ปัจจุบัน


 

 

วงการวิทยาศาสตร์ มิติที่ สี่ คือหน่วยการวัดความ ช้า เร็ว นาน ไม่นาน

นับตามจังหวะ นับมิติ ก็คือเวลา

มิติที่เรามองเห็น สัมผัสได้ คงอยู่ ณ.ตำแหน่งจุดพิกัดหนึ่ง

พอสิ่งที่เรียกว่าเวลา ผ่านไป เราก็จะอยู่อีกตำแหน่งพิกัดหนึ่งแล้ว

ณ.พิกัดเดิมจะไม่มีเรา หรือเป็นอนิจจัง ได้หายไปจากตำแหน่งนั้น

พิกัดนั้นแล้วไม่มีสิ่งใดจะซ้อนทับ หรือเกิดซ้ำได้อีก ถึงเกิดซำ้ ก็จะเกิดได้เพียงใกล้เคียง

หรือเหมือนกัน ก็จะเหมือนเดิมแต่คนละเวลา

 

ความยากในการครองตน ให้สติอยู่กับช่วงเวลาที่ดำเนินไป ณ.ตำแหน่งพิกัด ทั้ง 4 มิติ (กว้าง ยาว สูง เวลา)

คงมีเพียง อริยบุคคลที่ได้ฝึกความคิดจิตใจ ได้เป็นอย่างดี

หรือใครจะฝึกก็ต้องยึดคำสอนที่ว่า"ท่านจงมาดูเองเถิด" ซึ่งเป็นการยากที่จะถ่ายทอดระหว่างบุคคล

สำหรับความยากที่ว่าครองสติ จิตใจให้อยู่มิติที่ดำเนินไปทุก ๆ พิกัดนั้น ให้พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ อยู่กับ "ปัจจุบัน" นั่นเองซึ่งยากตรงที่การดำเนินความคิด สติ ชีวิตการเคลื่อนไหวตัดสินใจนั้น

ทุกวันนี้เราใช้ข้อมูลจากอดีตทั้งนั้น คงไม่มีใครสามารถดึงอนาคตมาเพื่อพิจารณาได้ (เว้นแต่ วิทยาการก้าวถึง มีสิ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงและพาเราไปได้ ไม่แน่..ยกเว้น พระพุทธ ท่านใช้จิตซึ่งเร็วกว่าแสงมองเห็นได้ทั้ง 4 มิติ)

โลกนี้ก็เลยมี วิชาที่เรียกว่า "ประวัติศาสตร์" ขึ้นมาเพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างอนาคต

การดำรงอยู่ของปัจจุบัน คงจิตใจให้มีความคิดปัจจุบัน

คงต้องลดพิกัดของมิติที่สี่ให้แคบลง คือ ไม่พิจารณา หรือคงความคิดจิตใจไว้ที่อดีต หรืออนาคตที่มากจนเกินไป บางคนฝังอยู่กับอดีต บางคนกังวลแต่กับอนาคต มากเกินไป ซ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นบ่อเกิดให้การใช้ชีวิตไม่ได้เป็นอย่างที่เราต้องการ

ในโลกปัจจุบัน สื่อต่าง ๆ ก็เสนอแต่อดีต อันต้องเป็นบทเรียนให้เราพิจารณาเพื่อการดำรงชีวิตต่อให้ดี หรือไม่ให้เขว

เราจึงต้องไม่ยึดติดเพื่อที่จะทำให้จิต ไม่นิวรณ์ มากไปกว่านี้ แต่คงต้องใช้เวลาพอสมควรในการครองตน ให้เป็นอย่างที่นำเสนอกัน 

ครองสติ ให้อยู่ช่วงปัจจุบันที่สุด

ดำเนินแนวทางชีวิตอย่างที่ตนตั้งใจ

ไม่ยึดติด อดีต และ อนาคตมากเกินไป

เท่านี้ ความสุข เบาสบายคงมาเยือนโดยทั่วกัน

 

ภาวะจิด 

 

หมายเลขบันทึก: 214310เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2008 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท