สรุปบทเรียนชีวิต "การทำงาน การหาเงิน และการเลี้ยงชีพ"


การทำแล้วเกิดผลดีเฉพาะต่อตัวเอง และคนใกล้ชิดเพียงสถานเดียวจึงไม่น่าจะเรียกได้ว่าเป็น “งาน” ที่ควรแก่การยกย่อง

เมื่อสักสองปีที่แล้ว ผมได้พยายามค้นหาตัวเองว่า ตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ในโลกนี้ โดยเฉพาะประเด็นสำคัญที่ว่า

การทำงานคืออะไร และผมกำลังทำงานอยู่หรือเปล่า

โดยผมพยายามค้นหาคำจำกัดความว่า “งาน” คืออะไรกันแน่

เพื่อความแน่ใจว่า “ผมกำลังทำงาน”

เพราะ ผมมีปณิธานว่า “ชีวิตเพื่องาน และงานเพื่อชีวิต”

ถ้าผมไม่ทราบว่า “งาน” คืออะไร ผมย่อมทำและเดินได้ไม่ตรงเส้นทางแน่นอน

หลังจากใช้เวลาคิดมาเรื่อยๆ ตลอด ๒ ปีที่ผ่านมา โดยอาศัยหลายๆ หลักมาผสมผสานกัน

ผมรู้สึกว่า หลักการประเมินผลกระทบ (Impact Assessment) ค่าของคน (อยู่ที่ผลของงาน) และหลักทางกลศาสตร์เป็นคำจำกัดความที่น่าจะสื่อความหมายได้ดีที่สุด

เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางความคิดในทางสังคมปัจจุบัน

โดยเฉพาะ หลักการทางกลศาสตร์ ที่กล่าวว่า

“งาน คือ แรง(ที่ออก) x ระยะทาง (ตามทิศทางของแรง)”

ฉะนั้น ถ้าออกแรงไปทางหนึ่ง แต่มีการเคลื่อนที่ไปอีกทางหนึ่ง อาจเกิด “งาน” แต่ไม่นับว่าเป็น “ผลงาน” ของการกระทำครั้งนั้น

แต่ไม่แน่ใจว่าเป็น “ผลงาน” โดยบังเอิญ ได้หรือไม่

แต่ถ้าเกิดโดยบังเอิญแล้ว ผู้กระทำก็ไม่น่าจะมีสิทธิอ้างถึงผลงานดังกล่าวได้ (อันนี้ผมไม่แน่ใจครับ)

ดังนั้นการทำงาน จึงควรเป็นการทำให้เกิด “ผลของงานโดยตรง”

และ ผลของงานนั้นก็ควรจะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม

แต่ถ้า การทำแล้วเกิดผลดีเฉพาะต่อตัวเอง และคนใกล้ชิดเพียงสถานเดียวจึงไม่น่าจะเรียกได้ว่าเป็น “งาน” ที่ควรแก่การยกย่อง

แต่น่าจะเป็นการ “ทำเพื่อตนเอง” มากกว่า

ที่น่าจะเป็นการ “เลี้ยงชีพ” มากกว่าการทำงาน

และ “การเลี้ยงชีพ” ก็น่าจะแตกต่างจากการ “หาเงิน”

เพราะ “เงิน” เป็นเพียงสื่อการแลกเปลี่ยน หาได้เท่าไหร่ก็ “กินไม่ได้ อยู่อาศัยไม่ได้ นุ่งห่มไม่ได้ และรักษาโรคไม่ได้”

จึงเป็นเพียงสื่อการแลกเปลี่ยนของคนที่ “ทำงาน” แบบ “ต้องพึ่งคนอื่น”

แต่อาจจำเป็นน้อย หรือแทบไม่จำเป็นเลย กับคนที่ทำงานแบบพึ่งตัวเอง และพึ่งพากันเอง

เมื่อมาถึงจุดนี้ เราก็คงจะพอแยกประเด็นออกจากกันได้ชัดเจน

ทั้ง “การทำงาน การหาเงิน และ การเลี้ยงชีพ”

แต่ในสภาพความเป็นจริงเราก็อาจจะทำปนๆกันบ้าง

ที่ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร ขอเพียงให้เรารู้ว่า

“กำลังทำอะไร อยู่บ้าง” แบบมี “สติ” ก็น่าจะพอไปได้

เพื่อชีวิตที่มีประโยชน์ มีคุณค่าต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อสังคม และต่อสิ่งแวดล้อม

โดย ทำไปรู้ไปว่า เรากำลังทำอะไร

และสามารถปรับจุดยืนได้ว่า ขณะนี้เรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร

กำลัง “ทำงาน(การทำให้เกิดผลงาน)

กำลัง “หาเงิน(เพื่อให้ได้เงิน)

หรือ กำลังหา “เลี้ยงชีพ” (เพื่อการหาหรือสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์กับชีวิตและร่างกายตัวเอง)

ตัวอย่างเช่น การแค่ไปลงชื่อทำงาน หรือนั่งที่โต๊ะทำงาน โดยไม่ทำอะไรให้เกิดประโยชน์อะไร ย่อมไม่น่าจะเรียกว่า “ทำงาน

หรือ การทำอะไรก็ได้ ให้ได้เงิน ก็ไม่น่าจะเรียกว่า "การทำงาน" (เพราะเงินไม่ใช่งาน) หรือ “การเลี้ยงชีพ”(เพราะเราใช้ตรงๆไม่ได้ เป็นผลได้แบบอ้อมๆ ที่ต้องไปแลกเปลี่ยนก่อน จึงจะใช้ได้ และถ้าไม่มีใครให้แลก เราก็เลี้ยงชีพไม่ได้)

นี่คือ คำตอบที่ผมได้รับจากการคิดมานานกว่า ๒ ปี ครับ

เพื่อใช้ในการกำหนด “สติ” ในการดำรงชีวิต(เพื่องาน) และการทำงาน (เพื่อชีวิต) ของผมครับ

 ขอเชิญแลกเปลี่ยนได้เลยครับ

มคาดว่าจะช่วยทำให้เราทุกคนชัดเจนมากขึ้นครับ

หมายเลขบันทึก: 214337เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2008 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีคะ อาจารย์

เห็นด้วยกับอาจารย์คะ...คำว่างาน ผลของมันต้องเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง ต่อผู้อื่น ต่อสังคม และต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าคนเราคิดกันแบบนี้ ก็ดีซิคะ...ขอบคุณมากสำหรับข้อคิดดีๆ คะ...

สวัสดีครับ

  • ก่อนการแลกเปลี่ยนขอแถลงก่อนว่า ที่คุยๆว่าจะทำส่งไปให้ ไม่ได้ลืม แต่ยังวุ่นอยู่หลายๆเรื่องครับ
  • เรื่องการทำงาน สำหรับผมส่วนตัวแล้วกำหนดเอาว่า ชีวิตนี้มีไว้ทำ "หน้าที่" ครับ
  • หน้าที่ทั้งนั้นครับ ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ จนถึงเรื่องภารกิจการงานสำคัญทีได้รับมอบหมายจากองค์กรที่เราสังกัดอยู่  เรียกว่าทุกอย่างที่ทำล้วนเป็นการปฏิบัติหน้าที่ครับ
  • แต่เพื่อไม่ให้สับสนก็มีกรอบของมันเหมือนกัน  ได้แก่ หน้าที่ต่อตัวเอง ต่อบุคคลอื่น ต่อองค์กร ต่อสังคม ต่อโลก และต่อสรรพสิ่งที่แวดล้อมตัวเราอยู่ เป็นต้น
  • หลายครั้งมันคลุกเคล้ากันอยู่ ก็ยอมให้มันเป็นไป เช่นทำน้าที่สื่อสารให้ความรู้แก่ผู้คน แล้วเขาก็เรียกร้องให้เราทำอะไรด้วยฝีมือและความรู้ของเรา สุดท้ายก็กลายเป็นผลประโยชน์เล็กๆน้อยๆกลับมาหล่อเลี้ยงชีวิตเราด้วย  แต่เรื่องนี้ผมโชคดีที่มีแรงต้านจากภายในสูงที่จะไม่เอาเปรียบผู้คน .. จึงค้นพบตลอดมาว่ามักจะเป็นฝ่ายให้มากกว่ารับ .. ดูเหมือนจะคุยโม้ แต่ขอยืนยันว่าเป็นจริง และมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมากมาย
  • การทำหน้าที่ทั้งหลายโดยมองออกนอกตัว เล็งประโยชน์ผู้อื่น หรือคนหมู่มากเข้าไว้ หากทำไปจนชินก็จะพบว่า ความสุขจากการ ไม่ต้องมี นั้นเบาสบาย และ หาง่าย ยิ่งนัก
  • พอก่อนดีกว่า .. เดี๋ยวจะออกนอกลู่ไปไกลครับ
  • อิ อิ ด้วยครับ
  • ตามมาอาจารย์ Handy มาอ่านเรื่องราวดี ๆ ครับ
  • เห็นด้วยกับข้อความนี้ครับ
  •  การทำอะไรก็ได้ ให้ได้เงิน ก็ไม่น่าจะเรียกว่า "การทำงาน" (เพราะเงินไม่ใช่งาน) หรือ “การเลี้ยงชีพ”(เพราะเราใช้ตรงๆไม่ได้ เป็นผลได้แบบอ้อมๆ ที่ต้องไปแลกเปลี่ยนก่อน จึงจะใช้ได้ และถ้าไม่มีใครให้แลก เราก็เลี้ยงชีพไม่ได้)
  • ขอบคุณครับ

 

ขอบพระคุณครับ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยน

หน้าที่ และการงานนั้น ผมว่ามีส่วนเหลื่อมกันสูงมาก

แต่....

จะมีไหม ที่"บางคน" ทำนอกหน้าที่ หรือ เกินหน้าที่ หรือ น้อยกว่าหน้าที่

หรือ ทำตามหน้าที่จริงๆ แต่ไม่เกิดงาน หรือผลงานที่ควรจะเป็น

และการหาเงินนั้น เป็นหน้าที่ไหม...

น่าคิดนะครับ

หรือ การหาเงิน กับการเลี้ยงชีพ มันเหลื่อมกันพอสมควร

บางคนยังคิดว่าเป็นเรื่องเดียวกันเสียอีก

มีอะไรจะขยายต่อไหมครับ

อิอิ

"การอยู่เพื่อคนที่เรารัก คือการอยู่อย่างมีคุณค่าที่สุด"

คำที่ผู้เฒ่า และพี่จะสอนน้องอย่างยอกล้อว่า "งานคือเงิน เงินคืองานบันดาลสุข"

ตัวผมเองคิดว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน เห็นด้วยว่า เงินไม่ใช้ได้โดยตรง แต่ผมคิดว่ามันเป็นผลต่อเนื่องกันกับ "งาน" และก็ "เลี้ยงชีพ" เพราะสังคมตั้งเงื่อนไขว่าเมื่อเจ้าต้องการสิ่งหนึ่ง ก็ต้องยอมแลกด้วยสิ่งหนึ่ง

หากว่าสังคมตัดคำว่า "เงิน" สนใจแต่ "งาน" และ "การเลี้ยงชีพ" ผมคิดว่าสังคมมันคงไม่เดือดร้อนขนาดนี้ คงจะน่าอยู่กว่านี้นะครับ สุดท้ายก็จะเห็นบรรยากาศเก่า ๆ ของชุมชนช่วยเหลือกัน เพื่อให้เกิดงาน และผลงานบางอย่าง โดยไม่ได้นำเงินมาเป็นเงื่อนไขในการสร้างผลงาน แต่คงจะไม่เห็นบรรยากาศแบบนั้นอีกแล้วใช่หรือไม่

ขอบคุณครับ

เพิ่มเติมครับ

สังคมปัจจุบัน

คำว่า "งาน" และ "เงิน" + "การเลี้ยงชีพ" ผมคิดต่อว่ามันน่าจะเป็นหนังเรื่องยาวซึ่งไม่มีที่จบสิ้น เพียงแต่ว่า คำทั้ง 3 คำ มันเกิดคนละเวลา เกิดเป็นขั้นเป็นตอนของมัน ซึ่งทุกชีวิต ทุกคนจะต้องเจอะเจอ เนื่องจากสังคมบีบบังคับให้เป็นอย่างนั้น

ครับ

ก็เพราะมันเกี่ยวพันกันนะซิครับ ถึงต้องเขียนให้คนเข้าใจตัวเอง ว่ากำลังทำอะไร เพื่ออะไร ทำไปทำไม

ผมใช้วิธีการนี้ในการวางแผนชีวิตตัวเองครับ

คนที่สับสนน่าจะมีปัญหาในการดำรงชีวิต ทั้งการทำงาน ครอบครัว และส่วนตัวครับ

เช่นบางคน "ทำงาน" จนไม่มีเวลาให้กับตัวเอง และครอบครัว

แล้วที่จริง "บางที" ก็ไม่ได้ทำงานจริงๆ เท่าไหร่ อาจเป็นแค่ "หาเงิน" หรือ "สร้างขยะ" ไปแลกให้ได้เงิน เท่านั้น

คนบางคนที่ผมรู้จัก ก็ "หาเงิน" จนไม่มีเวลาใช้เงิน ไม่ได้งานสักเท่าไหร่ และ "การเลี้ยงชีวิต" ก็เป็นไปอย่างยากลำบาก

แล้วทำไปทำไมกันแน่

และคนเหล่านี้ ก็ไม่ใช่คนเด็กๆ แต่เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของโลก ที่ "ใช้ชีวิต" ที่มีคุณภาพต่ำ

นี่คือส่วนหนึ่งของที่มาของการเขียนเรื่องนี้ครับ

คิดว่าต้องมี"สติ"คะ รู้จักตัวเอง รู้เท่าทันตัวเอง ให้ได้ก่อนคะ และในฐานะที่เป็นคนมีลูกคิดว่า คิดว่าพ่อแม่ต้องปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้อง เรื่อง การทำงาน การหาเงิน การเลี้ยงชีพ ให้ลูกตั้งแต่เล็กๆคะ แต่พ่อแม่ต้องหายสับสนในตัวเองแล้วนะคะ ฮา...และเราก็จะเป็นแบบอย่างให้ลุกของเราได้

อ่านไปอ่านมามีอะไรในหัวมากมาย

มากมายจนไม่รู้อะพิมพ์อะไรเลยครับอิอิ

ขอพิมพ์สวัสดีครับแล้วกันครับ^^

ไว้ ความคิดกับความเป็นจริงของผมตีกันเส็จแล้ว

เหลืออะไรค่อยมา สนทนาต่อแล้วกันครับ

ก็แค่ทำตามที่ตัวเองตั้งใจก็พอแล้วครับ

ว่าจะ

ทำงาน

หาเงิน

หรือ เลี้ยงชีพ

 

ก็น่าจะพอ

บางคนทำอะไรก็ได้ขอให้ได้เงิน ยังกล้าพูดอีกว่าทำงาน

บางคนแค่หาเลี้ยงชีวิตตนเองก็ยังพูดว่าทำงาน

ทั้งๆที่ ไม่เห็นมีผลงานอะไร นอกจากได้เงิน และอยู่รอดได้เท่านั้น

ถ้าเรามีสติสักนิดหนึ่ง เราก็คงจะได้ "ทำงาน" กันจริงๆ

ก็เท่านั้นเองครับ

ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานนะครับ

แค่งานยังไม่ทำ จะเอาผลงานมาจากไหน และค่าของคนจะอยู่ตรงไหนละครับ

จริงไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท