การบริหารงานในกองลูกเสือและแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน


ผู้บริหารโรงเรียนและผู้รับผิดชอบกิจกรรมลูกเสือ ควรได้สำรวจข้อมูลลูกเสือ-เนตรนารี แล้วดำเนินการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนลูกเสือ-เนตรนารี ดังนี้

การบริหารงานในกองลูกเสือ

และแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน

การดำเนินการตั้งกองลูกเสือ-เนตรนารี

                ผู้บริหารโรงเรียนและผู้รับผิดชอบกิจกรรมลูกเสือ ควรได้สำรวจข้อมูลลูกเสือ-เนตรนารี แล้วดำเนินการดังนี้

                1. รวบรวมจำนวนลูกเสือ - เนตรนารี แต่ละประเภทดังนี้

                  1.1 ลูกเสือสำรอง ป.1-.4 จำนวน 2-6 หมู่ (หมู่ละ 6-8 คน) กองหนึ่งไม่เกิน 48 คน

                  1.2 เนตรนารีสำรอง ป.1-.4 จำนวน 2-6 หมู่ (หมู่ละ 6-8 คน) กองหนึ่งไม่เกิน 48 คน

                 1.3 ลูกเสือสามัญ ป.5 -.6 จำนวน 2-6 หมู่ (หมู่ละ 6-8 คน) กองหนึ่งไม่เกิน 48 คน

                1.4 เนตรนารีสามัญ ป.5-.6 จำนวน 2-6 หมู่ (หมู่ละ 6-8 คน) กองหนึ่งไม่เกิน 48 คน

               1.5ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ม.1-.3จำนวน 2-6 หมู่(หมู่ละ6-8คน)กองหนึ่งไม่เกิน 48 คน

              1.6เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ม.1-.3จำนวน2-6หมู่(หมู่ละ6-8คน)กองหนึ่งไม่เกิน48คน

                2. เริ่มทำการสอนวิชาลูกเสือ-เนตรนารี ตามหลักสูตรกำหนด

                3. มีผู้บังคับบัญชาที่ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือประเภทนั้น ๆ อย่างน้อยขั้นความรู้เบื้องต้น  1 คน ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับ กับมีรองผู้กำกับอีก 1 คนขึ้นไปเป็นผู้ช่วย

                4. ดำเนินการขออนุญาตโดยกรอกลงแบบคำขอ  ต่อไปนี้ แบบละ 3 ชุด

                                4.1 ..1  ใบคำร้องขอตั้งกลุ่มลูกเสือหรือกองลูกเสือ

                                4.2 ..2  ใบสมัครขอเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

                                4.3 ทำหนังสิอนำของผู้บังคับบัญชา/ผู้ขออนุญาต ส่ง สปอ.

                5. เมื่อได้รับอนุมัติให้ตั้งกองได้แล้ว ให้ทำพิธีเข้าประจำกอง และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติ อย่างต่อเนื่อง        

 

แบบพิมพ์ลูกเสือต่าง ๆ และวัสดุอุปกรณ์ที่กองลูกเสือควรมี

1. สถานที่ฝึกอบรม ทั้งในร่มและกลางแจ้ง

2. ห้องประชุมหรือห้องของลูกเสือโดยเฉพาะ

3. ทะเบียนต่าง ๆ  

                          3.1  ลส.7   ทะเบียนกองลูกเสือแต่ละประเภท

                          3.2  ลส.2   ใบสมัครขอเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

                         3.3  ลส.3   ใบสมัครเข้าเป็นลูกเสือ                 

                         3.4  ลส.4   ใบโอนกองลูกเสือ

3.5    ลส.11 ใบตั้งกลุ่มลูกเสือ                                            

3.6  ลส.12 ใบตั้งกองลูกเสือ                             

3.7    ลส.13 ใบแต่งตั้งผู้บังคับบัญชา                               

3.8  ลส.16 บัตรประจำตัวลูกเสือ

                        3.9  ลส.19 ใบเสร็จรับเงินค่าบำรุงลูกเสือ

4. บันทึกการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือของกลุ่มหรือกองลูกเสือ

5. บันทึกการสอนของผู้บังคับบัญชา

6. บัญชีรายชื่อ

7. แผนภูมิ สื่อ ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของลูกเสือ

8. หีบอุปกรณ์

9. อาวุธสำหรับลูกเสือแต่ละประเภท (เช่น พรอง และไม้ง่าม)

10.บันทึกรายงานการประชุมนายหมู่

11.หนังสือคู่มือต่าง ๆ

12.พระบรมรูป ร.6 , .9 , รูปภาพ BP. ,

13.ธงประจำกองลูกเสือ

14.เชือกสำหรับเรียนเรื่องเงื่อน

15.เชือกมนิลา ขนาด 1 นิ้ว , 1/2 นิ้ว ( สำหรับกิจกรรมผจญภัย)

16.อุปกรณ์สนาม (เช่น เต๊น  ผ้ายาง(กราวชีด) เชือกขนาดต่าง ๆ  เป้สนาม ฯลฯ )

17.ธงประจำหมู่

18.เสาธงลอย สำหรับฝึกภาคสนาม

                                                 ฯลฯ

 

คำสำคัญ (Tags): #scouting for boys
หมายเลขบันทึก: 217058เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2008 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณ tiya มองดูหลานน่ารักมาก อย่าให้หลานกินโดนัสมากน๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท