Superfluidity ทางการเงิน


ช่วงนี้ กระแสแนวคิดทางการเงินของทั้งโลก เริ่มเปลี่ยนทิศ ไหลกลับทิศทาง

แนวคิดอย่างหนึ่ง ที่ครองโลกมาตลอด 30 ปีที่ผ่านมา คือลัทธิบูชา superfluidity ทางการเงิน

superfluid หมายถึงของเหลวที่ไหลโดยไม่มีแรงเสียดทาน สามารถไหลไปมาได้อย่างง่ายดายรวดเร็ว

พอเอามาใช้กับเรื่องเงินๆทองๆ ก็จะหมายถึงการที่เงินทองสามารถมีสภาพคล่อง ไหลเข้าออกที่ต่างๆได้อย่างสะดวก เปลี่ยนรูปแบบไปมาได้ง่าย

ไหลไปตรงไหนแล้ว ต้องสามารถตระหนักรับรู้ได้ทันควัน

ตัวอย่างที่ผมนึกออก

  • ระบบบัญชีของสถาบันการเงินต้อง mark-to-the-market กับมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุน
  • ตลาดหุ้นรังเกียจหุ้นที่ไม่สภาพคล่อง หาทางเฉดหัวบริษัทออกไปด้วยมาตรการตั้งแง่รังเกียจ เช่น ต้องซื้อขายเฉพาะช่วงเวลาเฉพาะที่กำหนดไว้เท่านั้น
  • กฎระเบียบที่เอื้อให้การไหลของทุนสามารถทำง่ายเพียงปลายนิ้วคลิก
  • การทำ short sale เพื่อเร่งให้เกิดการสุกงอมของราคา คือแทนที่ราคาจะค่อย ๆ ไหลไปเอง ก็มีการติดเครื่องเทอร์โบให้ เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้อีกทางหนึ่ง

แต่แนวคิดเหล่านี้ เริ่มมีสัญญาณว่า เริ่มเปลี่ยน

การเปลี่ยน คงไม่ได้เกิดในวันสองวัน แต่หากวิกฤติการเงินทั่วโลกยืดเยื้อต่อ มาตรการที่ตรงกันข้ามกับแนวคิด superfluidity จะเริ่มถูกงัดมาใช้แบบ "ชั่วคราว" บ่อยขึ้น

ตัวอย่าง

  • หลายวันก่อน ช่วงวันแดงเดือด ที่หุ้นดาวโจนส์ตก และเลือดคนไทยตก เห็นข่าวว่า NYSE มีผู้เสนอให้ใช้มาตรการห้ามทำ short sale
  • มีบางประเทศ เช่น สวิส งัดมาตรการว่า งดใช้ระบบการบันทึกบัญชีแบบ mark-to-the-market "ชั่วคราว"
  • ไทยเคยงัดมาตรการชะลอความเร็วการไหลของเงินทุน (ที่หุ้นตกแรงมากในวันเดียวทำลายสถิติ)

 

หมายเลขบันทึก: 217035เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2008 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

superfluidity ต้องเปลี่ยนมาเป็น supersolidity or superrigidity

ขออนุญาต เป็นนกแซงแซว

สวัสดีค่ะอาจารย์
สถานการณ์เศรษฐกิจยุ่งเหยิงมากนะคะ

สภาพคล่องของสถาบันการเงินใหญ่ๆ ที่อเมริการและยุโรป กำลังประสบปัญหา  เลยกระตุ้นให้นักลงทุนทั่วโลกระบาย หรือลดการถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงออกมา

ซึ่งผลที่เกิดขึ้น ก็คือ แรงเทขายหุ้นอย่างหนักในตลาดหุ้นทั่วโลก เป็นระยะเวลานานต่อเนื่องนับตั้งแต่วิกฤติซับไพร์มได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงไตรมาส 3/2550 มาแล้ว  เหมือนเป็นไข้ตัวรุมๆมานานแล้ว ตอนนี้  ยิ่งไข้ขึ้นหนัก

แม้ทางสหรัฐฯ  จะมีมาตรการออกมา เท่าใด คนก็ยังไม่ค่อยเชื่อมั่นนัก ล่าสุด ตัวเลขผลประกอบการไตรมาส 3 ของพวกสถาบันการเงิน ก็ไม่ดีอีก ตัวเลขการค้าปลีกก็ตกลงไป

ดูๆแล้ว ไม่ค่อยน่าสบายใจนัก
ตอนนี้ สภาพคล่องและเงินสดเป็นสิ่งที่สถาบันการเงินทุกแห่งแสวงหา พร้อมๆกันเลยนะคะ
คิดเอาเองว่า อะไรๆ ก็อาจจะดีขึ้น เมื่อตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ ได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้วเท่านั้น
 อาจารย์คิดว่า อย่างไรคะ

P ภูสุภา

  • ฮึ ฝากไว้ก่อน

 

 

P  Sasinand

 

ผมคิดว่า จะเป็นเพียงการ "เปลี่ยนเรื่องเล่น" ธรรมดาครับ

หมดเรื่องนี้ ก็จะไปเข้าเรื่องอื่น มีเรื่องอื่นมา panic ได้เสมอ ช่วงไหนถี่ ช่วงไหนห่าง แล้วแต่ยุค ยุคนี้ก็ถี่หน่อย

โลกส่งสัญญาณบอกว่า "เต็มกลืน" แล้ว ด้วย global warming ซึ่งที่มา ก็มาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ "เกินพอดีไปเยอะ"

กิจกรรมที่เกินพอดีนี้ ตัวชี้วัดก็คือตลาดอนุพันธ์ทั้งโลกรวมกัน ใหญ่กว่าเศรษฐกิจที่แท้จริงจะรองรับได้ และเศรษฐกิจที่แท้จริง ก็โตกว่าการตอบคำถามพื้นฐานเรื่องปัจจัยสี่ไปเยอะ

ธรรมชาติของตราสารอนุพันธ์คือการทวีให้เห็น "ของจริง" ให้ขยายกว่าเดิมด้วย leverage factor

อย่างเช่น หากซื้อ long หรือ short position ของ set index future ได้ โดยใช้เงินเพียงนิดเดียวของมูลค่าที่เป็นไปได้เต็มตามสัญญา ทำให้หาก set index เปลี่ยน สถานะที่ถืออยู่ ก็จะเปลี่ยนเร็วกว่า set index นับสิบเท่า วันไหนดัชนีเปลี่ยนแรง ๆ คนที่ย่ามใจเล่นเกินกำลัง มักต้องโดนบังคับขายแบบ force sell ตามมา ก็เป็นการที่ฟองสบู่ลูกเล็กแตก

แต่หากเป็นรายใหญ่ยักษ์ล้ม ผลก็จะเป็นอีกเรื่องแล้ว

การ"สะดุด" ของระบบการเงินด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม จะทำให้เกิดการล้มเป็นโดมิโนเสมอ

วิกฤติบ้าน เป็นกรณีตัวอย่างที่เป็นไปได้หนึ่งเท่านั้น

global warming ยังไม่ประทุเลยนะครับ

เรื่องระเบิดประชากรศาสตร์ก็เป็นอีกเรื่อง (สังคมชราภาพ) ที่ผ่านมา ยังเป็นเรื่องภายในของบางประเทศเท่านั้น แต่ต่อไป จะเป็นกันมากขึ้น

แถมประวัติศาสตร์สอนว่า หลังวิกฤติเศรษกิจระดับโลก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ จะแย่ลงมาก เป็นสิ่งที่จะตามมา ส่วนหนึ่งคือนักการเมืองแก้ปัญหาภายในไม่ได้ ก็จะหาเรื่องทำสงครามกับเพื่อนบ้าน เพื่อให้ลักธิชาตินิยมเป็นกาวยึดให้คนเห็นตัวเองเป็นผู้นำต่อไป ตัวอย่างก็เห็น ๆ อยู่ไม่ไกล คงไม่ต้องขยายความอีก หรือประเทศที่แข็งแกร่งทางทหาร อาจมองว่ามีวิธี "การค้าที่ไม่ต้องลงเงิน" แบบใหม่ ที่ล้วงจากประเทศอื่นโดยสงคราม ก็มีให้เห็น แม้ยุคปัจจุบัน

เป็นฟองสบู่ซ้อนฟองสบู่ จะให้ไว้ใจเต็มร้อยว่าไม่ประทุแตก ผมไม่เชื่อ เพียงแต่ไม่คิดว่า จะมาแตกพร้อมกัน น่าจะทะยอยแตกไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่ยังมีเหตุปัจจัยอยู่

แต่ผมก็ไม่ได้หดหู่เพราะตรงนี้ แม้ความรู้สึกจะมองแง่ร้าย แต่ผมใช้เหตุผลในการตัดสินใจครับ ไม่เอาความรู้สึกของตัวเองมาเกี่ยว เป็นเรื่องของการ "make believe"

 

ละเมอมาอ่านคำตอบ อีกรอบ

สงสัยทำให้หลับยากส์ขึ้น ;P

ค่ะ อาจารย์อธิบายเห็นภาพเลยค่ะ ปัญหา leverage คือ ปัญหาหลัก ของวิกฤติการเงินครั้งนี้ ทุนน้อย กู้มาก สัดส่วนทุนต่อสินทรัพย์สูงเกินไป
ที่ Bank of America และJP สามารถยืนอยู่ได้เพราะ Leverage ต่ำ จริงๆ AIG ก็ Leverage ต่ำ แต่เพราะไป credit default swap มากเกินไป เลยแย่  ตั้ง 300,000 กว่าล้านเหรียญ
มีchart ข้อมูลที่แสดงการ over leverage ของธนาคารในยุโรปหลายประเทศ เช่น ที่ประเทศไอซแลนด์ เป็น 800% ของGDP เลยทำให้รัฐบาลเข้ามายึดธนาคารไปแล้ว (ไม่สามารถแสดงchartได้ เจ้าของเขาไม่ให้ค่ะ)
ก็เป็นอุธาหรณ์ให้คนทั่วไปด้วยนะคะ ว่า ไม่ให้เกินตัว มีเงินตัวเองนิดเดียวแต่กู้มากนี่ มีสิทธิ์เจ๊งได้ทุกเมื่อ เศรษฐกิจพอเพียงๆๆดีที่สุดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท