การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)


บทความการวิจัยเชิงคุณภาพ

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)

โดย อาจารย์ ดร. อารีย์วรรณ  อ่วมตานี

 

การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยที่แสวงหาความจริงในสภาพที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ (Naturalistic inquiry)  ซึ่งเป็นการสอบสวน มองภาพรวมทุกมิติ (Holistic perspective)  ด้วยตัวผู้วิจัยเอง  เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่สนใจกับสภาพแวดล้อมนั้น  โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด คุณค่าของมนุษย์  และความหมายที่มนุษย์ให้ต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุบนัย  (Inductive  analysis)

 

กระบวนการวิจัย

 

           

          ปัญหาการวิจัย                                             การวางแผนการวิจัย                                               การวิเคราะห์ข้อมูล

                                                                                - สมมุติฐานการวิจัย                                             

                                                                              - รูปแบบการวิจัย                 

                                                            - เครื่องมือ 

                                                                                -  การเก็บข้อมูล

      การทบทวนวรรณกรรม

      งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                          สรุปผลข้อมูล

     

 

 

 

       ทบ. ที่เกี่ยวกับ                                                                                                                                  ขยายความรู้

       องค์ความรู้ปัจจุบัน                                                                                                                        องค์ความรู้ใหม่

 

 

กระบวนทัศน์การวิจัย (Research Paradigms)

ประเภทของการวิจัย แบ่งตามวิธีการเก็บรวมรวบข้อมูล

1.      การวิจัยเชิงปริมาณ  (Quantitative research)

2.      การวิจัยเชิงคุณภาพ  (Qualitative research)

ความแตกต่างระหว่างกระบวนทัศน์ทางปฏิฐานนิยมและปรากฏการณ์นิยม

 

ลักษณะ

ปฏิฐานนิยม

ปรากฏการณ์นิยม

ความเชื่อพื้นฐาน

- ความจริงเป็นโลกภายนอก และวัดได้ด้วยวัตถุวิสัย (objective)

- ผู้วิจัยเป็นอิสระแยกออกจากสิ่งที่ถูกวิจัย

- ความจริงเป็นเรื่องปราศจากค่านิยม

- ความจริงทางสังคมสร้างขึ้นในความนึกคิดของมนุษย์และเป็นอัตตวิสัย (subjective)

บทบาทนักวิจัย

-มุ่งประเด็นในสิ่งที่มีหลักฐานความจริง (Fact)

- มองในพื้นฐานของเชิงเหตุและผล

- จับแยกสภาพความจริงให้เล็กพอเหมาะกับการศึกษา

- สร้างสมมุติฐานและทดสอบ

- มุ่งประเด็นของความหมาย (Meaning)

- พยายามเข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้น

- มองภาพรวมทั้งสถานการณ์

- ค่อยๆพัฒนาความคิดข้อสรุปจากข้อมูลรูปธรรม

ระเบียบวิธีวิจัย

- ใช้วิธีการเชิงปริมาณ

- สร้างนิยามปฏิบัติการเพื่อวัดได้

- ใช้กรอบทฤษฎีก่อนๆนำ

- ใช้เครื่องมือในการเก็บช้อมูล

- ใช้กลุ่มตัวอย่างมาก

- สถานที่ทำวิจัยใช้ห้องทดลอง

- ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ

- ใช้วิธีการหลายๆวิธีเพื่อสร้างแนวคิดนานาประการเกี่ยวกับปรากฏการณ์

- ไม่ใช้ทฤษฎีนำ ศึกษาจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ

ความน่าเชื่อถือ

- ความตรง(Validity)

  เครื่องมือที่ใช้วัด วัดในสิ่งที่ต้องการวัดหรือไม่

 

- ความเที่ยง (Reliability)

   การวัดให้ผลตรงกันทุกครั้งหรือไม่ (โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ถูกวัด)

 

- การสรุปผลอ้างอิง (Generaliability)

โอกาสของรูปแบบที่ถูกสังเกตในกลุ่มตัวอย่างสามารถนำไปใช้ อ้างกับประชากรทั้งหมดได้มากน้อยเท่าใด

- ความเชื่อถือได้ (Credibility)

  ผู้วิจัยสามารถเข้าถึงและมีความรู้ความเข้าใจในความหมายต่างๆและข้อมูล

- การพึ่งพากับเกณฑ์อื่นๆ (Dependability)  การสังเกตสิ่งเดียวกัน โดยนักวิจัยหลายคนหลายโอกาส -ว่าสอดคล้องกันเพียงใด

- การถ่ายโอนผลการวิจัย (Transferability)  ความคิดและทฤษฎีที่สร้างขึ้นจากสถานการณ์หนึ่งๆ สามารถจะนำไปใช้กับสถานการณ์อื่นเพียงใด

 

เปรียบเทียบความแตกต่างของการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ

 

ข้อแตกต่าง

การวิจัยเชิงปริมาณ

การวิจัยเชิงคุณภาพ

1. แนวคิดพื้นฐาน

- ปฏิฐานนิยม (Postivism)

-  ปรากฎการณ์นิยม(Phenomenology)

2. วัตถุประสงค์

- มุ่งวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม

-  ต้องการเข้าใจความหมาย กระบวนการความรู้สึกนึกคิดโดยเชื่อมโยงกับบริบทของสังคม

3. การกำหนดสมมุติฐาน

- กำหนดล่วงหน้าก่อนทำการวิจัย

- กำหนดคร่าวๆพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์

4. การคัดเลือกตัวอย่าง

- สุ่มโดยอาศัยการสุ่มชนิดที่ทราบโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่ถูกเลือก (Probability)

- สุ่มโดยอาศัยการสุ่มชนิดที่ไม่ทราบโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่จะถูกเลือกเป็นตัวอย่าง

(Non-probability sampling)

5. จำนวนตัวอย่าง

- จำนวนมาก

- จำนวนน้อย

หมายเลขบันทึก: 213946เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2008 02:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท