แยกความรู้สึกแยกความจริงเชิงสังคม


แยกความรู้สึกแยกความจริงเชิงสังคม แยกอารมณ์และความต้องการ เพื่อให้เห็นว่า โลกใบนี้มีความหลากหลาย ในความหลากหลายไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

วันอังคารที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ ผมใส่เสื้อตัวหนึ่ง ข้างหลังปักลายว่า ไทยรักไทย ให้เลือกเบอร์…… เสื้อตัวนี้มีผู้มีพระคุณให้ผมมาเมื่อปีที่แล้ว ผมเห็นว่าใส่สบายดีก็นำมาใส่บ่อยๆ แต่ในช่วงนี้มีเหตุการณ์ทางการเมืองครุกรุ่นลุกเป็นไฟโชติช่วงอยู่ตลอดเวลา ผมไม่ได้คิดอะไรกับเสื้อตัวนี้ สิ่งที่ผมคิดคือ ผมใส่แล้วสบาย เมื่อใส่เสร็จเดินออกไปหน้าบ้าน ผู้มีพระคุณเตือนผมว่า อย่าออกไปนอกบ้านนะ เดี๋ยวจะเกิดเรื่อง ผมถามว่าทำไมล่ะ ท่านก็ตอบว่า ก็เสื้อนั่นแหละเป็นเหตุ ผมจึงร้องอ๋อ และคิดในใจว่า เราน่าจะแยกกันได้นะว่า เสื้อกับความคิดของคนใส่อาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวกันก็ได้ การประท้วงปัจจุบัน บางคนไม่ได้ไปชุมนุม ไม่ได้หมายว่าเขาไม่เห็นด้วย วิธีการที่จะยืนหยัดความคิดมีหลากหลายวิธีไม่ใช่หรือ ถ้าเราไม่พอใจรัฐบาล เราก็ไปลงคะแนนเสียงช่องที่ไม่ออกเสียงก็ได้ แต่สิ่งที่ผมพบคือ วันนั้นผมไม่ได้ออกไปจากบ้านด้วยเสื้อตัวนั้น ช่วงเย็นผมออกจากบ้านจึงต้องเปลี่ยนเสื้อ เพราะเกรงว่า คนจะมองว่าสิ่งที่มองเห็นนั้นคือเรื่องจริง ผมอาจจะเดือดร้อน ผมเดือนร้อนไม่พอ คนรอบข้างผมก็เดือดร้อนด้วย โอ….ชีวิต

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนาและปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 21747เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2006 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท