ประเพณีไหลเรือไฟ บุญออกพรรษา เดือนสิบเอ็ด จังหวัดนครพนม


งานประเพณีไหลเรือไฟ หรือ เฮือไฟ (ในภาษาท้องถิ่น) เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ติดลำน้ำ เช่น แม่น้ำมูล – ชี แม่น้ำโขง

"งานประเพณีไหลเรือไฟ หรือ เฮือไฟ (ในภาษาท้องถิ่น) เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ติดลำน้ำ เช่น แม่น้ำมูล ชี - โขง"

 

  ฟพระฤกษ์ และเรือไฟของมหาวิทยาลัยนครพนม (ก่อนจุด) สิ่งที่ปรทับใจมากๆ คือ ขันดอกไม้ (ขันหมากเบ็ง) ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวบ้านจะทำขึ้นมาเพื่อวางไว้ในเรือไฟ ก่อนที่จะนำเรือไปไหลที่แม่น้ำ นอกจากดอกไม้แล้วก็ยังมีกล้วยที่เป็นอาหารหวาน และอาหารคาว

 

บรรยากาศยามเย็น ระหว่างรอให้ถึงเวลาไหลเรือไป มีทั้งคนเตรียมงาน และผู้คนที่มาเที่ยวงาน

  

บรรยากาศค่ำคืนวันงานไหลเรือไฟ ปกติจังหวัดนครพนม ไม่ค่อยมีบรรยากาศแบบนี้ให้เห็นมากนัก เนื่องจากเป็นเมืองเล็ก และเงียบสงบ วันนี้จึงเป็นภาพที่แปลกตาพอสมควร

แก๊ง หนุ่ม-สาว (อาจารย์ทั้งน้านนน) ต่างคนต่างก็พึ่งมาอยู่นครพนม ดังนั้นความ amazing ในสิ่งที่เห็นย่อมส่งผลต่อความเบิกบานของจิตใจ ดูได้จากรอยยิ้มแต่ละคนสิ ถึงแม้จะต้องทำงานเหนื่อย แต่ก็หาเวลามาฉีกยิ้มกันจนได้

อยากจะบอกว่า ภาพถ่ายที่ถ่ายด้วยกล้องประจำตัวของดิฉัน ไม่สวยสู้ภาพถ่ายที่เก็บลงในใจได้เลย

ภาพพระจันทร์ดวงโต ลอยเหนือลำน้ำโขง ภาพกระทงสาย ที่ลอยเป็นสายกลางลำน้ำโขง และภาพเรือไฟที่ถ่ายทอดเรื่องราว ประวัติศาสตร์เพื่อสื่อสารให้ผู้คนสองฝั่งโขงได้ชม และตระหนักคิด สวยงามมาก มากเกินกว่าที่จะใช้กล้องรุ่นใดๆ หรือยื่ห้อใหนๆ เก็บภาพเหล่านั้นได้ เท่ากับใช้สองตา และหนึ่งดวงใจเก็บภาพเหล่านั้นไว้

โอกาสหน้า แวะมาชมนะคะ

.................................................

 

สองฝั่งโขงนครพนม ณ เดือนสิบเอ็ด  เป็นเดือนที่หลายจังหวัดในภาคอีสานจัดงานออกพรรษาที่ยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการแห่ปราสาทผึ้ง จังหวัดสกลนคร บั้งไฟพญานาค จังหวัดหนองคาย หรือการไหลเรือไฟ ของจังหวัดนครพนม ไม่เพียงแต่ภาคอีสานเท่านั้นหรอกที่มีกิจกรรมดีดีในวันออกพรรษาเดือนสิบเอ็ด จังหวัดอื่นๆ ในแถบภาคกลางก็มีกิจกรรมการตักบาตรเทโว ตักบาตรดอกไม้ รวมถึงการตักบาตรลูกกวาด ทุกอย่างล้วนเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกหลายอย่างรวมอยู่ในหนึ่งเดียว ทั้งศาสนา ครอบครัว ชุมชน เพื่อผสานให้เป็นหนึ่ง

 ประวัติ / ความเป็นมา

          งานประเพณีไหลเรือไฟ หรือ เฮือไฟ (ในภาษาท้องถิ่น) เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ติดลำน้ำ เช่น แม่น้ำมูล ชี แม่น้ำโขง เป็นต้น การไหลเรือไฟในภาคอีสานนั้นเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงมีมาก่อนที่พุทธศาสนาจะเผยแพร่มาสู่ประเทศไทย เพราะสมัยก่อนกษัตริย์ไทยยังยึดถือพิธีพราหมณ์อยู่ โดยได้รับอิทธิพลมาจาก อินเดีย สมัยที่นำอารยธรรมเข้ามาเผยแพร่ในแถบสุวรรณภูมิ ดังพบว่าประเพณีงานบุญโดดเด่นที่จัดขึ้นในภาคอีสานมักเกี่ยวโยงหรือผูกพันกับเรื่องของไฟเกือบทั้งสิ้น เช่น งานแห่เทียนเข้าพรรษา บุญบั้งไฟ พิธีไหลเรือไฟ เพราะมีความเชื่อว่า ไฟเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า เทพอัคคี มีฐานะรองจากพระอินทร์ สามารถเผาผลาญสิ่งชั่วร้ายและขจัดความทุกข์ยากให้ดับสลายไปได้

จังหวัดต่างๆ ที่มีการจัดประเพณีไหลเรือไฟ เช่น จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดเลย จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ มักจัดขึ้นคล้ายคลึงกัน แต่ก็แตกต่างกันในด้านคติ ความเชื่อ จังหวัดหนองคาย มีความเชื่อว่า เป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ที่ริมฝั่งน้ำนัมทานที ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวว่า ครั้งที่พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปแสดงธรรมในพิภพของนาคใต้เมืองบาดาล เมื่อพระองค์เสด็จกลับทางฝ่ายพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งน้ำนัมทานที  พระองค์จึงได้ประทับรอยพระบาทไว้ ณ หาดทรายริมน้ำตามประสงค์ของพญานาค ซึ่งรอยพระบาทที่ประทับไว้นี้ ไม่เพียงแต่เป็นที่เคารพสักการะของเหล่าพญานครเท่านั้น ยังเป็นที่เคารพของเหล่าเทวดาและมนุษย์ด้วย จนแสดงออกด้วยการไหลเรือไฟบูชารอยพระพุทธบาทของพระองค์

ความเป็นมาของการจัดประเพณีไหลเรือไฟ

เสฐียรโกเศศ ได้เขียนไว้ในหนังสือวัฒนธรรมและประเพณี อ้างตามคำบอกเล่าของพระเถระรูปหนึ่งว่า การลอยกระทงที่จังหวัดหนองคาย เมื่อกลางเดือน 11 ชาวคุ้มวัดต่างๆ จะร่วมกันสร้างเรือนบนตันกล้วย เอาไม้เสียบเรียงขนานกันเป็นทุ่นใช้ผ้าชุบน้ำมันยางมัดติดปลายไม้ หรือใช้ไต้เรียงเป็นระยะๆ แล้วช่วยกันเอาเชือกลากออกไปกลางกระแสน้ำ จุดไฟปล่อยไปในเวลากลางคืน เรียกว่า ไหลเรือและเมื่อลอยไปแล้วมักจะถูกคนที่อยู่ใต้กระแสน้ำเก็บเอาไต้ที่จุดไปเสีย ทำให้กระทงที่ดูสว่างไสวสวยงามนั้นลอยอยู่ในน้ำไม่ได้นานหลายครั้งหลายหนเข้า ผู้ร่วมมือร่วมแรงกันประดิษฐ์กระทงเรือก็หมดกำลังใจ ทำให้การไหล(เรือ)เฮือไฟซบเซาไป และมาหยุดชะงัก เมื่อปี 2518 เมื่อประเทศลาวมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อันเป็นผลกระทบทางด้านการเมือง

กำหนดงาน           จัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา ระหว่างขึ้น 15 ค่ำ ถึง วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11

กิจกรรม / พิธี

          การทำเรือไฟในอดีตนั้น ทำด้วยไม้ไผ่และต้นกล้วย ยาวเพียง 5-6 วาเท่านั้น ความสูงไม่เกิน 1 เมตร และเป็นรูปเรือธรรมดา ทำราวไว้สองข้าง เพื่อวางขี้กะไต้ ตะเกียง หรือโคมไฟ มีการจัด ข้าวปลาอาหาร ขนมนมเนย ฝ้ายไน ไหมหลอด เสื่อผืน บรรจุไว้ข้างใน พอเวลาประมาณ 5 โมงเย็นจะเริ่ม ทำพิธีโดยนิมนต์พระมาสวดและหลังการรับศีล ฟังเทศน์ ไหว้พระเรียบร้อยแล้ว จึงให้ญาติโยมตกแต่งเรือด้วยดอกไม้ธูปเทียนที่ถือไปบำเพ็ญกุศลนั่นเอง พอย่ำค่ำก็นำเรือไฟออกไปกลางแม่น้ำโขงแล้วจุดไฟปล่อยให้เรือไหลไปตามลำน้ำส่งแสงระยิบตาเลยทีเดียว

ต่อมาการทำเรือไฟมีวิธีตกแต่งให้วิจิตรพิสดารมากยิ่งขึ้น รู้จักนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประกอบทำให้สามารถดัดแปลง เรือไฟให้มีรูปร่างแปลกตาออกไปอีก ทั้งพระภิกษุ สามเณร ชาวบ้านแต่ละคุ้มวัดจะเตรียมจัดทำเรือไฟไว้ล่วงหน้าหลายวัน โดยนำเอาต้นกล้วยทั้งต้นมาเสียบไม้ต่อกันให้ยาว หลายวา วางขนานกันสองแถว กว้างห่างกันพอประมาณ แล้วนำไม้ไผ่เรียวยาวมาผูกไขว้กันเป็นตาราง สี่เหลี่ยมมีระยะห่างกันคืบเศษวางราบพื้น มัดด้วยลวดให้แน่นและแข็งแรง เพื่อรอการออกแบบภาพบนแผงผู้ออกแบบแสดงความคิดสร้างสรรค์อย่างสวยงามที่สุด เช่น ประดิษฐ์เป็นเรื่องราวตามพระพุทธประวัติหรือสัตว์ในตำนานบ้างเป็นพญานาค ครุฑ หงส์ เป็นต้น แล้วนำไปปักติดเป็นเสาบนแพหยวกกล้วย

          ในอดีตเชื้อเพลิงที่ใช้จุดไฟนั้นใช้น้ำมันยางตระบอกขี้ผึ้งสีน้ำมันพร้าว, น้ำมันสน, น้ำมันยางที่เจาะสกัดจากต้นยาง ตะแบกชาด แล้วเอาไฟลนไม้ให้น้ำมันไหลออกมา แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันดีเซล บรรจุในขวดน้ำดื่มต่างๆ แล้วนำมาแขวนตามโครงเรือ ซึ่งต้องอาศัยการคำนวณที่แม่นยำ เพราะถ้าติดกันมากเกินไปจะทำให้เรือไหม้ไฟได้ ส่วนโครงเรือเป็นไม้มีขนาดใหญ่ และเน้นความวิจิตรตระการตา เมื่อปล่อยเรือไฟลงน้ำโขงแล้ว จะมีความวิจิตรตระการตา สว่างไสวไปทั่วริมฝั่งแม่น้ำโขง อวดโฉมระยิบระยับ มีฉากหลังเป็นสีดำจากท้องฟ้าในยามค่ำคืน และแสงที่สะท้องจากท้องน้ำเพิ่มความงดงามมากยิ่งขึ้น

ก่อนที่จะมีการไหลเรือไฟ ในช่วงเช้าจะประกอบการกุศลด้วยการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร และเลี้ยงดูกัน ตกตอนบ่ายก็ตกแต่งเรือและมีการเล่นสนุกสนานต่างๆ ตอนเย็นมีการสวดมนต์รับศีลและฟังเทศน์ พอตอนค่ำระหว่าง 19.00-20.00 น. จึงนำเรือออกไปลงน้ำและพิธีไหลเรือไฟก็เริ่มขึ้น

แวะมาชมภาพถ่ายนะคะ

หมายเลขบันทึก: 216911เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2008 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • แวะมาดู
  • แวะมาอ่านครับ
  • เสียดายครับ
  • ไม่ได้ไป
  • ผมเป็นคนนครพนมครับ
  • ยินดีที่ได้รูจักครับ

 

ขอบคุณ ครูโย่งค่ะ

กำลังจะเอารูป up ขึ้นให้ดู แวะมาใหม่อีกรอบนะคะ

และยินดีที่ได้รู้จักเช่นเดียวกันค่ะ

สวัสดีค่ะ อ ประจักษ์ และคุณน้ำผึ้งสีชมพู

แวะมาชมภาพสวยๆ นะคพ

  • ภาพสวย ครับ
  • เสียดายไม่ได้ไป
  • ปิดเทอมเดี่ยวจะไปเยี่ยมที่ ม.นครพนม
  • อิอิ

ครูโย่งค่ะ

ตอนนี้ก็ปิดเทอมแล้วเด้...

จอรอปิดเทอมตอนใหนอีกน้อ

สวัสดีกาเหว่า

ไปมาเมื่อปีก่อนครับ ไปแบบแบกเป้ฉายเดี่ยว ขึ้นรถโดยสารไปากมุกดาหาร (ลืมตัวนึกว่าตัวเองยังหนุ่มๆ) ลูกน้องคนขับรถเขาจะไปส่งก็ไม่เอา

พอไปถึงพบว่าของเขาอลังการงานสร้างจริงๆ โรงแรมที่จองไว้ก็ไม่ได้โทรยืนยัน ต้องนั่งดูหมอลำโต้รุ่งจนแจ้ง

พี่รู้สึกขัดใจกับบริเวณที่เขากั้นไว้แล้วตั้งโต๊ะขายบัตรขายอาหาร รู้สึกว่าจะกินพื้นที่มากไปหน่อย ชาวบ้านอื่นๆ(รวมถึงพี่ด้วย) ต้องแออัดเบียดเสียดกัน

น่าจะกั้นที่ให้แคบลง เอาเป็นแบบที่นั่งชมเฉยๆไม่จำเป็นต้องทานอาหารไปด้วย

จะได้แบ่งๆที่ให้ชาวบ้านเขาชมบ้าง

แต่ต้องยอมรับว่างานไหลเรือไฟที่เมืองนครเขายิ่งใหญ่จริงๆครับ


  • โอโห น้องกาเหว่า
  • ไหนว่าภาพไม่สวย
  • ภาพใช้ได้เลย
  • มาเล่าอีก
  • อยากอ่าน
  • ขอตามไปดูภาพก่อนนะ
  • ไหนภาพถ่าย
  • รอดูอยู่
  • ไปแอบดูแล้ว
  • ยังไม่มี
  • อิอิๆๆ

 

  • สวัสดีครับคน..คร..
  • ผมคนหนอง...(คาย)
  • เคยไปทำงานเมืองคอนเกือบปีครับ..
  • แต่จบเกษตรหนองแด..อุดร
  • ปริญาตรี ม.เปิด..
  • คงไม่ได้โทหรือเอกแล้วมั้ง..
  • เห็นภาพไหลเรือไฟแล้วคิดฮอดตอนไปอยู่ดงขวาง..
  • เลยขอสมัครเป็นมิตรรักนักเน็ตน้องกาเหว่าด้วยคน..

เอื้อย

เสียใจอีหลีที่บ่ได้ไป ภารกิจล้นเหลือ

ไปดูมาแล้วคะพร้อมลุกชายและสามี โชคดีมากที่วันนั้นฝนไม่ตก อากาศเป็นใจ เรือไฟและพลุดอกไม้ไฟก็อลังการคะ

อ่านแล้วเหมือนได้ไปร่วมงานเลยครับ

คงจะต้องหาโอกาสไปสักครั้งให้ได้

ขอบคุณมากครับ แล้วจะติดตามอ่านเรื่องต่อไป

เห็นภาพแล้วอยากกลับไปเยี่ยมบ้านจังเลย

คิดถึงบรรยากาศเก่าๆ

ใครมีรูปใหม่ช่วยโพสให้ดูด้วยนะครับ

นานแล้วไม่ได้กลับไปเยี่ยมวิทยาลัย

คิดถึงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท