กายภาพบำบัดชุมชน


เรียนทุกท่าน ดิฉันได้จัดทำ blog นี้ ขึ้นเพื่อให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพ ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ และถือเป็นแหล่งรับฟังความคิดเห็นจากนักกายภาพบำบัดทั่วประเทศ  เกี่ยวกับการพัฒนางานกายภาพบำบัดให้ครอบคลุมไปยังประชาชนทั่วทั้งประเทศ...
มีต่อ

เรียนท่านที่มีความรู้ทุกท่าน

ตอนนี้อยากขอความรู้หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับการขอกำลังบุคคลเพิ่ม ไม่สามารถระบุได้ว่าทาง โรงพยาบาลของตัวดิฉัน

เค้าจาจัด PTให้หรือผู้ช่วย เค้าให้เขียนเสนอทางบริหาร ตอนนี้คนไข้มีประมาณต่อวัน17 คน ต่อนักกายภาพ1คน อุปกรณ์ทาง

กายภาพบำบัดมีแต่ แผ่นเจล HOT - COLD PACK และเครื่องUltrasound เ่ท่านั้นนอกนั้นก้อตัวดิฉันล้วนๆๆ

มีคนไข้ใน 3คน/นอก15 คนขึ้นไป ฝึกเด็กและฝึกเคส cva ซึ่งวันนึ่งกว่าจาทำงานเสร็จก้อ 5.30-6.00 น.เย็นเกือบทุกวัน

OTไม่มีนะให้ แถมคอมการลงข้อมูลต้องลงในคอมพิวเตอร์และใบopdการ์ด จาต้องเดินไปทำ ณ.หน่วยงานอื่นๆ

รู้สึกท้อมาก ที่ทางฝ่ายบริหารไม่เข้าใจไม้เคยเข้ามาดูเลย รวมทั้ง ผอ.ทางรพ กลัวแต่การลงทุนและขาดทุน

ห้องที่ทำอยู่คนไ้เข้าได้2คนอย่างมาก เลยอยากถามและขอความรู้และความคิดเห็นทุกท่านค่ะ ถ้ามีเอกสารหรือสิ่งดีรบกวนส่ง

[email protected]

หรือแผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลปากท่อ ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบรี 70140

เรียน PT post ที่ 700

กรุณาแจ้ง e-mail address ด้วยค่ะ

ปนดา

เรียน PT ปากท่อ

เรื่องนี้ อาจารย์มีเรื่องอยากจะแชร์ เรื่องงานที่หนักเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ ก็ขอให้อดทนไว้นะคะ ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน ปัญหาเรื่องที่ผู้ใหญ่เขาไม่ค่อยให้ความสนใจนั้นเราอาจต้องอาศัยความเมตตา การเข้าหาท่านแต่ก่อนทำเช่นนั้นได้ เราต้องรู้จักคำว่าให้อภัยเสียก่อน บ้างครั้งเมื่อคิดถึงงานที่หนัก ความไม่ได้รับการยอมรับ เราจะมีโมหะ โทสะ เกิดขึ้น เราต้องพยายามปล่อยวางในส่วนนี้ คิดเสียว่าเราพยายามทำวันนี้ของเราให้ดีที่สุด เมื่อเราไม่ปล่อยกระแสกรรมที่มีโมหะและโทสะออกไป ธรรมชาติจะให้โอกาสเรา บรรยายกาศที่อบอุ่น เต็มไปด้วยความรักความเมตตาก็จะเกิดขึ้นรอบๆตัวเรา สิ่งต่างๆ ที่เคยเป็นปัญหาอุปสรรคต่างๆก็จะดีขึ้น ถ้าคุณเชื่อในการปฏิบัติ เช่นนี้ลองทำดู เพียงแค่เริ่มทำก็จะรู้สึกถึงความเบิกบานที่อยู่ข้างใน

ส่วนเรื่องการนำเสนอผลงานและปัญหาอุปสรรคให้ผอ.ทราบ เราต้องทำการบ้านดีๆ มีสถิติตัวเลขให้ท่านเห็น นอกจากนั้นผลงานที่ไม่ใช่ตัวเลข เช่นความพึงพอใจของคนไข้ ผู้รับบริการ ต่างๆ ผลงานในการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้บริการ อาจไม่จำเป็นต้องเป็นแบบฟอร์มวัดคุณภาพชีวิต แต่ถ้ามีภาพประกอบก็อาจช่วยให้เห็นผลงานเราได้ (ควรนำเสนอทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ) การนำเสนอความมุ่งเน้นไปที่ประโยชน์ของผู้รับบริการ ซึ่งส่งผลต่อการลดภาระของโรงพยาบาล การแสดงให้เห็นว่างานเรา overload อาจแสดงตัวเลขของมาตรฐานวิชาชีพประกอบด้วยได้ เช่น การดูแลผู้ป่วย นักกายภาพบำบัด ๑ คน ดูแลผู้ป่วยไม่เกิน ๑๐ คนต่อวัน แต่ถ้ามีการมอบหมายหน้าที่ให้ดูแลผู้ป่วยเฉพาะทาง นักกายภาพบำบัด ๑ คน ให้การดูแลผู้ป่วย ๖ คนต่อวัน การออกเยี่ยมบ้าน ไม่เกิน ๕ คนต่อวัน การส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มละไม่เกิน ๑๕ คน

ขอให้พระธรรมเมตตา

ปนดา

post ที่ 700 คะ

email: [email protected]

ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งคะ

เรียน อ.ปนดาและนักกายภาพบำบัดทุกท่าน

อยากทราบว่าคนไข้ที่หมอส่งทำกายภาพส่วนใหญ่แล้วนั้น ทางเราจะให้การรักษากี่ครั้งค่ะถึงจะส่งกลับไปพบหมออีก

ถ้าคนไข้อาการดีขึ้น progess ดีขึ้นมาเรื่อยๆ ทางกายภาพจะต้องส่งกลับไปให้หมอดูอีกครั้งมั๊ยค่ะ หรือว่าทำต่อเนื่องไปได้เลย

เช่น คนไข้ Hemi คนไข้ frozen

post 700

ได้รับข้อมูลแล้วคะ ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ

ตอบ post ที่ 705

ระยะเวลาในการติดตามผลการรักษาของแพทย์ของแต่ละรพ.อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างแพทย์และนักกายภาพบำบัด โดยมากมักเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่แพทย์นัดผูป่วย เราก็จะมีใบสรุปผลการรักษาเพื่อติดไว้กับ OPD card ของผู้ป่วย หรือในกรณีที่แพทย์กับนักกายภาพฯอยู่คนละสถาบันกันก็ให้ผู้ป่วยนำไปยื่นให้กับแพทย์ ทังนี้นักกายภาพบำบัดควรสรุป Subjective exam, Objective exam, Treatment (ควรบอกด้วยว่าผู้ป่วยมารับการรักษากี่ครั้ง), Assessment (การประเมินผลว่าผู้ป่วยดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร), และ Planการรักษาในอนาคต รวมถึงความคิดเห็นของนักกายภาพบำบัดว่าผู้ป่วยยังจำเป็นต้องรับการรักษากายภาพบำบัดต่ออีกก็สัปดาห์ สัปดาห์ละกี่ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้แพทย์ได้ทราบข้อมูลของผู้ป่วย และผลการรักษาทางกายภาพบำบัด ถ้าได้ผลดีแพทย์อาจส่งผู้ป่วยมาปรึกษาเรามากขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ดีขึ้นควรวิเคราะห์ถึงปัญหา อุปสรรคด้วย เช่น ผู้ป่วยบางรายส่ง PT แต่อาการไม่ค่อยดีขึ้น แต่เกิดจากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บเพิ่มเติม แพทย์จะได้เข้าใจ และให้การรักษาทางการแพทย์ต่อได้ดีขึ้นด้วย

อาจารย์คิดว่าการเขียน progress report ให้แพทย์น่าจะเป็นเรื่องดีที่ควรทำนะคะ ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลงก็ตาม เป็นกาสร้างระบบที่ดีในการทำงาน เราอาจจะต้องใช้เวลาในการเขียนหน่อย แต่ถ้ามีแบบฟอร์มที่ดี มีช่องให้กรอก ก็จะช่วยให้สะดวกขึ้น

ปนดา

รู้สึกอบอุ่นใจ ดีใจที่เรารักกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทำให้ผู้อื่นมองเห็นคุณค่าของวิชาชีพของเรา ทำให้อยากไปเป็นส่วนหนึ่งของกายภาพบำบัดชุมชนค่ะ แต่ที่จันทบุรีเค้ายังไม่เปิดรับเลยค่ะ

รอบกวนขอเอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชนครับ รวมทั้งเอกสารการเปิดแผนก ขอบขอบคุณมากครับ

อีเมลล์ครับ [email protected] ขอบคุณมากๆครับ

ขอเอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชนครับ รวมทั้งเอกสารการเปิดแผนก ขอบคุณมากครับ

ส่งข้อมูลให้สยามทาง [email protected] ขอบคุณมากๆครับ

เรียน รศ.กภ.ปนดา

ผมได้จัดส่งตัวอย่างเอกสารที่จำเป็นให้อาจารย์ทางอีเมลล์หากได้รับแล้วกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยครับ

ได้รับแล้วค่ะ ทั้งของคุณกิตติและของคุณณัฐาภรณ์ค่ะ ขอบคุณมากนะคะ กำลังรวบรวมจัดหมวดหมู่อยู่ค่ะ

ปนดา

เรียนอ.ปนดา และพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคน

รบกวนขอเอกสาร service profile ของงานกายภาพบำบัด และเอกสารที่จำเป็นสำหรับการเปิดแผนกใหม่ด้วยนะค่ะ

ช่วยส่งมาที่ [email protected] ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

เรียนอาจารย์ปนดาค่ะ

เรื่องการพัฒนากำลังคนทางกายภาพบำบัด ในงานบริการระดับปฐมภูมิ อาจารย์บอกว่าไปประชุมมาน่ะค่ะ หนูอยากทราบเรื่องว่าเป็นอย่างไรบ้าง เท่าที่หนูเข้าใจตอนนี้ เราไม่สามารถเข้าทำงานสถานที่บริการระดังปฐมภูมิได้ใช่มั้ยคะ เพราะหนูได้เคยสอบถามทางศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชนไปแล้ว เค้าบอกไม่สามารถเปิดได้ หนูค่อนข้างสนใจเรื่องนี้น่ะค่ะ รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะทีนะคะ

ขออีกหนึ่งคำถามค่ะ เราจะทราบได้อย่างไรคะ ว่าโรงพยาบาลชุมชนแห่งไหนยังไม่มีกายภาพบำบัด หาข้อมูลด้วยตนเองอยู่นานแสนนานค่ะ แต่ไม่คืบหน้า รบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ ตอนนี้หนูว่างงานน่ะค่ะ......

อาจารย์ค่ะ ตอนนี้มีโรงพยาบาลชุมชนไหนบ้างคะ ที่ยังไม่มีกายภาพบำบัด หรือหนูสามารถหาดูข้อมูลได้จากที่ไหน รบกวนอาจารย์ตอบด้วยนะคะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ขออีกนะคะ โรงพยาบาลชุมชนที่ไม่มีกายภาพบำบัด ในจังหวัด นครปฐม นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อยุธยา น่ะค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งนะคะอาจารย์ปนดา

เรียนอาจารย์ปนัดดา

รบกวนอาจารย์ส่งแบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด

และแบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้านด้วยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สุรินทร์ยา จันทร์ภิรมย์

ตอบกระทู้ 479 เป็นนักกายภาพบำบัดที่ รพช.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด ค่ะ ทำงานสองเดือนยังไม่มีเครื่องมือ ไม่น่าแปลกหรอกค่ะ ต้องใจเย็นหน่อย รพช. ไม่เหมือน รพ.เอกชน งบน้อย ต้องรอสอบราคาอีกมากมาย รพช. ที่หนูอยู่ ผอ. สนับสนุนงาน อนุมัติซื้อเครื่องมือ ตั้งแต่เริ่มทำงานได้ 2-3 อาทิตย์ แต่กว่าจะได้จริง ก็ประมาณ 6เดือน ค่อยๆทำไปค่ะ แนะนำว่าให้ทำแผนงานรอเลย ไม่ว่าจะเป็น คู่มือปฏิบัติงาน อย่างง่ายที่เราเข้าใจก่อน และเก็บข้อมูลคนพิการในชุมชนไว้เลย เพราะยังไงเราก็ต้องทำแน่ๆ ตอนนี้อยู่ที่นี่มา 1 ปีกว่าๆ หลายอย่างก็เริ่มลงตัวค่ะ ทั้งที่เริ่มแรกก็ไม่รู้อะไรเลยเหมือนกัน มีเซ็งนะคะ เพราะไม่ชอบงานออกชุมชน คนพิการเลย แต่ก็เลี่ยงไม่ได้มันเป็นหน้าที่ไปแล้ว แต่พอเราทำผลงานให้ทุกคนเห็นว่าบทบาทกายภาพคืออะไร ก็ดีใจคะ

ขอเป็นกำลังใจให้กับน้องๆหรือเพื่อนๆที่กะลังเปิดแผนกใหม่กันทุกท่านนะครับ อยากให้ทุกคนอดทน แม้ว่าจะเครียดบ้าง จับต้นชนปลายไม่ถูกว่าจะเริ่มทำอะไรก่อนดี แต่เชื่อว่าทุกคนมีความตั้งใจจริงที่จะทำผลงานให้ปรากฏและเป็นที่ยอมรับของฝ่าย/งานอื่นๆ ไม่มีสิ่งใดที่คนเราตั้งใจทำแล้ว จะไม่สำเร็จ ตรงกันข้าม หากไม่มีเป้าหมาย ไม่ว่าจะทำอะไร ก้อไม่มีวันเจริญ นี้เปงคติประจำใจในการทำงานของผมมาโดยตลอด ซึ่งเมื่อวันจันทร์ที่ 3 กันายายน ที่ผ่านมาผมได้สรุปผลการดำเนินงานปีงบ 53 ทุกคนตั้งใจฟังมาก หลังจบการนำเสนอมีแต่คำชมและเสียงปรบมือ ขนาดลงมายังแผนกแล้วหัวงานหัวหน้าฝ่ายหลายคนยังตามมาแสดงความชื่นชมต่อที่แผนก ผลงานนี้ทำให้ทุกคนเหนภาพงานกายภาพบำบัดทั้งสี่ด้านคือ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู อย่างชัดเจน ดังนั้นขอให้ทุกคนสู้ๆนะครับ

เรียนถามผู้รู้ช่วยตอบค่ะ..เรื่องการรับเงินค่าตอบแทนใบประกอบโรคศิลป์(ค่าวิชาชีพ)ที่นักกายภาพได้รับ 1000บาท พยาบาลได้รับ1500บาท เหตุใดต่างกันนักทั้งที่พวกเราก็เรียน4ปีเท่ากันให้บริการด้านสุขภาพเช่นเดียวกัน แถมอัตราการลาออกหรือสมองไหลก็เช่นเดียวกันอีก ขณะนี้นักกายภาพตามรพช.พากันลาออกเป็นแถวๆไม่มีใครอยากอยู่ทำงานในชุมชนกันแล้วล่ะค่ะ ไม่รุ้ว่าคนกำหนดเขาเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์นะ

น้องแสงดาว.. เป็น PT ใหม่ที่ปากท้อใช่ไหมคะ

มีอะไร ติดต่อ หาพี่ได้นะ เป็น PT บางแพ ค่ะ เป็น รพช. ในราชบุรีเหมือนกัน

อาจมีประสบการณืไม่มาก แต่ยินดีช่วยเหลือจ้า.

PT บางแพ วรัสยาพร

[email protected]

ตอบความเห็นที่ 717 -719 ค่ะ

ตอนนี้ งานกายภาพในระดับศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชน นั้น ยังไม่ค่อยเปิดค่ะ เนื่องจากเขายังไม่ค่อยเข้าใจในเนื้องานของเรา

แต่ช่วงนี้ที่กำลังเปิดคือ รพ.อำเภอค่ะ

จะทราบได้อย่างไร ว่าโรงพยาบาลชุมชนแห่งไหนยังไม่มีกายภาพบำบัด ... น้องต้องลองหาข้อมูลง่า แต่ละ จ. ที่เราสนใจลง นั้น มี รพ. อะไรบ้าง แล้วลองโทรถามดูค่ะ

ส่วนราชบุรี นั้น ถ้าเป็น รพช. ที่ยังไม่มีนักกายภาพ คือ รพ.เจ็ดเสมียน กับ รพ. วัดเพลง ค่ะ

ตอบความเห็นที่ 723.

ในส่วนของเกณฑ์นั้น เราคงไม่รู้ว่า เขาใช้อะไรเป็นตัววัด และยังไง ซะเราก็คงไปเปลี่ยนอะไรไม่ได้ ( ณ ตอนนี้ )

แต่ ยังไง ช่วงนี้ รพ. ชุมชน เขาก็มี ค่า พตส. 1000 + เบี้ยเลี้ยง 1200 ให้เพิ่มขึ้นมา จากเดิม อยากให้ ลองมองส่วนที่ดี ดีกว่า จะได้เป็นกำลังใจให้เราทำงานต่อไป

อีกอย่างวิชาชีพกายภาพเรา เป็น วิชาชีพ ที่มีคุณค่า สามารถสร้าง Quality of life ให้กับผู้ป่วยได้ และ งานกายภาพของเรา นั้นกว้างขวาง สามารถทำได้หลายหน้า

หากเรา มีความตั้งใจในงานที่ทำ และพัฒนา สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ให้คนในชุมชน เมื่อนั้น งานของเรา ก็จะเป็นที่ยอมรับ และ ชัดเจน ต่อ หลายๆ หน่วยงาน เหมือนอย่างๆที่ พี่พี่ ที่ทำในชุมชน เขาพยามทำกันอยู่ นะคะ

แล้วตอนนี้ หลายๆฝ่ายก้อพยามสนับ สนุน ผลักดัน ในงานกายภาพบำบัด ชุมชน นั้นเกิด และ เติบโต อย่างยั่งยืนค่ะ ใจเย็นๆ นะคะ

ตอบ ธัญดา [IP: 125.27.119.163]

ความเห็นที่ 723

พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับเงิน พตส.1500 เนื่องจากเค้าทำงานในห้อง ER , WARD, LR เป็นต้น ซึ่งภาระงานและความเสี่ยงจะมาก ส่วนพยาบาล OPD ได้รับ 1000 บาทเหมือนกัน เริ่มแรกเราก็สงสัยเหมือนกัน เราเลยไปวีน จึงได้รายละเอียดมา ซึ่งมันจะแบ่งกลุ่มประเภทของพยาบาลอีก

สปสช.เขตสงขลาแจ้งว่า รพ.ป่าพะยอม ต้องการรับสมัครนักกายภาพบำบัด จำนวน 1 คน

รบกวนช่วยแจ้งประชาสัมพันธ์ด้วยค่ะ

เบอร์ รพ. 074-626163-4 , 074-624449

เรียน อ.ปนดา อยากทราบเกี่ยวกับความคืบหน้าการจัดทำชุดความรุ้กายภาพบำบัดชุมชน ไม่ทราบว่ามีอะไรที่ผมพอจะช่วยได้อีกบ้างครับ

สวัสดีคะอาจารย์ ปนดา

เรียนขอคำแนะนำจากอาจารย์นะคะ

โรงพยาบาลชุมชนส่วนมาเป็นโรงพยาบาลที่ยังไม่ค่อยมีนักกายภาพบำบัดอยู่ประจำ หนูมีโอกาสได้เข้าทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง แต่ว่าหนูยังไม่มีประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาลชุมชนมาก่อน หนูอยากขอคำแนะนำจากอาจารย์เกี่ยวกับการทำงานในโรงพยาบาลชุมชนนะคะ ว่าควรจะทำอย่างไร เริ่มต้นจากส่วนไหน และในเรื่องการเริ่มเปิดแผนกกายภาพบำบัดควรจะทำอย่างไรบ้างคะ หนูขอรบกวนอาจารย์ช่วยให้ข้อมูลแนะนำหนูหน่อยนะคะ รวมทั้งหนูรบกวนขอเอกสารหรือแบบฟอร์มต่างๆที่ใช้ในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานกายภาพบำบัดชุมชน

E-mail นะคะ : [email protected]

ขอบพระคุณมากนะคะอาจารย์ปนดา

อาจารย์ว่าคุณเริ่มจากการ set แผนกกายภาพบำบัดก่อนก็ได้ค่ะ คงจะมีอะไรต้องทำมากมาย จะส่งเอกสารไปให้ดูเป็นแนวทางนะคะ

ปนดา

เรียนทุกท่าน

วันนี้อาจารย์ไปเข้าร่วมประชุมคณะทำงานพัฒนาเนื้อหารายวิชากายภาพบำบัดชุมชน เป็นครั้งที่ 2 ทางคณะทำงานฯได้ขอบเขตและเนื้อหารายวิชากายภาพบำบัดชุมชนแล้วค่ะ กำลังพยายามลงรายละเอียดเนื้อหาให้มากขึ้น ก่อนที่จะส่งไปให้นักกายภาพบำบัดชุมชนได้ร่วมให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาปรับปรุง และส่งร่างให้คณะอนุกรรมการวิชาการของสภาพิจารณา เพื่อเสนอต่อสภาฯ เพื่อรับรอง ก่อนส่งไปให้สถาบันผู้ผลิตใช้เป็นแนวทางในการสอนรายวิชากายภาพบำบัดชุมชนค่ะ

ปนดา

สวัสดีท่านอ. รศ.ปนดา ค่ะ

หนูเป็นนักกายภาพของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ค่ะ ตอนนี้ทางโรงพยาบาลเริ่มมีแผนกกายภาพบำบัด ซึ่งรวมอยู่ในส่วนของคลิิ

นิกการแพทย์ผสมผสานเพื่อผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัวค่ะ ทางผอ.ต้องการให้เปิดแผนกอยากเต็มรูปแบบ ขณะนี้ไม่มีเครื่องมือทางกายภเลย มีนักกายภาพอยู่ 1 คน งานส่วนใหญ่เป็น manual หมดค่ะ อยากรบกวนท่านอ.ช่วยแนะนำว่าเราควรเริ่มต้นการเขียนแผนของบการจัดซื้อเครื่องมือที่จำเป็นให้ด้วยค่ะ ([email protected]) ขอบพระคุณท่านอ.ค่ะ

เรียน กภ.นิดา

จะส่งแนวทางการขอซื้อเครื่องมือไปให้ค่ะทาง e-mail

ปนดา

เรียนรบกวนอาจารย์ค่ะ

อยากรบกวนขอรหัสการรักษาทางกายภาพบำบัดและอัตราค่ารักษาค่ะ ไม่ทราบว่าจะหาได้ที่ไหนคะ รบกวนอาจารย์ตอบให้ทางเมลล์ด้วยสะดวกไหมคะ ขอบพระคุณค่ะ [email protected]

<p>สวัสดีคะอาจารย์ ปนดา

เรียนขอความช่วยเหลือคำแนะนำจากอาจารย์นะคะ ตอนนี้ทำโครงการเสนอ สปสช ผ่านแล้วกำลังจะออกเยี่ยมผู้พิการที่บ้าน และกายภาพบำบัดในชุมชนค่ะ แต่ยังไม่มีแนวทางในการกายภาพฯ ท่านไหนดำเนินการเรื่องนี้แล้วรบกวนส่งไฟล์เอกสารให้หน่อยนะ โครงการแบบคร่าวๆทำใน รพสต.

วัตถุประสงค์

สนับสนุนเรื่องการให้ความรู้และทักษะการดูแลคนพิการ

สนับสนุนให้ประชาชนเข้มแข็งสามารถดูแลกันเองได้

สนับให้ผู้พิการสามารกแลตัวเองได้โดยมีญาติเป็นผู้ดูแล

สนับสนุนให้คนพิการกลับมามีคุณค่าในสังคม

กิจกรรมที่ให้

1.จัดอบรมเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย อสม.และผู้ดูแลคนพิการออกเยี่ยมโดย อสม.ในพื้นที่

2.เจ้าหน้าที่อนามัย อสม.ออกเยี่ยมบ้านและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติตามสถานที่

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.เจ้าหน้าที่ได้รับความรู้และทักษะการดูแลคนพิการโดยมีการติดตามประเมินผล 1 ครั้ง / เดือน สามารถดูแลผู้พิการได้ 80%

2.ผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลตนเองตามคำแนะนำ 80%

ผอ.เค้าต้องการให้เราสอนให้ประชาชนหรือ อสม เค้าสามารถดูแลผู้พิการในพื้นที่ที่รับผิดชอบโดยมีนักกายภาพบำบัดเป็นพี่เลี้ยงค่ะและมีการตรวจเยี่ยมว่าที่เราสอนหรือให้คำแนะนำเค้านำไปใช้ได้ถูกต้องหรือป่าว แต่หนู่ไม่มีแบบฟร์อมในการบันทึกการเยี่ยมบ้านของ อสม. หรือแบบฟร์อมPT และแผนในการเยี่ยมบ้าน อาจารย์หรือ PT ท่านใดมีแบบฟร์อมรบกวนช่วยส่งให้หน่อยค่ะ E-mail นะคะ : [email protected]

ขอบพระคุณมากนะคะอาจารย์ปนดา

สอบถาม อาจารย์ และพี่ๆ เพื่อนๆ กายภาพค่ะ

ว่าทำไมอัตราจ้างนักกายภาพ ใน รพ ชุมชน แต่ละที่ไม่เท่ากันคะ

บางที่ 1030 บาท บางที่ 12000-13000 บาท

อยากทราบเหตุผลค่ะ

เรียน น้องๆ กภ.ชุมชน

อาจารย์ได้ส่งเอกสารสำหรับเป็นแนวทางการเริ่มงานกายภาพบำบัดในระบบปฐมภูมิไปให้แล้วนะคะ ตั้งแต่ post 733-737

ปนดา

ขอบคุณ อาจารย์ มากๆๆค่ะ

อ.ค่ะหนูเป็นPT เพิ่งจบใหม่ ตอนนี้ทำงานรพ.ชุมชน อยากทราบว่า ถ้าไปรักษาptที่ ward,OPD หรือออกชุมชน แต่pt ไม่ได้ลงทะเบียนทร74 แล้วหนูจะเข้าไปคีย์ของ สปสช.ได้มั้ยค่ะ ยังงงอยู่ ตอนนี้หนูก็ไม่ได้เขียนโครงการเลย อ.ช่วยส่งรายละเอียดให้หนูหน่อยนะค่ะ [email protected]

กราบสวัสดีค่ะอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกๆคนนะค่ะ

อยากรบกวนท่านอ.ขอเหมือนคนอื่นๆ ด้วยนะค่ะ

ขอเอกสารการเขียนแผนของบการจัดซื้อเครื่องมือที่จำเป็นทางกายภาพ

ขอเอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

ขอเอกสารที่จำเป็นสำหรับการเปิดแผนกใหม่

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

และขอเอกสาร service profile ของงานกายภาพบำบัด

ขอเยอะไปไหมหนอ

แต่ขอรบกวนจิงๆนะค่ะ มีความจำเป็นอย่างแรง เพราะเพิ่งเปิดแผนกใหม่ ทำอะไรไม่ค่อยเป็นเลยค่ะ

กราบขอบพระคุณทุกท่านล่วงหน้าอย่างสูงส่งค่ะ

[email protected]

สวัสดีคะอาจารย์ปนดา

อาจารย์คะตอนนี้เรื่องอัตราค่าบริการทางกายภาพบำบัดในสถานบริการสาธารณสุข ได้มีการกำหนดราคากลางไว้เป็นมาตรฐานไหมคะ?? แล้วสามารถหาข้อมูลเรื่องอัตราค่าบริการทางกายภาพบำบัดที่สามารถจะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการทำเรื่องขออนุมัติการกำหนดค่าบริการการรักษาทางกายภาพบำบัดในโรงพยาบาล ได้จากที่ไหนบ้างคะ ?? รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ e-mail : [email protected] ขอบพระคุณมากคะอาจารย์

PT ฟากท่า อุตรดิตถ์

สวัสดีค่ะอาจารย์ปนดาและพี่ๆ PT ชุมชนทุกคน

หนูจบ PT มาปีกว่าๆ แต่เพิ่งมีโอกาสได้ทำงานชุมชน

เปิดแผนกใหม่ พอดีผอ.รพ.ให้เขียนแผนเกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านแต่หนูไม่รู้จะเริ่มยังไง

รบกวนขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการออกเยี่ยมบ้าน

ไฟล์แบบประเมินความพิการ และรบกวนปรึกษาเรื่องการเบิกจ่ายเงิน

ตัวอย่างการเขียนโครงการของบฟื้นฟูทั้งผู้พิการ

ส่งมาที่ [email protected]

ขอบคุณมากๆ นะค่ะ

อ.ค่ะหนูอยากขอเอกสารการเขียนแผนของบการจัดซื้อเครื่องมือที่จำเป็นทางกายภาพ

ขอเอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

ขอเอกสารที่จำเป็นสำหรับการเปิดแผนกใหม่

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

และขอเอกสาร service profile ของงานกายภาพบำบัด

เหมือนข้างบนเค้าขอกัน ขอบคุณมากกกค่ะ [email protected]

ตอบ post ที่ 740 - 744

เรื่องการคีย์ข้อมูลผู้ป่วยที่ไม่มี ท 74 แต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ป่วยเรื้อรังต่างๆ เช่น COPD เบาหวาน เป็นต้น เมื่อเราเยี่ยมแล้วสามารถคีย์ข้อมูลลงใน Excel ก็ได้ค่ะ แล้วส่งให้สปสช. อีกที ปัญหานี้เกิดขึ้นค่ะ เพราะ สปสชยังไม่มีระบบสารสนเทศที่รองรับในเรื่องนี้ ก็อยู่ในระหว่างพัฒนาค่ะ

ส่วนเรื่องตัวอย่างการเขียนโครงการ การคิดค่าบริการ แบบฟอร์มต่างๆ จะส่งให้ทาง e-mail นะคะ

ปนดา

สวัสดีค่ะ อ.ปนดา

ขอแบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้านของ PT และของ อสม. และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ ด้วยนะค่ะ

ขอบคุณ อ. ล่วงหน้านะค่ะ

ชฎาพร [email protected]

เรียน อาจารย์

หนูได้ทำงานที่ รพช. บ้่านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ตอนนี้มีแผนกอยู่แล้วค่ะ และต้องไปรับช่วงต่อ โดยทั่วไปแล้ว บุคลากรในทีม สหวิชาชีพอื่น ไม่ค่อยทราบบทบาท หน้าที่ของนักกายภาพ บำบัดเท่าที่ควร และตัวหนูเองก็ไม่ทราบว่าควรเริ่มต้นตรงไหนก่อนดี เนื่องจากไม่เคยผ่านงาน โรงพยาบาลมาก่อนเลยค่ะ

รบกวนขอคำแนะนำจาก อาจารย์ และขอเอกสารมาเกี่ยวกับการเปิดแผนก เช่น เรื่องเครื่องมือกายภาพที่เหมาะสมกับ รพช. หรือ การเขียนโครงการต่างๆ

เรียนคุณสุรัตน์

ขอ e-mail address ด้วยค่ะ จะได้ส่งเอกสารให้ค่ะ

ปนดา

เรียน อาจารย์

ผมทำงานที่อนามัย นครราชสีมา อยากขอแบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่นมบ้านของ PT และของ อสม. และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ ,เอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน และเอกสาร SERVICE PROFILE ของงานกายภาพบำบัด

ส่งที่ วโรตนม์ [email protected] ขอขอบคุณมาล่วงหน้า

กภ. จิราภรณ์ ธูปมงคล

สวัสดีค่ะอาจาร ตอนนี้หนูเครียดมากอยากรบกวนถามอาจารว่าถ้ารพสต จ้างนักกายภาพบำบัดเน้นออกชุมชนเป็นหลัก ถ้าไปอยู่แล้วที่รพสต จะมั่นคงเหมือนรพชมั้ยค่ะ รพสตจะเลิกจ้างมั้ย

ถ้าเราไปทำงานที่ไหน ๆ เราก็ต้องทำงานให้เขาเห็นว่า เรามีความตั้งใจ มีความสามารถ มีความสำคัญ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ เขาก็คงจะจ้างเราต่อไปเรื่อยๆ นั่นคือหลักทั่วไป แต่ที่รพสต. เราก็คงต้องทราบก่อนว่าเราขึ้นอยู่กับใคร รพสต.บางแห่งที่อาจารย์ทราบเขาก็มีผู้อำนวยการเหมือนกัน แต่เจ้าหน้าที่ที่รพสต.เคยเล่าให้อาจารย์ฟังว่าบางคนกินเงินเดือนและขึ้นตรงกับสาธารณสุขอำเภอ แต่บางคนก็กินเงินเดือนจากอบต.แต่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาจากสาธารณสุขอำเภอ อะไรทำนองนี้ ซึ่งแต่ละที่คงมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง คงต้องศึกษาโครงสร้างองค์กรด้วยว่าเขาวางเราอยู่ตรงไหน อาจารย์ว่าเราอย่าไปกังวลเรื่องความมั่นคงมากนัก ถ้าเราทำให้เกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์ เขาคงจ้างเราต่อแน่นอนค่ะ

ปนดา

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ หนุมีเรื่องจะปรึกษาค่ะ ( ทำรพ ชุมชน จ.สงขลา) ก็คือการเข้าไปทำเคสในwardเราควรทำโดยมีหมอconsult ถูกไหมค่ะ ซึ่งเคสในward ส่วนใหญ่เป็นchest จะเป็นการเคาะปอด ซะมากกว่า ทีีนี้ ถ้าเป็นวันเเรกพยาบาลในตึกจะโทรบอกเคส ซึ่งในวันเเรกที่เข้าไปดู เราก็ต้องสอนผู้ปกครอง คือให้เป็นเสมือนพยาบาลคนที่2 เคาะปอดได้เอง และประเมินญาติ หรือว่าเราควรที่จะเข้าไปเคาะปอดต่อเนื่อง ทุกๆวัน แม้ว่าแพทย์ไม่เขียนorder contineuในวันนั้นก็ตาม เข้าไปทำจนกว่าคนไข้จะD/C

สวัสดีค่ะอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกๆคนนะค่ะ

อยากรบกวนขอเอกสารบางส่วนหน่อยค่ะ ก็คือ

ตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

service profile และ Unit profile ของงานกายภาพบำบัดค่ะ

อย่างหลังนี่รบกวนอย่างมากเลยค่ะ งงและไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้วค่ะ

ขอบคุณมากๆนะคะ

[email protected]

ขอขอบคุณอาจารย์มาก ผมได้รับเอกสารแล้ว ผมทำงานกับอนามัย อยากได้เพื่อน PT ที่ทำงานอนามัยมาแลกเปลี่ยนกัน ที่[email protected] ได้

ร้อยตรีสงกรานต์ ทองภักดี

กราบเรียนอาจารย์ดาที่เคารพ อยากรบกวนขอเอกสาร ก็คือ

- ตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

- แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

- service profile และ Unit profile ของงานกายภาพบำบัดค่ะ

- powerpoint ด้วยครับ ( ถ้าอาจารย์มี ) รบกวนส่งที่ [email protected] ครับ เดือน พ.ย. จะอบรม อสม. ในเขตพื้นที่

ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่าสูง ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงๆๆๆ นะครับ

ร.ต.สงกรานต์ ทองภักดี รพ.ค่ายกาวิละ

ตอบคุณ nurah

ในกรณีที่แพทย์ ส่งผู้ป่วยปรึกษา PT ทาง chest โดยมากเขาจะทำต่อเนื่องจนกว่าแพทย์จะสั่ง D/C นะคะ การรักษาทางกายภาพฯในผู้ป่วย chest คงจะไม่ใช่แต่เคาะปอดเท่านั้น เราสามารถทำอย่างอื่นได้อีกขึ้นอยู่กับสภาพและปัญหาของผู้ป่วย เราควรสอนเรื่อง home program ด้วย การให้ญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาตั้งแต่แรก ๆ เป็นการดี แต่ไม่ใช่ให้ญาติทำอย่างเดียว ถ้าผู้ป่วย admit ในรพ. ผู้ป่วยอยู่ในความดูแลของเรา เราควรเป็นผู้ให้การรักษา เพราะการรักษาของเราต้องประเมินจากผู้ป่วยด้วยว่าตอบสนองต่อการรักษาหรือไม่ อย่างไร ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการรักษา หรือไม่ ซึ่งญาติผู้ป่วยจะทำตรงนี้แทนเราไม่ได้ค่ะ

ปนดา

สวัสดีครับอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกๆคน

คือตอนนี้ผมเพิ่งเริ่มเข้ามาทำงานกายภาพบำบัดชุมชน ซึ่งตัวผมเองไม่ถนัดเลยเรื่องงานเอกสาร

หรือการร่างหนังสือต่างๆ ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร

จึงอยากรบกวนอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกๆคนช่วยเอกสารเหล่านี้

เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานหน่อยครับ ก็คือ

ตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

service profile และ Unit profile ของงานกายภาพบำบัด

powerpoint ด้วยครับ ( ถ้าอาจารย์มี )

ขอขอบพระคุณเป็นอย่าสูงครับ [email protected]

เรียน อาจารย์ ปนดา

ผมรบกวนขอเอกสารเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูคนพิการเพื่อนำมาศึกษาเป็นแนวทางในการทำงานในชุมชนครับ

ขอบคุณครับ

เมล์ [email protected]

ขอบพระคุณครับ

ขอเชิญชุมชนออนไลน์ เข้ามาชมโครงการพุทธศาสตร์สงเคราะห์ช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาสได้ที่

www.phnc.6t.net

เพื่อให้พัฒนาการเรียนรู้ ให้แก่เยาวชนที่ห่างไกลความเจริญ และควรให้เขามีโอกาสได้แสดงความสามารถให้เหมิอนบุคคลทั่วไป

กรุณาเข้ามาเยี่ยมด้วยนะครับ

ต้องขอโทษด้วยนะคะ ที่ไม่ได้เข้ามาทักทายกันนาน ช่วงนี้อาจารย์งานยุ่งมากค่ะ อย่างไรก็ตามได้ส่งเอกสารให้กับผู้ที่ขอข้อมูลและเอกสารไปยัง e-mail ที่ให้ไว้แล้วนะคะ

Bye-bye

Panada

เรียนอาจารย์ปนดา อยากทราบว่ามาตรฐานห้องกายภาพบำบัดเปงอย่างไรบ้างครับ พอดีกำลังออกแบบแปลนตึกกายภาพครับ

เรียนคุณกิตติ

เรื่องมาตรฐานห้องกายภาพบำบัด ได้มีการระบุไว้ในมาตรฐานบริการกายภาพบำบัด ที่สภากายภาพบำบัดได้จัดทำขึ้น อยู่ในมาตรฐานที่ 3 การจัดสภาพแวดล้อมและความปลอดภัย ขอแนะนำให้คุณกิตติเข้าไปดูรายละเอียดใน web สภาฯ www.pt.or.th และไปคลิกที่มาตรฐานกายภาพบำบัดทางซ้ายมือนะคะ

ปนดา

ขอพระคุณอาจารย์มากครับ เดียวจะส่งเมลล์แปลนห้องให้ช่วยพิจารณานะครับ

อ.ค่ะตอนนี้ รพ.กำลังสร้างแผนก อีก3เดือนคาดว่าเสร็จ หนูจะทำอย่างไรต่ออ่ะค่ะ ไม่รู้จะเริ่มยังไงค่ะ

ขอปรึกษาหน่อย นะคะคิดว่าถามกรุทู้นี้น่าจะได้คำตอบจากผู้ทีความรู้แน่นอนเลยค่ะ พอดีคุณพ่อเส้นเลือดที่สมองตีบขยับตัวไม่ได้ครึ่งซีกค่ะ ตอนนี้ไปโรงพยาบาล คุณหมอจะมียาให้ฉีด 1 ชุด 10 เข็มแกบอกว่าถ้ายาหมดจะดีขึ้น แต่หนูไม่แน่ใจว่ายาหมดแล้วคุณพ่อจะกลับมาเดินได้หรือป่าวแต่ช่วงที่รอฉีดยา หนู่อยากให้คุณพ่อทำกายภาพบำบัด เพราะเหลือยาฉีดอีกตั้ง 5 วันซึ่งนำกลับมาฉีดที่บ้าน เลยอยากจะถามว่าถ้าให้คุณพ่อฝึกเองที่บ้านจะได้มั้ยค่ะ ซึ่งคุณหมอก็บอกวิธีมาแต่ได้แค่บางท่ายังไม่ได้ฝึกท่ายืน เดิน อีกอย่างกลัวว่าถ้าฝึกเอง ทั้งข้อ ทั้งกล้ามเนื้อ มันจะมีปัญหาหรือป่าว บางครั้งคุณพ่อก็ใช้ผ้าผูกกับราวบันไดแล้วยืนขึ้นเอง แต่กลัวว่าถ้าไปฟื้นฟูที่โรงพยาบาลมันหลายวันแล้วค่าใช้จ่ายจะแพงมาก อีกอย่างเรื่องคนเฝ้าไข้ด้วย พอแนะนำได้มั้ยค่ะว่าจะอย่างไรดี คุณพ่อเพิงเป็นเมื่อวันอังคารที่2 พ.ย.2553 ยังสามารถควบคุมการขับถ่ายได้จำอะไรได้หมด แต่แกจะชอบเครียดนอนไม่หลับ ถ้าจะไปโรงพยาบาลมีที่ไหนแนะนำที่ถูกและบริการดีมั้ยค่ะ รบกวนขอคำตอบหน่อยนะคะ ตอนนี้หนูเครียดมากอยากให้คุณพ่อกลับมาเดินได้เหมือนเดิม

kasa..ขอบคุณค่ะ

เรียนคุณKasa

สำหรับปัญหาของคุณพ่อคุณ คงต้องทำตามที่แพทย์แนะนำเรื่องการฉีดยาให้ครบ แต่สำหรับกายภาพบำบัดนั้น ญาติและผู้ดูแลมีส่วนช่วยได้มากค่ะ ไม่ทราบว่าคุณและคุณพ่ออยู่ด้วยกันหรือไม่ และอยู่จังหวัดอะไร นักกายภาพบำบัดในรพ.ใกล้บ้านน่าจะเป็นที่ๆควรไปปรึกษาเพราะน่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด ต้องรักษาสภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วย หวังว่าคุณคงพอมีเวลาดูแลท่านนะคะ หรือถ้ามีคนช่วยดูแลก็คงจะเบาแรงขึ้นบ้าง แต่ก็ต้องไปดูแลท่านอยู่ดี และเป็นกำลังใจให้ท่านด้วย เท่าที่ฟังจากอาการ คุณพ่อของคุณน่าจะมีโอกาสเดินได้นะคะ

ปนดา

http://www.nhso.go.th/NHSOFront/SelectViewFolderAction.do?folder_id=000000000000129

คู่มือบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2554 เล่มที่ 1

5.2 งบพัฒนาระบบบริการร้อยละ 20 (114.72 ลบ.) จัดสรรดังนี้

สปสช.เขต จำนวนร้อยละ 80 จำนวนเงิน 91.78 ลบ.(ปี 2553 จำนวน 53.4 ลบ.)

6.2.1 แนวทางการสนับสนุนงบพัฒนาระบบบริการฯของ สปสช.เขต

ให้ สปสช.เขต ดำเนินการสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยบริการ องค์กรคนพิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ดังนี้

1) จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการของหน่วยบริการตามแนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน เป็นฐาน (CBR /Community Based Rehabilitation) โดยบูรณาการการดำเนินงานและงบประมาณร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยกำหนดเป้าหมายอย่างน้อยเขตละ 1 พื้นที่ เพื่อเป็นต้นแบบหรือศูนย์เรียนรู้ในการขยายงานในพื้นที่อื่นต่อไป

2) จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการของหน่วยบริการตามความพร้อม โดยเน้นความต่อเนื่องและพัฒนาต่อยอดจากฐานงานเดิมรวมทั้ง การสนับสนุนการขยายขอบเขตงานบริการฟื้นฟูฯรูปแบบใหม่ ที่ไม่มีในระบบบริการเดิม เช่น การพัฒนาระบบบริการจิตเวชชุมชน การฟื้นฟูกลุ่มคนพิการด้านสติปัญญาการเรียนรู้และออทิสติก และนวัตรกรรมบริการอื่นๆ

โดยกำหนดการสนับสนุนในรูปแบบการเสนอโครงการพัฒนาระบบบริการเพื่อพิจารณาสนับสนุน ตามแนวทางที่กำหนด (ภาคผนวก 2.4)

3) จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพขององค์กรคนพิการ คนพิการและผู้ดูแลคนพิการและอาสาสมัคร ในรูปแบบการเสนอโครงการพัฒนาศักยภาพเพื่อพิจารณาสนับสนุนตามแนวทางที่กำหนด (ภาคผนวก 2.5)

4) จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของหน่วยบริการด้านงานฟื้นฟู โดยการสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนากำลังคนด้านงานกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชน ตามเป้าหมายการขยายบริการกายภาพบำบัดและตามแนวทางการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ รวมทั้งการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการด้านงานฟื้นฟูฯอื่น ที่จำเป็น

ไม่แน่ใจว่าใน ข้อ 4) ใครมีแนวทางหรือโครงการอะไรที่กำลังจะนำเสนอบ้าง อยากให้แลกเปลี่ยนกันค่ะ

เรียนอาจารย์ครับ

ผมอัฏฐพร ทีมไม้เลื้อยครับ ผมเข้ามาเพื่อแสดงความขอบคุณในการทำ web กายภาพบำบัดชุมชนครับ ท่านอาจารย์ได้เล็งเห็นความสำคัญของนักกายภาพบำบัดชุมชน และแนวน้มต่อไป การรับนักกายภาพบำบัดใน รพ.ชุมชน ก็จะเพิ่มมากขึ้น วิชาชีพกายภาพบำบัดก็กำลังเป็นที่ต้องการเป็นจำนวนมากครับ หลังจากที่ผมได้มีโอกาสเป็นอาจรย์ CI ก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับน้องนักศึกษามาหลายรุ่น พบว่ายังต้องเพิ่มความรู้ในงานชุมชนให้มากขึ้น ซึ่งก็คือ mixed skill ครับ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะคนไข้ที่เราทำที่คลินิคและชุมชนมีปัญหาหลากหลาย ไม่ได้มีแค่ปัญหาเดียวครับ

และผมจะเรียนสอบถามอาจารย์ การประเมินมาตรฐานกายภาพบำบัดชุมชน นักกายภาพบำบัดจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร และได้อะไรเพิ่มเติมจากการประเมินครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ครับ

อัฏฐพร ทีมไม้เลื้อย

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนที่เพิ่มมาทำงานได้ประมาณ 5 เดือนแล้วค่ะ ตอนนี้หนูต้องคีย์ข้อมูลใน Web สปสช ด้วยเกี่ยวกับการให้บริการ แต่ยังไม่เข้าใจการลงทะเบียนค่ะว่าต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วเราลงเฉพาะคนไข้ ท74 หรือเปล่า เห็นเหมือนว่าปีนี้เขาให้คีย์ได้คนไข้สามกลุ่มใช่หรือเปล่า ถ้าพี่ๆหรือเพื่อนคนไข้มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้รบกวนหน่อยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะ หนูเป็นนักกายภาพบำบัดใหม่ที่เพิ่งมาทำงานที่โรงพยาบาลชุมชน ตอนนี้หนูได้รับหน้าที่คีย์ข้อมูลการให้บริการกายภาพใน สปสช แต่ยังไม่มีข้อมูลการทำเลยว่าเราสามารถ คีย์ได้เฉพาะคนไข้ ท74 หรือเปล่า แล้วที่ปีนี้เขาเปิดให้เราคีย์ได้ในคนไข้สามกลุ่มด้วยกัน เราต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ รบกวนพี่ๆและเพื่อนที่รู้หน่อยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

แจ้งข่าวร้ายสำหรับนักกายภาพบำบัดงบ สปสช.

ในงบปี 2554 นี้ สปสช ทำการลอยแพ เรียบร้อยแล้ว โดยโรงพยาบาลที่เขียนขอจ้างนักกายภาพบำบัดในปีงบ 2553 ไม่สามารถเขียนขอจ้างต่อได้ ให้เฉพาะโรงพยาบาลชุมชนที่ยังไม่มี เขาบอกว่าให้โรงพยาบาลบริหารจัดการเอง ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับนักกายภาพบำบัดแต่ละที่ จะไปดำเนินการกับผู้บริหารโรงพยาบาลว่า จะจ้างต่อหรือไม่ เขาคิดว่าถ้าเรา key รายละ 150 บาทแล้ว จะได้ส่วนนั้นมาจ้าง แต่ในความเป็นจริงเงินส่วนนี้มีจำกัด(มีอยู่ก้อนหนึ่งคงที่) เมื่อทุกคน key กันมากขึ้น ก็ต้องเกินงบที่ตั้งไว้ ทำให้ในที่สุดก็จะได้รายละไม่ถึง 150 บาท

ดังนั้น จึงอยากให้น้องๆ นักกายภาพบำบัดที่จ้างโดยงบ สปสช ในปีงบ 2553 ต้องรวบรวมข้อมูลให้ดี เพื่อที่มีหลักฐานในการทำเรื่องกับโรงพยาบาล ซึ่งทุกคนต้องช่วยเหลือตนเองแล้ว

สปสช เขต 3 นครสวรรค์ ค่ะ

ไม่ทราบว่าเขตอื่น เป็นแบบนี้หรือไม่

ตอบน้องอัฏฐพร ทีมไม้เลื้อย

เกี่ยวกับเรื้องการประเมินมาตรฐานกายภาพบำบัดนั้น เราแบ่งการประเมินออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. การประเมินมาตรฐานบริการกายภาพบำบัด ซึ่งทางคณะอนุกรรมการได้ทำร่างมาตรฐานการบริการกายภาพบำบัดเสร็จแล้ว และส่งให้สภากายภาพบำบัดประกาศใช้ ขณะนี้คณะอนุกรรมการมาตรฐานฯกำลังอยู่ในระหว่างการสร้างเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ได้จัดทำขึ้น ซึ่งในวันที่ 19-20 เดือนนี้ก็จะมีการนัดประชุมเพื่อจัดทำเกณฑ์นี้ให้เสร็จ จากนั้นคงคงจะนำเกณฑ์นี้ไปทดลองประเมิน

2. คือการประเมินมาตรฐานนักกายภาพบำบัด ซึ่งการประเมินนี้คงยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะทางอนุกรรมการยังไม่ได้จัดทำร่างมาตรฐานนักกายภาพบำบัดเลย จริงๆก็ตั้งใจจะทำแต่เนื่องจากมาตรฐานนักกายภาพบำบัดต้องมีการระบุขีดความสามารถของนักกายภาพบำบัดด้วย (competency) ซึ่งทางอนุกรรมการฝ่ายวิชาการกำลังปรับปรุง competency ของนักกายภาพบำบัดอยู่ จึงต้องรอไปอีกระยะหนึ่ง

สำหรับที่น้องอัฎฐพรถามมานั้นน่าจะเป็นมาตรฐานบริการกายภาพบำบัดมากกว่า ซึ่งทางอนุกรรมการฝ่ายมาตรฐานก็ได้ตระหนักดีเกี่ยวกับความแตกต่างของรพ.ชุมชนและกายภาพบำบัดชุมชน การประเมินรพ.ชุมชน ก็คงใช้การประเมินมาตรฐานการบริการกายภาพบำบัด เหมือนรพ.ทั่วไป แต่ถ้ารพ.นั้นมีงานกายภาพบำบัดชุมชนด้วย เราก็จะเข้าไปประเมินในส่วนนั้นด้วยค่ะ

ขอบคุณที่เข้ามาเขียนแสดงความคิดเห็นนะคะ

ปนดา

สำหรับเรื่องการคีย์ข้อมูลให้สปสช.นั้น เราก็ไม่ทราบว่าเขาพัฒนาระบบไปถึงไหนแล้ว ล่าสุดที่ทราบคือฐานข้อมูลของเขา support แค่ผู้ป่วยที่มี ทร74 แต่ถ้าเป็นข้อมูลผู้ป่วยอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจะคีย์ไว้ในโปรแกรม Excel อย่างไรก็ดี เขาอาจจะพัฒนามาเป็นระบบที่สามารถคีย์ข้อมูลคนไข้สามกลุ่มนี้แล้วก็ได้ อาจารย์กำลังขอให้คุณกิตติช่วยเข้ามาแชร์ข้อมูลในส่วนนี้ด้วยค่ะ

ส่วนเรื่องที่สปสชเขาไม่ให้งบปี 2554 นั้น จะพยายามหาข้อมูลมาแชร์นะคะ ณ ตอนนี้ข้อมูลของสปสช.แต่ละเขตยังรู้ไม่ค่อยเหมือนกันเลย ซึ่งเป็นปัญหาการประชาสัมพันธ์ของสปสช.เอง เขาก็กำลังจะจัดชี้แจงในแต่ละเขตอยู่ค่ะ ลองโทรถามสปสช.เขตให้ชัดเจนอีกทีนะคะว่าจะจัดเมื่อไร จะได้ซักถามโดยตรงเลย

ปนดา

ตอบคำถามเรื่องการคีร์ข้อมูล สปสช.

ลำดับแรกท่านจะต้องมีpass word จากสปสช.โดยติดต่อกับทางสปสช.โดยตรงเพื่อขอรับรหัสผ่าน การลงข้อมูลการจะประกอบด้วยสองส่วนคือ 1 การให้บริการฟื้นฟูสภาพ 2 การเบิกจ่ายกายอุปกรณ์ จะขออธิบายแยกดังต่อไปนี้

กรณีการรายงานการให้บริการฟื้นฟู ปัจจุบัน สปชส.ได้พัฒนาโปรแกรมการลงข้อมูลโดยปลดล็อกให้สามารถลงรายงานผู้ป่วยระยะ subacute และผู้สูงอายุที่มีแนวโน้วจะพิการในอนาคต ตามพันธกิจที่เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สปชส.จะย่อมรับการลงรายงานฟื้นฟูในส่วนของนักกายภาพบำบัดเพียงด้านการเคลื่อนไหวเท่านั้น สำหรับผู้พิการที่ใช้สิทธิ ท74 ให้ลงข้อมูลได้เลย ส่วน subactue ให้คลิกเลยในช่องผู้ป่วยระยะฟื้นฟูหรือกำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนสิทธิ ความพิการด้านอื่นๆให้ลงข้อมูลส่งเป็นไฟด์เอ็กเซลล์เพื่อเป็นการรายงานให้ทราบว่าเราได้ให้บริการด้านอื่นๆด้วย สำหรับรูปแบบเอกเซลล์ควรประกอบด้วย รหัสหน่วยบริการ ชื่อหน่วยบริการ ชื่อผู้พิการ นามสกุล HN AN(กรณีผู้ป่วยใน) เลขประจำตัวประชาชน ประเภทความพิการ(แยกร่างกาย การมองเห็น การได้ยิน สติปัญญา จิต) หน่วยบริการประจำ จังหวัดหน่วยบริการประจำ ลำดับการให้บริการฟื้นฟู จำนวนครั้ง ว.ด.ปที่ให้บริการ

กรณีการเบิกจ่ายกายอุปกรณ์ ให้ทำในลักษณะเดียวกันกับการลงรายงานการฟื้นฟู แต่ในกรณีผู้พิการต้องการกายอุปกรณ์ที่นอกเหนือจากที่ สปสช.กำหนดให้จ่ายได้เฉพาะคนพิการ หากเป็นเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาที่เป็น high coach ให้ทำระบบการส่งเคลมผ่านทางระบบ E clem โดยต้องไปศึกษาดูว่ามีรายการอะไรบ้าง เพราะเป็น วทมย.ที่จ่ายให้คนไข้สิทธิ UC ปกติ ซึ่งสิทธิคนพิการก็จัดเป็น UC เช่นกันแล้วรายงานกายอุปกรณ์หรืออุปกรณ์เพื่อการบำบัดโรคทางกายภาพบำบัดที่ สปสช.ไม่ได้กำหนดลงเอ๊กเซลล์เช่นกัน โดยควรมีข้อมูลในเอ๊กเซลล์คล้ายการฟื้นฟู แต่เปลี่ยนใหม่ตุ้งแต่หัวข้อจังหวัดหน่วยบิการประจำเป็นต่อไปเป็น รหัสรายการอุปกรณ์ที่จ่าย จำนวนชิ้น ราคา(จำนวนเงิน) ว.ด.ป.ที่จ่ายอุปกรณ์ หากทำได้ดังนี้แล้ว รพ.จะสามารถเพิ่มรายรับเพิ่มขึ้น โดยต้องมีระบบติดตามว่าจำนวนที่รายงานกับการตอบรับเคลมคืน100%หรือไม่

หากมีข้อสังสัยขอให้ปรึกษา สปสช.ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

มือถือ: 0860559353

e-mail:[email protected]

คู่มือแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน Home health care

http://cid-639662d1e29425ae.office.live.com/documents.aspx

ใช้ copy แล้ว paste ถ้าเข้าได้แล้ว click ที่สาธารณะ แล้ว download

เรื่องการลงข้อมูลใน ท.74 ให้ปรึกษากับฝ่ายประกันฯ หรือ เวชระเบียน ในหน่วยงานที่ท่านสังกัด ซึ่งต้องทราบข้อมูลอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นช่องทางหนึ่งของรายได้ที่จะเข้ามา

ระบบฐานข้อมูลของ รพช./รพท./รพศ. แต่ละแห่งจะค่อนข้างมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเขาใช้อะไร

เช่น HosXp ทั้งนี้ทั้งนั้น ท่านจะต้องพูดคุยกับผู้บริหารว่าจะมีการ key ข้อมูลอะไร ซึ่งที่สำคัญก็คือ หัตถการทางกายภาพบำบัด

ทั้งนี้ทั้งนั้น โรงพยาบาลจะเรียกเก็บไปยัง สปสช. สำหรับ รพท./รพศ.หลายแห่งมีระบบการใส่ข้อมูลที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ทำให้รายได้ที่จะเข้าโรงพยาบาลก็แตกต่างกันไปด้วย

การขาดระบบเช่นนี้ทำให้เกิดความพยายามนำเข้ารายได้สู่งานมากขึ้น เช่น การลงข้อมูลสองบริการ ซึ่งท่านสามารถสอบถามจากนักกายภาพบำบัด ใน รพช. ที่เชี่ยวชาญ ได้ว่าควรทำอย่างไเร

การขาดระบบทำให้เกิดการดึงเงิน ซึ่งอาจมีงบประมาณในจังหวัดอยู่น้อยอยู่แล้วเกลี่ยให้กับ รพช. ที่มี PT ดำเนินการ ตามที่ PT5 อ้างถึง แต่ในความเป็นจริง สสจ. อาจเข้ามาบริหารจัดการเกลี่ยเงิน ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละจังหวัด และพื้นที่

ปัญหาของงบประมาณ จึงเป็นเรื่องที่ PT ใน รพช. แต่ละแห่ง พยายาม ระดมทรัพยากร ในพื้นที่ของตัวเอง ไม่ว่าจะ มาจาก การทำโครงการฯ ระหว่าง อบต. ผ่าน สปสช. การจัดทำ รพสต. และเสนองบประมาณเตรียมเครื่องมือไปแล้ว ในรอบปีที่ผ่านมา การจัดซื้อจัดจ้างเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับคนพิการร่วมกันทั้งจังหวัด หรือต่างคนต่างแยกย้ายกันทำ ใครไม่ได้ทำก็ได้รับเงินน้อยหน่อย การจัดหาเครื่องช่วยผ่านมูลนิธิ องค์กร ต่างๆ ทำให้ได้รับของเร็วกว่าระบบ ที่ สปสช ทำอยู่ในปัจจุบัน การจัดทำงบประมาณที่ดึงเงินจากส่วน ส่งเสริมป้องกัน (หรือเรียกสั้นๆ ว่า งบ PP) ฯลฯ อีกมากมาย

การขาดความเข้าใจเรื่องงบประมาณ ขาดการเผยแพร่ สื่อสารข้อมูล ขาดเครือข่ายระหว่างผู้รู้-ผู้ไม่รู้ ผู้มาก่อน-ผู้มาหลัง ผู้มีประสบการณ์-ผู้ด้อยประสบการณ์ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ๆกัน ในจังหวัดเดียวกัน ในอำเภอเดียวกัน หรืออำเภอใกล้กัน รุ่นพี่ เพื่อนในวิชาชีพ ทำให้ไม่เท่าทัน

สำหรับเรื่องระบบข้อมูลข่าวสาร เท่าที่ทราบ ก็คงมีความพยายามผลักดันให้เกิดระบบที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น และเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่า จะเป็นความพยามสอดแทรกงานกายภาพบำบัดเข้าไปในระบบรายงาน ของ สนย. 18 แฟ้ม หรือ การจัดทำ coding ของ ระบบฐานข้อมูล HosXp หรือการเผยแพร่วิธีการ coding ระหว่าง เวชระเบียนที่ใช้ระบบเดียวกัน ข้ามจังหวัด ข้ามอำเภอบ้าง ซึ่งท่านสามารถ search ได้ทางเว็บไซด์

เรื่องเช่นนี้เคยมีการทำงานกันมาบ้างแล้ว เช่น ความพยายามในการจัดทำระบบข้อมูลข่าวสารในปี พ.ศ.2536 แต่ก็ถูกล้มเลิกไปด้วยปัจจัยของผู้บริหารใน สธ. ทุกวันนี้สิ่งที่ทำได้จึงมักจะต้องเริ่มที่ส่วนปลาย หรือ ปฏิบัติการของ PT ตัวเล็กๆ ที่ทำงานให้กับ รัฐท้องถิ่น แล้วช่วยกันแพร่กระจายไป แต่ไม่ใช่มาจากรัฐส่วนกลาง เพราะรัฐส่วนกลาง ละเลย มานานมาก จนทุกวันนี้ ความต้องการของตลาดงานกายภาพบำบัด (need) บังคับให้รัฐท้องถิ่น ต้องจ้างเอง

ส่วนเรื่องของระบบงบประมาณ ที่ว่า จะถูกตัดไป ใน ปี พ.ศ.2553 หรือ 2554 นั้น เราเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า การจ้างนักกายภาพบบำบัดในปัจจุบัน ไม่ได้อ้างอิงบนเงินก้อนนั้นก้อนเดียว รัฐส่วนท้องถิ่น หลายแห่ง พยายามจ้างด้วยเงินจากระบบอื่นๆ รวมทั้ง สปสช. ได้กระตุ้นตลาด ให้เปิดงาน ใน อบต. (โดยการทำโครงการฯ) ในทางหนึ่ง สปสช. ก็กระอักกระอ่วน ที่จะไปบังคับ ให้รัฐส่วนท้องถิ่น จ้าง PT ใน รพช. ให้ครบทุกแห่ง หรือกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ แต่ก็พยายามผลักเงินลงไป หากมีความกังวลในเรื่องงบประมาณ คงต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่า เขาหาเงินจากส่วนไหนมาจ้างดี เรื่องนี้ คุณอัฏฐพร รพร.กุฉิฯ หรือ คุณอรอุมา รพร.ด่านซ้าย น่าจะมีข้อมูล หรือ PT อื่นๆ ที่ทำงาน ใน รพช. มีประสบการณ์ เป็นอย่างดี

สำหรับ ความกังวลของการจ้างงาน ใน รพท./รพศ. นั้น คงจะเป็นเรื่องที่อาจจะห่วงมากกว่า เพราะทุกวันนี้ ลชค. ในรพท./รพศ. น่าจะเป็นครึ่งหนึ่งของข้าราชการแล้ว (ในปีพ.ศ.2550 รพท./รพศ. มี ลชค. 71 คน ขรก. 312 คน) การจ้างเพิ่ม ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับ สภาวะเงินสวัสดิการ หรือเงินรายได้ ของ รพ. ในขณะเดียวกัน รพช.ในจังหวัด ก็เติบโต และจ้าง PT การมีบทบาทของ รพช.ในการเปิด CMU หรือ รพสต. ก็เพื่อต้องการไปดูแล และสร้างงาน และนั่นคือ หาเงินเพิ่ม ดังนั้น รพช. ทำงานตั้งรับในท้องถิ่นมากก็เพื่อต้องการลดรายจ่ายที่จะไปจ่ายให้กับ ระบบทุติยภูมิ/ตติยภูมิ (รพท./รพศ.) รวมทั้งความพยายามในการทำงานกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มากขึ้น ทำให้เงินหมุนเวียนในการจ้าง บุคลากรมาได้หลายทางมากขึ้น

เรียน คุณ คห.753, 755, 757

ผมได้ส่ง แบบบันทึกเพื่อตรวจประเมินความพิการ ตาม พรบ.2550 และ พรบ.2534 ไปแล้ว ไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งที่ตรงใจหรือไม่

แบบบันทึก และทะเบียน นี้มีรหัส สำหรับลงใน file excel ซึ่งทางชมรมนักกายภาพบำบัดจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดทำขึ้นในโครงการ "พัฒนารูปแบบบริการทางกายภาพบำบัดแก่ผู้ป่วยผู้พิการ ใน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ" ในช่วงเดือน กย.2552 - เมย.2553 โดยความร่วมมือกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และ รพ.อมก๋อย โดยระดมนักกายภาพบำบัดทั้งจังหวัด สำหรับพื้นที่เป้าหมายต่อไป ที่ได้วางแผนร่วมกับ สสจ.ชม. คือ ในเขตอำเภอเมือง (ย้ำว่า อ.เมือง จ.เชียงใหม่) ที่บริการกายภาพบำบัดเข้าไม่ถึง

สำหรับ PT ในจังหวัดเชียงใหม่ หากต้องการสมัครสมาชิก ชมรมฯ โปรดติดต่อ ที่คุณชาติวุฒิ อินทวงศ์ รพช.ฝาง ([email protected]) ซึ่งเป็นประธานชมรมฯ หรือ คุณบุญรุ่ง อริยชัยกุล รพท.นครพิงค์ ([email protected]) รองประธานชมรมฯ

การจัดทำโครงการฯ ต่างๆ โปรดติดต่อที่ ประธาน/รองประธาน ชมรมฯ เพื่อที่จะได้แนะนำได้ว่า จะให้ติดต่อกับใคร ที่มีข้อมูล หรือให้ข้อคิดเห็นได้

เรียน คุณ คห.753, 755, 757

ผมลืมไป ในเรื่องของคู่มือการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียน ผมไม่แน่ใจว่า คุณต้องการสิ่งนี้หรือไม่ หรือ ตรวจประเมินเพื่อเป็น patient folder ถ้าต้องการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียน ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ คู่มือการตรวจประเมินฯ ซึ่งทาง พมจ. จะเป็นผู้จัดพิมพ์ และมีการจัดอบรมฯ ให้แล้วเมื่อปลายปีที่แล้ว สำหรับการขึ้นทะเบียน ตาม พรบ.50 ซึ่งผมคิดว่า ตรงนี้น่าจะรู้กันแล้ว แต่แบบตรวจประเมิน ของกายภาพบำบัด ก็คงทำแบบไหนก็ได้ หรือจะเอาของ สถาบันการศึกษา มาดัดแปลง คงไม่มีสูตรสำเร็จ (ยกเว้น แต่คุณไม่อยากคิดมาก) แล้วให้รับรองว่าเป็นเอกสารคุณภาพ ไปเลย เพื่อเข้าสู่ระบบประกันคุณภาพ ของสถานพยาบาล

เรียนคุณดาริกา (คห.668)

ข้อมูลใน ปีพ.ศ.2546 ระบุว่ามี PT 1,566 คน หรือคิดเป็นอัตราส่วน PT:ประชากร = 1:40,831 โดยใช้ฐานข้อมูลประชากรจากการทำสำมะโนประชากร 2543

สภากายภาพบำบัดได้ทำการสำรวจในปี พ.ศ.2552 ระบุว่ามี PT 2,854 คน หรือคิดเป็นอัตราส่วน PT:ประชากร = 1:23,441 โดยใช้ข้อมูลประชากรจากการคาดประมาณโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2550 ด้วยข้อสมมติภาวะเจริญพันธุ์ระดับปานกลาง และเทคนิควิธีองค์ประกอบ ได้แก่ การเกิด การตาย และการย้ายถิ่น

จะเห็นได้ว่า นี่คืออัตราส่วนนักกายภาพบำบัดต่อประชากร (ไม่ใช่สัดส่วน เพราะไม่มีค่าเป็นร้อยละ) ที่เป็นจริงในขณะเวลานั้น และจะเห็นว่า มีนักกายภาพบำบัดเพิ่มขึ้นประมาณเฉลี่ย ปีละ 200+ คน สำหรับอัตราส่วนที่กล่าวถึงคือ 1:15,000 นั้น คงเป็นการคาดประมาณอัตราส่วนที่ทางสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) ได้ทำร่วมกับสภาฯ ไว้เมื่อหลายปีก่อน ปัจจุบันนี้เราไม่ค่อยสนใจตัวเลขการคาดประมาณอัตราส่วนต่อประชากร เท่าไร เพราะไม่สามารถสื่อถึงอะไรได้เท่าที่ควร การคาดการณ์นักกายภาพบำบัดในอดีตมีหลายตำรามาก แต่มีการคาดประมาณ 2 แนวทางที่ค่อนข้างจะทันสมัยคือ

การศึกษาของ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ (2549) ได้ประเมินขนาดของเตียงจากระยะทางและเวลาในการเข้าถึงบริการ และได้คาดประมาณกำลังคนสาขาต่างๆ จากการวางขอบเขตเครือข่ายบริการของโรงพยาบาลระดับต่างๆ ตามระบบ GIS สำหรับการคาดประมาณจำนวนนักกายภาพบำบัดต่อจำนวนประชากรที่รับผิดชอบในสถานพยาบาล มีดังนี้ ทุติยภูมิระดับต้น 1: 20,000 (นักกายภาพบำบัด 1 คน ต่อประชากรรับผิดชอบ 20,000 คน) ทุติยภูมิระดับกลาง 1:150,000 ทุติยภูมิระดับสูง 1:250,000 ตติยภูมิระดับต้น 1:300,000 คน

การคาดการณ์ของ นพ.เกรียงศักดิ์ (อดีต ผอ.รพช.ภูกระดึง และประธานชมรมแพทย์ชนบท) ใช้การเข้าถึงบริการเป็นเกณฑ์ แต่น่าเสียดายที่ประเมินงานกายภาพบำบัดเฉพาะงานในระดับทุติยภูมิ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า มีนักกายภาพบำบัดปฏิบัติงาน ในงานปฐมภูมิ เช่น ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU), อบต./เทศบาล (เช่น อบต.ปากพูน นครศรีฯ, อบต.เมืองแกน เชียงใหม่) หลายแห่ง

การคาดประมาณของสภากายภาพบำบัด (2553) ไม่ได้ระบุอัตราส่วน แต่คาดประมาณไปข้างหน้า พบว่า เฉพาะ 4 โรคเรื้อรัง ได้แก่ หลอดเลือดสมอง (CVA), ปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD), เบาหวาน (DM), และ โรคระบบกล้ามเนื้อร่วมโครงร่าง ต้องการนักกายภาพบำบัดให้บริการทั้งส่งเสริมป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ในปี พ.ศ.2550 ต่ำสุด 25,028 คน และสูงสุด 33,940 คน ใน ปีพ.ศ.2560 ต่ำสุด 33,134 คน และสูงสุด 46,585 คน

หากต้องการรายละเอียดที่มาที่ไป กรุณาติดต่อ สภากายภาพบำบัด ทั้งนี้สภากายภาพบำบัด ได้จัดทำเป็นเอกสารรูปเล่ม แจกให้กับสถาบันการศึกษาต่างๆ แล้ว

เรียนอ. ปนดา

หนูขอเรียนถามอาจารย์ ในกรณีที่มีการ consult จากแพทย์ให้ดู case cva on trecheostomy tube ใน ward ผู้ป่วยมีปัญหาปอดอักเสบและมีเสมหะมาก หลังจากเคาะปอดแล้วมีเสมหะออกมามาก นักกายภาพบอกว่าเคาะปอดอย่างเดียวไม่ได้มีหน้าที่ในการดูดเสมหะ ฟังแล้วงง!! จึงอยากขอคำอธิบายจากอาจารย์เพื่อความเข้าใจว่ากิจกรรมนี้ในบทบาทของนักกายภาพบำบัดแยกส่วนกันใช่มั๊ย..ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกๆคนนะค่ะ

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดใหม่ ในรพ. ชุมชน ตอนนี้เปิดแผนกได้ประมาณ1 ปีแล้วและอยากเปิดนอกเวลา หนูต้องมีเอกสารแสดงค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้างคะ เพื่อเสนอให้ผอ. และตอนนี้เริ่มมารับงานผู้พิการ ซึ่งไม่รู้จะต้องดำเนินการอย่างไร

จึงรบกวนขอเอกสารบางส่วนหน่อยค่ะ ก็คือ

แบบเสนอขอเปิดนอกเวลา รายละเอียดต่างๆ

ตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

service profile และ Unit profile ของงานกายภาพบำบัดค่ะ

อย่างหลังนี่รบกวนอย่างมากเลยค่ะ งงและไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้วค่ะ

ขอบคุณมากๆนะคะ

[email protected]

ตอบคำถามคุณจรัสรัศมิ์

เรื่องบทบาทการดูดเสมหะของนักกายภาพบำบัด

การดูแลรักษาผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดไม่ใช่การดูแลแยกส่วน แต่เราควรมองปัญหาของผู้ป่วยให้ครอบคลุมทุกด้านแล้วจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลัง Chest physical therapy จัดเป็นสาขาเดียวของกายภาพบำบัดที่มีบทบาทในการรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วยอยู่ในระยะวิกฤต การ suction เป็นหัตการที่นักกายภาพบำบัดสามารถให้การรักษาแก่ผู้ได้และจำเป็นที่จะต้องทำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากพื้นฐานความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ ทำให้เราทราบตำแหน่งของ lesion ได้ดีกว่าและหลังจากการ suctionแล้วเรายังจำเป็นต้องฟังlung sound ซ้ำเพื่อประเมินอาการของคนไข้ว่ามีการตอบสนองต่อการรักษาอย่างไรด้วย หรือเราอาจจำเป็นต้อง suction ตั้งแต่เริ่มแรกเพื่อให้ทราบตำแหน่ง lesion ที่ชัดเจนขึ้น การรักษาทางกายภาพบำบัดทรวงอกไม่ใช่เพียงแค่การเคาะปอด suction เท่านั้นการให้การรักษาอื่นๆ ยังจำเป็นต้องให้แก่ผู้ป่วยขึ้นอยู่กับปัญหาเพื่อแก้ไขให้เหมาะสม ดังนั้นขอสรุปว่าการ suction เป็นบทบาทของนักกายภาพด้วยเช่นกัน

สวัสดีค่ะอาจารย์ จาก ปล็อกที่ 782. นะคะ พอดีหนูเขียนเมล์ผิดนะนคะ

เมลที่ถูกนะคะ [email protected]

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดใหม่ ในรพ. ชุมชน ตอนนี้เปิดแผนกได้ประมาณ1 ปีแล้วและอยากเปิดนอกเวลา หนูต้องมีเอกสารแสดงค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้างคะ เพื่อเสนอให้ผอ. และตอนนี้เริ่มมารับงานผู้พิการ ซึ่งไม่รู้จะต้องดำเนินการอย่างไร

จึงรบกวนขอเอกสารบางส่วนหน่อยค่ะ ก็คือ

แบบเสนอขอเปิดนอกเวลา รายละเอียดต่างๆ

ตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

service profile และ Unit profile ของงานกายภาพบำบัดค่ะ

อย่างหลังนี่รบกวนอย่างมากเลยค่ะ งงและไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้วค่ะ

ขอบคุณมากๆนะคะ

ตอบคำถามคุณ กภ.หน้าใหม่

เรื่องการขอเปิดนอกเวลา มีแนวทางปฏิบัติดังนี้คือ เก็บสถิติผู้ป่วยที่มารับบริการทางกายภาพบำบัดต่อวันควรมากเกินกว่าเกณฑ์ที่มาตรฐานสภากำหนดคือ 8-15 คน โดยปกติการขอเปิดนอกเวลาจะให้บริการเฉพาะสิทธิเบิกได้ (ข้าราชการ จ่ายตรง ประกันสังคม) ต้องมีปริมาณมากพอ ซึ่งไม่มีแบบฟอร์มในการเสนอขอแต่อย่างใด ควรนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการบริหาร เพื่อพิจารณาหากในที่ประชุมอนุมัติก้อสามารถเปิดให้บริการได้เลย

ส่วนแบบฟอร์ม Unit proflie หรือ service proflie อันเดียวกัน รพ.น่าจะมีแบบฟอร์มการเขียนให้ ควรปรึกษาศูนย์พัฒนาคุณภาพของ รพ. หากต้องการรูปแบบที่เป็นของกายภาพจิงๆก็สามารถขอจากรุ่นพี่ได้คับ

เรียน อาจารย์

สอบถาม ผมเป็น PTทำงานที่อนามัย ให้ตำแหน่ง คือ พนักงานกายภาพบำบัด จะมีผลต่อวิชาชีพไหม และอนาคตจะเป็นอย่างไร

พนักงาน หมายถึง ลูกจ้างตามกฏหมายแรงงาน ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้ทำงานกับหน่วยงานที่ว่าจ้าง โดยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

พนักกายภาพบำบัด จึงไม่น่าจะมีความหมายในเชิงบวกมากนัก อย่างไรก้อตามควรให้กำหนดให้เป็นตำแหน่งนักกายภาพบำบัดจะถูกต้องมากกว่า และก้อไม่เคยเห็นพยาบาลเวชปฏิบัติใช้คำว่าพนักงานแต่อย่างไร

ขณะนี้อาจารย์ยังไม่สามารถส่งเอกสารให้ได้นะคะ เพราะมาทำงานให้สภาฯอยู่กทม. จะพยายามส่งให้ทันที่ที่กลับถึงบ้านนะคะ ส่วนเรื่อง การ suction เห็นด้วยกับคุณกิตติค่ะ แต่ถ้าเรายังไม่มั่นใจในการ suction ก็ควรศึกษาเพิ่มเติมนะคะ ไม่นานมานี้ทางภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ได้จัดอบรมเรื่องการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยทาง chest ดีมากเลยค่ะ เห็นอาจารย์เขาจะจัดอีก ลองติดตามดูนะคะ

ปนดา

อาจารค่ะหนูเปนพีทีทำงานที่รพสต หรืออนามัยเก่า อยากรบกวนให้อาจารตอบคำถามหน่อยค่ะว่า แบบฟอร์มชุดฟ้าขาวที่อนามัยใส่กันนักกายภาพบำบัดใส่ได้มั้ยค่ะ พอดีว่าที่นี่มี ทันตาภิบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข นักกายภาพบำบัด ทุกคนใส่ฟ้าขาวหมด แล้วหัวหน้าอนามัยจะให้ใส่ด้วยกายภาพจะใส่ได้มั้ย แล้วชุดฟ้าเปนของสาธารณสุขทุกคนหรือของพยาบาลค่ะ รบกวนอาจารช่วยตอบหน่อยนะค่ะว่าจะใส่ได้มั้ย ขอบคุณมากค่ะ

อาจารครับ ผมทำงานอนามัย มีโอกาสใส่เสื้อสีฟ้าได้ รบกวนช่วยตอบหน่อยครับ ผมอยากรวบรวม PT ที่ทำงานอนามัย ส่งมาที่ [email protected] ได้

สวัสดีค่ะอาจารย์ปนัดดา หนูเป็นนักกายภาพบำบัดที่มาเปิดแผนกใหม่ มีโครงการที่จะออกเยี่ยมบ้าน จึงรบกวนขอเอกสารตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชนค่ะ รวมทั้งเอกสารการเปิดแผนก ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

เมล์ : [email protected]

สวัสดีครับ ผมเคยรบกวนแล้ว

คราวนี้อยากขอรบกวนผู้ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเซ็ทแผนกแรกเริ่ม อุปกรณที่ รพช.ควรมี

อะไรทำนองนี้น่ะครับ

ต้องการมากเลย ขอขอบคุณล่วงหน้ามากๆเลยครับ

[email protected]

สวัสดีค่ะ อาจารย์ปนดา ตอนนี้หนูกำลังเปิดแผนกกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ที่เข้าร่วมโครงการกับ สปสช

อยากขอคำแนะนำ เรื่องการเปิดแผนก การเตรียมเอกสาร เอกสารตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชนค่ะ และแนวทางการทำงานค่ะ ขอบคุณนะค่ะ

อ.น้อมจิตต์ ม.ขอนแก่น

เรียน น้อง ๆ PT ชุมชนเขตอีสานทุกท่าน

ทาง มข. ได้รับมอบหมายจากทาง สปสช. ให้จัดการประชุม "จัดการความรู้" การทำงาน PT ชุมชนของพวกเรา ซึ่งคาดว่าจะจัดราวปลายกุมภาพันธ์ 54 ค่ะ ไม่ทราบว่าพวกเราอยากจะจัดการความรู้ในประเด็นใดดีคะ มากกว่า 1 ประเด็นก็ได้ค่ะ ช่วยกันเสนอขึ้นมาให้พี่ได้ไหมคะ

และที่สำคัญ หากเลือกประเด็นใด น้อง ๆ ต้องมีเรื่องราวมานำเสนอแลกเปลี่ยนกันนะคะ ไม่เช่นนั้นทางทีมวิทยากรกระบวนการก็จะไม่มีข้อมูลอะไรที่จะนำไปจัดการเป็นความรู้ได้ค่ะ

น้อง ๆ ภูมิภาคอื่นร่วมเสนอความเห็นได้นะคะ แต่สำหรับการเข้าร่วมประชุม สถาบันผู้ผลิตฯ ของแต่ละภาคก็จะจัดทำนองเดียวกันนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

น้อมจิตต์

ตอบ 789, 790

สำหรับอาจารย์มีความเห็นว่า ถ้าเขาให้ใส่เสื้อสีฟ้าก็อาจจะเป็นเพราะดูเป็นทีมเดียวกันดี เหมือนเป็นหมออนามัย แต่ถ้าเขาไม่ให้ใส่ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย เรามสีประจำของวิชาชีพเราอยู่แล้วคือสีชมพู เราน่าจะมีเสื้อสีชมพูของเราก็ดีนะ ไม่ใช่เราจะไม่อยากเป็นทีมเดียวกับเขา แต่เราน่าจะให้ผู้รับบริการทราบว่าเราเป็นใครมากกว่า เหมือนเวลาเขาเห็นเสื้อสีฟ้าก็หมายถึงพยาบาลหรือหมออนามัย แล้วถ้าเห็นเราก็น่าจะมีอะไรบอกได้ว่าเราเป็น PT นะ อะไรทำนองนี้ อีกหน่อยพอมีรพสต.คงมีนักกายภาพบำบัดไป fill มากขึ้นกว่านี้

ปนดา

คุณอรุณวรรณ ไม่ได้ให้ e-mail address มาจะให้อาจารย์ส่งไปให้ที่ไหนดีคะ

ปนดา

คุณศราวุธค่ะ เรื่อง set แผนกนอกเหนือจากเครื่องมือแล้วยังมีอีกหลายอย่างที่ควรคำนึงถึง ลองเข้าไปที่ Web ของสภากายภาพบำบัด แล้ว download ข้อมูลมาตรฐานกายภาพบำบัด (คลิกทางขวามือ) มาอ่าน ถ้าทำได้ตามมาตรฐานทั่วไปที่ระบุไว้ตั้งแต่แรกก็จะดีมากเลยค่ะ ส่วนเครื่องมือในรพ.ชุมชน ถ้ามีเครื่องอัลตร้าซาวนด์ เครื่องดึงหลัง เครื่องhydrocollator และอุปกรณ์ออกกำลังกาย ก็หรูแล้วค่ะ

ปนดา

เรียน อ.น้อมจิต นวลเนตรที่เคารพ

กระผม กภ.กิตติ สมบรรดา หน.งานกายภาพบำบัด รพ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ศิษย์เก่ากายภาพบำบัด ม.ขอนแก่น รุ่น 23 อยากจะขอเสนอแนะประเด็นการจัดการความรู้ จากประสบการณ์ที่เคยเซทแผนกและได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนๆน้องๆที่กำลังเซทแผนกใหม่ พบว่าส่วนใหญ่น้องๆบ้างคนยังไม่รู้จะจับต้นชนปลายทำอะไรก่อนเพื่อให้สามารถวางระบบงานต่างๆทั้งในและนอก รพ.ได้ ดังนั้นผมอยากให้เป็นลักษณะการแลกเปลี่ยนและเล่าประสบการณ์การทำงานจากรุ่นพี่ที่เพิ่งเซทแผนกใหม่เหมือนกัน ว่ามีลำดับขั้นตอน 1 2 3 อย่างไรบ้าง ปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการทำงานและแนวทางการแก้ไข เช่น การประสานบริการกับหน่วยงานอื่นๆ ระบบการส่งปรึกษา กระบวนการดูแลผู้ป่วย ตัวอย่างการทำงานด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู การจัดการเกี่ยวกับเครื่องมือ งานด้านบริหารองค์การ กาพัฒนาคน การบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวกับกายภาพบำบัด การติดเชื้อและความปลอดภัย งานการเงิน สถิติ การดูแลเกี่ยวกับสิทธิผูป้วย อ่านๆเหมือนเน้นงานคุณภาพมากไปหรือป่าวครับ แต่ผมคิดว่าถ้าน้องได้มีแนวทางหรือได้เรียนรู้ก็จะทำให้สามารถทำงานได้ดีและมีคุณภาพครับ

รุ้งกานต์ พลายแก้ว

เรียน อ. ปนดา

ดิฉัน นางสาวรุ้งกานต์ พลายแก้ว กำลังศึกษาปริญญาโท สาขาการพยาบาลอาชีวอนามัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กำลังทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง ท่าทางการทำงานและกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา

เนื่องอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์ ดร.ธานี แก้วธรรมานุกูล แนะนำให้ติดต่ออาจารย์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเครื่องมือวิจัย แต่ยังไม่มีเบอร์โทรติดต่ออาจารย์ค่ะ

จึงใคร่ขอรบกวน ขอเบอร์ติดต่ออาจารย์ด้วยนะคะ

ขอขอบพระคุณมากค่ะ

รุ้งกานต์ พลายแก้ว

เรียน อ.ปนดา

รบกวนขอไฟล์งานเกี่ยวกับงานเรื่องเบาหวาน ผู้สูงอายุ เรื่องความดันโลหิต งานคลินิค งานผู้พิการ งานคุณภาพ งานเอกสารการเขียนขออนุมัติต่างๆๆ สำหรับนักกายภาพที่มาเปิดแผนกใหม่และเรื่องความเสี่ยงด้วยค่ะ และรบกวนเรื่องการฟื้นฟูการออกเยี่ยมบ้านและการอบรม อสม

ของผู้พิการหน่อยค่ะ sangdaw_jds@hotmailcom ขอบคุณล่วงหน้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท