กายภาพบำบัดชุมชน


เรียนทุกท่าน ดิฉันได้จัดทำ blog นี้ ขึ้นเพื่อให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพ ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ และถือเป็นแหล่งรับฟังความคิดเห็นจากนักกายภาพบำบัดทั่วประเทศ  เกี่ยวกับการพัฒนางานกายภาพบำบัดให้ครอบคลุมไปยังประชาชนทั่วทั้งประเทศ...
มีต่อ

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อย  มาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกายภาพบำบัดค่ะ
  • ครูอ้อย เคยเป็นคนไข้ เมื่อ สิบปีที่แล้ว  ขาข้างขวา  ชา และเดินไม่ได้ชั่วขณะค่ะ  ครูอ้อยรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง  บำบัดทุกวัน สักห้าวันเองก็หายค่ะ
  • และเมื่อสามปีที่แล้ว  ครูอ้อยปวดหลังมากๆ  ไปหาหมอ อีกโรงพยาบาลหนึ่ง ใกล้ๆโรงเรียน  มีการรักษาที่ต่อเนื่อง  ครูอ้อยหายจนเป็นปลิดทิ้ง  ไม่เป็นอะไรเลย
  • มาปีนี้  ครูอ้อยรู้เลยว่า  ทำไมจึงปวดขาและเจ็บหลัง  ครูอ้อยก็หลีกการประทำนั้นๆ  จึงไม่มีอาการปวดและเจ็บค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ  คราวนี้  คนไข้อย่างครูอ้อย มาขอเรียนถามอาการปวดเจ็บจากบล็อกนี้ด้วยไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

กายภาพบำบัดสำหรับทุกคน ดิฉันเชื่อว่า blog นี้ เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับทุกคนได้ค่ะ โดยเฉพาะประชาชนทั่วไป นอกจากประชาชนจะได้ความรู้ โดยนักกายภาพบำบัดทั่วประเทศจะช่วยกันตอบข้อซักถามแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์และปัญหาในการเข้าถึงบริการสุขภาพทางด้านกายภาพบำบัดของประชาชน จะได้มีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการสุขภาพทางด้านกายภาพบำบัดมากขึ้น กายภาพบำบัดสำหรับประชาชนทุกคน ไม่ไว่จะเป็น เด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ซึ่งมีอยู่ทุกหนแห่งในประเทศไทย ขอเชิญนักกายภาพบำบัดทุกท่านเข้ามาร่วมกันตอบข้อซักถามนะคะ หวังว่าเราจะมีเครือข่ายกายภาพบำบัดชุมชนในแต่ละภูมิภาคในเร็วๆนี้ค่ะ

ศุภรัตน์ มาสภัสร์

ดีมากๆนะคะที่ มีโอกาสใช้ blog นี้ ดิฉันเป็นPT ใน โรงพยาบาลจังหวัด แต่ก็อยู่ใน

ใกล้ ชุมชน และใกล้ชิด กับ น้องๆPT ในชุมชนด้วย หาก blog นี้ จะเป็นเวทีของ PT ในโรงพยาบาลชุมชน ด้วย ก็จะดีไม่น้อย ต้อง ให้ ประชาสัมพันธ์ กับน้องๆ PT เราด้วย

ส่วนภาคประชาชน ยิ่งเป็นประโยชน์มากใหญ่ เพราะเวลาที่เราได้มีโอกาสทีพบกับ ประชาชน เขาอยากแสวงหาความรู้ หรือ อยาก ไปรับ บริการ กายภาพบำบัดกับเรา เขาไม่รู้ว่าจะหาความรู้ ที่ไหน ผู้มีศักยภาพ มากหน่อย ก็ไปsearch จาก physical therapy in the world แต่ความเป็นจริง เขาอยู่ในประเทศไทย มันก็รู้สึกว่า ความรู้นั้นยังนำไปใช้ ได้ ไม่ชัดซะทีเดียว ขณะที่อยากจะเจอ นักกายภาพบำบัด หรือ"หมอกายภาพบำบัด"มากกว่า (ในที่นี้ไม่ได้รวมความไปถึงแพทย์...สาขาอื่น นะคะ ) "หมอ" ในความหมายที่ดิฉันกล่าวถึง หมายถึง"ผู้เชี่ยวชาญ"ในทางใดทางหนึ่งเช่น หมองู, หมอตำแย หมอกายภาพบำบัด จึงมีความหมายถึง " ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด"

ขอเสนอให้น้อง PTใน รพช.รวมตัวกัน โดยใช้เวทีนี้ก็ได้ ตั้งเป็นชมรม เกาะกันไว้ มีอะไร ส่งถึงกัน โทรฯหากัน และด่วนที่สุด ตอนนีเรากำลังจะต้อง แสดงความคิดเห็น ของวิชาชีพเรา กับนโยบายระดับ ประเทศเชียวนะ พูดง่ายๆก็คือ วิชาชีพของเรามีที่ยืน อยู่ในระบบ สาธารณสุขแล้ว รัฐบาล ฟังเราแล้ว(หากเรามีข้อเสนอ) ซึ่งเป็นโอกาสดีเป็นที่สุด

หากตั้งเป็นชมรมได้แล้ว รีบส่งตัวแทน แสดงตน เข้าร่วมความคิดเห็น หรือเสนอแนะได้ ลองดูใน web สภาฯก็ได้ www.pt.or.th

ขอสนับสนุน อ.ปนดา ขอบคุณที่ทำเพื่อส่วนรวมค่ะ

ขณะนี้สภาฯ กำลังจะพัฒนามาตรฐานงานกายภาพบำบัดชุมชน ใครอยากให้มีการพัฒนางานด้านใดเกี่ยวกับกายภาพบำบัดชุมชน ก็เสนอผ่าน blog นี้ได้นะคะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม blog นี้นะคะ

ปนดา

กายภาพบำบัดยังขาดแคลนในชุมชน

การบริการทางกายภาพบำบัดยังเป็นเรื่องที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก  ทั้งในด้านการให้ความรู้กับประชาชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการจัดหาการบริการทางกายภาพบำบัด เพื่อช่วยดูแลปัญหาสุขภาพประชาชนในด้านการส่งเสริมป้องกันโรค และการรักษาและฟื้นฟูสภาพประชาชนในชุมชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ  อย่างเช่น การปวดหลังในชาวนาไทย ชาวบ้านแก้ปัญหาโดยการซื้อยาทานเอง บางครั้งโชคดีก็เจอยาดี บางครั้งโชคร้ายก็ไปเจอยาที่มี steroid ผสมอยู่ ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ชาวบ้านไม่มีโอกาสได้รับบริการทางกายภาพบำบัด เพราะไม่มีนักกายภาพบำบัดในพื้นที่  ยังมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ อีกมากมายที่ประชาชนในชนบทไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการทางกายภาพบำบัด ปัญหาหนึ่งคือไม่มีตำแหน่งงานกายภาพบำบัดในรพ.ชุมชน หรือศูนย์แพทย์ฯ  ทำอย่างไรเราจะแก้ปัญหานี้ได้!!

แผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2559

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างและพัฒนากลไกในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพของประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 2

ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพเพื่อให้ได้กำลังคนที่เพียงพอ สามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพประชาชน มีความสอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพและระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การสร้างความเสมอภาคในระบบสุขภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 3

ปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อให้มีการกระจายบุคลากรอย่างเป็นธรรม สามารถคงอยู่ในระบบและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุข

ยุทธศาสตร์ที่ 4

สร้างและจัดการความรู้เพื่อไปสู่การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทของระบบสุขภาพของประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 5

ส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาไทยและผู้ที่ดูแลสุขภาพในชุมชนให้มีบทบาทในการดูแลปัญหาสุขภาพของประชาชนในระดับพื้นที่และส่งเสริมสุขภาพของชุมชน

(แผนยุทธศาสตร์นี้ จัดทำโดย คณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์ทษวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาิติ)

เผด็จชัย (พีที ร.พ.พระปกเกล้า)

ผมทำงานด้านกายภาพบำบัดชุมชนมาหลายปี ถึงแม้ว่าอยู่ร.พ.ศูนย์ครับ ลักษณะงานมีการจัดอบรมอาสาสมัคร การออกเยี่ยมเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วยทุกอำเภอในจังหวัด (ยกเว้นอำเภอที่มีนักกายภาพ) โดยคัดกรองจากผู้ป่วยที่จำหน่ายจากร.พ.และจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องและมีปัญหาในการมารับการรักษา

ตอนนี้ผมกำลังเตรียมทำวิทยานิพนธ์เรื่องการพัฒนาตัวชี้วัดการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชนครับ ไม่ทราบว่าคณะทำงานมาตรฐานกายภาพบำบัดชุมชนดำเนินการไปถึงไหนแล้วครับ เพราะผมอาจรบกวนอาจารย์เรื่องข้อมูลครับ

เรียนคุณเผด็จชัย

ดีใจมาก นะคะ ที่คุณได้มีส่วนร่วมเข้ามากะทู้ใน blog กายภาพบำบัดชุมชน จริงๆแล้วทางสภาได้รวบรวมตัวชี้วัดไว้บ้างแล้ว ไม่ทราบว่าคุณสนใจตัวชี้วัดแบบไหน ของสภามีใว้ที่ส่วนท้ายของมาตรฐานกายภาพบำบัดคุณสามารถหาได้จากบน website ของสภากายภาพบำบัดค่ะ เมื่อได้มาตรฐานกายภาพบำบัด ซึ่งก็จะมีเครื่องมือสำหรับวัด outcomes ของการฟื้นฟูสภาพหลายตัว บางทีคุณอาจจะไม่ต้องไปสร้างใหม่ก็ได้ค่ะ

แล้วเข้ามาเขียนอีกนะคะ ถ้ามีอะไรอยากจะ share ก็เขียนได้เลยนะคะ อีกไม่นานจะพยายามนำ blog ขึ้น wed สภาค่ะ

ปนดา

ได้ยินน้อง ๆ PT จบใหม่หลายคนที่จะไปอยู่รพช.ได้สอบถามและเล่าเกี่ยวกับลักษณะงานในรพช. ส่วนมากมักจะเจอคำถามว่าจะทำอะไรบ้างในบริบทที่อยู่รพช.ซึ่งน้องหลายคนก็ไม่เข้าใจ ก็ตอบในลักษณะงาน PT ทำอะไรบ้างซึ่งไม่ตรงกับงานของรพช.เท่าไรนัก รบกวนอาจารย์ช่วยบอกรูปแบบการทำงานของPT ในรพช.ให้กับน้อง ๆ PT หลาย ๆ คนจะได้เข้ามาดูเป็นแนวทางค่ะ

เรียนทุกท่าน

นักกายภาพบำบัดในรพช.มีบทบาทได้ทั้งในเชิงรุกและรับ ขึ้นอยู่กับว่าจะทำงานเน้นไปทางด้านใด โดยทั่วไปถ้ารพช.มีนักกายภาพบำบัดเพียงคนเดียว แค่งานเชิงรับ คือให้บริการอยู่ในแผนกกายภาพบำบัด และในหอผู้ป่วย งานก็คงจะหนักมากอยู่แล้ว แต่ถ้ายังพอมีแรงทำอีกก็ควรทำงานร่วมกับทีมของโรงพยาบาลค่ะ เพื่อทำงานในเชิงรุก เดี๋ยวนี้เขามักเรียกการทำงานเป็นทีมนี้ว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น ทีมให้สุขศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน ทีมเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยเรื้อรัง หรือ กลุ่มอัมพาต เป็นต้น

ถ้าเป็นงานส่งเสริมสุขภาพ เราคงต้องหาข้อมูลบริบทของรพช.ก่อนว่าเราจะส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มไหน ทำไมเราถึงต้องทำ ถ้าไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้น และถ้าจะทำจะทำอย่างไร เรามีใครเป็นแนวร่วมกับเราบ้าง เราจะนำเสนอโครงการนี้ให้ผู้บริหารเขาให้การสนับสนุนเราอย่างไร ถ้าเราทำแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน จะพัฒนาต่ออย่างไร คำถามเหล่านี้ คือสิ่งที่เราควรต้องหาคำตอบ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานค่ะ

ปนดา

ลืมบอกไปว่า เราควรเป็น 1 ในทีมสหสาขาวิชาชีพ เราต้องมีการประสานงานเพื่อให้เขาเข้าใจบทบาทของเราในทีม และเราต้องมีความรับผิดชอบ ถ้าเข้าไปร่วมแล้วต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่จะเลิกเมื่อไหร่ก็เลิก เพราะเมื่อเราเข้าไปแล้ว เราก็ต้องไปเรียนรู้ด้วยว่าบทบาทของคนอื่นเขาทำอะไรกันบ้าง อย่างไร เราจะเข้าไปช่วยเสริมทางด้านใด เราต้องมีความรู้อะไรเพิ่มบ้าง

ที่สำคัญงานส่งเสริมป้องกัน เราจะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับเราได้อย่างไร ใครเป็นคนในชุมชนที่เราจะเข้าไปประสานงานได้

งานเชิงรับ เนื่องจากรพช.มีทรัพยากรจำกัด เรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ เราจะมีแนวทางพัฒนาภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาใช้ในงานของเราอย่างไรก็คงต้องคิด มันอาจจะเป็นนวัตกรรมขึ้นมาได้เหมือนกัน

ปนดา

นักกายภาพบำบัด รพช.

เป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนคนหนึ่ง...ทำงานกับโรงพยาบาลชุมชนมา 3 ปี (ยังเป็นพนักงานราชการ) ปัจจุบันมีนักกายภาพบำบัด 3 คน เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนประชาชนในเขตความรับผิดชอบค่อนข้างมาก (UC ประมาณ120,000คน)

ตอนนี้ทำงานทั้งเชิงรุกและรับร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เพราะกายภาพบำบัดจะก้าวหน้าและเป็นที่รู้จักในชุมชนได้ เราไม่สามารถทำงานคนเดียว ต้องร่วมมือกันกับหลายๆวิชาชีพ ในระดับโรงพยาบาลชุมชน ถึงแม้เราจะเป็นเพียงหน่วยงานเล็กๆที่คนส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่าทำอะไรได้บ้าง ก็อยากให้พวกเรานักกายภาพบำบัดสร้างหน่วยงานของเราให้เป็นหน่วยงานเล็กๆที่มีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าหน่วยงานใหญ่ๆในโรงพยาบาล

ทุกวันนี้ที่เราต้องเหนื่อยต้องอดทนก็เพื่อให้วิชาชีพของเราเป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้น...อยากให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆนักกายภาพบำบัดทุกคนร่วมมือร่วมใจกันให้มากกว่านี้ แล้วเราจะมีสิทธิ์มีเสียงเรียกร้องที่ดังขึ้นกว่าก่อนอีกมาก...

ขอบคุณที่เข้ามาให้ข้อมูล และให้กำลังใจซึ่งกันและกันนะคะ อยากรู้จังเลยว่าทำงานอยู่ที่รพช.ไหนคะ มีเรื่องอะไร หรือปัญหาอะไร ก็เล่าให้ฟังได้นะคะ เผื่อว่าจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมคะว่างานเชิงรุกที่ทำอยู่คืออะไร และเป็นอย่างไรบ้าง

ปนดา

น้อมจิตต์ นวลเนตร์

ชาว PT ที่ทำงาน รพช. ไม่ค่อยได้เข้ามา blog นี้ มักจะคุยกันใน webboard สภาฯ มากกว่า จริง ๆ ตอนนี้มีน้อง ๆ ที่ทำงานเก่ง ๆ อยู่ตาม รพช. เยอะมาก และบางจังหวัดมีการพบปะกันอย่างสม่ำเสมอ อย่างทางอีสาน เด็กที่จบใหม่ หากช่วงเรียนได้มีโอกาสฝึกงานตาม รพช. ก็น่าจะเห็นภาพของงาน PT ในระดับ primary & secondary care บ้าง ที่แทบจะต่างจากงานใน รพ. ใหญ่ ๆ อย่างสิ้นเชิง และต้องใช้ศาสตร์ที่สอนกันได้ยากหากเพียงผ่านแค่ตำรา ในฐานะที่เป็นฝ่ายผลิต ก็พยายามส่งเสริมให้ นศ. ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในเรื่องนี้มากเท่าที่จะทำได้ แต่ที่สำคัญคือ ตอนนี้มีอาจารย์ไม่มากนักที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับงาน community PT จริง ๆ อยากให้อาจารย์แต่ละแห่งเปิดโลกทัศน์ในเรื่องนี้มากขึ้น อยากให้ นศ.ปริญญาโท-เอกสนใจที่จะทำ thesis ด้านนี้มากขึ้น ซึ่งที่สำคัญคือ อาจารย์ต้องพาเขาทำ นั่นคือ อาจารย์ต้องมีประสบการณ์ก่อน

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ

ขอบคุณ อาจารย์น้อมจิตต์ ที่ได้ให้ข้อคิดดีๆ นะคะ เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่งว่า เรายังมีอาจารย์ไม่มากนักที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับงาน community ซึ่งในจุดอ่อนนี้ต้องได้รับการพัฒนา เนื่องจากการผลิตนักกายภาพบำบัด ต้องสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ปัจจุบันนี้สังคมไทยต้องการความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะในชุมชน สปสช.กำลังสนับสนุนงานกายภาพบำบัดในชุมชนเป็นอย่างมาก และต้องการนักกายภาพบำบัดที่มีความรู้ในการทำงานร่วมกับชุมชน เราจะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในการทำงานชุมชนได้ดี อาจารย์ก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานกับชุมชนด้วย ปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่น เขาได้รับการพัฒนาทางด้านนี้ไปมากแล้ว เราต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองกันอย่างมาก เพื่อการขับเคลื่อนงานทางด้านนี้ให้ก้าวหน้าต่อไป

กายภาพบำบัด คือสามารถเป็นแพทย็กายภาพบำบัดได้ใช้หรื่อไม่เป็นแบบเดี่ยวกับสหเวชศาสตร์กายภาพบำบัด และเทคนิคกานแพทย์กายภาพบำบัดไหม

เรียนคุณธนิตา

กายภาพบำบัดไม่ใช่แพทย์ค่ะ แต่เป็นหนึ่งในทีมสุขภาพที่มีบทบาทในด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพ โดยใช้วิธีการทางกายภาพ เช่น ความร้อน แสง เสียง การออกกำลังกาย การรักษาด้วยมือวิธีการต่างๆ โดยที่ไม่ใช้ยา ค่ะ กายภาพบำบัดก็ไม่ใช่เทคนิคการแพทย์ค่ะ เทคนิคการแพทย์ก็เป็นอีกวิชาชีพหนึ่งค่ะ โดยมากจะมีบทบาทในการตรวจ วินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ จากสิ่งส่งตรวจต่างๆ เช่น เลือด ปัสสาวะ อุจาระ เสมหะ เป็นต้น ส่วนสหเวชศาสตร์ ส่วนใหญ่เราจะได้ยินเป็นคณะสหเวชศาสร์ คือเป็นคณะวิชาที่มีหลักสูตรในการผลิตบุคลากรข้างเคียงแพทย์ เช่น เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด รังสีเทคนิค เป็นต้นค่ะ แต่ไม่ใช่ผลิตแพทย์

สรุปคือ กายภาพบำบัด ไม่ใช่แพทย์ค่ะ สนใจเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ website ของสภากายภาพบำบัด www.pt.or.th

ปนดา

ปนดา

ผมเปงนักศึกษาจบใหม่ทำงานเปงนักกายภาพบำบัดชุมชน ต้องว่างแผนงานและโครงสร้างงานต่างๆมากมาย ตอนนี้เครียดมากเลยพราะอยากให้วิชาชีพเปงที่รู้จักเท่าที่จะทำได้

น้องเปงคะ ดีใจที่เปงเข้ามาเขียนใน blog นี้ อาจารย์ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ สู้ ๆ การทำงานในชุมชนต้องทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่นเป็นทีม เราต้องผูกสัมพันธภาพที่ดีกับทุกวิชาชีพ ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เราทำดีไปเรื่อยๆ คนอื่นเขาก็จะเห็นเองว่าวิชาชีพเราดี สำคัญ มีอะไรเขาก็จะคิดถึงเรา ชวนเราเข้าร่วม ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน นะคะ การจะทำให้ผู้อื่นยอมรับเราต้องใช้เวลา อาจารย์ขอเป็นกำลังใจให้เปงนะคะ

ปนดา

สวัสดีค่ะ อาจารย์ดา ที่เคารพ

เพิ่งเจอ blog ของอาจารย์ ค่ะ เป็นลูกศิษย์เก่าของอาจารย์ จาก PT CMU รหัส 40 ค่ะ

อยากได้แนวทางการทำเชิงรุก งานกายภาพบำบัด ใน PCU ตามสถานีอนามัย หรือการทำโครงการร่วมกับองค์กรท้องถิ่น ค่ะ ขอช่วยตอบด้วยนะคะ จะรอค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนอีกคนหนึ่ง ซึ่งโรงพยาบาลแห่งนี้ค่อนข้างขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ดังนั้นผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นพยาบาลเค้าก็จะพิทักษ์เฉพาะผลประโยชน์ของตนมองยังไม่รอบด้านทำงานค่อนข้างลำบาก ขออัตรากำลังเพิ่มค่อนข้างยาก จึงอยากขอให้อาจารย์ช่วยผลักดันให้มีกรอบกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนด้วยค่ะ

การทำงานกับชุมชน เราต้องหาโอกาสออกไปพดคุยกับชาวบ้านบ้าง เพื่อดูวิถีชีวิตของเขาว่าเป็นอย่างไร อาจออกไปร่วมกับพยาบาลเยียมบ้าน หรือ พยาบาลเวชปฏิบัติก็ได้ หรือออกไปเยี่ยมพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ไปพูดคุยเกี่ยวกับระบบงานบ้าง เพื่อสร้างความสนิทสนม ไปเยี่ยมชาวบ้านบ้างเพื่อแสดงถึงความจริงใจที่เราอยากเข้าไปช่วยพัฒนาชุมชนขอเขา เรียนรู้ร่วมกันไปกับเขา ไปคุยกับอสม.บ้าง ดูว่าปัญหาสุขภาพเขามีอะไรบ้าง เขาอยากให้เราไปช่วยเรื่องอะไรบ้าง บางที่ถ้าเราไม่ออกไปยกับเขา คิดเอาเองอาจไม่สอดคล้องกับควาต้องการของชาวบ้นก็ได้

ดีใจที่เรามีช่องทางติดต่อกันทางนี้นะ

ปนดา

เรื่อกำลังคน และตำแหน่ง ทางคณะทำงานกำลังคน ของสภาฯกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่อย่างจริงจัง ใจเย็นๆนะคะ ทำงานไปเรื่อยๆ พิสูจน์ให้ผอ.รู้ว่าเราก็ทำงานได้เยอะ มีผลงานเยอะ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทำงานกับชาวบ้านได้ เข้าหาชาวบ้านมากๆ และเน้นการทำงานเป็นทีม ร่วมกับวิชาชีพอื่น โดยยึดประโยชน์ของผู้ป่วยและชาวบ้านเป็นสำคัญ อีกไม่นานเขาจะเห็นผลงนเราค่ะ

ปนดา

ขออภัยพิมพ์ผิดไปหน่อย พิมพ์อยู่ที่สนามบินค่ะ รีบร้อนไปหน่อยขอโทษนะคะ ต้องขึ้นเครื่องแล้วค่ะ

ปนดา

เด็กชุมชนอันไกลโพ้น

หนูเป็นนักศึกษาจบใหม่..ตอนนี้ได้งานแล้วที่ รพ.ชุมชน เป็นรพ.ที่ใฝ่ฝันด้วยค่ะ

แต่มีปัญหาตรงที่ว่าไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง...ไม่เคยฝึกงาน รพ.ชุมชนเหมือนเพื่อนบางมหาวิทยาลัย..แต่ต้องเปิดแผนก จะเริ่มงานแล้ว..ยังงงกับชีวิตอยู่เลยค่ะ

ถามพี่ๆ เค้าก็บอกว่าต้องเขียนโครงการขอเปิดแผนกหลอคะ แล้วไอ้โครงการที่ว่าเนี่ยะ...ดูตามแบบฟอร์มโครงการอื่นๆได้หรือเปล่า แล้วหนูจะปรึกษาใครได้บ้าง...เพราะก็ไม่เคยเขียนโครงการอะไรมาก่อน

แต่เรื่องการเข้าหาคนในชุมชนนี่หนูทุ่มสุดตัวแน่นอน หนูมีปัญหาคือ..ไม่รู้จะเริ่มยังไงน่ะค่ะ แล้วจะไปในทิศทางยังไง แต่พออ่านๆคอมเม้นพี่ๆคนอื่นๆก็พอช่วยได้บ้างแต่ไม่กระจ่างเท่าที่ควร น่ะค่ะ ยังไง รบกวรให้คำปรึกษาหนูทีนะคะ เดี๋ยวจะเริ่มงานแล้ว..ต้องยุ่งแล้วก็หนักกว่านี้แน่นอน ตอนนี้หนูก็พยายามรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุดอยู่ค่ะ รบกวนปรึกษาด้วยคนนะคะ^ ^

น้อมจิตต์ นวลเนตร์

พอจะบอกได้ไหมคะว่าอยู่ที่ไหน หากไม่ไกลจะได้แวะไปหา หรือแนะให้คุยกับใครต่อไป ติดต่อกับพี่ทางนี้ก็ได้ หรือที่ [email protected] และ 08-1683-4018 อาจจะเร็วกว่า เพราะพี่ไม่ค่อยเข้า blog นี้บ่อยนัก ตอนนี้พี่ก็ปลีกเวลาจากงานประจำใน มข. ไปเป็นอาสาสมัคร PT ที่ PCU แห่งหนึ่งอยู่ พอจะมีอะไรแลกเปลี่ยนกันได้อยู่ในแง่ของการเริ่มงาน

จริง ๆ อยากขอแนะนำว่า พวกเราที่ post กันในนี้ บอกชื่อเสียงเรียงนามจริงกันเลยน่าจะดีกว่านะคะ เราไม่มีประเด็นอะไรคอขาดบาดตาย มีแต่เรื่องน่าคุยกันทั้งนั้น จะได้สื่อสารกันได้เร็วด้วย

เรียน อาจารย์น้อมจิตต์

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูมีปัญหาอยากจะเรียนปรึกษาอาจารย์เรื่องรถเข็นผู้พิการพอจะมีทางขอได้จากที่ไหนบ้างคะ เพราะว่าตอนนี้ผู้พิการในพื้นที่ที่ต้องการใช้มีปริมาณมากและงบประมาณที่มีไม่เพียงพอค่ะ ขอบพระคุณมากถ้าหากอาจารย์มรหนทางช่วยเหลือ

เท่าที่รู้คือ ต้องติดต่อศูนย์สิรินธรฯ และ สปสช.ค่ะ

แจ็ค...ตอนนี้หนูทำงานอยู่ที่ไหนคะ ถ้าอยู่ในขอนแก่น เรามีเครือข่าย PT ของจังหวัดเรานะ มีพี่นุ้ยที่ รพ.ขอนแก่น เป็นศูนย์กลาง จะมีการแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์อะไรกันเป็นระยะ ๆ เลย

หากมีอะไร post เข้าทาง webboard สภาฯ จะได้คำตอบเร็วและกว้างกว่าทางนี้ค่ะ พี่มักเข้าทางนู้นมากกว่า

เรียนคุณสุธาสิณี

เรื่องรถเข็น สปสช เขาน่าจะช่วยได้ ไม่ทราบว่าผู้พิการได้ขึ้นทะเบียนผู้พิการหรือยัง ถ้ายังควรต้องไปขึ้นทะเบียนก่อน นักสังคมสงเคราะห์ของรพ.ก็น่าจะช่วยประสานงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ แต่ถ้าที่รพ.ที่ทำเกี่ยวกับเรื่องรถเข็น นอกจากศูนย์สิรินทรแล้ว เท่าที่อาจารย์ทราบก็มีที่รพ.จังหวัดแพร่ เขาก็ทำเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นจริงเป็นจัง รพ.สรรพสิทธิประสงค์ก็เช่นกัน และที่ขอนแก่นตามที่อาจารย์น้อมจิตต์แนะนำ ไม่ทราบว่าคุณทำงานที่ไหน ควรพยายามทำงานเชื่อมโยงภายในเครือข่ายจะได้เกิดการเชื่อมโยงงานกัน มากขึ้น แต่ถ้าจะหา best practice ก็ลองพิจารณาจากที่เขามีประสบการณ์ทำงานด้านนี้เยอะๆ ไม่เป็นต้องอยู่ในเครือข่าย ขอไปดูงานเขาก็ได้ จะได้นำมาประยุกต์กับระบบของเรา

ปนดา

สำหรับเด็กชุมชนอันไกลโพ้น

ไม่ทราบว่าทำอะไรไปถึงไหนแล้ว สิ่งที่จะแนะนำคือเราต้องคุญกับผู้อำนวยการด้วยว่าเขาคาดหวังเราอย่างไร ต้องการให้เราทำงานเชิงรุกหรือเชิงรับ มากน้อยแค่ไหน เน้นเรื่องไหน เราจะได้ลุยงานเราได้ถูกทิศทางตามนโยบายของรพ. ถ้าเขายังไม่เน้นเรื่องงานเชิงรุก เราก็เซ็ทแผนกไปก่อน พอลงตัวดีแล้วค่อยเปิดงานเชิงรุกมากขึ้นก็ได้ เพราะทำอะไรเราต้องทำต่อเนื่อง ถ้าทำๆหยุดๆ ก็อาจขาดความต่อเนื่อง ทำให้ไม่ได้ประสิทธิผลเท่าที่ควร ไม่ทราบว่าอยู่จังหวัดอะไร รพ.อะไรคะ อย่าลืมว่างานของเราควรทำงานเป็นทีม ถ้าว่างๆ ก็ไปคุยกับพยาบาลบ้าง จะได้ผูกสัมพันธ์กันไว้ก่อน เราจะได้เรียนรู้ระบบงานกับเขาด้วย

ปนดา

ตอนนี้ทางคณะทำงานมาตรฐานวิชาชีพฝ่ายมาตรฐาน  รพ  ชุมชนกำลังดำเนินการปรับปรุงและค้นทหาข้อมูลเพื่อน้องๆจะได้ทำงานได้คล่องตัวขึ้นกว่าเดิม

แต่ขอความร่วมมือกับทางน้องๆที่อยู่ชุมชนให้ความร่วมมือด้วยในกรณีที่มีการสอบถามข้อมูลไปครับ

ขอขอบคุณ

เด็กชุมชนอันไกลโพ้น

ก่อนอื่นก็ต้องขอบคุณ..อ.น้อมจิตต์และอ.ปนดา อย่างสูงค่ะ

รู้สึกอบอุ่นมากๆ สำหรับการมาโพสต์ข้อสงสัยต่างๆและได้รับคำตอบอย่างกระจ่าง...หนูรู้สึกอบอุ่นมากๆจริงๆค่ะ และพอที่จะจับทางได้แล้วว่าควรจะเริ่มยังไง หนูเก็บอีเมลล์ของอ.น้อมจิตต์และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อของอาจารย์ไว้แล้วนะคะ ขอบพระคุณมากๆค่ะ...อย่างน้อยหนูก็ยังมีที่ปรึกษาอีกหลายๆคน

รวมถึงพี่ๆคนอื่นๆที่คอยให้คำปรึกษาอยู่ตลอด ตอนนี้หนูรวบรวมข้อมูลได้พอที่จะเผยแพร่งานกายภาพของเราได้แล้ว ให้ทุกคนได้รู้ว่าเราก็มีความสำคัญในทีม...

แต่หนูยอมรับว่ารู้สึกน้อยใจมาก...เวลาที่ไปเห็นบางเวบที่เค้าโพสต์ว่าเราว่าเราไม่มีความสำคัญในทีมเลย...(อาจจะเป็นเพราะเค้าไม่รู้จักบทบาทของเราหรือป่าว?)

คือตาม google นี่แล่ะค่ะ ซึ่งมันอาจจะทำให้บุคคลอื่นๆ เข้าใจเราผิดๆ แต่ตอนนี้ก็พยายามที่จะสู้เพื่องานของเราจะได้มีบทบาทมากขึ้น (คือหนูเห็นเพราะว่าหนูหาข้อมูล รพช.นี่แล่ะค่ะ บังเอิญเจอข้อความอันน่าสลด แต่ก็มาเจอบอร์ดนี้ด้วย ก็เลยรู้สึกดีใจ )

และอีกอย่างคือ...หนูไม่เข้าใจว่า รพช.ที่มีแพทย์แผนไทยนี่เค้าขึ้นตรงกับเราหรือป่าว(ตามภาษาหนูคือเราเป็นหัวหน้าเค้าอีกทีหนึ่งรึป่าว) พอดีเพื่อนหนูก็ไปเริ่มงานที่รพช.แห่งหนึ่งเค้ามีแผนกแพทย์แผนไทยด้วย แล้วฝ่ายทางนั้นเค้าก็มีเยอะกว่า..คือเพื่อนหนูไปหัวโด่อยู่คนเดียวน่ะค่ะ เลยรู้สึกว่าโดดเดี่ยวยังไงก็ไม่รู้ เป็นห่วงเพื่อนด้วย

เพราะว่าตอนแรกวันไปดู รพ.ก็เริ่มรู้สึกไม่ค่อยเป็นมิตรกันซักเท่าไหร่ แต่นั่นคงยังไม่ได้รู้จักกันแล้วเพื่อนหนูก็ใหม่กับที่นั่นด้วย จึงอยากขอคำแนะนำเรื่องนี้ด้วยน่ะค่ะ

อย่าถือสาหนูในเรื่องที่หนูถามตรงๆด้วยความไม่รู้และอยากทราบจากผู้ที่รู้จริงๆน่ะค่ะ เพราะหนูก็จะได้บอกต่อคนอื่นๆได้ เพราะ มีคนที่ยังไม่รู้อีกเยอะเลยล่ะค่ะ

หนูจะเข้ามาคุยด้วยบ่อยๆนะคะ PT ชุมชนจงเจริญค่า

เรียนพี่น้องชาวกายภาพบำบัดชุมชน

ดีใจค่ะ ที่ blog นี้ เป็นแหล่งเชื่อมโยงสัมพันธ์ในกลุ่ม PT ชุมชน ตาวัตถุประสงค์ ที่ได้ขออนุมัติจากสภาฯ ให้ทำ link บน web ของสภาฯ คณะทำงานกายภาพบำบัดชุมชนกำลังจัดทำร่างคูมือกายภาพบำบัดชุมชนขึ้น เพื่อเป็นแนวทางแก่นักกายภาพบำบัด ที่กำลังจะเปิดงานกายภาพบำบัดในชุมชน น้องๆ อยากให้ในคู่มือมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้างก็เสนอมาได้ ผ่านช่องทางนี้นะคะ

สำหรับงานแพทย์แผนไทย เดี๋ยวนี้แพทย์แผนไทยเขาก็ต้องจบหลักสูตรปริญญาตรีแล้ว เขาคงไม่ได้ขึ้นตรงกับเรา แต่ก็ยังมีอีกมากที่ไม่ได้จบปริญญาตรี ซึ่งในแต่ละโรงพยาบาลก็มีการจัดการที่แตกต่างกัน แล้วแต่บริบทของแต่ละที่ บางแห่งนักกายภาพบำบัดก็ไปเรียนเรื่องแพทย์แผนไทยด้วยเขาก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในแผนกแพทย์แผนไทยด้วย บางแห่งก็มีส่วนเชื่อมโยงกันเสมือนเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาฯ อย่างไรก็ตาม เราเข้าไปทำงานใหม่ๆ ศึกษาบริบทของรพ. และวัฒนธรมขององค์กรนั้นก่อน อย่าทำงานแบบลูบหน้าปาดจมูกคนอื่นเขา เพราะคงไม่มีใครชอบ (ตรงนี้คงต้องใช้วิจารณญาณ และสติ เพราะบางคนก็ทำโดยไม่รู้ตัว งานก็เลยมีปัญหาไปหมด) ทำงานตามระบบงานจะดีที่สุด ถ้าระบบมันไม่ดี ไม่มีประสิทธิภาพดีพอ ก็ค่อยๆ ทบทวนและปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทีม และโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ต้องใจเย็นๆ แล้วเราจะได้รู้ว่าเราควรจะวางตัวอย่างไร อย่างน้อยที่สุดเขาอาจจะยังไม่เห็นความสำคัญของเรา แต่อย่างน้อยเราก็มีสัมพันธภาพที่ดีกับเขา ทำงานไปเรื่อยๆ ให้เขาเห็นผลงาน เคารพในศักดิ์ศรีของกันและกัน เชื่อว่าเขาต้องเห็นบทบาทและความสำคัญของเราแน่นอน และเราก็คงจะเห็นบทบาทและความสำคัญของเขา เช่นกัน และเมื่อมีความเชื่อมโยงและการประสานงานที่ดี ประโยชน์สูงสุดก็จะตกอยู่กับ ผู้ป่วยและผู้รับบริการ

ปนดา

เด็กชุมชนอันไกลโพ้น

อยากให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

- รพช. ตั้งแต่ความหมายเลยก็ดีค่ะ แล้วก็ บทบาทหน้าที่ของกายภาพบำบัดในชุมชนทั้งต่อชุมชน ต่อ รพ.จังหวัด รวมถึง รพ.ศูนย์

- การร่วมทีมกับบุคลากรทางการแพทย์คนอื่นๆ (เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชน)

- แนวทางในการเขียน โครงการ ขอเปิดแผนกและจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือในการรักษา

- อักษรย่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานในชุมชนที่ควรจะรู้ เช่น CUP ,DHCC ฯลฯ

- ตัวอย่างงานกายภาพบำบัดในชุมชน

และที่ยังนึกไม่ออกอีกน่ะค่ะ

การที่มีคู่มือออกมาเป็นสิ่งที่ดีมากๆค่ะ

เป็นการดีที่ทำให้นอกจากเราจะได้เข้าใจงานได้ตรงกันเป็นความหมายเดียวกันมากขึ้น และเพื่อให้ประชาชนเข้าใจงานเรามากขึ้นด้วยค่ะ

แล้วหนูจะรออ่านคู่มือเล่มนี้นะคะ ขอขอบพระคุณผู้จัดทำคู่มือและร่างมาตรฐานวิชาชีพมากๆเลยค่ะ รวมทั้งสภากายภาพบำบัดด้วย

และก็ขอบพระคุณอ.ปนดา ที่ คอยแนะนำเรื่องราวต่างๆ มากมายค่ะ ดีจังเลย

PT จงเจริญ

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลนะคะ อาจารย์จะนำข้อเสนอแนะไปพิจารณาในที่ประชุมคณะทำงานในอีก 2 วันข้างหน้าค่ะ และจะรีบจัดทำคู่มือนะคะ

ปนดา

เรียนอาจารย์ปนดา

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดที่เพิ่งจบแล้วตอนนี้ยังไม่มีงานทำ

หนูอยากทราบว่าบทบาทของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลศูนย์และบทบาทของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนมากเลยค่ะ

เนื่องจากหนูยังลังเลกับโรงพยาบาลที่จะสมัครนะค่ะ

รบกวนอาจารย์ช่วยตอบหน่อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

นักกายภาพ รพ. ชุมชน ทำงาน contact กับ สหสาขาวิชาชีพ โคกันหลายฝ่าย

ขึ้นกับนโยบายของ รพ. ส่วนมากจะทำงานเชิงรุก เข้าหาชุมชนเป็นหลัก

ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ออกเยี่ยมชุมชน รพ.ชุมชนแบ่งออกเป็นหลายขนาด

สามสิบเตียง หกสิบเตียง เก้าสิบเตียง รักษาผู้ป่วยทั้งIPD OPD ฯลฯ รวมถึงการ ส่งเสริมป้องกันการรักษาฟื้นฟู ตามconcept ของงานเราน่ะนะ อย่างที่เรารู้ๆกันมา

กิจกรรมร่วมกับชุมชนจะเยอะหน่อย ทั้งนี้เป็นที่ตัวบุคคลด้วยว่าจะมีpowerแค่ไหน ถึงจะทำงาน รพ.ชุมชน เราก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอะไรทำนะ มันอยู่ที่ว่าเราจะหาอะไรทำรึป่าว

งานของเราจะเป็นที่รู้จักมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะทำให้สาขาวิชาชีพอื่นๆเห็นศักยภาพและความสำคัญเราขนาดไหน ถ้าเราไม่ทำให้เค้าเห็น จะอยู่รพ.ใหญ่แค่ไหนก็ไม่มีความหมายค่ะ

ขอเพิ่มเติม ข้อมูลให้น้อง เรื่องนักกายภาพบำบัดรพ.ศูนย์ฯ จริงๆแล้วบทบาทของนักกายภาพบำบัดรพ.ศูนย์จะเน้นเรื่องการรักษา ฟื้นฟู โรคเฉพาะทาง เช่น Ortho Neuro Chest ฯ นักกายภาพบำบัดรพ.ศูนย์ฯ ถือว่าเป็นที่พึ่งพาสำหรับรพ.ลูกข่ายในเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยกับรพ.ทั่วไป และรพ.ชุมชน ในเครือข่ายเดียวกัน อาจมีการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาต่อได้ หรือช่วยในเรื่องอบรมวิชาการต่างๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ารพ.ศูนย์จะไม่ทำงานส่งเสริมป้องกันหรืองานชุมชนนะคะ เขาก็ทำเหมือนกัน แต่อยู่ในเขตชุมชนที่รพ.ศูนย์นั้นรับผิดชอบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชมชนเมือง

ปนดา

เรียนทุกท่าน

สำหรับคณะทำงานมาตรฐานวิชาชีพเขาได้ประชุมกัน เมื่อวันที่ 13-15 มีนาคม และมีมติให้มีการปรับปรุงร่างมาตรฐานวิชาชีพกายภาพบำบัด ซึ่งหมายกำหนดการคาดว่าจะเสร็จพร้อมประกาศใช้ภายในกลางปีหน้า เพราะร่างฉบับปี 2549 บางส่วนไม่ update แล้วแต่ถ้าใครจะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานก็ใช้ร่างปี 49 ไปกอนได้ค่ะ ที่น่ายินดีสำหรับการปรับปรุงมาตรฐานกายภาพบำบัด คือคณะฯที่จะเข้ามาปรับปรุงร่างมาตรฐานชุดใหม่ได้เลือกนักกายภาพบำบัดจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรพ.รัฐทุกระดับ เอกชน กทม ฯ ทั้งนี้เพื่อให้มาตรฐานนี้เป็นที่ยอมรับและใช้ได้ครอบคลุมทั่วประเทศ

นอกจากนี้คณะฯยังไปซ้อมตรวจเยี่ยมรพ.อีก 2 แห่ง ด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ในการตรวเยี่ยม และเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงร่างมาตรฐานต่อไป

ปนดา

ขอบคุณอาจารย์ปนดาและพี่ PT รพช มากนะค่ะ

ที่ช่วยตอบข้อสงสัย

หวังว่าคราวหน้าหากหนูมีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติม

หรือมีข่าวสารเกี่ยวกับวิชาชีพของเราเพิ่มเติม

ก็จะนำมาแลกเปลี่ยนอีกนะค่ะ

ตอนนี้ เราอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งกายภาพบำบัดในอบต. บทบาท PT ในอบต. ใครมีประสบการณ์ในการทำงานเป็นPT ในสังกัด อบต. ช่วยเล่าประสบการณ์ให้ฟังด้วย ถ้ามีปัญหา อุปสรรคอะไรจะเล่าด้วยก็ดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

มีเพื่อนทำที่ PCU ค่ะ ใช้ได้รึป่าว เด๋วหนูจะถามๆมาให้ค่ะ

คือ จะถามว่า ถ้าเราใช้อักษรย่อ ของเราเป็น กภ.ญ. (ใน ผู้หญิง) แล้ว กภ.บ.(ในผู้ชาย) นำหน้าชื่อนี้ได้หรือป่าวคะ เพื่อนๆฝากถามมาค่ะ อีกอย่างค้นในเว๊บก็เจอ

http://74.125.45.132/search?q=cache:pm3gsYaNFcEJ:writer.dek-d.com/MFLU/story/viewlongc.php%3Fid%3D469915%26chapter%3D18+%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th

ช่วยดูให้ด้วยนะคะ อาจารย์ ขอบคุณมากค่ะ อยากมีอักษรย่อนำหน้าชื่อบ้างน่ะค่ะ

ตอนนี้เชียงรายมีนักกายภาพบำบัดครบเกือบทุกอำเภอแล้วครับมี 15 อำเภอจาก 17 อำเภอครับ.....

นายแพทย์สสจ.และผู้อำนวยการแทบทุกโรงพยาบาลมองเห็นความสำคัญของพีทีครับ

ตอนนี้เรากำลังจะรวมกลุ่มกันจัดตั้งชมรมนักกายภาพบำบัดในจังหวัดกันครับ

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความเข้มแข็งให้วิชาชีพกันครับ.....

ตอบ post ที่ 43 นะคะ

ได้ถามกรรมการสภากายภาพฯ ท่านหนึ่งเกี่ยวกับคำนำหน้าชื่อนักกายภาพบำบัดให้แล้วนะคะ เรื่องคำนำหน้า กภ.ญ. และ กภ.ช. เป็นเรื่องที่ทางสภาฯ เคยพิจารณากันอยู่ แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะยังไม่ได้ออกเป็นกฎหมาย น้องเขียนถามเข้ามาก็ดีแล้ว อาจารย์ก็ได้ส่งข้อมูลเข้าไปแล้ว กรรมการท่านนี้จะนำเรื่องนี้เข้าหารือในสภาฯอีกครั้งค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

ยินดีกับนักกายภาพบำบัดในเชียงรายด้วยนะคะ ที่สามารถเข้าไปมีบทบาทในรพ.ชุมชนได้เกือบทุกแห่งแล้ว และยังจะจัดเป็นชมรมนักกายภาพบำบัดของจังหวัดอีก เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยนะคะ เพราะจะได้มีการประสานงานที่ดี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ เพราะเชื่อว่าคงมีนักกายภาพบำบัดจากรพ.ศูนย์หรือรพ.ทั่วไป รวมถึงรพ.เอกชน เข้าร่วมด้วย มีอะไรอยากให้ช่วยก็บอกนะคะ ยินดีด้วยค่ะ

ปนดา

ได้อ่านข้อความที่เพื่อนๆเขียนแล้วรู้สึกมีกำลังใจขึ้นมากเลยค่ะ ที่จะทำงานให้ได้ต่อไป เพราะบ้างครั้งก็รู้สึกท้อ เนื่องจากเป็น PT คนเดียวในโรงพยาบาลจิตเวช (เอกชน)ตอนนี้ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไงดี ใครช่วยแนะนำหรือมีประสบการณ์ยินดีรับฟัง และขอบคุณมากเลยค่ะ

หนูเคยสอบถามไปยังราชบัณฑิตยสถาน พี่เค้าบอกว่าการมีคำนำหน้าชื่อไม่มีการตราเป็นกฏหมาย ซึ่งวิชาชีพอื่นก้สามารถใช้ได้เลยเพียงประกาศให้ประชาชนทราบด้วย หากพีทีมีคำนำหน้าชื่อก็ดีนะค่ะ

ได้ส่งข้อมูลเรื่องนี้คำนำหน้านี้ ไปให้กรรมการสภาฯ แล้วค่ะ

ปนดา

เรียนน้องพนิตา

ตอนนี้พี่ทำงานที่ รพศ พระนครศรีอยุธยา จากที่พี่ทราบมาน้องเป็นนักกายภาพบำบัดคนเดียวใน รพ ซึ่งข้อแตกต่างของน้องคือเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวช แต่ในที่นี้เราไม่ได้หมายความว่าการทำกายภาพบำบัดทำเฉพาะ case ที่มีปัญหาทาง mental disorder เท่านั้น แต่เราต้องมองภาพในวงกว้างทำให้เป็นรูปแบบของการรักษาแบบholistic แต่พี่กลับมองว่านี่เป็นจุดเด่นที่น้องมีคือการที่เราเป็นนักกายภาพบำบัดคนเดียวเราต้องแสดงศักยภาพของเราที่มีให้ทางทีมงานและทีมของผู้บริหารได้เห็นว่าเราสามารถทำได้เขาจะได้มองเห็นคุณค่าของตัวเรา

ตั้งใจทำงานและสู้ๆปัญหาเหล่านี้พี่เคยเผชิญมาก่อนพี่เห็นใจคนที่เริ่มทำงานใหม่ถ้ามีปัญหาอะไรให้ช่วยเหลือโทรหาพี่ได้ที่ 087-0873940

ขอบคุณ คุณอมรที่ช่วยให้ข้อเสนอแนะ และยังให้เบอร์โทรศัพท์น้องพนิดา ด้วยเผื่อมีข้อสงสัย พี่อมรเขาใจดีมาก น้องปรึกษาพี่เขาได้นะคะ

ปนดา

กายภาพบำบัดน่าจะเรียนห้าปีนะครับ เพราะเนื้อหาวิชาแน่นมากเกินไปในระยะเวลาเพียงสี่ปี และทราบมาว่าเภสัชจะปรับเปงหกปีนะครับ อย่าผมนะครับผมแค่เสนอความคิดเหน

เรื่องการปรับหลักสูตรปริญญาตรีจาก 4 ปี เป็น 5 ปี เป็นเรื่องที่น่าจะเคยมีการพูดคุยกันในหมู่ผู้ผลิต แต่คิดว่าแนวทางนี้คงเป็นไปได้ยาก เพราะถ้าจะเปลี่ยนต้องเป็นการลงความเห็นร่วมกันระหว่างสภาฯและสถาบันผู้ผลิตอีก 15 แห่ง จริงๆ เนื้อหาที่เราต้องเรียนมันเยอะมากจริงๆ แต่ถ้าเราปรับเป็น 5 ปี คงไม่ค่อยทันใช้งาน ไม่สอดคล้องกับความต้องการของชาติ ประเทศเรายังต้องการนักกายภาพบำบัดจำนวนมาก และเรามีการสูญเสียนักกายภาพบำบัดออกจากภาครัฐบริการไปมากพอสมควร (ไม่ใช่ว่าทุกคนจบแล้วจะเป็นนักกายภาพฯ)ดังนั้นเราจึงต้องมีหลักสูตรหลังปริญญา เช่น Postgrad Diploma, Master degree, PhD เพื่อศึกษาต่อเพิ่มเติมความรู้ และนักกายภาพบำบัดยังสามารถความรู้จากการอบรมระยะสั้น ซึ่งมีจัดอยู่อย่างสม่ำเสมอในประเทศ จริงๆ เมื่อเทียบต่างประเทศเราก็ไม่ได้เรียนน้อยหรือมากไปกว่าเขา และบางประเทศยังใช้เวลาเรียนน้อยปีกว่าเราอีก บางประเทศเรียน 3 ปีด้วยซ้ำ แต่ต่างประเทศระบบการศึกษาเขายืดหยุ่นกว่าเรา บางประเทศอย่างอเมริกา นักศึกษาต้องทยอยเก็บรายวิชาพื้นฐาน (Basic sciences) ก่อนโดยที่ยังไม่เข้าหลักสูตร พอเข้าหลักสูตรจริงๆเขาก็เรียนเนื้อหาทางกายภาพฯได้เลย แต่ของเรารวม basic sciences และ general education เข้าไปอีก จึงดูว่าราไม่ค่อยมีเวลาพอที่จะเรียนเนื้อหาทาง PT

ปดา

นักกายภาพบำบัดภูธร

เรียนอาจารน์ปนดา และพี่ๆกายภาพบำบัดทุกคน ผมเพิ่งเปิดแผนกใหม่ในโรงพยาบาลชุมชน แต่มีขอสังสัยเรื่องอัตราค่ารักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อใช้ในการอ้างอิง เนื่องจากมีรุ่นพี่บ้างท่านแนะนำให้ใช้ประกาศกระทรวงปี 47 โดยให้เหตุผลว่าได้รับการรับรองจากกรมบัญชีกลาง ในขณะที่รุ่นพี่บางคนแนะนำให้ใช้ประกาศปี 49 เพราะเป็นของสภาแต่กรมบัญชีกลางไม่อนุมติ ผมควรจะยึดประกาศใดเป็นที่อ้างอิงครับ หากท่านใดมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกรุณณาส่งให้ด้วยจะขอบพระคุณล่วงหน้า [email protected] ขอบคุนครับ

เรียนทุกท่านและน้องพนิดา

ในเรื่องของการรักษาผู้ป่วยทางจิตเวชนะครับ ขอเสนอความคิดเห็น คือการใช้หลัก Holistic approach ร่วมกับทีม และใช้alternative rehabilitation อาทิ ใช้ sport ,music or rhythmic, recreations ต่างๆ การใช้ circuits exs , functional exs... mirror exs,,,เป็นต้น

เรียนน้องกายภาพบำบัดภูธร

อาจารย์ได้ forward คำถามไปให้พี่จิตรา นักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ทำงานทางด้านการคิดค่ารักษาทาง PT แล้ว คิดว่าอีกไม่นาน พี่เขาจะให้คำตอบนะคะ

ขอบคุณที่เข้ามาพูดคุยกันนะคะ มีปัญหาอะไรก็ถามมาได้อีกนะคะ อาจารย์เข้าใจว่าเปิดแผนกใหม่งานคงจะยุ่งพอสมควร อาจารย์คงไม่รู้ทุกเรื่อง แต่พอจะเชื่อมไปหาผู้รู้ได้บ้างค่ะ

ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะคะ ในฐานะที่น้องจะเปิดแผนกกายภาพบำบัด นอกเหนือจากเรื่องค่ารักษาทางกายภาพฯแล้ว น้องอยากทราบข้อมูลเรื่องอะไรอีก เพราะคณะทำงานพัฒนามาตรฐานรพ.ชุมชน จะได้นำไปจัดทำคู่มือให้ค่ะ

ปนดา

ข้อเสนอและพิจารณา เรื่องการต่อใบประกอบวิชาชีพอยากให้ทางสภากายภาพบำบัดพิจารณาเปิดศูนย์วิทยบริการตามต่างหวัดในแต่ละภูมิภาค เช่น ภาคอิสานอาจจะเป็นขอนแก่น หรือนครราชสีมา เป็นต้น เนื่องจากมีนักกายภาพบำบัดจำนวนไม่น้อยที่ทำงานต่างจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนไม่มีความสะดวกในเรื่องการเดินทาง ที่พัก และต้องเดินทางไปประกอบนิติกรรมดังกล่าวที่กรุงเทพฯ

 

นักกายภาพบำบัดภูธร

ขอบคุณอาจารย์ปนดาเป็งอย่างสูงที่ช่วยให้คำแนะนำในเรื่องอัตราค่าบริการ

เรียนน้องเอโดคาว่า

การเปดศูนย์วิทยบิการตามต่างจังหวัดในแต่ละภูมิภาค เป็นความคิดที่ดี และเป็นแนวทางในอนาคตที่สภาฯน่าจะรับไว้พิจารณา แต่ตอนนี้เท่าที่ทราบสภาฯกำลังเร่งพัฒนาเรื่องศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางกายภาพบำบัดอยู่ ซึ่งเชื่อว่าเมื่อตรงนี้ settle ดีแล้ว การเปิดศูนย์วิทยบริการในต่างจังหวัดตามภูมิภาคต่างๆ น่าจะเป็น step ต่อไปค่ะ

ปนดา

เรียนน้องกายภาพบำบัดภูธร

ยินดีค่ะ พี่หวังว่าคุณจิตราจะตอบคำถามของน้องในเร็ววัน ได้ข้อมูลแล้วเข้ามาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ

ปนดา

กายภาพโขงเจียมค่ะ

รบกวนด้วยอีกแรงนะคะ หนูกำลังต้องการค่ารักษา รหัส หัตถการต่างๆ พร้อมแหล่งอ้างอิงด้วยค่ะ จะคีย์ข้อมูลลงระบบ LAN ค่ะ และขออนุมัติค่ารักษาจากท่านผอ.รพ. ตอนนี้วางแผนเตรียมจะรับcase OPD พี่คนไหนพอจะมีไฟล์แผ่นพับเรื่อง การดูแลผู้ป่วย TB lung ,COPD ในทางวิชาชีพเราขอความกรุณาช่วยส่งไฟล์ให้หนูด้วยนะค๊า คือหนูก็พอมีข้อมูลอยู่บ้างแต่อยากได้หลายๆไอเดียค่ะ เพื่องานจะได้ออกมาดี เพราะที่นี่นอกจากเทรนด์เบาหวานแล้วยังมี TB lung และ COPD เทรนด์นี้มาแรงมากค่ะ ที่โขงเจียม

และอยากจะบอกว่าที่อุบลพี่ๆดูแลดีมากๆค่ะ ไม่เกี่ยงว่าจะมาจากสถาบันไหนจริงๆ เราช่วยๆกันเพื่อพัฒนาวิชาชีพค่ะ กายภาพบำบัดสู้ๆค่า^ ^

หนูรักกายภาพบำบัดชุมชนค่ะ ^ ^เย้ๆ(ใครพอมีไฟล์แผ่นพับเหลือๆช่วยส่งต่อให้หนูด้วยนะคะ ....... e-mail--> [email protected] ขอบพระคุณอย่างสูงล่วงหน้าค่ะ)

เรียนคุณกายภาพโขงเจียม

เดี๋ยวขอเวลาผมก่อนนะครับ

สำหรับfileแผ่นพับรู้สึกว่ามีแต่ขอเวลาในการค้นหาก่อนนะครับไม่ทราบว่าเก็บไว้ที่Folderไหนครับ

รับรองว่าถ้าเจอแล้วเดี๋ยวส่งให้ครับ

นักกายภาพบำบัดภูธร

ที่จังหวัดอุบลราชธานีพีทีเปิดแผนกใหม่จะได้รับการฝึกงานด้านการบริหารงานทางกายภาพบำบัด ได้เจอเพื่อนๆจบใหม่เปิดแผนกเปงสิบกว่าคนบรรยากาศดีมากดูมีพลังและความสามาคคีแม้จะมาจากหลายสภาบันแต่เรามีเลือดสีชมพูเหมือนกาน ตอนนี้ครายทำงานอารายไปก้อจะส่งเมลล์ถึงเพื่อนอีกสิบกว่าคนเปงอารายที่ดีมาก แต่บ้างแห่งเพื่อนโดดรังแกจากวิชาชีพที่มีการรักษาทางคล้ายคลึงกันก้อมีเนื่องจากอยู่มานานกว่า ดังนั้นจึงอยากเรียนถามว่าโครงสร้างองค์ที่ถูกต้องของงานกายภาพบำบัด เราควรจะยืนนะจุดไหนของโรงพยาบาลเพระที่ละที่แตกต่างกันเสียเลยเกิน เปงกะลังใจให้เพื่อนๆทุกคนนะ(ตอนนี้ยังไม่ได้รับขอมูลค่ารักษาเลยเพื่อนทุกคนก้อเราคำตอบอยู่นะครับพี่ๆ)

เป็นคนหนึ่งที่ทำงานในชุมชน มารายงานตัวครับผม

กายภาพโขงเจียมค่ะ

ขอบพระคุณพี่อมรล่วงหน้าค่ะ หนูจะได้ส่งไฟล์ให้เพื่อนคนอื่นๆต่อด้วยค่ะ อย่างที่นักกายภาพบำบัดภูธรเค้าว่าไว้ เราอยู่ทีมเดียวกันค่ะ^ ^

แลดูอบอุ่นดีจังเลยนะคะ

กายภาพโขงเจียมค่ะ

อ้อ สำหรับเรื่องค่ารักษา เรียบร้อยแล้วค่ะ ด้วยความอนุเคราะห์จากพี่ๆและเพื่อน ๆ ตอนนี้กำลังยื่นอนุมัติจากท่าน ผอ.ของรพ.ค่ะ เหลือแค่ไฟล์แผ่นพับ ค่ะ(เพิ่มอีกอันคือ สตรีมีครรภ์ด้วยนะคะ ใครมีพอจะบริจาคได้ ก็ ขอความอนุเคราะห์)

นักกายภาพบำบัดภูธร

ตอนนี้กะลังทำ service profile ถึงหัวข้ออัตรากำลังของงานกายภาพบำบัด อยากทราบว่ากระทรวงสาสุขได้มีการกำหนดอัตรากำลังนักกายภาพบำบัดในรพ.ชุมชนหรือป่าวจะได้เอาข้อมูลมาอ้างอิงในการเขียนได้ ขอบคุนพีทีที่ท่านที่มีความเปงหนึ่งเดียวกัน (กายภาพบำบัดต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว)

โดยส่วนตัวเห็นว่า กายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากและขอเป็นกำลังใจให้นักกายภาพบำบัดที่ปฏิบัติงานในชุมชนด้วยค่ะ แต่อยากจะขอเพิ่มเติมเล็กน้อยเกี่ยวกับนักศึกษากายภาพบำบัดที่ฝึกงาน อยากจะขอให้สถาบันการศึกษาเพิ่ม/เน้นการฝึกงานในโรงพยาบาลชุมชนหรือมีวิชาที่เรียนในชุมชนให้มากขึ้น เพราะถ้าได้ทำงานโรงพยาบาลชุมชนจริง จะได้เข้าใจและทราบบทบาทของกายภาพบำบัดที่แท้จริงค่ะ

เรียนพี่น้องชาว PT

เรื่องอัตรากำลังของงานกายภาพบำบัด เท่าที่ทราบ กระทรวงได้วางมาตรฐาน ด้านอัตรากำลังไว้ ดังนี้

นักกายภาพบำบัด 1 คน สามารถดูแลผู้ป่วยโดยเฉลี่ยได้ประมาณ 15 คน แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยเฉพาะทาง นักกายภาพบำบัด สามารถดูแลผู้ป่วยได้ดังนี้

ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 15 คน

ผู้ป่วยโรคระบบประสาท 10 คน

ผู้ป่วยโรคระบบางเดินหายใจและหัวใจ 12 คน

ผู้ป่วยทางด้านฟื้นฟูสภาพ 10 คน

ปนดา

เรื่องการส่งนิสิตหรือนักศึกษากายภาพบำบัดไปฝึกงานที่รพ.ชุมชน เขื่อว่าสถาบันผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็มีนโยบายที่จะส่งไปฝึกอยู่แล้ว แต่เขาก็มีเกณฑ์ในการพิจารณาแหล่งฝึกที่เหมาะสำหรับส่งนิสิตไปฝึกงานด้วย 1ในเกณฑ์นั้นก็คือ ประสบการณ์การทำงานของนักกายภาพบำบัดที่จะเป็น clinical instrutor หรือครูคลินิก นอกจากนั้นเขาก็ต้องไปเยี่ยมแหล่งฝึก เพื่อสำรวจความพร้อมของแหล่งฝึกด้วย ปัจจุบันก็มีการส่งไปฝึกงานในรพ.ชุมชนมากขึ้น

ปนดา

สวัสดีค่ะ ตอนนี้เป็นนักกายภาพบำบัดอยู่ที่ร.พ.ศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยอยู่ในส่วนของศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตค่ะ โดยจะมีหน้าที่ในการออกเยี่ยมผู้ป่วยในชุมชน ซึ่งคิดว่ายังมีประสบการณ์น้อยอยู่มาก ถ้าหากมีพี่ กายภาพ ท่านใดมีข้อแนะนำในเรื่องบทบาทหน้าที่ช่วยกรุณาแนะนำด้วยค่ะ ที่ [email protected] ค่ะ หรือหากมีความเคลื่อนไหวในการอบรมด้านนี้กรุณาแนะนำด้วยค่ะ

พี่จิตราฝากตอบคำถามเรื่องค่าบริการทางกายภาพบำบัด

ขอตอบคำถาม โดยเล่าความเป็นมาดังนี้ นะคะ

1. ในอดีต กระทรวงสาธารณสุข ได้เคยกำหนดอัตราค่าบริการไว้ เท่าที่ทราบ 2 ครั้ง คือ

A. อัตราค่าบริการของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2537 (เล่มสีน้ำเงิน)

B. อัตราค่าบริการของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2547 (เล่มสีชมภู บางคนก็ว่าเล่มแดง)

2. กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ให้บริการ (Provider) แต่กรมบัญชีกลางเป็นผู้ซื้อบริการ (purchaser) ให้กับข้าราชการ/ลูกจ้างประจำของหน่วยราชการและครอบครัว

ในอดีต โดยเฉพาะ การตั้งอัตราค่ารักษาตาม A. กรมบัญชีกลางยอมจ่ายให้ทั้งหมดตามที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ

แต่พอสถานบริการตั้งอัตราค่ารักษาตาม B. กรมบัญชีกลางไม่ยอมจ่ายตามที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ

3. ดังนั้น กรมบัญชีกลาง จึงไปทำ

C. อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ตามประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2549 โดยประกาศใช้บังคับตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2549

แต่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ยอมใช้อัตราของกรมบัญชีกลาง ......

ในเดือน กรกฎาคม 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายพินิจ จารุสมบัติ ได้เชิญอธิบดีกรมบัญชีกลางและผู้อำนวยการสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งอธิบดีกรมการแพทย์ (นายแพทย์ชาตรี บานชื่น) เข้าประชุมหารือเพื่อหาข้อสรุป ได้ข้อสรุปว่า

ให้อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาข้อสรุปอัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับสำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

ในสถานพยาบาลของทางราชการ เฉพาะแพทย์แผนปัจจุบัน และให้น.พ.วิชัย โชควิวัฒน์ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาหาข้อสรุปอัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับสำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

ในสถานพยาบาลของทางราชการ เฉพาะแพทย์แผนไทย ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จ ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2549

ในส่วนของอัตราค่าบริการทางกายภาพบำบัด ตามประกาศของกรมบัญชีกลาง จะอยู่ในหมวด 14 ซึ่งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาข้อสรุปอัตราค่าบริการ

สาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับสำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ แพทย์แผนปัจจุบัน ได้ประสานให้สภากายภาพบำบัดทำการ

ศึกษาต้นทุนกิจกรรม แล้วส่งให้กรมบัญชีกลางพิจารณา แต่ปรากฎว่า

ในการประกาศกระทรวงการคลัง ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 เรื่อง อัตราค่าบริการสาสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

ในสถานพยาบาลของทางราชการ (D.) ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2549 ไม่ประกาศหมวด 14 แต่ได้เขียนข้อความในข้อ 5 หน้า จ.

ว่า "สำหรับค่าใช้จ่ายในหมวดที่ 8 ด้านค่าบริการรังสีรักษา หมวดที่ 14 และ 15 จะประกาศ อัตราและหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ทราบต่อไป....."

และมีข้อความในข้อ 2 หน้า ง. ว่า ".......สำหรับค่าบริการรายการใดที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการบำบัดรักษาแต่ไม่อยู่ในรายการที่กระทรวงการคลัง

กำหนด ให้เบิกจ่าย ดังนี้

2.1 รายการใดที่สามารถเทียบเคียงกับรายการที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ให้เบิกในอัตราค่าบริการรายการที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน

2.2 รายการใดที่ไม่สามารถเทียบรายการที่มีลักษระใกล้เคียงได้ ให้เบิกตามอัตราที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในปี 2548 และดำเนินการตามที่

กระทรวงการคลังกำหนด"

ดังนั้น ในส่วนของอัตราค่าบริการทางกายภาพบำบัด ซึ่งยังไม่ได้ประกาศใช้ ก็อนุโลมเข้าข้อ 2.2 ได้

ในส่วนของรพ. ซึ่งเพิ่งเปิดแผนกใหม่ ก็ควรปรึกษาผู้อำนวยการ รพ. หรือสอบถามอัตราที่ PT ในรพ. ศูนย์ รพ.ทั่วไป ของจังหวัดนั้นใช้อยู่

แล้วรพ. ชุมชน ก็ใช้อัตราตามนั้น เนื่องจากขณะนี้ ยังไม่มีประกาศของกรมบัญชีกลางในหมวด 14 อัตราเบิกจ่ายค่ารักษาทางกายภาพบำบัดที่กรมบัญชีกลาง

จ่ายจึงมีมากกว่าหนึ่งอัตรา

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

จิตรา

นักกายภาพบำบัดภูธร

ขอบคุนพี่จิตรามากนะครับที่กรุณาให้ข้อมูลค่ารักษาทางพีที

ขอเสนอความคิดเห็นครับ ทุกวันนี้ในชุมชนยังขาดนักกายภาพบำบัดอีกมาก จึงอยากให้สถาบันมีการปลูกฝังทัศนคติน้องๆในเรื่องการทำงานเชิงรุกในชุมชน/ชนบท ให้มากๆ เพราะคนพิการในชนบทยังรอความช่วยเหลืออยู่อีกมาก  

จะพยายามรวบรวม ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถาบันผู้ผลิต ส่งให้ผู้กเยวข้องให้ค่ะ ใครมีความคิดเห็น ความห่วงใย ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ไหมคะ

ปนดา

สวัสดีค่ะ

ขอแนะนำตัวก่อนนะค่ะ เป็นนักกายภาพบำบัดในศูนย์การศึกษาพิเศษค่ะ ก็ฟื้นฟูเด็กพิการเป็นหลัก ทั้งในแล้วก็นอกสถานที่ ก็เลยน่าจะมีส่วนของชุมชนด้วย พอดีเพื่อนชักจูงมาเข้าบล๊อกนี้ เข้าทางเลย วันนี้ขอแนะนำตัวก่อน วันหลังจะเข้ามาปรึกษานะค่ะอาจารย์

ขอบคุณค่า

เป็นกายภาพบำบัด รพช. อีกหนึ่งคนค่ะ วันนี้เข้ามาแนะนำตัวค่ะ

ยินดีต้อนรับ น้องหนึ่ง กับ PT บ้านแพ

ดีใจที่เข้ามาแนะนำตัวนะคะ ก่อนอื่นขอประชาสัมพันธ์หน่อย คือ ถ้าใครต้องการเอกสาร ข้อมูลและสื่อเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ขอมาได้นะคะ จะยินดีส่งไปให้ มี CD สื่อ power point เรื่องพิษภัยบุหรี่ และวิธีการลดละเลิกบุหรี่, วิดิทัศน์ เรื่องชาวชนบทงดบุหรี่, CD เป็น สปอตเพลง,วิทยุ อื่นๆ

และอาจารย์ผกาวลีกำลังรับสมัครผู้สนใจเข้าอบรม เรื่องการลดละเลิกบุหรี่ และมีวิชาการทาง PT ด้วย ในช่วงเดือนกรกฎาคม ที่ม.เช็นหลุยส์ ไม่เสียค่าลงทะเบียน สนใจก็บอกกันนะคะ

ปนดา

หมอกายภาพบำบัดผู้น่ารัก

ผมมีความสนใจอยากได้สื่อและเทคนิคการเลิกบุหรี่ทางกายภาพบำบัดมากเลยครับ ขอความกรุณาจัดส่งถึง คุณกิตติ สมบรรดา หัวหน้างานกายภาพบำบัดและแพทย์แผนไทย กลุ่มงานเวชปฎิบัติครอบครัวและชุมชน 86 ถนนแจ้งสนิท ตำบลเขื่องใน โรงพยาบาลเขื่องใน จังหวัดอุบลาชธานี ขอขอบพระคุนครับ

อยากเรียนถามเรื่องโครงสร้างองค์กรว่างานกายภาพบำบัด รพชฬควรขึ้นตรงต่อฝ่ายงานใดตอนนี้หลายที่ต่างกานและบ้างที่กะลังมีปัญหา จิงๆนะครับ

แล้วจะรีบจัดส่งให้นะคะ เรื่องโครงสร้างองค์กร กำลังถามผู้รู้ให้อยู่ค่ะ

ปนดา

นักกายภาพบำบัดภูธร

จากการสอบถามจากหลายๆโรงพยาบาลชุมชนพบว่า งานกายภาพบำบัดขึ้นตรงต่อหน่วยงานดังต่อไปนี้

1.องค์กรแพทย์(ผอ.)

2.กลุ่มงานบริการทางการแพทย์

3.กลุ่มงานเทคนิคบริการ

4.กลุ่มงานชันสูตร

5.กลุ่มการพยาบาล

6.กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน

7.กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุมครองผู้บริโภค

บ้างแห่งสามารถทำงานได้อย่างราบเรียบ แต่หลายแห่งมีปัญหาด้านการบริหารจัดการและความคล่องตัวในการปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงอยากให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับงานกกายถาพบำบัดชุมชนได้มีการกำนหดโครงสร้างดังกล่าวให้มีความชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกันด้วยครับ ขอขอบพระคุณ และจะรอฟังข่าวดีนะครับ

กายภาพโขงเจียมค่ะ

รบกวนจัดส่งเผื่อมาทางนี้ด้วยนะคะ

กำลังแพลนเรื่องจัดทำโครงการ จัดรายการวิทยุชุมชน ในส่วนของกายภาพร่วมกับ รพช.ใกล้เคียงค่ะ น่าจะเป็นการดีหากมีเรื่องเลิกบุหรี่มาเผยแพร่

รบกวนจัดส่งมาที่

นางสาวธนพร แก้วบริบัตร นักกายภาพบำบัด

277 หมู่ที่ 2 ถ.พิบูล-โขงเจียม ต.โขงเจียม

อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี 34220

ขอบพระคุณอย่างสูง(ล่วงหน้า)

เรีนคุณธนพร และคุณกิตติ

พรุ่งนี้จะรีบจัดเอกสารและ CD ไปให้นะคะ รอรับได้เลยค่ะ ไม่ทราบว่ามีใครอยากได้สื่อเกี่ยวกับบุหรี่อีกไหมค่ะ ยังมีโอกาสนะคะสำหรับการจัดส่งรอบแรกจะเป็นวันที่ 9 มิ.ย.นี้ ถ้าใครอยากได้ ส่งชื่อที่อยู่มาด่วนค่ะ จะได้ทันใช้งาน

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

ณัฐญาดา ชาติประเสริฐ

รบกวนขอแนวทางการจัดทำขออัตรากำลังเพิ่มด้วยค่ะ

เพราะทางหน่วยงานต้องการทราบแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

รบกวนขอเสนอแนะเรื่องอัตรากำลังที่ทางสภาได้จัดทำไว้ค่ะ เพราะว่าอยู่โรงพยาบาลชุมชนเครื่องมือไม่ได้มีเยอะแยะเหมือนโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์การดูคนไข้ในปริมาณดังกล่าวเป็นงานที่หนักมาก ไม่มีเวลาประชุมหรือทำงานเอกสาร หรือแม้กระทั่งไม่มีเวลาอบรมทักษะพัฒนาวิชาชีพเลย อยากจะให้ทำการสำรวจจัดทำใหม่อีกรอบ อาจจะยึดที่ว่ามีเครื่องมือเท่าไหนทำได้แค่ไหนก็ได้ค่ะ เพราะตอนนี้ที่โรงพยาบาลมีเครื่องดึงหลัง อัลตราซาวด์ กระตุ้นกล้ามเนื้อ แผ่นร้อน คนไข้ราววันล่ะ 15 คน ผู้ช่วยหนึ่งคน เหนื่อยมากค่ะ

เรื่องมาตรฐานอัตรากำลังที่ได้ให้ข้อมูลไว้ที่ post ที่ 69 เป็นมาตรฐานของกระทรวงที่อาจารย์มีล่าสุด ซึ่งจะถามผศ.ดร.ประภาส อีกทีว่าข้อมูลนี้ update สุดหรือยัง แต่ถ้าถามข้อมูลที่ระบุไว้ใน(ร่าง)มาตรฐานกายภาพบำบัด ณ ขณะนี้ซึ่ง

ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้อยู่ เพราะยังเป็นแค่เพียงร่าง เป็นดังนี้

นักกายภาพบำบัด 1 คน สามารถดูแลผู้ป่วยโดยเฉลี่ยได้ 10-15 คน แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยเฉพาะทาง นักกายภาพบำบัด สามารถดูแลผู้ป่วยได้ดังนี้

ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 12-15 คน

ผู้ป่วยโรคระบบประสาท 6-10 คน

ผู้ป่วยโรคระบบางเดินหายใจและหัวใจ 10-12 คน

ซึ่งกรรมการบางคนก็มีความเห็นว่าจำนวนผู้ป่วยยังมากไปต่อ PT 1 คน ซึ่งก็ต้องมีการทบทวนกันอีกที แต่การจะบอกว่าควรเป็นเท่าไร ก็คงต้องพิจารณาจากข้อมูลจากหลายๆแหล่ง อยากให้พี่น้องชาว PT ช่วยกันเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยก็จะดีค่ะ

นักกายภาพบำบัดภูธร

ตอนนี้ผมได้รับสื่อการสอนเรื่องเลิกบุหรี่แล้วครับขอบคุนอาจารย์มากนะครับ

สวัสดี PT ชุมชนทุกท่าน

เป็นอีกคนหนึ่งที่ทำงานชุมชนเหมือนกันนะคะ ทำงานมา 7 ปีแล้วค่ะ รู้สึกว่าเราเป็นวิชาชีพที่กรรมเยอะมากนะคะ (กรรม คือ การกระทำ) พวกเราจงทำกรรมเยอะๆนะคะ (กรรมที่ดี) เราจะมีความสุขเองค่ะ สู้ๆนะคะทุกคน จาก คนภาษาเดียวกัน

เรียนทุกท่าน

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2552 อาจารย์ได้ไปประชุมร่วมกับสปสช.เกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนทางกายภาพบำบัดในระบบบริการปฐมภูมิ เพื่อหาแนวทางในการสร้าง needs ในรพ.ชุมชน เพื่อเขาจะได้จ้างนักกายภาพบำบัดในรพ.ชุมชนมากขึ้น ปัจจุบันนักกายภาพบำบัดในรพ.ชุมชนมีมากเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน แต่ยังมีรพ.ชุมชนอีกจำนวนมากในภาคตะวันตก ภาคใต้ ภาคตะวันออก ที่ยังไม่มีนักกายภาพบำบัด ในรพ.ชุมชนที่มีนักกายภาพบำบัดอยู่แล้วก็คงยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องการเพิ่มขึ้นอีก แต่ก็ไม่น่าห่วงเท่าที่ๆไม่มีนักกายภาพบำบัดเลย เพราะถ้าเขาเริ่มมีการจ้างนักกายภาพบำบัด เชื่อว่าเขาจะอยากจ้างเพิ่ม แต่ในที่ๆไม่มีนักกายภาพบำบัดทำอย่างไรจะให้เขาเริ่มจ้าง สปสช.เขารับว่าจะเข้าไปช่วยผลักดันให้เกิดการจ้างงาน PT มากขึ้น อย่างไรก็ตามเราก็ต้องแสดงให้เขา(สปสช., รพ.ชุมชน, อบต. รวมถึงวิชาชีพอื่น)เห็นบทบาทเราให้มากขึ้น ชัดเจนขึ้น โดยพยายามจัดรูปแบบบริการ (Practice model)ทางกายภาพบำบัดที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ยิ่งถ้าเป็นรูปแบบบริการที่ชุมชนมีส่วนร่วมด้วยยิ่งดี จึงขอประชาสัมพันธ์มา ณ โอกาสนี้ให้พวกเราชาวกายภาพบำบัดชุมชน ช่วยกันพัฒนารูปแบบบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการประเมินผล และมีการพัฒนาต่อเนื่อง ในปีหน้าทางสภาฯร่วมกับสมาคมฯ และสปสช.คงได้ร่วมกันจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดรูปแบบบริการทางกายภาพบำบัด เพื่อให้ผอ.รพ.และวิชาชีพอื่นเขาเห็นบทบาทของงานกายภาพบำบัดที่ชัดเจน จึงได้นำเรื่องมาเล่าให้ฟังค่ะ

ปนดา

ถึง PT ชุมชนทุกท่าน

วันนี้ คนภาษาเดียวกันได้ไปร่วมจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มข้าราชการ เราจะมีบทบาทด้านการส่งเสริมสุขภาพหลัง ตรวจร่างกายหลัง สอนสาธิต การออกกำลังกายเพื่อลดปวด พวกเราควรหาแนวร่วมให้ได้ค่ะ นำโครงการไปปรับเปลี่ยนดูนะคะ ถ้าสนใจโครงการ คนภาษาเดียวกันมีให้ค่ะ เพื่อวิชาชีพเราค่ะ ประชาสัมพันธ์วิชาชีพให้มากๆ เดี๋ยวคนอื่นรู้เองค่ะ จาก คนภาษาเดียวกัน

ดีใจที่คนภาษาเดียวกัน เข้ามาร่วมแชร์ประสบการณ์ในการทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพหลังนะคะ ถ้ามีข้อมูลเก็บไว้เยอะๆ ก็นำมาวิเคราะหดูบ้างก็ดีนะคะ เผื่อจะได้องค์ควมรู้ใหม่ๆ ที่จะไดนำไปพัฒนางานได้ค่ะ ถ้ามีอะไรอยากให้อาจารย์ช่วย ก็ยินดีนะคะ ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์นะคะ

ปนดา

ไม่ทราบว่ากายภาพบำบัดโขงเจียมได้รับสื่อ CD เกี่ยวกับเรื่องเลิกบุหรี่ ที่อาจารย์ส่งไปให้หรือยังคะ

มีใครอยากได้สื่อเกี่ยวกับการลด ละ เลิก บุหรี่ อีก ก็ขอมาได้นะคะ

ปนดา

ขอประชาสัมพันธ์หน่อยนะคะ

"สภากายภาพบำบัดร่วมกับ สปสช." ขอเชิญนักกายภาพบำบัดและผู้ที่สนใจงานกายภาพบำบัดภายในโรงพยาบาลชุมชน เข้าร่วมประชุมสัมมนาเกี่ยวกับลักษณะงานและโรงพยาบาลชุมชนที่มีความสนใจจะเปิดตำแหน่งงานทางกายภาพบำบัด ในวันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 -16.00 น. ที่คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมประชุมสัมมนา”

ขอให้พี่น้องช่วยกันส่งข่าวบอกนักกายภาพบำบัดที่กำลังอยากไปบุกเบิกงานในรพ.ชุมชนที่ยังไม่มีนักกายภาพบำบัด ไปเข้าร่วมนะคะ เพราะทางสปสช.ทำหนังสือเชิญรพ.ชุมชนมาช้อปปิ้งตลาดแรงงานกายภาพบำบัดเลยในงานนี้ นักกายภาพบำบัดคนไหนยังไม่เข้าใจว่างานกายภาพบำบัดชุมชน ต้องทำอะไร อย่างไรบ้าง ก็จะได้ฟังรุ่นพี่ๆ ที่เขามีประสบการณ์ดีๆ มาเล่าให้ฟังด้วย

โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนากำลังคนนักกายภาพบำบัดในระบบบริการปฐมภูมิด้วยค่ะ

ปนดา

ไชโย!!พี่สมใจตอบคำถามนักกายภาพบำบัดภูธรแล้วค่ะ เกี่ยวกับโครงสร้างงานกายภาพฯในรพช.

เรียนอจ.ดา

โครงสร้างในรพช.งานกายภาพบำบัดขึ้นตรงต่อฝ่ายบริการทางการแพทย์ซึ่งในแท่งเดียวกันมีเภสัช เทคนิคการแพทย์ รังสี ปัญหาคือน้องในรพช.ส่วนใหญ๋เป็นลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถเป็นหัวหน้างานำได้เพราะเซ็นหนังสือไม่ได้ ทางโรงพยาบาลจึงไปฝากไว้กับฝ่ายต่างๆซึ่งไม่เหมือนกันเช่น ฝากไว้กับฝ่ายการพยาบาล เภสัช เทคนิคการแพทย์ บางแห่งขึ้นตรงต่อผอก.หรือรองฝ่ายการแพทย์

ขออภัยที่ตอบช้า

พี่สมใจ

ได้รับเรียบร้อยแล้วค่ะ อาจารย์ ขอบพระคุณมากๆๆๆๆๆๆๆ

เป็นสปอตทีวีรณรงค์ สปอตวิทยุรณรงค์ เพลงรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ชาวชนบท...งดบุหรี่ สื่อการสอนหรับเด็กประถม พิษภัยของบุหรี่และวิธีเลิกสูบบุหรี่ฯ ทั้งหมด หกแผ่นค่ะ ขอบพระคุณอย่างแรง!!!! เด๋วจะช่วยประชาสัมพันธ์ รพ.อื่นด้วยค่ะ

นักกายภาพบำบัดภูธร

จากการประชุมเครือข่ายนักกายภาพบำบัดชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการตกลงกันจัดทำเสื้อกราวน์ประจำรุ่นและเพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงและกำลังใจระหว่างพวกเราชาวพีทีเอง โดยมีการลงความเหนว่าโลโก้ของสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยน่าจะนำมาใช้ จึงอยากเรียนถามอาจารย์ว่าพวกผมสามารถใช้ได้เลยหรือต้องสมัครเปงสมาชิกสมาควก่อนหรือว่าจะเปงกฎหมายอารายหรือป่าว แต่พวกเรารักและอย่างให้คนรู้จักวิชาชีพของเราจิงๆนะครับ ขอให้อาจารย์เสนอข้อคิดเหนหรือให้คำตอบด้วยนะครับ ขอบคุนครับ

นักกายภาพบำบัดภูธร

วันนี้ผมได้ไปประชุมเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (พี่พยาบาลชวน)มีการพูดถึงงานกายภาพบำบัดในสาขานี้อยู่บ้างเล็กน้อย อยากให้เรามีการรณรงค์และเผยแพร่งานกายภาพบำบัดในผู้สูงอายุให้มากๆ เพราะแนวโน้วจะมีมากขึ้น

อาจารย์ได้ส่งต่อคำถามไปยังสมาคมกายภาพให้แล้ว คิดว่าคงได้คำตอบเร็วนี้ค่ะ

เรื่องเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญมากในการดูแล เพราะเราจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมากในอีก 10 ปี ข้างหน้าค่ะ

ปนดา

สวัสดีคับ

เมื่อไรจะได้เรียนกับอาจารย์อีกคับ

เรียนแล้วสนุกดีคับ

แต่อยากให้เน้นรายละเอียดในบางหัวข้อนิดนึงคับ

*-*

คืออยากจะแสดงความคิดเห็นต่อ กายภาพบำบัดดังนี้ครับ งานกายภาพบำบัดในไทยนั้นก็มีมานานพอสมควร และผมเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในระบบงานนั้น และระบบงานอื่นด้วย กายภาพบำบัด จัดอยู่ในกลุ่มงาน conservative ปลายเส้น เมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่น ที่สามารถ ทำ invasive ได้นั้น ความจำเป็นของตัวบุคคลจึงดูน้อยไปทั้งๆที่เราศึกษา cover ทั้ง ตรวจและรักษา แต่ที่ทำให้ความสำคัญของเราตกไปคือวิชาชีพเราสามารถเป็นตัวแทนได้ง่าย ยกตัวอย่างเราสามารถสอนญาติผู้ป่วยอัมพาตให้ทำแทนได้ในการแพสซิฟหรือแม้แต่การฝึก ฟังชันฝึกควอลิตี้ หลังจากเราสอนเสร็จ ญาติก็สามารถทำแทนเราได้ สวนหนึ่ง แต่เทียบกับวิชาชีพที่ invasive ได้ เช่นการเปลี่ยนสาย NG การเปลี่ยน สายปัสวะ การเจาะเลือด การ อินวาซิฟต่างๆ ซึ่งไม่สามารถใช้ตัวแทนได้ บุคลากรด้านอินวาซิฟจึงดูเหมือนจำเป็น กว่า ในแง่ของตัวแทน เมื่อดูเหมือนจำเป็นกว่า ตำแหน่งงานที่ผู้มีอำนาจจะจัดให้ก็จะน้อยตามไป และนักกายภาพส่วนใหญ่ก็จะ ให้เหตุผลต่อผู้บริหารว่ายังไม่รู้จักวิชาชีพเรา แต่หลักในการบริหารงาน เค้าไม่ได้ฟังจากผู้ให้เค้าฟังจากผู้รับ จึงเป็นเหตุให้งานกายภาพบำบัดเกือบส่วนใหญ่ เป็นลูกจ้างชั่วคราว เพราะไม่มีก็ไม่ได้ ใครจะทำ ละครับ สาเหตุประการที่ 2 ที่ทำให้เราได้รับการยอมรับไม่ดีเท่าที่ควรคือ ผลการรักษาของเรามักจะช้าเสมอ ที่ผมพูดแบบนี้ไม่ได้แปลว่าเร็วไม่มี มันก็มีแต่น้อย การบำบัดเกือบทุกชนิด ต้องใช้ององประกอบด้านเวลาเสมอซึ่งเมื่อผลการรักษามันช้า ก็ทำให้ ความสำคัญของเราที่น้อยน้อยลงไปอีก ต่างจากการรักษาแบบอินวาซิฟที่ให้ผลแบบฉับไว ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ทำให้เราไปไกลไม่ได้แม้มีการบุกเบิกขึ้นมาเป็นวิชาชีพแม้มีการจัดสรรคองประกอบขององกรที่ดี แม้มีโครงการต่างๆออกมา แต่ก็ดูเหมือนการออกโครงการต่างๆนั้นไม่เข้ากับกายภาพบำบัดสักเท่าไหร่ เช่น โครงการเลิกบุหรี่ ในมุมมองหนึ่ง การเลิกบุหรี่มีสองอย่างหลักๆ ที่ทำให้เลิกได้ คือองประกอบด้านจิตใจเกี่ยวกับจิตวิทยา ถ้าส่วนนี้ไม่ได้ผล ก็มาถึงในเรื่องของยาซึ่งถ้ามองตามเนื่องานกายภาพบำบัดนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องก็แค่ตอนทรีทด้านเชส แต่เราเอาโครงการนี้มาออกหน้าออกตา ซึ่งผมคิดเองว่าคงเป็นความเข้าใจผิดอะไรสักอย่างของฝ่ายบริหาร ทั้งหมดทั้งปวงของปัญหาเหล่านี้ ดูเหมือนต้องการการปรับการจูนแต่ คนที่ต้องปรับต้องจูนปัญหาเหล่านี้ บ้างก็เป็นลูกจ้างชั่วคราวทำนานชั่วโครต บ้างก็เป็นลูกจ้างรายวัน มีแต่หน้าที่ขาด สิทและและและโอกาศ ในการแก้ไข ปัญหาเหล่านี้ บางท่านก้หาทางแก้ปัญหานี้ได้ โดยการเรียนต่อเปลี่ยนสายวิชาชีพไป ผมคิดว่า ต่อให้อีกสิบปี มีผู้สูงอายุมากขึ้นอย่างที่มีท่านด้านบนเขียนบอก เราก็ไม่ได้ต่างไปจากตอนนี้มากนักหรอกครับ ตอนนี้ มีเทคโนโลยี่ใหม่ๆอย่า stem cell หรือ ที่ใหม่กว่าอย่าง cell therapy เมล็ดพันธุ์เทคโนโลยี่เหล่านี้จะเติบโตเร็วกว่า งานกายภาพบำบัดในอีกสิบปีแน่นอน ถึงวันนี้ถ้าเราไม่ช่วยกันคิด อินโนเวชั่น ขึ้นมา วิชาชีพเรา ในประเทศไทย คงเป็นดังคำต่อไปนี้ 'คนรู้จักเรามากขึ้น แต่บทบาทเราลดลง' ส่วนเรื่องแนวคิดการพัฒนาเทคโนโลยี่ของกายภาพ ผมขออนุญาตินำมาลงในครั้งหน้า ขอบคุณมากครับ ที่อ่าน จนจบ ปม.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท