กายภาพบำบัดชุมชน


เรียนทุกท่าน ดิฉันได้จัดทำ blog นี้ ขึ้นเพื่อให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพ ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ และถือเป็นแหล่งรับฟังความคิดเห็นจากนักกายภาพบำบัดทั่วประเทศ  เกี่ยวกับการพัฒนางานกายภาพบำบัดให้ครอบคลุมไปยังประชาชนทั่วทั้งประเทศ...
มีต่อ

สอบถามเรื่องอัตรากำลังในนักกายภาพบำบัดค่ะ ว่าทำผู้ป่วยกี่คนในแต่ละระบบ

ขออ้างอิงด้วยนะค่ะ ดิฉันกำลังทำวิจัยเกี่ยวกับความเหนื่อยหน่ายในงานของนักกายภาพ

ถ้ามีเรื่อง ตัวเลข ชี้วัด ให้เห็น น่าจะมีประโยชน์ต่อการเอางานไปอ้างอิงต่างๆต่อไปได้ค่ะ

ดาริกา

มาตรฐานวิชาชีพกำหนดไว้ 8-12 คนต่อวันขึ้นอยู่กับแต่ละระบบ ดาวน์โหลดรายละเอียดที่เวปสภากายภาพบำบัด

เพิ่มเติม เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ได้เข้าร่วมประชุมเครื่อข่ายกายภาพบำบัดอิสานใต้ และได้เรียนถาม นพ.ประธีป เกี่ยวกับแนวทางการพลักดันให้มีกายภาพบำบัดชุมชนเพิ่มขึ้น ท่านกล่าวว่าขณะนี้ได้มีการพูดคุยกับ อปท. ให้มีการลงทุนส่งนักเรียนในพื้นที่เข้าเรียนสาขากายภาพบำบัด หากเกิดขึ้นได้จิงก้อจะส่งผลดีต่อวิชาชีพเราอย่างมาก เพราะส่วนมากมักจะอยู่ในพื้นที่ได้ไม่นานทำให้งานไม่ต่อเนื่องไม่ค่อยมีการเพิ่มอัตรากำลังแต่จะทดแทนกันมากกว่า อัพเดทให้ทราบโดยทั่วกันมานเปงเรื่องของอนาคตนะ

ผู้เชี่ยวชาญเตือนผู้บริโภค เลือกรักษาไคโรแพรคติกที่มีใบประกอบโรคศิลป์ หากพบไคโรแพรคติกเถื่อน เสี่ยงรักษาอาจอันตรายถึงชีวิต

ดร. มนต์ทณัฐ (รุจน์) โรจนาศรีรัตน์ โฆษกสมาคมการแพทย์ไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทย (Thailand Chiropractic Association : TCA) เปิดเผยว่า ‘ไคโรแพรคติก’ เป็นศาสตร์ทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานาน เพราะ ‘ไคโรแพรคติก’ คือศาสตร์ทางการแพทย์ที่คำนึงถึงความสมดุลของกระดูกสันหลังโดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและระบบของร่างกายที่เชื่อมโยงกัน ไปจนถึงการรักษาฟื้นฟูโครงสร้างที่นำไปสู่สุขภาพที่ดีโดยรวม ตามแนวคิดพื้นฐานที่เชื่อว่าลักษณะโครงสร้างกระดูกสันหลัง หรือการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังนั้น มีผลกระทบต่อระบบการทำงานและความสมดุลในส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือพูดง่ายๆ ว่าหากโครงสร้างดังกล่าวมีภาวะสมดุลระบบต่างๆ ในร่างกาย ก็จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สุขภาพร่างกายของเราก็จะอยู่ในสภาพดี

จากการวิจัยทั้งในระดับสากลขององค์การอนามัยโลก และกระทรวงสาธารณสุขของไทย พบว่าการบำบัดด้วยวิธีการไคโรแพรคติกมีความปลอดภัยสูงและเชื่อถือได้ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์มานาน แต่ต้องกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไคโรแพรคติกจริงๆ เท่านั้น เพราะเทคนิคการปรับกระดูกจะสามารถรักษาผู้ป่วยได้จริงก็ต่อเมื่อแพทย์มีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม หากผู้ทำการรักษาไม่มีความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทางอย่างเพียงพอ ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยพิการได้เช่นกัน

สำหรับในประเทศไทยนั้น ไคโรแพรคติกนั้นถือว่าเป็นศาสตร์การแพทย์แขนงใหม่ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการจัดการการเรียนการสอนแพทย์ศาสตร์นี้มาก่อน ถึงแม้ว่าในต่างประเทศจะมีมาอย่างยาวนานนับร้อยปีแล้วก็ตาม โดยส่วนใหญ่นิยมสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมักถ่ายทอดในลักษณะของครอบครัว จนกระทั่งปัจจุบัน มีการจัดการเรียนการสอนเหมือนแพทย์สาขาทั่วไป ที่มีการศึกษาในประเทศไทย สำหรับประเทศ ที่ศาสตร์ไคโรแพรคติกเป็นที่ยอมรับนั้น จะมีการจัดตั้งเป็นแพทยสภาด้านศาสตร์ไคโรแพรคติก ซึ่งมีองค์ประกอบบทบาทหน้าที่เหมือนแพทยสภาโดยทั่วไป

“ทั้งนี้ ด้วยความที่ศาสตร์ดังกล่าวถือว่าเป็นศาสตร์แขนงใหม่ในประเทศไทย ดังนั้น ในสมัยก่อนแพทย์ด้านไคโรแพรคติกที่เปิดคลีนิกเพื่อทำการรักษาในประเทศไทยส่วนใหญ่ จึงเป็นแพทย์ชาวต่างประเทศ และบางคลีนิกผู้ที่รักษาไม่ได้จบมาทางด้านไคโรแพรคติก แต่กลับแอบอ้างใช้ชื่อของศาสตร์นี้ อย่างที่เห็นโฆษณาทั่วไปว่ารักษาด้วยวิธีการจัดกระดูก ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นศาสตร์ไคโรแพรคติก

ปัจจุบัน ทางสมาคมฯ ได้ประสานงานกับสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยจัดทำใบประกอบโรคศิลปะสำหรับศาสตร์ ไคโรแพรคติก ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะเปิดรักษาด้านไคโรแพรคติกต้องทำการสอบเพื่อขอใบอนุญาตดังกล่าว และต้องต่ออายุทุก 2 ปี โดยตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ที่สอบผ่านเพียง 20 ราย

ดังนั้น สิ่งที่น่าเป็นกังวลต่อการพัฒนาศาสตร์ไคโรแพรคติกในประเทศไทย มี 2 ประเด็นหลัก คือ

ประเด็นแรก ภาพลักษณ์ของการรักษาด้วยศาสตร์ไคโรแพรคติก ซึ่งผู้ที่เข้าใจผิดจะทำให้สูญเสียความเชื่อมั่นต่อศาสตร์การแพทย์ไคโรแพรคติกโดยรวม อย่างเช่น รักษาด้วยวิธีการจัดกระดูกแล้วไม่หายปวด ก็จะบอกว่าไม่เห็นหายเลย เป็นต้น ซึ่งผู้ที่รักษาบางคนอาจจะจบมาทางด้านของกายภาพบำบัด ซึ่งนักกายภาพบำบัดที่ศึกษาจบปริญญาโทจะสามารถจัดกระดูกได้

ประเด็นที่สอง คือ ไคโรแพรคติกที่ไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ ซึ่งเปิดคลีนิกรักษาขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ อาทิ สุขุมวิท พัทยา ซึ่งการรักษาดังกล่าวไม่สามารถรับประกันได้ว่าผู้ที่รักษานั้น เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดกระดูก และโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ ดังนั้น หากรักษาผิดวิธีการจึงเสี่ยงที่จะเป็นอันตราย อาจจะพิการ เป็นอัมพาต หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้” ดร.มนต์ทณัฐ กล่าว

นอกจากนี้ ดร.มนต์ทณัฐ ยังกล่าวถึงอนาคตในการพัฒนาศาสตร์ไคโรแพรคติกว่า ปัจจุบันทางสมาคมฯ ได้วางแนวทางในการก่อตั้งโรงเรียนการแพทย์ไคโรแพรคติกขึ้น โดยขณะนี้ได้เจรจากับโรงเรียนแพทย์ 2 – 3 แห่ง เพื่อเปิดหลักสูตรอย่างเป็นทางการ โดยวางกรอบโดยคร่าวว่าหลักสูตรการเรียนการสอนว่า หากนักเรียนจบการศึกษาระดับมัธยมการศึกษาปีที่ 6 จะต้องเรียนหลักสูตรนี้ 6 ปี แต่หากจบปริญญาตรีแล้ว สามารถเรียนหลักสูตรนี้ต่อเนื่องอีก 4 ปี คือ 4 + 4 ปี ซึ่งมาตรฐานของหลักสูตรดังกล่าว ได้รับการยอมรับจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไคโรแพรคติกจากทั่วโลกซึ่งภายหลังจากที่มีการเปิดสอนอย่างเป็นทางการแล้ว สมาคมฯ คาดว่าศาสตร์ไคโรแพรคติกจะได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น และสร้างความเข้าใจให้แก่สังคมมากขึ้นด้วย

เรียน อาจารย์ปนดาที่เคารพ

หนูอยากขอคำแนะนำเกี่ยว ขั้นตอนการเบิกเงินจากโรงพยาบาลค่ะ ว่าจะต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

และมีระบบการเบิกอย่างไรค่ะ จะต้องยื่นรื่องไปให้ใครบ้าง และมีแบบฟอร์มการเบิกเป็นอย่างไร แล้วจะสามารถนำเงินมาใช้ได้อย่างไรบ้าง สมมุตินะค่ะว่าตอนนี้ไปงบจาก สปสช.มาที่โรงพยาบาลแล้ว จะต้องทำอย่างไรต่อค่ะ รบกวนอาจารย์ด้วยนะค่ะ

ส่งมาที่ [email protected] ข้อมูลที่หนูจะนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาบริหารค่ะ

นิสิตกายภาพบำบัด ปี4

เรียนคุณกิตติ สมบรรดา

ไม่ทราบว่าข้อความที่คุณนำมาเผยแพร่ในหัวข้อ 603 นำมาจากหนังสือพิมพ์ชื่ออะไร ฉบับที่เท่าไร หัวข้ออะไร ช่วยให้รายละเอียดด้วยค่ะ จะขอบคุณมาก

ปนดา

ขอรบกวนอาจารย์ค่ะ หนูทำงานในรพ.ชุมชน แล้วทำงานผู้พิการมา 8 เดือน แต่ความรู้สึกของหนูมันยังไม่เป็นระบบแบบแผนเท่าไรนะค่ะ หนูอยากรบกวนของ file ของ PT นาจะหลวยหรือของที่อื่นๆที่เป็นระบบแล้วนะคะ หนูอยากทำงานด้านผู้พิการให้เข้มแข็ง และอยากรบกวนขอแบบฟอร์มต่างๆเกี่ยวกับการออกเยี่ยมผู้พิการค่ะ เช่น แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมงด้วยค่ะ

รบกวนส่งมาที่ [email protected]

ขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

นอกจากโครงการฟื้นฟูสภาพด้านการแพทย์ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เราจะรักษ์เท้ายิ่งกว่าใบหน้า (รองเท้าดัดแปลงเบาหวาน) ยังมีโครงการใน รร. เป็นโครงการร่วมของแพทย์แผนไทย กายภาพบำบัด เภสัช ควบคุมโรค ทันตะเพื่อผลักด้านให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพใน รร และเข้าประกวดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรต่อไป ซึ่งปีที่แล้ว รร เขื่องในวิทยคารได้ระดับทองมาแล้ว โดยการจัดอบรมแก่นนำนักเรียนเพื่อไปขยายกิจกรรมและดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน โดยมี จนท จากทางโรงพยาบาลเปงพี่เลี้ยงค่อยให้คำแนะนำต่างๆ เช่น แพทย์แผนไทยจะจัดอบรมการนวดไทยและสวนสมุนไพร เภสัชทำเรื่อง อย.น้อย โดยให้ นร แก่นนำสุ่มตรวจความปลอดภัยของอาหารที่จำหน่ายใน รร. ควบคุมโรคจะมีการกำจัดลูกน้ำยุงลายและผลิตสิ้นค้าไล่ยุงจำหน่าย ฝ่ายทันตะจะให้ นร.แก่นนำตรวจสุขภาพช่องปาก แล้วส่งห้องทันตะกรรมเพื่อรักษาทุกเสาร์-อาทิตย์ สุดท้ายก้อเปงบทบาทของงานกายภาพบำบัดโดยได้รับผิดชอบโครงการ To Be Number One ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆใน รร เช่น ประกวดร้องเพลง วงดนตรี แข่งขันกีฬาระหว่างชั้นเรียน โดยแก่นนำ นร.จะได้รับการอบรมการให้ความรู้โทษของสาเสพติด โดยเฉพาะบุหรี่ การเปงเพือ่นใจวัยรุ่นคอยให้คำปรึกษาเพื่อนที่มีปัญหา การทดสอบสมถภาพทางกายในเยาวชน การเปงกายกาพบำบัดน้อยประจำสนามกีฬา โดยตัวชี้วัดของโครงการที่จังหวัดกำหนดคือสมรรถภาพ นร.ที่ปกติ ซึ่งเราจะตรวจให้กับสมาชิกชมรมและนักกีฬา รร. ที่อธิบายได้เยอะเพราะเปงงานของผมเองของคนอื่นก้อจับประเด็นได้คร่าวๆเท่านั้น อนาคตคาดว่าจะเพิ่มการส่งเสริมสุขภาพเช่น ตรวจคัดกรองภาวะกระดูกสันหลังคดใน รร. หากงานกายภาพบำบัดที่อื่นจะนำไปทำบ้างก้อไม่ได้สงวนลิขสิทธิ์แต่ประการใด เพราะนี้คือการทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่นและทำให้ปชช.โดยเฉพาะ นร. เข้าใจบทบาทของเรามากขึ้นและอยากเปนกายภาพบำบัดมากขึ้นเพื่อให้มีคนในเขตชนบทกลับมาทำงานที่บ้านเกิดมากขึ้น เท่านี้ก่อนนะครับ บายๆ เพิ่งได้งาน เอดส์และทีบี อีกเริ่มเหนื่อยแล้วอ่ะ

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน

จ.อุบลราชธานี 34150

086-0559353

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ตอนนี้แผนกกายภาพของรพ.หนูกำลังทำHA ขั้นที่3 อยากรบกวนขอตย. profile แผนกแบบใหม่หน่อยค่ะ หาข้อมูลยากมาก และการจัดทำ competency ของแผนกด้วยนะค่ะ

ขอบคุณอ. ปนดามากค่ะ

เมลหนู [email protected]

นางสาวเทพศิรินทร์ อึ้งบรรจง

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูเป็นนักกายภาพเพิ่งเริ่มทำงานโรงพยาบาลกุสุมาลย์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนค่ะ

ต้องการรายละเอียดเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ต้องใช้ในโรงพยาบาลชุมชน และสั่งซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ทางกายภาพบบำบัด หนูอยากทราบเรื่องของยี่ห้อและราคานะค่ะ

อาจารย์พอมีให้หนูไหมค่ะ หนูต้องการด่วนมากค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

หนูเพิ่งเปิดแผนก ยังไม่มีความรู้ในการเขียนโครงการชุนชน การประเมินผล ตัวชี้วัด รบกวนขอแบบฟอร์มด้วยค่ะ

-แบบประเมินความพิการ การคิดค่าบริการและแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านค่ะ

-แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด

-แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ

เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน

อีเมล:[email protected]

รบกวนอาจารย์หน่อยนะค่ะ หนูทำงานที่อนามัยของอำเภอ งานที่ทำจะเน้นงานผู้พิการซึ่งหนูยังไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้ หนูรบกวนขอแบบฟอร์มต่างๆเกี่ยวกับการออกเยี่ยมผู้พิการค่ะ เช่น แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมง การเขียนโครงการชุนชน การประเมินผล ตัวชี้วัด แบบประเมินความพิการ แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ

รบกวนส่งมาที่ [email protected]

ขอบคุณนะค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดิฉันต้องการรายละเอียดเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ต้องใช้ในโรงพยาบาลชุมชน และสั่งซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด ดิฉันอยากทราบเรื่องของยี่ห้อและราคานะค่ะ

รบกวนขอข้อมูล การเขียนโครงการชุนชน การประเมินผล ตัวชี้วัด ขอแบบฟอร์ม

-แบบประเมินความพิการ การคิดค่าบริการและแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้าน

-แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด

-แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ

เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน

อีเมล:[email protected]

เรียนอาจารย์ปนดา

งานออกชุมชนของโรงพยาบาลสามเงาได้เริ่มดำเนินการแล้ว และได้คีย์ข้อมุลในเว็บของ สปสช.

แล้ว เงินก็เข้าเงินบำรุงแล้ว แต่ไม่เคยเขียนโครงการขอค่าตอบแทนในเวลาราชการเลย เคยเขียนแต่ของบจาก

อบต. ซึ่งทางโรงพยาบาลก็บอกให้เยี่ยมนอกเวลาถึงจะได้ค่าตอบแทน ขอรบกวนอ.ปนดา ส่งตัวอย่างโครงการ

เยี่ยมบ้านในเวลาให้เป็นตัวอย่างหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

email : [email protected]

ขอเป็นกำลังใจให้นักกายภาพทุกคนนะคะ

ขอเป็นกำลังใจให้นักกายภาพบำบัดทุกคนนะค่ะ

อาจารย์คะ หนูรบกวนขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านหน่อยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

[email protected]

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูเป็นนักกายภาพเพิ่งเริ่มทำงานโรงพยาบาลกุสุมาลย์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนค่ะ

ขอแบบฟรอมการส่งข้อมลูผู้ป่วยให้กับสปสช.ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ตอนนี้เป็นนักกายภาพบำบัดที่ศูนย์บริการสุขภาพ คณะวิทยาการสุขภาพและการกัฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง ค่ะ ตอนนี้กำลังจัดทำโครงการกายภาพบำบัดเพื่อชุมชน จึงรบกวนขอข้อมูลงานกายภาพบำบัดกับชุมชน และโครงการเยี่ยมบ้านประเมินผู้ป่วยพิการ และไฟล์งานกายภาพบำบัดสำหรับโรงพยาบาลชุมชน รบกวนพี่ ๆ ช่วยส่งข้อมูล แบบสอบถามปัญหากายภาพบำบัดและการเก็บข้อมูล ต่าง ๆ มาที่ [email protected] ด้วยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

เรียนทุกท่าน

สำหรับผู้ที่ขอ spec เครื่อมือ PT อาจารย์ไม่มีนะคะ แต่มีที่อยู่ของบริษัทขายเครื่องมือ PT หลายแห่ง จะส่งไปให้ ถ้าติดต่อขอ spec เขา เขาก็จะส่งให้เราได้ค่ะ อยากให้ขอจากหลายๆบริษัทจะได้เปรียบเทียบราคาได้ และที่สำคัญควรสอบถามเรื่องการบริการหลังการขายด้วยค่ะ ไม่เช่นนั้นเวลาเสียหรือมีปัญหา อาจต้องเสียค่าใช้จ่าย และเสียเวลารอซ่อมนานค่ะ

ปนดา

เรียน อาจารย์ ปนดา

กระผมเพิ่งได้เข้าทำงานที่โรงพยาบาลจิตเวช เป็นวันที่สามคับ พอดีกระผมอยากทำโครงการเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเภท ครับ

ผมขอเรียนปรึกษาเรื่องกายภาพบำบัดในผู้ป่วยจิตเภท ว่าเราสามารถทำได้ในรูปแบบไหนนอกจากการออกกำลังกายครับ พอดีที่ รพ.ฝ่ายจิตเวช อยากให้ผมเข้าไปช่วยในเรื่องนี้ และกระผมอยากให้ทาง ร พ เห็นความสำคัญกับวิชาชีพของเราครับ แต่ผมยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไงดีเลยครับอาจารย์ และตอนนี้ร พ จิตเวชก็สังกัดกรมสุขภาพจิตด้วยคับ ไม่ใช่กรมการแพทย์เหมือนเมื่อก่อน และค่าตอบแทนที่ได้ ก็ค่อนข้างน้อย การเสนอของบประมาณอะไรก็ค่อนข้างยากลำบากหน่อยครับ เพราะเป็นโรงพยาบาลฝ่ายใจมากกว่า ผมจึงอยากเรียนปรึกษาอาจารย์ เรื่องดังกล่าว หรืออาจารย์พอจะมีแหล่งข้อมูลที่สามารถนำมาเป็นประโยชน์ได้หรือเปล่าครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับ

สวัสดีคะอ.ดา หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชน เพิ่งเข้ามาทำงานในงบ สปสช. ค่ะ หนูอยากทราบเรื่องเงื่อนไขในการรายงานการทำงานให้กับ สปสช. ว่าเราต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ รบกวนหน่อยนะคะ

[email protected]

ดีค่ะ อ.ปนดา

หนูทำงานอยู่โรงพยาบาลชุมชน 3 เดือนแล้วแต่ยังไม่ได้รายงาน สปสช เลยค่ะ หนูรบกวนขอ

แบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้าน

แบบประเมินผู้พิการ

และตอนนี้แผนกกายภาพของรพ.หนูกำลังทำHA อยากรบกวนขอตัวอย่าง profile แผนกแบบใหม่หน่อยค่ะ หาข้อมูลยากมาก และการจัดทำ competency ของแผนก และ การทำCQI ค่ะ คือหนูต้องพรีเซ็นวันที่ 20 ก.ค นี้ค่ะรบกวนอาจารย์ช่วยหนูหน่อยนะค่ะ

ขอบคุณมากมากค่ะ

ส่งมาที่ [email protected]

สวัสดีค่ะ อาจารย์ปนดา

หนูรบกวนขอแบบฟอร์มต่างๆเกี่ยวกับการออกเยี่ยมผู้พิการค่ะ

- แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ

- แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมง

ส่งมาที่ [email protected]

ขอบคุณมากค่ะ

อาจารย์คะ หนูเพิ่งเริ่มทำงาน PT ในชุมชนโดยงบ สปสช แต่หนูยังไม่ทราบว่า เรื่องเงื่อนไขที่ต้องรายงานการทำงานให้กับ สปสช. ว่าเราต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง โรงพยาบาลที่หนูทำอยู่ตอนนี้ยังไม่มีอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดเลย หนูควรเริ่มดำเนินการอย่างไรคะ สุดท้ายหนูรบกวนขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านด้วยค่ะ (ยอมรับว่าตอนนี้เคว้งมากไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนดี เพราะมีแค่ 2 มือกับความรู้และใจเท่านั้น) ขอบคุณค่ะ

จากหัวข้อ 624 รบกวนอาจารย์ส่งข้อมูลให้หนูที่ [email protected]

เรียนน้องๆ ที่ขอเอกสารเข้ามาตั้งแต่ post ที่ 620-625

อาจารย์จะส่งเอกสารเป็นข้อมูลให้น้องๆสำหรับเริ่มงาน พร้อมตัวอย่างประกอบ แต่อย่างไรก็ตาม อยากแนะนำให้น้องๆ click เข้าไปอ่านใน post ที่ 539, 584, 589, 595, 596 น้องๆจะได้เข้าใจเกี่ยวกับวิธีคีย์ข้อมูลให้สปสช. และวิธีการเบิกค่าตอบแทนในการออกเยี่ยมบ้าน ว่าจะอ้างระเบียบอะไร คุณกิตติ สมบรรดา เขาแนะนำไว้ดีมาก และมีเบอร์โทร และ e-mail ติดต่อเขาเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้เลย แต่ในเบื้องต้นอาจารย์จะจัดส่งเอกสารไปให้พวกคุณก่อนทาง e-mail ที่ให้ไว้ค่ะ

ปนดา

เรียนอาจารย์ปนดาที่เคารพค่ะ ตอนนี้โรงพยาบาลนาจะหลวยรับการ Accreditation หรือการประเมิน HA รอบ 3 ผ่านแล้วค่ะ นู๋ดีใจมากค่ะที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้นำเสนอผลงาน และทำให้ผลงานงานกายภาพเป้นผลงานเด่นของโรงพยาบาลด้วย จากสิ่งที่อาจารย์คณะผู้ตรวจกล่าวไว้ว่า สิ่งที่น่าชื่นชม

การพัฒนาระดับหน่วยงานที่โดเด่น ได้แก่ 1 ทันตกรรม 2การแพทย์แผนไทย 3 งานกายภาพบำบัด มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ สามารถดูแลครอบคลุมในกลุ่มที่ยากต่อการเข้าถึงบริการ เช่นผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ส่งผลให้ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและผู้ดูแลยอมรับ/มีส่วนร่วมในการฟื้นฟุสภาพผู้ป่วย รวมทั้งชุมชนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น และยังมีในหัวข้อว่าโรงพยาบาลให้ความสำคัญในการทำงานการดูแลผู้พิการแบบองคืรวม ทั้งค้นหาในการดูแล ปรับสิ่งแวดล้อมที่บ้าน สิทธิผู้พิการ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และวางแผนการสร้างเครือข่ายในการดูแลร่วมกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นลำดับ สิ่งนี้คือสิ่งที่อาจารย์สรุป ทำให้งานกายภาพบบำบัดมีบทบาทมากยิ่งๆๆขึ้นไปค่ะ และส่งผลให้นู๋ต้องทำห้องให้ได้ตามมาตรฐานให้ได้ อยากมีห้องกายภาพบำบัดสวยๆๆ เรามีผลงานโรงพยาบาลก็พร้อมจะทำให้ ตอนนี้เลยหายเหนื่อยเลยค่ะกับสิ่งที่ทำมา และก็จะทำ CQI ให้มากขึ้นด้วยค่ะ เพื่อจะได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไปค่ะ

ขอแสดงความยินดีกับ PT นาจะหลวย ด้วยนะคะ และขอชื่นชมกับความสำเร็จของ นาจะหลวย เพราะน้องเพิ่งเริ่มงานใหม่ได้ประมาณแค่ 1 ปี แต่มีส่วนช่วยทำให้รพ.ผ่าน HA รอบ 3 ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายของรพช. ดังนั้นเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าชื่นชมมาก ขอให้น้องพยายามต่อไปนะคะ อาจารย์และเพื่อนๆ PT ชุมชน จะคอยเป็นกำลังใจให้นะคะ

ปนดา

สวัสดีครับผมอาจารย์

ผมเป้นนักกายภาพบำบัด ผมจบ HCU รุ่น 7 ซึ่งตอนนี้ผมขอความกรุณาอาจารย์เพราะผมกำลังจะเซตระบบทางแผนกกายภาพบำบัดให้มีความสมบูรณ์ เพื่อเตรียมพร้อมการตรวจจาก HA ขั้น 3 แต่ยังไม่เป็นระบบเลย ไม่ทราบ่ว่าผมต้องมีข้อมูลด้านไหนบ้างครับผม และอาจารย์พอมีข้อมูลหรือหนังสอื หรือแบบฟอร์ม ไหมครับผม ผมขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์ด้วยนะครับผม

หวัดดีครับผม เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพทุกคน

ใครพอมีแบบฟอร์มการตรวจจาก HA บ้างครับผม และใครพอมี competency ของนักกายภาพบ้าง ..... ใครมีโครงการดีๆ พอจะแบ่งปันว่า การเพิ่มรายได้ให้กับแผนกได้บ้างครับผม รบกวนด้วยนะครับผม

ขอบพระคุณอาจารย์ปนดาเป้นอย่างสูงค่ะ จะพยายามพัมนางานกายภาพบำบัดต่อไปให้ดียิ่งๆๆขึ้นและประชาสัมพันธ์งานให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นค่ะ และPT HCU แนะนำตัวเพิ่มหน่อยนะคะ อ้อมก็ PT HCU เหมือนกันค่ะ รหัส 48

เรียนสอบถามค่ะ สปสช เขต 5 มีนโยบายให้มีการเขียนโครงการสำหรับทำงานในชุมชน อยากทราบว่าเขตอื่น จะมีโครงการแบบนี้หรือเปล่่าค่ะ

พี่ PT ที่นาจะหลวยผ่านการประเมินHA แล้วดีจัยด้วยค่ะ แล้วหนูจะทำให้โรงพยาบาลหนูผ่านมั้ยหน้อ พี่ๆขาหนุรบกวนขอตัวอย่างที่พี่ทำ CQI หน่อยนะค่ะ เพื่อเป็นตัวอย่างดีๆให้กับน้องๆค่ะ ส่งมาที่ [email protected] ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าเด้อคร้า

เรียน อ. ปนดา ที่เคารพค่ะ

หนูเป็นนักกายภาพบำบัด รพ.ชุมพลบุรี จ. สุรินทร์ค่ะ

พอดีได้มีโอกาส เข้าอบรมการทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ ของ สรพ.

เลยอยากทำงานวิจัยเชิงคุณภาพบ้างค่ะ  แต่ไม่รู้ว่าจะทำเรื่องอะไรดี เนื่องจากคิดได้แต่งานวิจัยเชิงปริมาณ 55

หนูเลยอยากขอตัวอย่างหรือ คำแนะนำจากอาจารย์ว่า จะทำเรื่องอะไรได้บ้างนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ปนดา

สิริกานต์  ทาหนองเภา งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลชุมพลบุรี จ. สุรินทร์

[email protected]

CQI มันต้องเอางานที่เราทำน่ะจ่ะ ว่ามันเกิดปัญหาอะไรแล้วเราแก้ไขอย่างไร ปรับปรุงยังไง หรือพัฒนาอย่างไร ตอนนี้พี่มีนวัตกรรมใหม่ อุปกรณ์ฝึกผู้ป่วยเหมือนจักรยานที่ใช้มือปั่น แต่เป็นแนวคิดของอสมช.ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่พี่อบรมไป เราเสนอแนวทางแต่เค้าเอาไปต่อยอด นำเอาอุปกรณ์ของคนโบราณมาประยุกต์ใช้แล้วใช้ได้ผลดีมากๆๆเลย เป็นการอนุรักษ์ของเก่าด้วยเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน กำลังจะให้ช่างนำมาปรับแต่งให้สวยงานเผื่อจะได้นำเสนอกะเค้ามั่ง คือมันถูกและทำให้ผู้ป่วยสนุกกับการออกกำลังกายด้วย

เรียน อาจารย์ปนดาและสวัสดีพี่น้องชาวกายภาพบำบัดชุมชนทุกท่าน

วันนี้ผมได้เข้าร่วมประชุมการติดตามผลการดำเนินงานฟื้นฟูสภาพด้านการแพทย์ (คนพิการ สูงอายุ sub acute) สสจ.อุบลราชธานี เค้าโอเคกับผลงานของเรามากๆ ซึ่งกำลังจะมีการประชุมวางแผนการดำเนินงานให้ปี 54 วันที่ 15-16 นี้ ซึ่งผมเองได้เป็นตัวแทนของเครือข่ายกายภาพบำบัดอุบลราชธานี สปสช เขต 10 เข้าร่วมรับฟังและเปงตัวแทนของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จิง (เนื่งจากพี่น้อย เจ๊ดันคนเก่งของเราติดประชุมที่ กทม. เลยให้กระผมทำหน้าที่นี้แทน) จึงอยากให้ทุกคนได้ให้เสนอแนะ ว่าปีงบประมาณหน้าอยากให้โครงการนี้มีทิศทางในแนวทางใด โดยเฉพาะสมาชิค สปสช เขตเดียวกัน และทุกท่านเพราะงานด้านนี้เป็นงานใหม่ยังต้องการรูปแบบที่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อนำไปปรับใช้กันทั้งประเทศ และยังส่งผลต่องานกายภาพบำบัดที่จะมีงานและงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก สปสช. เฉกเช่นงาน ทีบี เอสด์ เบาหวาน และอื่นๆที่มีมาก่อนเรา

ประเด็นที่สองจากการประชุมวันนี้เช่นงานผมยังได้รับมอบหมายให้เป็นสถานที่ดูงานของ นักกายภาพบำบัด น้องใหม่ที่กำลังจะเซตแผนกอีกสองแห่ง แต่ไม่ทราบว่าจะต้องเตียมเอกสารอะไรให้น้องบ้างเพราะมันเยอะมากจริงๆ ซึ่งผมเองก้อเพิ่งเปิดแผนกได้ 1 ปีกว่าเท่านั้น จึงอยากจะถามทุกท่านที่เพิ่งเปิดแผนกว่าถ้าเป็นท่ามาดูงานท่านอยากได้ข้อมูลอะไรบ้าง ซึ่งผมก้อเตรียมไว้บ้างแล้วแต่หากได้ทุกคนช่วยคิดก้อจะเป็นการดีเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องที่สามอยากถามพีทีห่อมดน้อยว่าเอกสารที่ขอ ผมได้จัดส่งทางเมลล์ให้แล้วไม่ทราบว่าได้รับหรือไม่ กรุณาแจ้งด้วย

เรื่องที่สามอยากทราบว่า มี สปสช.เขต 10 ในบล็อกนี้หรือป่าวเผื่อว่าต้องการประสานหรือขอคำแนะนำจะได้โฟกัสได้ดีขึ้น ส่วนผมเป๋น KKU PT รุ่น 23 รหัส 483090094-5 เง้อยังจามได้อีกเหะครับ

สุดท้ายอยากจะเรียนถามว่า ถ้าผมอยากให้มีรูปตัวเองแสดงบนบล็อกของ รศ.ปนดา บ้างต้องทำยังไงครับ 5555555555 นอกเรื่องได้อีก อิอิ

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

086-0559353 [email protected]

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนค่ะ เพิ่งทำงานได้ไม่กี่เดือน อยากสอบถามพี่ๆว่าในกรณีคนไข้ที่ใช้สิทธิเบิกได้ เวลาคนไข้ไปจ่ายเงินเพื่อที่จะนำไปเบิกจากทางต้นสังกัดคนไข้ต้องขอใบรับรองแพทย์ไปเบิกด้วยมั๊ยค่ะ เพราะทางฝ่ายการเงินเค้ามาถามหนูว่าพี่ไม่แน่ใจนะว่าคนไข้จะนำไปเบิกได้รึป่าวเพราะแพทย์แผนไทยเค้ามีใบรับรองแพทย์แนบไปด้วยทุกครั้ง แล้วทางกายภาพเค้าไม่มีกันเหรอ

เรียนคุณณัฐพัชร์

กรุณาแจ้ง e-mail address ด้วย จะได้ส่งเอกสารไปให้ค่ะ

ปนดา

เรียนกภ.สิริกานต์

ดีใจกับน้องด้วยที่ได้เข้าอบรมเรื่องงานวิจัยเชิงคุณภาพ ส่วนจะทำวิจัยเรื่องอะไร ก็คงต้องถามตัวเองว่าสนใจจะแก้ปัญหาเรื่องอะไร เพราะงานวิจัยเชิงคุณภาพส่วนใหญ่จะตอบคำถามเกี่ยวกับ How? และ Why? ไม่เน้นเรื่องปริมาณ ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจปัญหา และสามารถมองเห็นความเป็นทั้งหมดของปัญหา(จากหลากหลายมุมมอง) ทำให้เราสามารถที่จะหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาได้มากกว่าไม่รู้อะไรแล้วไปแก้ ค่ะ

ปนดา

ตอบคำถามโพส 639

ผู้ป่วยที่มารับบริการทางกายภาพบำบัด พี่เคยถามปัญหานี้กับ หน งานประกันสุขภาพแล้ว เค้าบอกว่านกรณีสิทธิเบิกได้แต่ต้องไปเบิกจากต้นสังกัด ไม่ต้องแนบใบรับรองการรักษาหรือสำเนารับรองใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ เนื่องจากเรามีสภารับรองการทำงานแล้วและตาม พรบ มาตรา 27 นักกายภาพบำบัดสามารถตรวจ วินิจฉัย และรักษาได้โดยไม่ต้องผ่านคำสั่งแพทย์ แต่น้องๆต้องสอบใบประกอบผ่านแล้วเท่านั้น

ขอบคุณพี่กภ.กิตติ สมบรรดา มากนะค่ะ

หนูมีอีกเรื่องค่ะ มีคนไข้ในเป็น asthma แล้วพี่พยาบาลถามว่าหนูสามารถไปทำ chest therapy ได้มั๊ย

แต่ประเด็นคือว่าหมอยังไม่ consult นะค่ะ หนูก้อเลยบอกว่าต้องให้หมอ consult ก่อน

หนูจะถามว่าจริงจริงแล้วเราสามารถเข้าไปรักษาคนไข้เลยได้มั๊ยค่ะ โดยที่หมอยังไม่ consult

ณัฐพัชร์ ธนะปานสวัสดิ์

ขอบพระคุณอย่างสูงครับผม [email protected] ครับผม อาจารย์

ณัฐพัชร์ ธนะปานสวัสดิ์

อีเมล์ของผมครับผม อาจารย์ [email protected] ขอขอบพระคคุณเป็นอย่างสูงครบผม

ไปฟัง การบรรยาย ของ น้องโอ เรื่องการเยี่ยมบ้าน

ของนักกายภาพบำบัด ทีมไม้เลื้อย รพ.กุฉินารายณ์ สุดยอดมากๆ

ตอบคำถามโพส 643

ตามความเห็นส่วนตัวของพี่คิดว่าเราควรผ่านแพทย์ให้เค้า consult ก่อน เพื่อ save ตัวเราเองด้วย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ว่าเราต้องการว่างระบบอย่างไรโดยส่วนมาก รพช มักผ่านแพทย์เพื่อลดปริมาณคนไข้ที่จะ walk in มาหาเราโดยตรง น้องควรจัดทำรายชื่อกลุ่มโรคให้หมอดูว่าเคสแบบไหนที่จะส่งปรึกษานักกายภาพบำบัดได้บ้าง ต้องพูดบ่อยๆกระตุ้นเยอะๆเด่วพอเค้าเริ่มรู้งานเราๆเองอาจจะมานั่งบ่นว่าทำไมส่ง consult เยอะจังเลยทำไม่ไหวแบบที่พี่กะลังเจออยู่ในขณะนี้ก้อเปงได้

ตอบ post ที่ 643 กรณีผู้ป่วย Asthma ในความเห็นของอาจารย์ คิดว่ายังไม่ควรเข้าไปทำPTถ้าแพทย์ยังไม่ consult โดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยใน เพราะระบบบริการสุขภาพที่ดีควรมีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ระบบก็คือเราต้องสร้างขึ้น และเราก็ควรทำงานอย่างเป็นระบบ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดความขัดแย้งหรือความข้าใจที่ไม่ตรงกันได้ อาจารย์มีความคิดเห็นว่าสำหรับระบบการส่งปรึกษาผู้ป่วยใน น่าจะต้องเป็นแพทย์ที่ต้องส่งปรึกษา PT ก่อน ส่วนปัญหาคือถ้าแพทย์ไม่ส่งใน case ที่สมควรส่ง เราจะทำอย่างไรเพื่อให้แพทย์ส่ง ก็อาจจะมีหลายวิธี การทำ service profile ก็น่าจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยปชส.งานเราได้ การพูดคุยกับแพทย์หรือถ้าเริ่มคุยกับพยาบาลง่ายกว่า ก็อาจคุยกับพยาบาลเพื่อให้เขาช่วยคุยกับแพทย์อีกทางหนึ่งด้วย หลายคนก็ทำอย่างนั้น เพราะส่วนใหญ่พยาบาลอยากให้เราเข้าไปช่วยที่ ward อยู่แล้ว แต่ไม่ควรเข้าไปทำโดยไม่มี consult เพราะเราจำเป็นที่ต้องสื่อสารกับแพทย์และบุคลากรในทีม

ปนดา

ถึงอาจารย์ปนดาและนักกายภาพบำบัดทุกท่าน

ดิฉันนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลนาจะหลวย กำลังดำเนินตกแต่งห้องกายภาพบำบัด และต้องการที่จะตกแต่งประตูทางเข้าห้องเป็นกระจกอ่ะค่ะ ให้เป็นไวนิลแบบสติ๊กเกอร์แต่ยังคิดลายไม่ออกว่าจะทำลายอะไรดี เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วย เป็นการประชาสัมพันธ์งานด้านส่งเสริม ใครมีหัวด้านศิลปะช่วยอ้อมหน่อยนะคะ แบบภาพส่งเสริมเลิกบุหรี่งี้ก็ได้ หรือจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพก็ได้ค่ะ แบบน่ารักๆๆ อ่ะค่ะ ช่วยหน่อยนะคะ

เรียน รศ.ปนดา

เนื่องจากได้รับหนังสือสำรวจขอเป็นสภานที่ฝึกงานกายภาพบำบัดชุมชน ซึ่งตอนนี้ รพช.เขื่องใน มี เครื่อง ES US traction Hydrocallator Paraffin อย่างละหนึ่งเครื่อง จำนวนคนไข้15-20 ต่อวัน และกิจกรรมเยี่ยมคนพิการ ทดสอบสมรรถภาพสูงอายุ ตรวจและดัแปลงรองเท้าเบาหวาน วิทยุชุมชน เสียงตามสาย อื่นๆ แต่เพิ่งเปิดแผนกได้ไม่นานไม่ทราบว่าจะสามารถเป็นสถานที่ฝึกได้หรือเปล่าครับ

ลืมไปครับมี SWD ด้วยครับ เพิ่งมาใหม่

ได้และเหมาะสมแล้วจ่ะคุณเพื่อน สิ้นเดือนเจอกัน ของเราคงยังไม่รับอ่ะไว้ให้ห้องเสร็จก่อนค่อยรับปีหน้า

ผมอยู่โครงการไร้ความแออัด นครราชสีมา ลงเยี่ยมบ้านและรักษาที่สถานีอนามัยในเขตอำเภอเมือง อยากถาม อ. มีโอกาสที่ รพ.สต.จะมีกรอบ PT ได้เมื่อไร

เป็นนักกายภาพโรงพยาบาลไทรน้อย โรงพยาบาลชุมชน อยากทราบวิธีการ ลงข้อมูลผู้พิการให้กับ สปสช ค่ะ มีช่วงหนึ่งให้นักกายภาพสมัครไปลงทะเบียน เพื่อลงข้อมูล ออนไลน์ เเต่ตอนนี้ยังไม่ได้ทำยังไม่เข้าใจค่ะ และ วิธีการขอรถเข็นจาก สปสช ให้กับผู้พิการค่ะ mail ค่ะ [email protected]

ตอบคำถาม กภ.สุพรรณษา

วิธีการลงข้อมูลรายงานการให้บริการฟื้นฟูและเบิกกายอุปกรณ์

1.เข้าเวปไซด์ของ สปสช> www.nhso.go.th

2.เลือกเมนูการให้บริการออนไลน์

3.เลือกข้อหัวที่ 12.การให้บริการฟื้นฟูและเบิกกายอุปกรณ์

4.ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน

5.เลือกหัวข้อการให้บริการฟื้นฟูหรือเบิกกายอุปกรณ์

6.ใส่เลขที่บัตร ปชช ผู้ป่วย เลือกประเภทผู้ป่วยให้ถูกต้องระหว่างคนพิการหรือระยะฟื้นฟู

7.เลือกบริการ>กายภาพบำบัด (หากเป็นพิการด้านอื่นในลงเอ็กเซลล์ส่งไปทางเมลล์อีกทีต่อผู้ที่ดูแลงานคนพิการเขตนั้นๆ)

8.เลือกวันที่ให้บริการ ลง HN

9.บันทึกข้อมูล ตกลง

วิธีการขอรถเข็นจาก สปสช. นั้นไม่มีหรอกนะ

คุณจะต้องบริหารเงินจัดซื้อจากกองทุนที่ สปสช. โอนมาให้ในเงินบำรุงเพื่อซื้อกายอุปกรณ์ให้แก่คนพิการจากวงเงิน 200000 หรือ

มากว่านั้นในบาง รพ. ขึ้นอยู่กับว่าปีที่แล้ว รพ มีการให้บริการด้านนี้เพียงใด้หากใช้เงินมากกว่างบ ปีถัดไปจะได้รับเงินมากขึ้น โดยรายงานการเบิกคล้ายๆกับการฟื้นฟู อุปกรณ์ใดที่ไม่มีในรายงานสำหรับคนพิการให้รายงานเป็นเอ็กเซลล์ส่งทางเมลล์ แต่ถ้ามีข้อมูลการขอจริงกรุณาโพสอธิบายรายละเอียดด้วยนะครับ จักเป็นพระคุนยิ่ง

กภ.กิตติ สมบรรดา

หน.งานกายภาพบำบัด รพช.เขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

086-0559353 [email protected]

ขอบคุณคุณกิตติที่ได้ช่วยตอบเรื่องการลงข้อมูลให้สปสช. และขอแสดงความยินดีที่คุณจะได้เป็น clinical instructor เร็วนี้ อาจารย์เชื่อว่าคุณทำได้และจะทำได้ดีด้วยค่ะ

ปนดา

อยากการเปิดกรอบ PT ใน รพ.สต. จะเริ่มเมื่อไร

ขอขอบคุณกำลังใจจาก รศ.ปนดา เป็นอย่างยิ่งผมจะพยายามพัฒนางานกายภาพบำบัดให้กว้างเพิ่มขึ้นครับ

และขอตอบคำถาม กภ.วโรตนม์ ปาลิกา เกี่ยวกับกรอบอัตรากำลังกายภาพบำบัดใน รพ.สต. ยังไม่มีครับไม่สามารถบอกได้ว่าเมื่อไรด้วย เพราะ รพช.เองก้อยังไม่มีการกำหนดกรอบที่ชัดเจนเช่นกาน ปัจจุบัน รพช ใช้ปริมาณงานและอัตราส่วนต่อหัวประชากรเป็นการกำหนดขอคนเพิ่ม ซึ่ง นักกายภาพบำบัด 1 คนต่อ 15000 ประชากร ครับ

เรียนสมาชิก กภ. รพช

อยากทราบว่าเกณฑ์การออกใบรับรองแพทย์ให้คนพิการต้องพิการมาแล้ว 6 เดือนใช่ไหมคะ

ใครทราบรบกวนอธิบายการออกใบรับรองให้ฟังหน่อยคะ

เรียน พี่ๆ กายภาพฯ ทุกคนนะคะ

หนูอยากจะขอความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำ HA,

การเตรียมแผนกเพื่อขอรับการประเมินการประกันคุณภาพและรับรองมาตราฐาน จากผู้ตรวจเยี่ยม หน่อยค่ะ

ถ้าพี่คนไหนที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ หรือพอจะทราบแหล่งที่จะหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

รบกวนติดต่อกลับมาที่ [email protected] นะคะ

จากความเห็น 545 พี่คะหนูเป็นนักกายภาพที่เพิ่งจบมา ตอนนี้เริ่มออกชุมชนดูผู้พิการบ้างแล้ว แต่ยังไม่มี PASSWORD AND USERNAME ในการคีย์ข้อมูลให้ สปสช ค่ะ ขอความกรุณากับ PTน้อยหน่อยนะคะ

ที่ [email protected] ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

เรียนอาจารย์ปนดาและพี่ๆกายภาพบำบัดทุกคนนะค่ะ

ดิฉันมีเรื่องที่จะขอคำแนะนำค่ะ

คืออยากรู้วิธีการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับกระดูกหักค่ะ

ว่าจะมีวิธีบริหารความเสี่ยงนี้อย่างไรค่ะ

ขอคำแนะนำหน่อยนะค่ะ

รบกวนส่งเข้ามาที่เมล์นี้นะค่ะ [email protected]

ขอบคุณมากๆค่ะ

จากความคิดเห็นที่ 620 อาจารย์ค่ะหนูยังไม่ได้เอกสารค่ะ ขอรบกวนอาจารย์หน่อยนะคะ ขอบพระคุณอย่างสูง

[email protected]

ตอบ post ที่ 661

การบริหารความเสี่ยงผู้ป่วยกระดูกหัก ควรตอบคำถามก่อนว่าจะทำในผู้ป่วยกระดูกหักที่ไหน กระดูกในรพ.ของน้องมีอุบัติการณ์การหักซ้ำ หรือหักผิดรูปหรือไม่ ถ้ามีควรวิเคราะห์หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่าเกิดจากสาเหตุใดบ้าง สาเหตุอาจเกิดได้จากหลายอย่าง ทั้งจากการดูแลของเราเองและจากผู้ป่วยเอง เมื่อได้ปัญหาและสาเหตุแล้วจึงค่อยมาวางแผนการบริหารหรือจัดการกับความเสี่ยงต่างๆได้ค่ะ แต่ควรเข้าถึงความจริงของสาเหตุก่อนค่ะ จึงจะสามารถออกแบบการจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรมีการประเมินผลด้วยว่าได้ผลในการลดอุบัติการณ์ไหม ถ้าไม่ลดลงเพราะอะไร ควรทำให้เป็นระบบ ครบวงจรก็จะดีมากๆค่ะ

ปนดา

พอดีมีน้องปรึกษาคำถามมาคิดว่าน่าจะเปงประโยชน์ต่อคนอื่นๆด้วยจึงขออนุญาติคำคำถามน้องมาเผยแพร่

เท่าที่พี่ทราบมาว่า สปสช ร่วมกับสภากายภาพบำบัดจัดตลาดนัดรับสมัครงานกายภาพบำบัดในสี่สถาบัน ซึ่ง ผอ บ้าง รพ มีความเข้าใจว่าจะใช้เงิน 200000แสนจ้างนักกายภาพบำบัด ซึ่งไม่เหมาะสมนักเนื่องจากน้องเองจะไม่มีความมั่นคงในการทำงาน หากไม่มีงบนี้น้องอาจถูกลอยแพได้ และเงินจำนวนดังกล่าวหากนำมาใช้บริการงานฟื้นฟูแล้วไม่พอเลยด้วย ดังนั้นคุนน้องต้องอธิบายให้ ผอ เข้าใจ และจ้างโดยเงินบำรุงของ รพ.แทนครับ

ขณะนี้ สปสช ได้ปลดล็อกการรายงานผลการฟื้นฟูทางการแพทย์เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงผู้พิการ ท 74 แต่ปัจจุบันน้องสามารถดูแล ผู้สูงอายุ และ sub acute ที่ยังไม่จดทะเบียนร่วมด้วยได้ ค่าตอบแทนที่ได้แยกต่างหากจากเงินเดือนแน่นอน และสามารถให้ครายก้อได้ที่ออกหน่วยเพื่องานฟื้นฟูนี้ เช่น แพทย์ พยาบาลจิตเวช นักกายภาพบำบัด แต่คนเหล่านี้ต้องให้บริการคนไข้นะไม่ใช่ไปเชียร์เราฝึก หากน้องจะเซทออกเป็นทีมก้อได้ แต่ความเหนส่วนตัวพี่ไม่ออกไปพร้อมกันเพราะเราทำงานช้าเพิ่มขึ้นหากเจอเคสจะคอนเซาให้คนที่เกี่ยวข้องไปดูภายหลัง อันนี้ก้อแล้วแต่งน้องจะกำหนดเองเพราะเราเปง หน.งานจะดีไม่ดีก้อเรากำหนด ส่วนวิธีการลงข้อมูล สปสช ให้อ่านจากบล็อกของ รศ.ปนดา พิมพ์ www.google.com ค้นหา กายภาพบำบัดชุมชน โพสประมาณ 600 กว่า

กภ.กิตติ สมบรรดา

หน.งานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน

จ.อุบลราชธานี 34150

ขอข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดแผนก ด้วยค่ะ อาจารย์

[email protected]

เรียนอ.ปนดา

อยากทราบว่า โรงพยาบาลชุมชนในเขตจังหวัด ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี มีที่ไหนเปิดรับบ้างคะ..

อ.พอจะทราบบ้างรึป่าวคะ

เรียนทุกท่าน

เมื่อวันที่ 21 ก.ค.53 อาจารย์ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับสปสช.ส่วนกลาง จึงได้มีโอกาสนำเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหางานกายภาพบำบัดชุมชนที่ได้จากการสัมมนาในการประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ในห้องกายภาพบำบัดชุมชน ในวันที่ 26-28 เมษายน 2553 ซึ่งมีนักกายภาพบำบัดเข้าร่วมสัมมนาประมาณ 90 คน ทำให้คนในสปสช.เขาเข้าใจปัญหาในการพัฒนางานกายภาพบำบัดชุมชนมากขึ้น สปสช.ยืนยันการสนับสนุนงบประมาณในกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ต่อเนื่องแน่นอน และยังยืนยันการขยายกรอบบริการคนอบคลุมผู้ป่วย subacute ตามที่คุณกิตติได้พูดถึงใน post ที่ 664 นอกจากนี้ อาจารย์ยังเสนอปัญหาเรื่องการคีย์ข้อมูลลงในฐานข้อมูลของสปสช.ด้วย ว่าไม่สามารถคีย์ข้อมูลในส่วนของผู้ป่วย subacute ได้ คีย์ได้แต่ผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนแล้วเท่านั้น ซึ่งบางแห่งก็แก้ปัญหาด้วยการคีย์ลงใน excel ส่งไปให้ แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้กันในวงกว้าง อาจารย์ก็เสนอให้เขาไปปรับระบบการคีย์ข้อมูลให้สามารถคีญืข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ด้วย ซึ่งสปสชเขาก็รับทราบปัญหาและคงจะดำเนินการปก้ไขต่อไป ซึ่งเขาคงจะไปพิจารณาอีกที่ว่ากรณีผู้ป่วย subacute จะเป็นผู้ป่วยภาวะอะไรบ้าง

อีกวาระหนึ่งที่ได้ประชุมหารือคือแผนในการทำงานในปี 53-54 ว่าคณะทำงานกำลังคนกายภาพบำบัดระบบปฐมภูมิจะทำอะไรบ้าง ก็ขอสรุปสั้นๆ ดังนี้นะคะ

1. สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายกายภาพบำบัดชุมชนในแต่ละเขต โดยจะสนับสนุนให้เกิดชมรมกายภาพบำบัดชุมชนในแต่ละจังหวัดก่อน และพัฒนาต่อเป็นเขต โดยวัตถุประสงค์ของชมรมฯต้องเน้นไปในเรื่องการพัฒนาระบบบริการกายภาพบำบัดชุมชน การพัฒนาให้เกิดทีมการดูแลผู้ป่วยในชุมชน เช่น การพัฒนากลไก การพัฒนาระบบส่งต่อ การพัฒนาศักยภาพ เป็นต้น

2. การจัดตลาดนัดแรงงานกายภาพบำบัดชุมชน ที่ดำเนินการไปแล้วในปีที่ผ่านมา ที่ประชุมเห็นว่ายังเป็นประโยชน์ จึงให้ดำเนินการต่อไป โดยจะทำภาคละ 1 ครั้ง

3. การจัดปฐมนิเทศนักกายภาพบำบัดชุมชนที่เพิ่งเข้าทำงาน หรือเป็นนักกายภาพบำบัดใหม่ ซึ่งจะจัดโดยสถาบันการศึกษาเกือบทุกแห่ง เพื่อให้นักกายภาพบำบัดใหม่มีความรู้ในการ set หน่วยงานและระบบงาน

4. ในเดือน เมษายน 2554 จะมีการจัดเวทีนำเสนอผลงานของนักกายภาพบำบัดชุมชน ในงานประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ โดยอาจเป็นผลงาน R2R หรือเป็นโครงการกายภาพบำบัดชุมชนต่างๆ ที่นักกายภาพบำบัดทำแล้วมีตัวชี้วัดที่ดี มีการประเมินผลชัดเจน ดังนั้นจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบทั่วกันนะคะ อยากให้พวกเรามีผลงานไปนำเสนอให้มากๆ

5. การจัดทำคู่มือกายภาพบำบัดชุมชน สำหรับนักกายภาพบำบัดใหม่ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้มีข้อมูลพอสมควรแล้ว กำลังเรียบเรียงอยู่

6. จัดทำหนังสือ "กายภาพบำบัดชุมชน" ซึ่งคนของสปสช.เขาจะเป็นผู้ประสานงาน คณะทำงานฯช่วยเป็นกองบรรณาธิการให้ โดยหนังสือจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นเรื่อง กายภาพบำบัดสำคัญอย่างไรในระบบปฐมภูมิ ส่วนที่สองจะเป็นกรณ๊ศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนโดยกายภาพบำบัด ซึ่งจะเป็นการนำเสนอกรณ๊ศึกษาจากนักกายภาพบำบัดชุมชนที่เด่นๆ อาจารย์เสนอให้เขาจัดทำเป็นสื่อวิดิทัศน์เผยแพร่ด้วย ซึ่งเขาก็รับไปพิจารณาว่าจะพอมีงบไหม ทั้งหนังสือและวิดิทัศน์คงจะช่วยปชส.งานกายภาพบำบัดชุมชนได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริหาร ผอ. จะได้เข้าใจบทบาทงาน PT มากขึ้น

7. การทำแนวทางการพัฒนาเนื้อหาในกระบวนวิชากายภาพบำบัดชุมชน ในหลักสูตรกายภาพบำบัดปริญญาตรี ซึ่งงานนี้อาจารย์รับมาเป็นผู้ประสานงานให้

ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ก็คงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันของเราชาวกายภาพบำบัดชุมชนนะคะ

ปนดา

รบกวนอาจารย์ปนดาค่ะ ดิฉันอยากจะทราบการสำรวจอัตรากำลังที่สำรวจล่าสุด ว่าประชากรเท่าไหร่ต่อนักกายภาพบำบัดค่ะ

พอจะทราบได้ที่ไหนค่ะเพราะฐานข้อมูลที่มีอยู่เป็นปี 2546 ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

ดาริกา

สวัสดีค่ะอาจารย์ปนดา หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนค่ะ คือตอนนี้ที่โรงพยาบาลที่หนูทำอยู่เพิ่งเปิดแผนกใหม่แต่ยังไม่มีห้องสำหรับกายภาพ จึงรบกวนถามเกี่ยวกับขนาดของห้องกายภาพค่ะว่า มาตรฐานขนาดห้องที่ใช้ในการตรวจ ประเมิน รักษาต้องมีขนาดเท่าไหร่ คะ

ขออนุญาติตอบคำถาม กภ.ดาริกา เท่าที่ผมได้ศึกษามาทราบมาว่านักายภาพบำบัด 1 คนต่อประชากร 15000 คนครับ

ตอบคำถามคุณ กภ.วชิราภรณ์ ขนาดห้องตามมาตรฐานถูกกำหนดโดยกระทรวงซึ่งมีแผนผังห้องต่างๆอย่างชัดเจน และหากใช้ตามมาตรฐานดังกล่าวแผนกกายภาพบำบัดสามารถเปง รพช. ได้หนึ่งแห่งเลยทีเดียว ดังนั้นจึงไม่มีการกำหนดสัดส่วนห้องกายภาพบำบัดเปงตัวชี้วัดเพราะถ้าเปงอย่างนั้นทุก รพ.จะสอบตกกันหมด ที่ยอมรับกันได้ใน รพช ควรมีขนาด 4x8 เมตรครับ (หมายถึงพื้นที่ทั้งหมด)

แต่หาก รศ.กภ.ปนดา มีรายละเอียดอื่นกรุณาโพสด้วยนะครับเพื่อเปงประโยชน์ต่อไป

สวัสดีครับ พอดีมีโอกาสได้ทำงานชุมชน แต่มีปัญหาเรื่องเอกสารครับ

ขอรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการของบฟื้นฟูผู้พิการ

แบบประเมินความพิการ

แบบประเมินการตวจเท้าเบาหวาน

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ พอดีมีโอกาสได้ทำงานชุมชน แต่มีปัญหาเรื่องเอกสารครับ

ขอรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการของบฟื้นฟูผู้พิการ

แบบประเมินความพิการ

แบบประเมินการตวจเท้าเบาหวาน

รบกวนส่งที่ อีเมล [email protected] นะครับ

ขอบคุณครับ

เรียนน้องกายภาพบำบัดชุมชน

สำหรับจำนวนนักกายภาพบำบัดต่อหัวประชากร 1 ต่อ 15,000 คน นั้น คงเป็นการประมาณการกำลังคนในช่วงแรกที่ยังมีนักกายภาพบำบัดไม่มาก แต่ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายที่เปลี่ยนไป ในเบื้องต้นรัฐต้องการให้มีนักกายภาพบำบัดประจำรพช.ทุกโรงก่อน แต่ต่อมามีนโยบายให้มีรพสต. ซึ่งมีหลายพันแห่ง ถ้ารพช.มีนักกายภาพบำบัดเพียงพอแล้ว ต่อไปก็จะให้มีนักกายภาพบำบัดประจำรพสต.ด้วย ซึ่งถ้าเป็นเข่นนั้น อัตราส่วน 1 ต่อ 15,000 คนคงจะไม่ใช่แล้ว

ถ้าพูดในด้านของมาตรฐานงานกายภาพบำบัด เราก็มีการกำหนดกรอบเอาไว้ตามจำนวนผู้ป่วย โดยนักกายภาพบำบัด 1 คนดูแลผู้ป่วยไม่เกิน 10 คน ถ้านักกายภาพบำบัดถูกมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยเฉพาะทาง นักกายภาพบำบัด 1 คนดูแลผู้ป่วยไม่เกิน 6 คน และถ้าเป็นการออกเยี่ยมบ้าน นักกายภาพบำบัด 1 คนดูแลผู้ป่วยไม่เกิน 5 คนต่อวัน และถ้าเป็นการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มละไม่เกิน 15 คน

สำหรับเรื่องขนาดของห้องรักษา ไม่น้อยกว่าห้องละ 6 ตารางเมตร และมีระยะห่างระหว่างเตียงไม่น้อยกว่า 80 ซม. ซึ่งในรพช.อาจใช้ตรงนี้ไม่ได้ในระยะแรก แต่ถ้าต่อไปถ้าสามารถขยายงานได้หรือได้งบประมาณมาพัฒนาในส่วนนี้ ก็น่าจะยึดมาตรฐานวิชาชีพในการออกแบบแผนกได้

ปนดา

เรียน รศ.ปนดา

คือว่าตอนนี้กำลังทำงานเกี่ยวกับกลุ่มออกกำลังกายใน asthma and COPD ค่ะ จึงอยากได้เอกสาร CD ไปจัดกิจกรรมค่ะ

อยากได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและการให้ความรู้เพิ่มเติมที่พวกเค้าสามารถปฎิบัติได้ ในกลุ่มดังกล่าวมีทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่

ร่วมกันมีจำนวนมาก เวลาให้ความรู้ต้องแบ่งเป็นกลุ่มไม่สามารถให้ความรู้ทีเดียวหมดและสถานที่ก้อไม่เอื้ออำนวยเท่าไหร่

แต่อยากให้อะไรที่พวกเค้าสามารถปฎิบัติได้และเข้าใจพร้อมกับสนุกด้วย

ขอบคุณค่ะ

[email protected]

แสงดาว จินดาศักดิ์

โรงพยาบาลปากท่อ ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 70140

เรียนกภ.ปากท่อ

อาจารย์คิดว่าจะส่ง Kit ความรู้สำหรับนักกายภาพบำบัดเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบไปให้นะคะ จะมี ppt ที่เป็นประโยชน์ นะคะ

คงต้องส่งทางไปรษณีย์ค่ะ

ถ้าใครต้องการเอกสารหรือ CD เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ก็ขอมาได้นะคะ จะส่งไปให้ค่ะ

ปนดา

อยากเป็นกายภาพชุมชน

อ ปนดาคะ ขอ ข้อมูล ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเปิดแผนก กายภาพด้วยนะคะ

การเขียนโครการต่างๆด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ [email protected]

อ ปนดาคะ ขอข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเปิดแผนกกายภาพด้วยนะคะ

และการเขียนโครการต่างๆด้วยค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

[email protected]

น้อมจิตต์ นวลเนตร์

มีหนังสือใหม่ของพี่ ชื่อ "ศาสตร์น่ารู้สำหรับงานกายภาพบำบัดชุมชน" หากสนใจสามารถหาซื้อ/สั่งซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทุกสาขาค่ะ

เรียนอาจารย์ ปนดา พอดีผมทราบจากพี่ รพช นาจะหลวย บอกว่าอาจารย์พยายามติดต่อผมแต่ผมไม่ได้รับเมลล์จากอาจารย์ ไม่ทราบว่าเปงความจิงหรือไม่ หากจิงก้อต้องขออภัยที่ติต่อกลับช้านะครับ

เรียนพี่ กภ.กิตติ สมบบรดา

หนูเป็นนักกายภาพบำบัด ซึ่งกำลังทำโครงการการเยี่มบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ

ซึ่งต้องออกแบบฟอร์มการเยี่ยมบ้านผู้พิการให้แก่ อสม หนูไม่แน่ใจนะค่ะว่าจะทำขอบเขตแบบไหนที่ง่ายต่อการเข้าใจ และอสม.สามารถบันทึกได้ง่าย ขอบคุณมากค่ะ

ถึงน้องออม นู๋จะให้เค้าทำบันทึกเยี่ยมบ้านหรือแบบประเมินผู้พิการจ๊ะ แต่ถ้าเป็นบันทึกเยี่ยมเฉยๆๆสำหรับอสม.นั้น ทำให้ง่ายที่สุด เพราะทำเยอะเค้าไม่เข้าใจแล้วเค้าจะไม่อยากทำ ฟอร์มนู๋ต้องให้มีข้อมูล ชื่อผู้ป่วย ประเภทความพิการซึ่งเค้าไม่เข้าใจแต่ละประเภทหรอก อย่างของพี่จะทำช่องให้เค้าเลือกเลยประเภท 1-6 ง่ายๆๆ ตา หุ กาย จิต สติ การเรียนรุ้ และต้องมีที่อยู่ ลายเซ็นต์ผู้พิการ/ญาติ จะได้เป้นหลักฐาน และสุดท้ายก็ลายเซ็นต์ของอสม. ซึ่งขึ้นหัวข้อด้านบนว่าลายเซ็นต์ทีมเยี่ยมบ้าน ซึ่งถ้าวันใหนเราไปร่วมกับเค้าหรือ เค้าไปร่วมกับเราเราก้ต้องเซ็นต์ด้วย จะได้รุ้ว่าเราออกร่วมกับเค้าจริงๆๆ และจะให้ดีมีอีกช่องคือกิจกรรม/ปัญหา เค้าก็จะลงเองออกกำลังกาย ผู้ป่วยมีแผล ขาอ่อนแรง ซึ่งเราต้องสอนเค้าให้ดีๆๆ ของพี่พูด 10 รอบก้ยังทำผิดต้องใจเย็นๆๆ (ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น) กิตติ ที่จ่ะไม่ใช่พี่อย่ามาพิมพ์ผิดนะ

ขอให้ข้อเสนอแนะน้องออมครับ

ขอบเขตที่ควรจะมีในแบบฟอร์มเยี่ยมบ้านควรมีหัวข้อดังต่อไปนี้

1. ชื่อหน่วยบริการ

2. ชื่อ-สกุล เลขที่บัตรปชช เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่

3. สถานภาพ

4. เรื่องบุตร จำนวน คงเหลือ

5. ระดับการศึกษา

6. อาชีพ

7. สิทธิบัตร

8. สมุดผู้พิการ มี ไม่มี หมดอายุ

9. เบี้ยยังชีพ มี ไม่มี

10. ประเภทความพิการ

11. สาเหตุความพิการ

12. โรคประจำตัว

13. ระยะเวลที่เจ็บป่วย

14. การรักษาที่ผ่านมา

15. ภาวะแทรกซ้อน

16. ความต้องการช่วยเหลือ

17. อุปกรณ์คนพิการที่ต้องการ

18. อุปกรณ์คนพิการที่ได้รับ

19. วันที่ได้รับอุปกรณ์คนพิการ

20. ผู้ดูแล ชื่อ ที่อยู่

21. ปัญหาที่พบ

22. บริการที่ให้

23. ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง (บาร์เทลอินเดก)

24. ความพึงพอใจ

25. ผู้ดูแลสามารถดูแลได้อย่างถูกต้อง มาก น้อย

26. ชื่อผู้บันทึก วันที่บันทึก

เปงแนวคิดและแบบฟอร์ที่พี่ทำอยู่น้องเอาไปปรับตามความเหมาะสมได้เลยคับ

ปล.งงประโยคสุดท้ายของคุน กภ.นาจะหลวย

เรียน รศ.กภ.ปนดา

รพช.เขื่องใน อุบลราชธานี ได้รับเลือกจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็นสถานที่ฝึกงานของ นศก. ปี 4 อยากจะเรียนถามอาจารย์เกี่ยวกับเนื้อหาที่ควรให้น้องๆได้รับว่ามีอะไรบ้าง แล้วผมต้องเพรียมตัวอบ่างไรบ้าง ขอคำนำแนด้วยครับ ขอยคุนครับ

เรียน อ.ปนดา

หนูอยากได้เอกสารเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ค่ะ เพื่อไปแนะนำกับผู้อื่น

นางสาวอรวรรณ นครอินทร์ นักกายภาพบำบัด

ที่อยู่ โรงพยาบาลสามเงา 371 ม. 4 ต.สามเงา อ.สามเงา จ.ตาก 63130

ขอบคุณค่ะ

เรียนคุณกิตติ สมบรรดา

เรื่องการเป็นครูคลินิก (IC) นั้น อาจารย์ขอแนะนำว่าให้ศึกษาคู่มือการฝึกงานของนิสิตของสถาบันที่ส่งนิสิตมาฝึกงานค่ะ ว่าเขามีวัตถุประสงค์ในการส่งนิสิตมาฝึกงานอย่างไรบ้าง เราจะได้จัดเนื้อหาหรือกิจกรรมให้นิสิตสามารถเรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของการฝึกงานนั้นๆได้ โดยอาจจะต้องทำแผนการสอนด้วยก็จะดีมาก ว่าในช่วงเวลาที่นิสิตอยู่กับคุณจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง คุณต้องเตรียมอะไรบ้าง นิสิตต้องทำงานอะไรส่งเราบ้าง เพื่อให้แน่ใจว่าเขาทำได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการฝึกงาน นอกจากนี้ คงต้องศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของนิสิตด้วยว่า เราต้องประเมินนิสิตในด้านใดบ้าง

ปนดา

สำหรับผู้ที่ขอเอกสารเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่มา จะจัดส่งให้เร็วๆนี้นะคะ

ปนดา

ขอบคุนอาจารย์มากครับสำหรับคำแนะนำดีดี

เข้ามาเป็นกำลังใจให้น้อง ฉมาพัฒน์

อ. ดาค่ะหนูขอ ความรู้สำหรับนักกายภาพบำบัดเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบด้วยคนนะคะ

ที่อยู่ โรงพยาบาลสว่างอารมณ์ อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี 61150

เรียน อ.ปนดา

นะอยากได้แนวทางการทำงานกายภาพบำบัดชุมชนค่ะ อยากทราบถึงลักษณะงานในชุมชนว่า PTมีบทบาทอย่างไร มากน้อยแค่ไหน ทำอะไรให้กับชุมชนได้บ้าง ฯลฯ เพราะตั้งแต่จบมาไม่เคยทำงานด้านนี้มาก่อน และอีกอย่างก็ห่างงานPTมาเกือบ 3ปีแล้วเนื่องจากต้องช่วยงานทางบ้าน แต่ตอนนี้สนใจอยากทำงานPTใน รพช.เป็นอย่างมาก อยากได้แนวทางในการทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเริ่มงานPTค่ะ ช่วยหน่อยนะค่ะ

[email protected]

ขอบคุณค่ะ

เรียนอาจารย์ปนดา

ดิฉันเป็นนิสิตกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยนเรศวรปีสี่ ค่ะ

ขอความกรุณาให้อารย์ช่วยแนะนำและอธิบายเกี่ยวกับการจัดตั้งและบริหารงานกายภาพบำบัดในหน่วยงาน รพ ชุมชน และขอทราบแนวทางการบริหาร งานของแผนกด้วยค่ะ

ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยแนะนำและส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการจัดตั้งและบริหารงานกายภาพบำบัดในหน่วยงาน รพ ชุมชน และแนวทางการบริหารงาน แนบมาให้ด้วยนะค่ะ ([email protected])

จึงขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ

เรียน กภ.กิตติ สมบบรดา และนักกายภาพบำบัดท่านอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือมี

จากงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลควนเนียงนะครับ ทางแผนกของพี่พอจะมีคำสั่งหรือหนังสือ เพื่อที่จะส่งขออนุมัติในการจ่ายค่าตอบแทนการออกชุมชน ที่เค้าได้กันันละ 600 หรือ 640 บาท หรือชัวโมงละ 80 บาทไหมครับ เนื่องจาก หมอเค้าต้องการตัวอย่างคำสั่ง การจ่ายของที่อื่นว่าเป็นอย่างไรเพื่อประกอบการพิจารณาครับ รบกวนส่งเอกสารมาที่ [email protected] ขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ

เรียน อ.ปนดา กภ.กิตติ

หนูเป็นนนักกายภาพบำบัดที่เพิ่งไปทำงานด้านผู้พิการในโรงพยาบาลชุมชน หนูอยากทราบว่าผู้พิการมี 5 หรือ 6 ประเภทค่ะ

เพราะที่เปิดดูในหนังสือและเซิสในอินเตอร์เน็ตมีแค่ 5 ประเภท แต่พี่ที่ทำงานมาถามหนูว่าตอนนี้เค้าเพิ่มเป็น 6 ประเภทแล้วไม่ใช่เหรอ แต่พี่เค้าก้อจำไม่ได้ว่าที่เพิ่มขึ้นมามีอะไรบ้าง รบกวนอาจารย์และพี่ๆช่วยบอกหน่อยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ตอบคำถาม กภ.สมศักดิ์

ขอแนะนำให้น้องขอหนังสือจากฝ่ายบริหาร กระทรวง สธ. ฉบับวันที่ 5 กุมภาพัรธ์ 2552 ที่ สะ.0201.042.1/ว100 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวง สธ. ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวง สธ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552 (พี่ไม่มีไฟด์ครับ)

ตอบคำถาม กภ.น้อง

ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ เดิมความพิการ 5 ประเภท เป็นความพิการ 6 ประเภท ดังนี้

1. ความพิการทาวการมองเห็น

2. ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย

3. ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย

4. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรมหรือออทิสติก

5. ความพิการทางสติปัญญา

6. ความพิการทางการเรียนรู้ (แยกจากสติปัญญาและการเรียนรู้เดิม)

เรียน อ.ปนดา กภ.กิตติ

พอจะมีคำจำกัดความของความพิการทางสติปัญญาและความพิการทางการเรียนรู้ มั๊ยค่ะ

ที่หนูเซิสหาในอินเตอร์เน็ต คำจำกัดความยังรวมกันอยู่เลยค่ะ

ตอบคำถาม กภ.น้อง

ความพิการทางการเรียนรู้ คือบุคคลที่ความบกพร่องเกี่ยวกับกระบวน

การทางจิตวิทยา ความบกพร่องเกี่ยวกับการใช้ภาษาของเด็ก ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน

บุคคล เหล่านี้อาจมีปัญหาทางด้านการฟัง การคิด การพูดคุยกับผู้อื่น การอ่าน การสะกดคำ

หรือการเรียนวิชาคณิตศาสตร รวมไปถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางการรับรู้การได้รับบาดเจ็บ

ทางสมอง ดิสเล็กเซีย (Dyslexsia) , ดิสกราเซีย (Dysgraphia) และ อะฟาเซีย (Aphasia)

แต่ไม่รวมถึงความบกพร่องทางการได้ยิน ทางการเคลื่อนไหว ทางสติปัญญา ปัญหาทาง

อารมณ์ และความเสียเปรียบทางสังคม ”ซึ่งมีผลมาจากความผิดปกติ

ของการทำงานของสมองที่ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ทั้ง ๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ไม่

ได้เป็นปัญญาอ่อน ไม่ได้มีความพิการ และไม่ได้เป็นเด็กที่อยู่ในวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม

ที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการเรียนรู้แต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่มีสติปัญญาปกติ

หรือบางคนอาจฉลาดกว่าปกติด้วยซ้ำไป แต่เพราะ ความผิดปกติในการทำงานของสมอง

ทำให้ความสามารถในการรับรู้ การเรียบเรียง การแปลความข้อมูลที่ได้รับ และการ

ประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งออก หรือโต้ตอบของเขาเสียไป จึงแสดงออกมาให้เห็นเป็น

ความบกพร่องของความสามารถด้านภาษา ซึ่งอาจเป็นด้านการพูดการสื่อสาร(Aphasia) และ/

หรือด้านการอ่าน (Dyslexsia) และ/หรือด้านการเขียน (Dysgraphia) รวมถึงมีปัญหาใน

การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Mathematics disorder) และการสับสนในเรื่องทิศทาง

(Directions disorder) ปัญหาและความบกพร่องของเด็กกลุ่มนี้จะเริ่มสังเกตเห็นได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้าเรียน

แต่ภาวะปัญหาทางการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนก็เพียงแต่มีปัญหา

เกี่ยวกับการเรียนรู้เพียงเล็กๆ น้อยๆ เช่น เขียนตัวหนังสือโย้ไปเย้มา อ่านคำตก ๆ หล่น ๆ

มีความสับสนระหว่าง “ภ กับ ถ” “ b กับ d ” แต่บางคนก็มีปัญหามากมายจนส่ง

ผลให้เกิดความยุ่งยากลำบากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและกระทบไปถึงผู้คนรอบข้างด้วย

น่าจะมีผลมาจากสาเหตุดังนี้ คือ

1. การได้รับบาดเจ็บทางสมอง (Brain damage or Brain injury ) โดยสมองได้รับการ

กระทบ กระเทือนจากการติดเชื้อจากอุบัติเหตุ หรือได้รับสารพิษ ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งก่อน

คลอดระหว่างคลอด หรือหลังคลอด แต่ในบางรายก็เป็นแค่เพียงความผิดปกติเล็กน้อย

ในการทำงานของสมอง (Minimal brain dysfunction) บางส่วนเท่านั้นเอง

2. กรรมพันธุ์ จากรายงานการศึกษาและการวิจัยทำให้เชื่อได้ว่า ความบกพร่องใน

การเรียนรู้บางอย่างสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ และยังพบได้เพิ่มขึ้นในครอบครัวที่มี

คนเป็น LD ด้วย

ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้

1. ดูฉลาดหรือปกติในทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการเรียน

2. สะกดคำไม่ได้หรือไม่ถูก

3. อ่านช้า อ่านข้าม หรืออ่านเพิ่มคำ

4. สับสนกับตัวอักษร เช่น ค - ด , ถ – ภ , ม – น , พ – ผ , b – d , p – q , 6 - 9 ฯลฯ

5. ไม่เข้าใจค่าของจำนวน เช่น หน่วย สิบ ร้อย พัน ....

6. มีความบกพร่องในการรับรู้ การจับใจความ

7. ผลการเรียนไม่คงเส้นคงวา

8. มีอารมณ์ไม่คงที่ แสดงพฤติกรรมแปลก ๆ

ความต้องการพิเศษ

- ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้คนรอบข้างในภาวะ LD

- ศิลปะบำบัดและดนตรีบำบัด

- สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือนิทาน หนังสือการ์ตูน ฯลฯ

- สื่ออุปกรณ์ เช่น ของเล่นพัฒนาทักษะ หุ่นจำลอง ของจริง ฯลฯ

- สื่ออิเลคทรอนิกส์ เช่น เทปเพลง วีดิทัศน์ ฯลฯ

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. คณะกรรมการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ. (2544). การประเมินผล การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการปีการศึกษาเพื่อคนพิการ รายงาน.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมสามัญศึกษา. (2544). การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีปัญหา

ทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2544). จิตวิทยาเด็กที่มีลักษณะพิเศษ. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์ หมอชาวบ้าน.

ขออนุญาตท่านอาจารย์นำเสนอราคาอุปกรณ์ช่วยฝึกผู้พิการค่ะ

ผึ้งทำโครงการฟื้นฟูสภาพผู้พิการในชุมชนโดยใช้งบสปสช.ปี52 โดยในโครงการเขียนออกสอนผู้พิการและญาติ พร้อมสั่งทำอุปกรณ์ช่วยออกกำลังไว้ให้ผู้พิการได้ยืมใช้เมือ่ฟื้นสภkพได้ก็เวียนมาให้คนอื่นใช้ต่อไป ตอนที่เช็คราคาจากเซลค่ะ ของพวกนี้ราคาแพงมาก งบเราไม่พอ เราก็เลยสั่งจ้างช่างทำค่ะ ใครที่สนใจจะสั่งซื้อ สามารถโทรสอบถามได้นะคะ 0869899284 ค่ะ หรือที่เมล์ [email protected] มีใบเสร็จออกเป็นร้านที่มีทะเบียนการค้า ใช้ตั้งเบิกได้ค่ะ (ร้านทำไม้ ไม่ใช่ร้านอุปกรณ์การแพทย์นะคะ)

1. push up board ใช้ยันพื้นยกตัวในการเคลื่อนตัวของผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งท่อนล่าง ราคา 900 บาท / คู่

2. ค่ารอกชักแขน กรณีอัมพฤกษ์ครึ่งซีก / ไหล่ติด ราคา 500 บาท / ชุด

3. เข็มขัดรัดเอว ใช้พยุงตัวฝึกยืน ราคา 450 บาท / อัน

4. hand grip ฝึกกำลังมือเปลี่ยนความหนืดได้ ราคา 250 บาท / อัน

5. quadriceps board ฝึกกำลังกล้ามเนื้อขา ราคา 1,400 บาท / อัน

6. arm skateboard ฝึกเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแขน ราคา 700 บาท / อัน

ขอบคุณค่ะ

เรียน รศ.กภ.ปนดา

ขอเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำคู่มือในส่วนที่ 2 องค์ความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์

1>งานบริหาร

การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรกายภาพบำบัด

แบบสำรวจความต้องการของลูกค้าภายนอกภายใน

ตัวอย่างคำบรรยายลักษณะงาน

แนวทางดำเนินการกรณีอัตรากำลังขาด

ตัวอย่างการทำข้อตกลงระหว่างหน่วยงาน

Flow chart การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน

แฟ้มประวัติฝึกอบรมและดูงานเจ้าหน้าที่

แบบประเมินตนเองของหน่วยงาน

กิจกรรม 5ส

2>งานบริการ

แผนการดูแลผู้ป่วยล่วงหน้า (Care Map)

การทบทวนกิจกรรมคุณภาพ 12 เรื่อง (บันได 12 ขั้น)

แบบฟอร์มการส่งปรึกษา

แบบฟอร์มทะเบียนแรกรับ

กภ.กิตติ สมบรรดา

หน.งานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลเขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

เรียนอาจารย์ปนดา

ดิฉันเป็นนิสิตกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยนเรศวรปีสี่ ค่ะ

ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยส่งเอกสารแบบฟอร์มขอเปิดแผนกกายภาพบำบัดในร.พ.ชุมชนหน่อยค่ะ

e-mail: [email protected]

จึงขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ

เรียนอาจารย์ปณดา

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนและเปิดแผนกใหม่นะคะ

เลยอยากรบกวนสอบถามเรื่องการเขียน service profile ของงานกายภาพบำบัดนะคะ

รบกวรขอแนวการเขียนและถ้ามีตัวอย่างก็จะดีมากเลยคะ

ขอบคุณล่วงหน้าคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท