โรคไข้เลือดออก


ไข้เลือดออก

                                            โรคไข้เลือดออก

 

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณะสุขของประเทศไทยแล้วยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศ          ในเขตร้อนชื้นและก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลือดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้

สาเหตุของไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง

ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือดออกคือ

ไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2-7 วัน

เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย

บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อคได้

 

การรักษา

 

ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1

วิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย

 

กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุง เช่น กะละ ยาง กระป๋อง

หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถังน้ำ

ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ

อาการของโรคติดเชื้อไข้เลือดออก

 

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยหรืออาจจะเกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิต เมื่อหายร่างกายจะมีภูมิต่อเชื้อนั้นตลอดชีวิต ความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นกับอายุ ภาวะภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงของเชื้อ ติดเชื้อไวรัสแดงกิวมีอาการได้ 3 แบบ

                                          วิธีป้องกันไข้เลือดออกที่ได้ผลดี

ภาคครัวเรือนต้องป้องกันโดยการกำจัดแหล่งน้ำที่เพาะพันธุ์ยุง และการป้องกันส่วนบุคคล

ภาคชุมชนจะต้องมีการรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งลูกน้ำในชุมชนอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้งและจะต้องทำพร้อมกันถั่วประเทศโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ

สำหรับชุมชนที่ห่างไกลก็อาจจะต้องใช้อาสาสมัคร

จัดโปรแกรมสำหรับเด็กและครอบครัวเพื่อกำจัดลูกน้ำ

สถานที่และเวลาในการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ส่วนมากจะพบการระบาดในฤดูฝน เกิดจากความถี่ในการกัดและการเจริญเติบโตของไวรัสในตัวยุง ในฤดูฝนมีมากกว่าในฤดูหนาวและฤดูร้อน และพบว่าถ้าพบผู้ป่วยในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนปีใดจะมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มากกว่าปกติในช่วงฤดูฝนของปีนั้นจะเกิดการระบาดดังกล่าว   อ้างใน ประหยัด แดงสุภา  ( 2542 : 16 –20 )

                                                                   

 ระยะไข้สูง

มีอาการไข้ขึ้นสูง 2-7 วัน เบื่ออาหาร อาเจียนออกมามีสีน้ำตาลปนอยู่ ปวดศีรษะไข้ขึ้นสูง 38-40 °c ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ วันที่ 2-3 ผู้ป่วยมักซึมลงหน้าแดง ตัวแดง อาจมีผื่น หรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง 60-90%       

                                                        ระยะฟื้น

อาการทั่วไปดีขึ้น ความดันโลหิตและชีพจรกลับเป็นปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ตับที่โตจะลดขนาดลงภายใน 1-2 สัปดาห์ เริ่มรับประทานอาหารได้ มักมีผื่นแดงที่ขา ปลายเท้า ปลายมือ และมีอาการคัน

อุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออก

เมื่อ คศ 1970มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก

ระบาดเพิ่มมากขึ้นในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออกเป็นโรคประจำ

ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ประชากรประมาณ 2500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ  

ลักษณะของยุงลาย

ยุงลายเป็นยุงขนาดเล็กสีดำ มีลายขาวสลับดำตามขาและลำตัว ยุงลายจะออกหากินในเวลากลางวัน ยุงลายจะไข่ในน้ำใสค่อนข้างสะอาด ซึ่งขังอยู่ตามภาชนะต่าง ๆ เหล่านี้คือ

      1. ตุ่มน้ำกินน้ำใช้ แท้งค์น้ำและภาชนะใส่น้ำที่ไม่มีฝาปิดมิดชิด        
2. ภาชนะใส่น้ำหล่อขาตู้กับข้าว จานรองกระถางต้นไม้ แจกันใส่ดอกไม้ และตู้เลี้ยงปลาที่ไม่ใช้
3. ยางรถยนต์เก่า ๆ กระป๋อง ถังพลาสติกที่ชำรุด กะลา โอ่งแตก ขวดแตก ฯลฯ ที่ทิ้งไว้และมีน้ำขังอยู่

จะกำจัดยุงลายได้อย่างไร

1. ปิดฝาตุ่มน้ำกินน้ำใช้ให้มิดชิดและคอยปิดตลอดเวลา อย่าให้ยุงลายลงวางไข่ได้

2. ใส่ยาฆ่าลูกน้ำ (อะเบท) หรือใส่เกลือประมาณ 2 ช้อนกาแฟลงในถ้วยน้ำหล่อขาตู้กับข้าว เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายหรือเติมน้ำเดือดลงไปทุก 7 วัน

3. กระป๋อง กะลา โอ่งหรือไหแตกเป็นแหล่งขังน้ำให้ยุงลายลงไปไข่ได้ ให้นำไปฝังหรือทำลายเสีย

 ยุงลาย

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 215499เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2008 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตำบลผม ปีนี้โดนอย่างหนักเลยครับ เฮ้อ

สนใจการจัดโปรแกรมสำหรับเด็กและครอบครัวเพื่อกำจัดลูกน้ำ

รบกวนหน่อยได้ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท