาพออกหรือป่าว) ส่วนราคากลางนั้นยังไม่มีกำหนด แต่ต้องเข้าใจหลักการบริหารงบฟื้นฟูว่าไม่ใช่การให้บริการแล้วไปเคลมดึงเงินค่าชดเชยแต่จะเป็นการจัดสรรคให้เป็นก้อนเค้ก รพ ต้องบริหารจัดการเองทั้งค่าบริการฟื้นฟูและค่ากายอุปกรณ์ ราคาจึงไม่ควรสูงหรือต่ำเกินไปแต่ต้องมีคุณภาพ เงินทั้งสองส่วนบริการถั๋วเฉลี่ยได้ แต่ทุกอย่างต้องมีหลักฐานรายงานให้ สปสช

เป็นอีกคนที่มีปัญหาเรื่องการทำService Profile Unit Profile ของงานกายภาพบำบัด, , CPG อื่นๆๆที่เกี่ยวกับงาน/โรคทางกายภาพ, งานควบคุมภายใน และงานความเสี่ยงทางกายภาพบำบัด จึงอยากจะรบกวนอาจารย์ชี้แนะ

หากมีเอกสาร/ไฟล์ที่เกี่ยวข้องรบกวนอาจารย์ส่งมายัง [email protected] นะคะ

ขอบคุนเป็นอย่างสูงค่ะ

สอบถามผู้เกี่ยวข้องทุกท่านนะค่ะ

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดชุมชน เพิ่งทำงานได้ 3 เดือน ซึ่งได้รับผิดชอบงานผู้พิการ ซึ่งมีการเบิกจ่ายกายอุปกรณ์ให้แก่ผู้พิการ ทาง ผอ. เห็นว่าควรจะมีการเชิญผู้นำชุมชนมาเป็นพยานในการมอบกายอุปกรณ์ด้วย ทางอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ พอจะแนะนำขั้นตอนการดำเนินงานในการมอบกายอุปกรณ์ได้มั๊ยค่ะ ว่ามีลำดับขั้นตอนการพูดอย่างไรบ้าง

ผมมาทำงานในโรงพยาบาลชุมชนได้ 2 อาทิตย์แล้วครับ ตอนนี้ทำเคส ward กับเยี่ยมบ้าน

อยากเปิดแผนกต้องทำไงบ้างครับ

อยากมีแผนกจัง ตอนนี้มีแต่โต๊ะทำงานก็ทำงานเอกสารจำพวกแบบฟอร์มต่างๆ และก็พวกราคากายภาพ

อยากได้แบบฟอร์ม และขั้นตอนการเขียนหนังสือขอเปิดแผนก และขอซื้อเครื่องมือครับ

รบกวนอาจารย์ หรือท่านใดพอมีบ้างมั้ยครับ ช่วยส่งให้หน่อยครับ

[email protected]

อ.น้อมจิตต์ ม.ขอนแก่น

ที่เคย post ไปเมื่อต้นเดือน ธค. ว่า ทาง มข. จะจัดการประชุม "จัดการความรู้" การทำงาน PT ชุมชน ขอขอบคุณกิตติที่ให้ความเห็นมา (พี่จำหนูได้ดีค่ะ)

ตกลงการสัมมนาดังกล่าวจะจัดวันที่ 9-10 มีค. 54 ที่คณะเทคนิคฯ มข. นะคะ กำลังจะส่งจดหมายเชิญออกไปภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ค่ะ โดยจะส่งถึงผู้อำนวยการฯ ของ รพจ. และ รพช. ทุกแห่งในอีสาน (จะมี รพ.สต. ไหนจะให้ส่งจดหมายถึงไหมคะ) ไม่มีค่าลงทะเบียน ฟรีค่าเดินทางและที่พัก (หากพักที่อาคารขวัญมอ) มาเข้าร่วมกันเยอะ ๆ นะคะ งานนี้ของน้อง ๆ จัดเพื่อน้อง ๆ ค่ะ

กำหนดการคร่าว ๆ มีดังนี้ค่ะ

กำหนดการสัมมนา เรื่อง “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกายภาพบำบัดชุมชน”

วันที่ 8-10 มีนาคม 2554

ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคาร 2 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

**************************

วันที่ 8 มีนาคม 2554

16.00 น. เข้าที่พัก ณ อาคารขวัญมอ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่ 9 มีนาคม 2554

8.00-8.45 น. ลงทะเบียน

8.45-9.00 น. พิธีเปิด โดย คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กล่าวต้อนรับ โดย หัวหน้าสายวิชากายภาพบำบัด

9.00-9.15 น. วัตถุประสงค์และความคาดหวังของการสัมมนา

โดย รศ.น้อมจิตต์ นวลเนตร์

9.15-10.30 น. อภิปราย เรื่อง “นโยบายและการสนับสนุนงานกายภาพบำบัดชุมชน”

โดย นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข

นพ.พิเชฏฐ ลีละพันธ์เมธา ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น

อ.กล้วยไม้ พรหมดี หัวหน้าสายวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น และกรรมการสภากายภาพบำบัด

ดำเนินรายการโดย ผศ.ยอดชาย บุญประกอบ

10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00 น. สปสช. เขตพื้นที่กับงานกายภาพบำบัดชุมชน

โดย ผู้แทน สปสช. เขต 7, 8, 9 และ 10

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-16.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกายภาพบำบัดชุมชน

กลุ่มที่ 1 “การจัดตั้งและพัฒนาหน่วยกายภาพบำบัด”

กลุ่มที่ 2 “เทคนิคการทำงานชุมชน”

กลุ่มที่ 3 “การปรับสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมสำหรับคนพิการ”

ดำเนินรายการโดย อ.วนิดา วิระกุล รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น

รศ.น้อมจิตต์ นวลเนตร์ และคณะ

(บริการอาหารว่างในห้อง เวลา 14.30 น.)

16.00-17.00 น. สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกายภาพบำบัดชุมชน

โดย ผู้แทนห้องย่อยที่ 1-3

ดำเนินรายการโดย อ.วนิดา วิระกุล และ รศ.น้อมจิตต์ นวลเนตร์

วันที่ 10 มีนาคม 2554

8.30-10.00 น. การดำเนินงานเครือข่ายนักกายภาพบำบัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โดย กภ.จีราวรรณ ดนัยตั้งตระกูล หัวหน้างานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น

10.00-10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.15-12.00 น. การสื่อสารด้วยความกรุณา

โดย รศ.บุญศรี ปราบ ณ ศักดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.45 น. อภิปราย เรื่อง “ความคาดหวังของประชาชนต่อนักกายภาพบำบัดชุมชน”

โดย พ่อบุญเต็ม ชัยลา บ้านดงบัง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น

คุณมาร์ติน วีลเลอร์ บ้านคำปลาหลาย อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

ดำเนินรายการโดย อ.อัครานี ทิมินกุล

14.45-15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

15.00-16.00 น. อภิปราย ซักถาม สรุปข้อเรียนรู้จากการสัมมนา

ดำเนินรายการโดย อ.วนิดา วิระกุล และ รศ.น้อมจิตต์ นวลเนตร์

16.00-16.15 น. ประเมินผลการสัมมนา

โดย รศ.น้อมจิตต์ นวลเนตร์

16.15-16.30 น. พิธีปิด

โดย หัวหน้าสายวิชากายภาพบำบัด

เรียน อาจารย์ ปนดา ผมทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนได้เพียงเดือนกว่า แต่โรงพยาบาลจะต้องได้รับการประเมินHAขั้น3ครับ ยังไม่มีแผนก ไร้จะเริ่มต้นงานอะไรก่อนดี อ.ช่วยแนะนำให้หน่อยนะครับ ผมอยากได้Service Profile ของกายภาพบำบัดครับ ไม่ทราบว่าอาจารย์พอจะมีแบบหรือวิธีเขียนบ้างหรือป่าวครับ รบกวนอาจารย์ช่วยส่งมาให้หน่อยนะครับ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ ตามอีเมลล์นี้นะครับ [email protected]

เรียน อาจารย์ ปนดา หนูเป็นนักกายที่เพิ่งหันตัวเองมาทำงาน กายภาพในชุมชนค่ะได้ 2อาทิดแล้ว ก่อนหน้านี้ทำรพ เอกชนค่ะ ตอนนี้มืดไปหมด ไม่รู้จะต้องเริ่มยังไงดีกับงานรพช ที่ต้องมาเปิดแผนกเองด้วย(ก่อนนี้มีนักกายมาทำ แต่ตอนนี้ย้ายไปแล้ว ) แล้วหนูต้องควรรู้และทำอะไรบ้างค่ะ

ถ้ามีข้อมูล หรือไฟด์ ที่พอเป็ฯประโยชน์ ขอความกรุณาส่ง [email protected] ขอขอบพระคุณ ล่วงหน้าค่ะ

เรียนทุกท่าน

แล้วจะส่งข้อมูลไปให้นะคะ ถ้าอยู่ใกล้ขอนแก่น ก็ไปร่วมการจัดการความรู้ที่มข.ที่อาจารย์น้อมจิตจัด ก็จะดีมากเลยนะคะ

ปนดา

เรียนอาจารย์น้อมจิต และอาจาร์ปนดา วันครูที่ผ่านมาขอให้คุณพระศรีตรัยดลบรรดาลให้ทั้งสองท่านมีแต่ความสุขครับ

ปล.อาจารย์น้อมจิตคับ ถ้าหากได้เจอผมอีกอาจารย์อาจจำไม่ได้แล้วก็ได้นะคับ เพราะผมหล่อขึ้นมากครับ อิอิ

งานกายภาพบำบัด รพ.เขื่องในมีแผนรับสมัครนักกายภาพบำบัดเพิ่ม แต่รอประกาศอย่างเป็นทางการภายในอาทิตย์ก่อนนะคับ

กิตติครับ

หนูต้องมาช่วยพี่ในกลุ่มที่ 1 "การจัดตั้งและพัฒนาหน่วยกายภาพบำบัด" นะคะ เพราะพี่ตั้งหัวข้อนี้ตามที่คำเสนอของหนูเลยนะ

พี่จะได้เห็นหน้าหล่อ ๆ ของหนูด้วย

เรียน อ.ปนดา

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเพิ่งเป็น PT ชุมชนใหม่ มาทำงานได้ 2อาทิตย์ ยังไม่รู้ว่าจะดำเนิการเปิดแผนกอย่างไร และตอนนี้ยังไม่มีที่อยู่เป็นของตัวเอง จึงเข้าร่วมทำงานกับคลีนิกต่างๆๆของโรงพยาบาลก่อน และลงพื้นที่กับสอ. จึงรบกวนขอไฟล์งานที่จำเป็นในการเขียนขอเปิดแผนก เครื่องมือ แบบฟอร์มแรกรับกายภาพบำบัด แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการหรือผู้ที่ต้องฟื้นฟู คลีนิกเบาหวาน ผู้สูงอายุ เรื่องความดันโลหิต งานคลินิค COPD งานผู้พิการ งานคุณภาพ งานเอกสารการเขียนขออนุมัติต่างๆ สำหรับนักกายภาพที่มาเปิดแผนกใหม่และเรื่องความเสี่ยงด้วยค่ะ และรบกวนเรื่องการฟื้นฟูการออกเยี่ยมบ้านและการอบรม อสม แกนนำผู้พิการ

email : [email protected] ขอบคุณล่วงหน้า

เป็นกำลังใจให้หนูด้วยนะคะ สำหรับการเริ่มต้นทำงานในชุมชน

ได้เลยค่ะน้อง พี่จะส่งให้เดี๋ยวนี้ ถ้าไม่ได้รับก็บอกด้วยนะ ขอเป็นกำลังใจให้เต็มที่นะคะ เอกสารที่จะส่งไปให้คงจะทำให้งานน้องง่ายขึ้นนะคะ แต่อย่ายึดเป็นสรณะนะคะ เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงปรัปรุงไปกว่านี้บ้างแล้ว

ปนดา

ขอขอบพระคุณอ.ปนดามากครับผมได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้วครับ รบกวนถามอ.ปนดาเรื่องเบี้ยเลี้ยงเหม่าจ่ายตอนนี้เค้ายังได้กันอยู่ป่าวครับ ถ้าได้พอจะมีเอกสารหรือหนังไหมครับ พอดี ผอ.เค้าอยากได้ครับ

ขอขอบพระคุณครับ

กภ.นิคม กาหลง

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ หนูรบกวนขอความคิดเห็น หนู เจอปัญหาอยากขอให้อ.ไขความกระจ่างประเด็นนี้(ทำงานรพ.ชุมชน)

หาว่า PT เสมือนไม่สามารถตรวจเองได้ ต้องพบแพทย์ก่อนลงไปเจอPT โดยเฉพาะเคส ที่หายไป3เดือน แล้วกลับมาหาเราใหม่

มาตรฐานนี้ก็ทำมาตั้งนานแล้ว สมัย ผอ.ท่านเก่า ท่านเห็นด้วย แต่ผอ.ปัจจุบันดูจะมีปัญหา กับกายภาพ หนูต้องทำยังไงดีค่ะ หรือเอาหลักฐานตัวบท กฎหมายอ้างอิงด้วยดีค่ะ จากกระบวนการทีทำมา ไม่เคยเจอปัญหาระหว่างการรักษาน่ะค่ะ และจากการสำรวจผู้ป่วยก็พึงพอใจกับตรงนี้น่ะค่ะเพราะยืนบัตรสามารถลงมารับบริการที่แผนกได้เลย เนื่องด้วยรพ.แห่งนี้มีคนไข้ปริมาณมากบวกกับมีแพทย์ตรวจเพียงท่านเดียวทำให้ระยะเวลารอคอยนานและนานมาก รพ.แห่งนี้มีงานนวดแผนไทยด้วยซึ่งมีมาก่อน กระบวนการของงานนวด เขาจะต้องพบแพทย์ก่อนทุกรายที่เป็นคนไข้ใหม่ หมอเห็นว่าของงานนวดพบแพทย์ก่อนแล้วทำไมของกายภาพไปเป็นกระบวนการเดียวกัน และหนุก็ทรามาว่าจากที่HAเคยมาเยี่ยมเคยตั้งประเด็นเรื่องนี้ค่ะ คือ ถ้าคนไข้หายนาน 3หรือ6 เดือน น่าจะให้ไปพบเเพทย์ก่อน เป็นคำถามที่อาจารย์ถามงานนวดแผนไทย แต่ประเด็นเรื่องดังกล่าวงานกายภาพบำบัดไม่เคยเจอค่ะ ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ จำได้ทำงานด้วยความสบายใจ เราไม่ผิด

[email protected]

ตอบ กภ.นิคม

อาจารย์ไปค้นใน blog นี้มาให้อยู่ค่อนข้างลึก เป็นคำแนะนำของพี่กิตติเขาเขียนไว้ คิดว่าน่าจะยังไม่ล่าสมัย ถ้ามีอะไรเปลี่ยนแปลงกภ.กิตติก็เข้ามาช่วยแก้ไขด้วยล่ะกัน ตามนี้นะคะ ถ้าไม่ชัดเจนอย่างไรโทรคุยหรือ e-mail ถึงกภ.กิตติโดยตรงเลยก็ได้นะคะตามที่อยู่ข้างล่างเจ้าค่ะ

ปนดา

เรียน รศ.ปนดา และขออนุญาติให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเบิกเงิน

เป็นที่ทราบกันดีว่า รพ หลายแห่งมีปัญหาการเบิกค่าตอบแทนการออกหน่วยฟื้นฟูสภาพทางการแพทย์(เดิมการฟื้นฟูสภาพคนพิการ)เนื่องจากงานบริหารเกรงการตรวจสอบจาก สตง.

ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างการดำเนินงานของ รพ.เขื่องใน และ รพ.หลายๆแห่งใน จ. อุบลราชธานี คืออาศัยการอ้างอิงระเบียบการกำหนดค่าตอบแทน ตามหนังสือ กระทรวง สธ. 5 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ สธ.0201.042.1/ว100 ข้อ 1.7 อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการ ที่ให้บริการตรวจรักษาแบบผู้ป่วยนอก ซึ่งอาจต้องรบกวนให้งานบริหารค้นให้อีกทีเพราะนานแล้ว

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

086-0559353 [email protected] lateralspinothalamic.hi5.com

ขอขอบพระคุณอ.ปนดา มากคะ

หนูได้รับแล้วคะ จะได้เป็นแนวทางการทำงานกายภาพบำบัดในชุมชนต่อไปคะ

mobilization คะ

ส่วนเรื่องปัญหาของน้องที่มีเกี่ยวกับการรับผู้ป่วยโดยตรง

เราคงต้องมาวิเคราะห์แล้วล่ะค่ะว่า การที่ผอ.ไม่อยากให้ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาโดยตรงกับ PT เกิดจากอะไรได้บ้าง เราจึงจะแก้ปัญหาได้ถูกต้อง

เหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้คือ

1. เกรงว่าจะเสียระบบ ด้วยความคิดแบบเดิมๆ ที่ผู้ป่วยเข้ามาต้องพบแพทย์ก่อนเท่านั้น

2. เกรงว่าจะไม่มีการทำงานเป็นทีม ไม่มีการติดต่อประสานงานกันระหว่างแพทย์กับ PT

3. เกรงว่าผู้ป่วยจะเกิดอันตราย ถ้าไม่มีการ screen จากแพทย์ก่อน เช่นถ้าผู้ป่วยมีปัญหาทาง medical อื่นๆแล้วเราอาจจะไม่ทราบ ก็จะเป็นผลเสียกับผู้ป่วยได้ เพราะบางทีผู้ป่วยหายไปนานอาจมาด้วยอาการใหม่ หรืออาการแทรกซ้อนอย่างอื่นได้

4. ผอ.ไม่ทราบว่า PT สามารถตรวจและวินิจทางกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยได้ตามกฎหมาย

5. มีทัศนคติไม่ดีกับ PT เพราะมีประสบการณ์เก่าที่ไม่ดีกับ PT มาก่อน

6. ผอ.ยังไม่เชื่อมั่นในฝีมือ PT

อาจจะมีเหตผลอื่นๆ อีก คิดยังไม่ออก จะเห็นได้ว่าเหตุผลหลายอย่างอาจต้องอาศัยเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ เช่น ข้อ 5 และข้อ 6 ส่วนปัญหาข้อ 4 ถ้าเราเอากฎระเบียบไปอ้าง แต่ถ้าเขายังมีปัญหาข้อ 5 และ 6 อยู่เขาก็จะไม่ยอมรับอยู่ดี และอาจยิ่งมีทัศนคติที่ไม่ดียิ่งไปกว่าเดิม

ส่วนถ้าเป็นเหตุผลข้อ 1, 2, 3, ก็เป็นอะไรที่น่าเห็นใจผอ.เหมือนกัน เพราะท่านเป็นผู้บริหาร อาจอยากทำงานให้เป็นระบบและส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และไม่อยากให้เกิดความเสี่ยงต่อมีการผิดพลาดจากการให้การรักษาโดยไม่มีแพทย์ดูแล เพราะท่านก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้วย ถ้าท่านกังวลอย่างนี้ เราก็ต้องช่วยท่านพัฒนาระบบงานให้สามารถเชื่อมโยง ทำงานเป็นทีม และเกิดความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นว่าการให้บริการของเรามีแนวปฏิบัติที่ดีในโรคต่างๆ ที่พบได้บ่อย มีระบบการส่งต่อ มีระบบการ screening ที่สามารถคัดกรองผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีปัญหา ทาง medical อืนๆได้อย่างปลอดภัย มีระบบบริหารความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในแผนกและสามารถจัดการได้ในกรณ๊ฉุกเฉินต่างๆ มีสัมพันธภาพท่ดีกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ เช่น แพทย์ พยาบาล และทำให้เขาเข้าใจบทบาทของเรา เป็นต้น เพราะถ้าเขาเข้าใจบทบาทงานเราดี เขาก็คงจะส่งผู้ป่วยมาให้เราอยู่แล้ว ถ้าทั้งหมดนี้ทำอยู่แล้วก็คงต้องให้เวลาท่านผอ.ปรับตัวและรู้จักเรามากขึ้นอีกหน่อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

สวัสดีค่ะ อ.ดา

ขออนุญาติเข้ามาทักทายอาจารย์นะคะ และถือโอกาสสวัสดีปีใหม่ 2554 กับอาจารย์ด้วยนะคะ

เรียนอาจารย์น้อมจิต นวลเนตร

เรื่องที่ให้ช่วยฐานพัฒนาระบบงานกายภาพบำบัด ผมเกรงว่าผมยังมีประสบการณ์ในการทำงานยังไม่มากพอนะครับ

"การจัดตั้งและพัฒนาหน่วยกายภาพบำบัด" ครับ กิตติ ไม่ใช่พัฒนาระบบงานฯ

I believe you can do. Please don't be too serious.

สวัสดีครับอาจารย์ ผมเป็นนิสิตจากมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ (มศว) ผมมีความประสงค์อยากได้ตัวอย่างการจัดตั้งโครงการกายภาพบำบัดครับ เนื่องด้วยผมจะเอาไปเป็นตัวอย่างการเขียนโครงการในรายวิชาที่ต้องเรียนครับ เลยต้องมารบกวนอาจารย์ส่งตัวอย่างการเขียนให้ผมหน่อยนะครับ ส่งมาได้ที่ [email protected]

ขอบพระคุณล่วงหน้า

โรงพยาบาลเขื่องใน จ.อุบล ประกาศรับสมัครนักกายภาพบำบัด 1 อัตรา

(รับเพิ่ม มีนักกายภาพบำบัดแล้ว 2 คน และผช.กายภาพบำบัด 1 คน)

เพื่อขยายงานบริการทางกายภาพบำบัดชุมชน

วุฒิ วทบ.(กายภาพบำบัด) หรือ กายภาพบำบัดบัณฑิต (กภบ.)

อัตราเงินเดือน 1,1530 บาท + พตส.1,000 บาท + ค่าตอบแทนหมาจ่าย 1,200 บาท (ไม่มีใบประกอบจะยังไม่ได้รับ พตส.)

โอทีนอกเวลาราชการ 2,000-2,400 บาท+ค่าตอบแทนออกปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการ 2,000-2,560 บาทต่อเดือน

มีบ้านพักฟรี

ประกาศlสมัคร 1-28 กุมภาพันธ์ 2554

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ 4 มีนาคม 2554

สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ 17 มีนาคม 2554

ประกาศผล 22 มีนาคม 2554

เริ่มทดลองปฏิบัติงาน 1 เมษายน 2554

สอบถามเพิ่มเติม งานบริหารทั่วไป 045-203004 ต่อ 119

งานกายภาพบำบัด 045-203004 ต่อ 105

โทรสาร 045-203004 ต่อ 119

ประชาสัมพันธฺโดย กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

จังหวัดอุบลราชธานี 34150

ยินดีกับคุณกิตติด้วยนะคะ ที่จะได้นักกายภาพบำบัดเพิ่มอีก 1 คน แล้ว น่าชื่นชมจริงๆค่ะ

ปนดา

ครับอาจารย์ ผอ.โอเคกับงานกายภาพบำบัดพอสมควร ดีเฟนจัดซื้อเครื่องมือเพิ่มเติมผ่านหมดเลยครับ

ขอสอบถามหน่อยนะคะ มีความคิดที่จะไปทำงานชุมชนแต่ที่รพ.ไม่เคยเปิดแผนกเลย งานส่วนใหญ่จะเน้นเชิงรุกออกชุมชนน่ะค่ะ ถ้าเราจะต้องออกชุมชนร่วมกับสหวิชาชีพของรพ.เราต้องเขียนโครงการอะไรไหมคะถึงจะสามารถเบิกเงินจากสปสช.ได้อ่ะคะ ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยค่ะ

เพิ่งเริ่งงานรพ.ชุมชนค่ะยังไม่มีแผนกเลย และต้องออกชุมชนด้วย ไม่รู้จะเริ่มยังไงดีจึงรบกวนขอ

เอกสารที่จำเป็นสำหรับการเปิดแผนกใหม่

เอกสารการเขียนแผนของบการจัดซื้อเครื่องมือที่จำเป็นทางกายภาพ

เอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

ตัวอย่างการเข๊ยนโครงการออกเยี่ยมบ้าน

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

และขอเอกสาร service profile ของงานกายภาพบำบัด

หรือว่ามีเอกสารที่อาจารย์เห็นสมควรว่าจะต้องใช้ก็เพิ่มเติมมาให้ก็ได้นะคะ

เพิ่งเปิดแผนกใหม่ ทำอะไรไม่ค่อยเป็นเลยค่ะ

e-mail : [email protected] ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

สวัสดีค่ะน้องๆ

อยากบอกน้องๆ ที่เพิ่งเริ่มงาน PT in community ว่า blog นี้เป็น blog สำหรับให้น้องๆได้ค้นหาและศึกษาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่างๆ สำหรับตัวน้องเองและสำหรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่น้องควรได้รับด้วย อย่างเช่น ที่พี่กิตติเขเขียนเรื่องเงินเดือน และค่าอะไรต่างๆที่ PT ควรจะได้รับ (อัตราเงินเดือน 1,1530 บาท + พตส.1,000 บาท + ค่าตอบแทนหมาจ่าย 1,200 บาท (ไม่มีใบประกอบจะยังไม่ได้รับ พตส.) +ค่าตอบแทนออกปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการ 2,000-2,560 บาทต่อเดือน มีบ้านพักฟรี) และยังมีเรื่องอื่นๆอีก เช่น การเบิกจ่ายอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ เรื่องการเสนองบประมาณ ซื้อเครื่องมือ เรื่องการเซ็ทแผนก เรื่องการของบสปสช. เรื่องการบริหารความเสี่ยง และอื่น ๆ น้องๆ ควรหาเวลาเข้ามาค้นอ่านใน blog นี้ จะได้ความรู้เพิ่มเติม นะคะ (คลิกเข้าไปอ่านหน้าก่อนหน้านี้หลายๆหน้านะคะ)

ส่วนเรื่องเอกสารจะส่งไปให้ค่ะ

ปนดา

หนูได้รับเอกสารแล้วนะคะ ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ ส่วนเรื่องเงินเดือนยังมีบางรพ.ที่จ้าง 10,030 บาทอยู่ มันเป็นเรื่องที่ปกติหรือเปล่าคะ หรือว่าเป็นเรื่องที่เราต้องคุยให้รพ.เค้าปรับขึ้นให้ หรือกรณีที่เพิ่งไปสมัครใหม่ว่าตอนนี้เค้าจ้างกัน 11,530 บาทแล้ว ส่วนค่าตอบแทนออกปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการ 2,000-2,560 บาทต่อเดือน เป็นยังไงคะ ช่วยยกตัวอย่างให้ดูหน่อยได้ไหมคะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอตอบคำถามโพส28 มกราคม 2554 12:00

เรื่องค่าตอบแทนการออกปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการ 2,000-2,560 เกิดจากการคำนวณอัตราชั่วโมงของการออกให้บริการ ชม.ละ 80 บาท ส่วนค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ 2,000-2,400 บาทเกิดจากการคำนวณ 4 ชม.ละ 300 บาท (ครึ่งเวร) ค่าตอบแทนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภาระงาน แต่ไม่อยากให้น้องๆใช้เงินเป็นตัวตั้งในการทำงานมากหนัก เพราะเราทำงานก็ได้รับเงินเดือนอยู่แล้ว โอทีให้ถือว่าเป็นผลพลอยได้จะดีกว่านะครับ

ปล.อยากให้น้องๆเพื่อนๆหรือพี่ๆที่มาโพสใหม่ควรแสดงตนเองให้เพื่อนๆหรืออาจารย์ได้รู้จักด้วยนะคับ

กภ.กิตติ สมบรรดา

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

ออกเยี่ยมบ้านได้ค่าตอบแทนด้วยเหรอคะ

ออกเยี่ยมบ้านได้ค่าตอบแทนด้วยเหรอคะ

สิทธิต่างๆในการรับสิทธิประโยชน์ เงินเดือน เเละค่าตอบเเทนต่างๆ มีเอกสารระบุชัดเจนหรือไม่คะ หรือเป็นกฎหมายเลยคะ  จะได้มีเอกสารชัดเจนในการยื่นพิจารณาต่อโรงพยาบาลค่ะ

ลองเลื่อนกลับไปอ่านโพสก่อนๆดูนะครับเคยตอบเอาไว้แล้วครับ

สวัสดีครับอาจารย์ และพี่น้อง PT ทุกท่าน

ผมกำลังจะเปิดแผนกกายภาพบำบัดใหม่ ของรพช.ในจังหวัดสุรินทร์ รบกวนขอตัวอย่างโครงการเปิดแผนก ตัวอย่างตัวชี้วัด และแบบการเขียนขอเครื่องมือด้วยนะครับ รบกวนส่งมาที่เมล์ [email protected] ขอบพระคุณมาก ๆ ครับ

น้องมนตรีอยู่ รพช. ไหนของ จ.สุรินทร์คะ ทางสุรินทร์เขามีเครือข่าย PT ดูแลกันอยู่ ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ คือ คุณนันทนิตย์ จิตหนักแน่น รพ.สนม [email protected] ลองคุยกันดูค่ะ

เรียนนักกายภาพบำบัดชุมชนทุกท่าน

ทางสปสช. เขาขอให้อาจารย์ช่วยประชาสัมพันธ์ ตามข้อความข้างล่างนี้นะคะ ถ้าใครทราบแล้ว กรุณาส่งข้อมูลให้ตามที่เขาขอมาด้วยนะคะ จะได้เป็นฐานข้อมูลให้สปสช. เพื่อจะได้ให้การสนับสนุนต่อไปค่ะ

ขอบคุณ

ปนดา

ขอให้นักกายภาพบำบัดที่อยู่โรงพยาบาลชุมชน ช่วยแจ้งชื่อ-นามสกุล ชื่อโรงพยาบาล
จังหวัด อีเมล์ และโทรศัพท์ เพื่อเป็นข้อมูลเสนอให้ สปสช
สนับสนุนโครงการพัฒนาบุคคลากรในปีนี้และปีต่อๆไปค่ะ
โดยส่งมาทางอีเมล์ที่ [email protected]

สวัสดี อ.ปนัดดาค่ะ

รบกวนอาจารย์ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับ รพ.สต. กับการรับนักกายภาพบำบัดค่ะ

เรียน ผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน

โรงพยาบาลของหนูกำลังทำ HA ขั้นสองนะค่ะ แล้วคราวนี้มีเกณฑ์คุณภาพงานบริการและแนวทางประเมินหัวข้อหนึ่งของงานกายภาพบำบัดค่ะ ว่าด้วย ผู้ป่วย stroke ได้รับการฟื้นฟูกายภาพบำบัดในโรงพยาบาล แล้วคราวนี้ท่านผู้อำนวยการเลยตั้งตัวชี้วัดว่า คนไข้ stroke ในโรงพยาบาลได้รับการทำกายภาพบำบัดทุกราย หนูมีคำถามว่า หนูจะต้องตามตัวชี้วัดอย่างไรเหรอค่ะ (ตอนนี้เมื่อมีคนไข้ stroke พี่พยาบาลที่ word ก็จะประสานมาที่หนู)

ในอนาคต ทางสปสช.เขาก็อยากให้รพ.สต.มีนักกายภาพบำบัดให้มากขึ้น อาจจะไม่ทุกรพ.สต. ในปัจจุบันมีรพ.สต.บางแห่งที่มีความต้องการจ้างนักกายภาพบำบัดเขาก็ประกาศรับ แต่ก็ยังมีไม่มาก ตอนนี้สปสช.ตั้งเป้าว่าทุกรพช.ให้มีการจ้างนักกายภาบำบัด ก็ยังทำไม่ได้ครบทุกโรง ไม่ทราบว่าคุณมณีรัตน์อยากไปทำงานในรพ.สต.หรือคะ

ปนดา

เรื่องการตั้งตัวชี้วัดว่าผู้ป่วย stroke ทุกรายต้องได้รับการบริการทางกายภาพบำบัดนั้น น่าจะมีฝ่ายสถิติเก็บข้อมูลของรพ. นะคะ ว่าเดือนหนึ่งมีผู้ป่วย stroke กี่คนชื่ออะไรบ้าง รายชื่อตรงกับที่ท่านมีหรือไม่ อาจารย์ก็คิดไม่ออกว่าจะทราบได้อย่างไร นอกจากจะ set ระบบเลยว่าเมื่อทราบว่ามีผป. stroke เข้ารับการรักษาในรพ.ต้องส่วปรึกษา PT

ปนดา

ตอบคำถามตัวชี้วัดกรณีเคสที่ได้รับคำวินิจฉัยหลักว่าเป็นstrokeจะต้องได้รับการทำกายภาพบำบัดนั้น เป็นการสุ่มAuditของงานประกันสุขภาพ(สิทธบัตร)ร่วมกับ สปสช.โดยนักกายภาพบำบัดต้องลงข้อมูลหัตการเป็นหลักฐานทุกครั้ง (ในชาร์ท) แต่ก็มียกเว้นบางหัตถการที่จะไม่ได้รับการคิดคะแนน ได้แก่ 9303-08 9315 9326 9337 9382-83 9395-98 ซึ่งผลจะการรายงานทุกสิ้นปี ดังนั้นจึงเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่นักกายภาพบำบัดต้องวางระบบการดำเนินงานเพื่อทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย 100% และสามารถนำเสนอ ผอ.ทีมกกบ.เมื่อสรุปผลงานประจำปีด้วย หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่งานประกันสุขภาพของทุก รพ.

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

34150 โทร 045-203004 ต่อ 105

ขอเพิ่มเติม เรื่องตัวชี้วัดค่ะ เพื่อป้องกันการ miss บริการ คนไข้ stroke ใน ward นักกายภาพบำบบัด รพร.สว่างแดนดิน round ward ทุกวันค่ะ เพิ่มเติมจากการรอพยาบาลแจ้งมาที่ PT

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อยากกลับไปทำงานที่บ้านค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ดา หนูเป็นนักกายภาพจบจากม.น.ค่ะตอนนี้ทำงานอยู่ที่รพ.ฟากท่าค่ะ พอดีอยากสอบถามอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องอัตราค่ารักษาทางกายภาพค่ะว่ามีการกำหนดมาตรฐานรึเปล่า ยังไงรบกวนขอเอกสารเกี่ยวกับอัตราค่ารักษาทางกายภาพด้วยนะค่ะ

e-mail : [email protected] ขอบคุณค่ะ

แจ้งการเปลี่ยนวันเวลาการสอบข้อเขียน/สัมภาษณ์รับกายภาพบำบัดของรพ.เขื่องใน อย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากทางทีมนำ รพ.ติดภาระกิจ หากทราบวันแน่ชัดจะประกาศให้ทราบ (แต่ยังคงส่งใบสมัครมาได้) ต้องขออภัยมายังทุกท่าน ณ ที่นี้ด้วย

เรียน ทุกท่าน

ขอปชส.ตำแหน่งงานกายภาพบำบัด ดังนี้นะคะ (มี PT ฝากให้ปชส.ให้ค่ะ)

รพ.น้ำหนาว และรพ.บึงสามพัน เป็นรพช.ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ใกล้ๆ พิษณุโลก รับสมัครนักกายภาพบำบัด นะคะ สนใจติดต่อไปยังรพ.โดยตรง หรือติดต่อผ่านคุณรุ่งโรจน์ สปสช.เขตได้ที่ e-mail : [email protected]

ปนดา

เนื่องด้วยทางโรงพยาบาลมีการดูแลผู้ป่วย stroke ในผู้ป่วยใน แต่ยังสงสัยรหัสหัถตการ จากโพสที่ 235885

เรียนถามอ.ปนดาครับ ผมอยากทราบว่า ICD10 กับ ICD9 ของกายภาพบำบัด ที่เป็นมาตรฐานขอได้ที่ไหนครับ เนื่องจากทางไอทีให้ผมกำหนดเอง โดยคีย์ลง HOSxp ครับ ซึ่งมันน่าจะไม่ครอบคลุมครับ

โรงพยาบาลเขื่องในรับสมัครตำแหน่งนักกายภาพบำบัด (ลูกจ้างชั่วคราว)

สมัครด้วยตนเองตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ถึง 4 มีนาคม 2554

สมัครทางไปรษณีย์ไม่เกินวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 (ยึดวันประทับตรา)

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบวันที่ 7 มีนาคม 2554

สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์วันที่ 8 มีนาคม 2554

ประกาศชื่อผู้สอบผ่านวันที่ 9 มีนาคม 2554

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป โรงพยาบาลเขื่องใน 83 ม.6 ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150 โทร 045-203004 ต่อ 119

เรียนน้องกภ นิคม

อยากให้น้อง key คำว่า ICD 10 ใน google แล้วจะได้ความรู้อะไรๆ อีกมากมายเกี่ยวกับ ICD 10 นะคะ นพ.ประวิน มีทำ ppt ในรูปแบบ pdf file อธิบายให้เราเข้าใจเกี่ยวกับ ICD 10 ด้วย ลองเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมนะคะ

ปนดา

เรียนน้องกภ.นัยนา

ถ้าสงสัยเกี่ยวกับรหัสหัตถการเกี่ยวกับ stroke ก็โทรไปถามพี่กิตติ โดยตรงเลยค่ะ ที่

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

โทร 045-203004 ต่อ 105

ปนดา

นักกายภาพบำบัดรพ.ชุมชนจ.ยะลา

เรียนอ.ปนดา ที่เคารพ

พอดีหนูพึ่งทำงานที่รพ.ชุมชนมา8เดือนเเล้ว เห็นเพื่อนจากรพ.ชุมชนเขาคีย์ข้อมูลคนไข้เวลาทำคนไข้ลงเว็ปสปสชได้เงินเข้ารพ.เป็นจำนวนมาก หนูเลยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการคีย์ข้อมูลผู้ป่วยลงเว็บสปสชคะ

1.เวลาคีย์ข้อมูลผู้ป่วยลงเว็บสปสช คีย์ได้เฉพาะคนไข้นอกเท่านั้นหรือคะหรือว่าผู้ป่วยในก็สามารถคีย์ได้ด้วย

2.กลุ่มโรคของผู้ป่วยที่เรารักษาเเล้วที่สามารถคีย์ลงเว็ปสปสชมีกลุ่มโรคอะไรบ้างคะ

3.ผู้ป่วยที่เรารักษาเเต่ไม่ใช่สิทธิผู้พิการเราสามารถคีย์ลงเว็ปสปสชได้หรือเปล่าคะ

หนูขอพระคุณอ.ปนดาเป็นอย่างสูงนะคะสำหรับคำตอบ

อาจารย์ปนดาครับ ผมคิดว่าเราน่าจะมีชมรมกายภาพบำบัดชุมชนแห่งประเทศไทย เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการติดต่อประสานงานตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสมาชิกหรือสร้างพลังอำนาจให้การต่อรองหรือขับเคลื่อนในลักษณะของทีมที่มีขนาดใหญ่และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

เรียนคุณกิตติ

อาจารย์เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งสำหรับการจัดตั้งชมรมกายภาพบำบัดชุมชน คิดมานานแล้วเหมือนกัน เราจะได้ทำกิจกรรมในการพัฒนานักกายภาพบำบัดชุมชนได้ เพราะถ้ารอสมาคมกายภาพบำบัดอาจจะช้าไป เพราะสมาคมมีเรื่องอื่นๆที่ต้องจัดการเยอะนะ ส่วนสภาฯก็ยิ่งมีเรื่องอื่นๆที่ต้องดูแลมากไปกว่านั้นอีก เราน่าจะมีองค์กรหนึ่งที่ดูแลเรื่องการพัฒนานักกายภาพบำบัดชุมชนโดยเฉพาะ ถ้านักกายภาพบำบัดชุมชนมีความเข้มแข็ง เครือข่ายเราเข้มแข็ง งานกายภาพบำบัดชุมชนย่อมพัฒนาไปอย่างรวดเร็วแน่นอน อาจารย์เคยทำงานกับชมรมพยาบาลชุมชนมาก่อน เห็นประโยชน์ของการจัดตั้งชมรมเป็นอย่างมาก แต่อยากให้นักกายภาพบำบัดชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งในครั้งนี้ ถ้าที่อุบลฯพร้อมก็ให้อุบลฯเป็นผู้จัดตั้งได้ งบประมาณถ้าเขียนเป็นโครงการจัดตั้งชมรมฯ ทางสมาคมกายภาพบำบัดเขาจะสนับสนุนโครงการละ 20,000 บาท น่าจะ OK ไหมคะสำหรับเริ่มต้น เขามีแบบฟอร์มให้กรอก คงต้องเข้าไปดูใน web สมาคมฯค่ะ ส่วนงบประมาณก้อนต่อๆไปเราคงหาได้ทางใดทางหนึ่ง คุณกิตติช่วยเป็นแกนนำในเรื่องนี้เลยดีไหมคะ

ปนดา

เรียนน้องกภ.ยะลา

อาจารย์ทราบว่าคำตอบสำหรับคำถามของน้องมีใน blog นี้แน่ พี่กิตติเขาเคยอธิบายเอาไว้น้องช่วย click เข้าไปอ่านหน้าก่อนหน้านี้สัก 4-5 หน้า น้องน่าจะได้คำตอบนะคะ

ปนดา

วันที่ 8-10 มีนาคมนี้ จะมีการสัมนาเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกายภาพบำบัดชุมชน ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคาร 2 คณะเทคนิคการแพทย์ ขอนแก่น  ขอให้การสัมนาประสบความสำเร็จนะคะ

ปนดา

สวัสดีคะ อ.ปนดา

หนู NU 48 เพิ่งย้ายงานมาเปิดแผนกเอง เลยไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก่อนดีคะ เนื่องจากเคยทามงานมาแล้ว พอมาที่ใหม่ก็ได้รับงานเชิงรุกหลายๆ อย่าง แล้วไหนจะต้อง set แผนกอีก เลยมึนคะอาจาน เพราะไม่เคย set เอง เอกสารก็ไม่ค่อยได้แตะ

หนูเลยอยากขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนกคะ อยากได้มาปรับใช้ เพราะถ้าจะsetใหม่คิดว่าจะใช้เวลามากเกินไปคะ แล้วเชิงรุกหนูก็ต้องทำ ขอบคุณคะ

[email protected]

น้อง ๆ ที่จะเข้ากลุ่มย่อยเรื่อง “การปรับสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมสำหรับคนพิการ” ในการสัมมนา “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกายภาพบำบัดชุมชน” ที่ขอนแก่นสัปดาห์หน้า ช่วยนำตัวอย่างการปรับสภาพแวดล้อม+สิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการมา show ในกลุ่มย่อย 9 มีนา ด้วยค่ะ เป็น powerpooint/ของจริงก็ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

เรียนอาจารย์

คือตอนนี้หนูอยากขอแบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้านและแบบฟอร์มการตรวจประเมินคนพิการ เอกสารฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และservice profile และหนูขอดูตัวอย่างการเขียน SPA ของงานกายภาพบำบัด ด้วยนะค่ะ

[email protected]

กภ.อรุณี ชนาภิสิทธิ

สวัสดีคะ อาจารย์ หนูได้รับให้ดูแลนักกีฬาสโมสรฟุตบอล เวลาที่แข่งขันและฝึกซ้อม อยากสอบถามอาจารย์คะว่า อัตราในการดูแลนักกีฬาที่เรากายภาพบำบัดเข้าไปดูแลจัดการคิดชม.เท่าไรคะ  

ตอนนี้หนูกำลังได้แผกและเครื่องมือใหม่ อาคารเสร็จเรียบร้อย เหลือแค่รอเครื่องมือ แต่หนูไม่รู้จะทำอะไรเป็นอันดับแรก รบกวนอาจารย์แนะนำหนูด้วยนะค่ะ และขอ service profile, CPGงานทางกายภาพ,โรคทางกายภาพ ,งานความเสี่ยงทางกายภาพ,งานบริหารภายใน ส่งมาที่ au-zapaju@hotmail (คราวก่อนเคยขอแต่ยังไม่ได้อะไรเลยค่ะ)

รู้สึกมีกำลังใจที่จะทำงานต่อไป สู้เพื่อPTของเรา

ตอบ กภ.อรุณี

เรื่องอัตราต่อชั่วโมงในการดูแลนักกีฬา อาจารย์ไม่ทราบจริงๆว่าเขาคิดเท่าไร อาจารย์เคยแต่ทำให้ฟรีหรือได้เป็นค่าวัสดุ แต่มันคนละบริบทกับกรณีของคุณ คิดว่าลองถามนักกายภาพบำบัดที่ทำงานกับ กกท. ดีไหม ว่าเขาคิดเท่าไร

ปนดา

ตอบคุณกมลทิพย์และคุณgift

จะรีบส่งไปให้นะคะ  ดีใจที่คุณได้เข้ามา share ใน blog ค่ะ

ปนดา

สวัสดีค่ะอาจารย์และพี่น้องโรงพยาบาลชุมชน

คือว่า ดิฉันเป็นนักกายภาพบำบัดอยู่ที่โรงพยาบาลพิจิตร มีความสนใจที่จะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "การพัฒนาสมรรถนะการสอนทางคลินิกของนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชน" กำลังจะทำ concept paper จึงอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการสอนทางคลินิกของนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนในปัจจุบัน (โรงพยาบาลชุมชนที่รับนักศึกษากายภาพบำบัดฝึกงาน) ท่านใดสะดวกที่จะพูดคุยได้ทางโทรศัพท์ (ประมาณ 15-30 นาที ) รบกวนช่วยส่ง เบอร์โทรศัพท์ทาง email [email protected]   และถ้าพี่น้องท่านใดสนใจที่จะเป็นผู้เข้าร่วมการทดลอง (เมื่อได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะแล้ว) อาจจะอีก 1 ปี กว่า (แต่อ. ให้ระบุในตอนนี้เลยว่ามีที่ไหนบ้าง) รบกวนช่วยส่ง email ให้ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ชฎาพร

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเพิ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานเกี่ยวกับชุมชน ยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ยังไม่รู้ว่าจะดำเนินการเกี่ยวกับงานชุมชน และลงพื้นที่กับสอ. จึงรบกวนขอไฟล์งานที่จำเป็น เช่นแบบฟอร์มแรกรับกายภาพบำบัด แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการหรือผู้ที่ต้องฟื้นฟู คลีนิกเบาหวาน ผู้สูงอายุ เรื่องความดันโลหิต งานคลินิค COPD งานผู้พิการ งานคุณภาพ งานเอกสารการเขียนขออนุมัติต่างๆ  และรบกวนเรื่องการฟื้นฟูการออกเยี่ยมบ้านและการอบรม อสม แกนนำผู้พิการ

email :[email protected] ขอบคุณล่วงหน้า

 

เรียน อาจรย์ รศ.ปนดา,

 

ต้องการฝากข่าวประชาสัมพันธ์รับสมัครบุคคลากรของบริษัท โดยต้องการบุคคลซึ่งจบการศึกษาด้าน กายภาพบำบัด, พยายามและดานยา ไม่สามารถว่าจะติดต่อได้อย่างไรคะ?

เรียน อ.ปนดา

อาจารย์หนูเพิ่งย้ายมาทำงานชุมชนที่ใหม่และการ key ข้อมูลของที่นี่ใช้ระบบ GII ซึ่งที่เก่าใช้ hosXP จึงอยากเรียนถามอาจารย์ว่าหนูต้องทำอย่างไรบ้างเพราะตอนนี้หนูมีคนไข้เยอะแต่ยังไม่ลงข้อมูลในระบบเลย หนูรบกวนด้วยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

อาจารย์ตอบคำถามของคุณไม่ได้ แต่ติดต่อให้คุณกิตติเข้ามาตอบแล้วนะคะ

 

ปนดา

กายภาพบำบัดรพ.ฟากท่า

ฝากประชาสัมพันธ์หน่อยนะค่ะ

สาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์จะทำการรับสมัครเพื่อสอบคัดเลือกบุคคลบรรจุเป็นพนักงานราชการตำแหน่งนักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลบ้านโคก จังหวัดอตรดิตถ์ สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่งานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุจังหวัดอุตรดิตถ์ค่ะ

เรียน อ.ปนดา

ชื่อ วิราศิณี ศรีโง๊ะ ดิฉันเป็นนักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จากทีมไม้เลื้อย ขอสนับสนุนในการสร้างเครืิอข่ายกายภาำพบำบัดชุมชนค่ะ จะได้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพิ่มขึ้นค่ะ สิ่งสำคัญตอนนี้นักกายภาพบำบัดชุมชน เยอะเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว รู้สึกเป็นห่วงน้องๆที่ยังขาดประสบการณ์ การที่ได้รวมพลังกันก็จะเป็นประโยชน์ อย่างน้อยจัดตั้งแผนกควรมีอย่างต่ำน่าจะ 2 คน ถ้า 1 คนก็ต้องใจรักและมีความขยันมากๆ และที่สำคัญองค์ความรู้ที่เราต้องมีค่ะ

เรียน กภ.บุณฑริก ใช่จอยป่ะคับ ระบบ GII ไม่แน่ใจว่าใช่ระบบเดียวกับรพ.เราหรือป่าวแต่ รพ.เราเรียก HI ซึ่งต้องยอมรับว่าอุบลมีโปรมแกรมหลายสำนัก ลองปรึกษาพี่น้อยสมใจดูนะ

ขอบคุณคะ กภ.กิตติ จะขอรบกวนคุณกิตติเรื่องเบิก โอทีนะคะว่าเอกสารที่ใช้ประกอบในการเบิกมีอะไรบ้างเพราะย้ายที่ทำงานใหม่และที่เก่าก็มีคนทำให้ก็เลยไม่ค่อยทราบเรื่องพวกนี้เท่าไหร่ รบกวนขอเอกสารตัวอย่างด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

[email protected]

เรียน อ.ปนดา หนูขอแนวทางการซื้อเครื่องมือและคู่มือปฏิบัติงานหน่อยนะคะ รบกวนอาจารย์ส่งให้ด้วยนะคะ

[email protected]

ตอนนี้ดิฉันได้งานทำที่รพ.ชุมชน แล้วต้องเป็นผู้เปิดแผนกกายภาพบำบัด ร่วมกับกลุ่มงานอื่นๆ จึงอยากได้ข้อแนะนำ การเขียนโครงการต่างๆ และ การทำงานร่วมกับผู้พิการในชุมชนค่ะ ขอรบกวนช่วยส่งมาให้ดิฉันด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท