การทำงานเป็นทีม


บทความการทำงานเป็นทีม

การทำงานเป็นทีม

 

                   การทำงานเป็นทีมเป็นวิธีที่ดีในการดึงขีดความสามารถของบุคคลมาใช้  ทีมที่มีสมรรถนะการทำงานสูงต้องมีความเชื่อถือ  ไว้วางใจซึ่งกันและกันในระหว่างสมาชิกของทีม  โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานของแนวความคิดเกี่ยวกับความไว้วางใจ  5  ประการ  ดังนี้

 

ความไว้

วางใจ  (trust)

                                                                   ความซื่อสัตย์  (Integrity)

 
 

ความสามารถ

(Competence)

ความคงเส้นคงวา

(Consistency)

ความจงรักภัคดี

(Loyalty)

เปิดเผย

(Openness)


รุปที่  1  แสดงทัศนะของความเชื่อถือไว้วางใจ  (Dimensions Of trust)  (Robbins. 1996 : 356)

                   1.  ความซื่อสัตย์  (Integrity)  :  ความซื่อสัตย์และความจริงใจ

                   2.  ความสามารถ  (Competence)  :  ความรู้และทักษะทางเทคนิคและการสื่อสารระหว่างบุคคล

                   3.  ความคงเส้นคงวา  (Consistency)  :  ความไว้วางใจได้  ความสามารถคาดคะเนได้  ความสามารถในการใช้วิจารณญาณที่ดีในสถานการณ์ต่าง ๆ

                   4.  ความจงรักภักดี  (Loyalty)  :  ความเต็มใจที่จะปกป้องและช่วยเหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

                   5.  ความเป็นคนเปิดเผย  (Openness)  :  ความเต็มใจที่จะแลกเปลี่ยนความคิดและข่าวสารข้อมูลอย่างเต็มที่

                   ทัศนะ  5  ประการนี้มีการจัดลำดับความสำคัญโดย  (1)  ความซื่อสัตย์จะมีความสำคัญมากกว่าความสามารถ  (2)  ความสามารถจะมีความสำคัญมากกว่า  ความจงรักภักดี  (3)  ความจงรักภักดีจะมีความสำคัญมากกว่าความคงเส้นคงวา  (4)  ความคงเส้นคงวามีความสำคัญมากกว่าความเป็นคน     เปิดเผย  ความซื่อสัตย์และความสามารถเป็นสิ่งสำคัญสุด  เพื่อการตัดสินใจเลือกบุคคลที่มีความเชื่อถือไว้วางใจในใครคนใดคนหนึ่ง  ความซื่อสัตย์ดูเหมือนจะถูกให้คะแนนสูงสุด  เพราะว่าคนที่ปราศจากการรับรู้ในระบบคุณธรรมและไม่มีพื้นฐานแห่งความซื่อสัตย์แล้วก็จะไม่เกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อกัน

Y     แล้วจะสร้างความเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างไร (How do you build trust ? )

                  แนวทางการสร้างความเชื่อถือไว้วางใจในทีมงาน  สามารถกระทำได้  ดังนี้

                         1.  การให้บุคคลอื่นได้รู้ว่าท่านให้ความสนใจในสิ่งที่เขาสนใจ

                         2. การทำงานเป็นทีม  ให้การสนับสนุน  ตลอดจนใช้คำพูดและการกระทำปกป้องทีมงานและสมาชิกในทีมงาน ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นการแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของทีมงาน

                         3. การเป็นคนเปิดเผย จะนำไปสู่ความไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นดังนั้นจึงควรอธิบายการตัดสินใจอย่างซื่อตรงและเปิดเผยเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ  ข้อมูลต่าง ๆ  เพื่อจะได้ร่วมกันระดมความคิด  (Brain storming)  เพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป

                         4.  มีความยุติธรรม  ก่อนการตัดสินใจหรือกระทำการใด ๆ  พึงพิจารณาว่าคนอื่น ๆ  จะรับรู้หรือรู้สึกว่ามีความยุติธรรมหรือไม่  ให้ความยุติธรรมในการประเมินผลโดยยึดหลักความเสมอภาคหรือความเป็นธรรมในการให้รางวัล

                         5.  พูดตรงตามความรู้สึกของตนเอง  การพูดอย่างจริงใจจะทำให้เกิดความเคารพผู้พูดมากขึ้น

                         6.  แสดงความคงเส้นคงวาในคุณค่าอันเป็นพื้นฐานซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจ  ใช้เวลาคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นคุณค่าและเป็นที่เชื่อถือแล้วนำมาเป็นเครื่องชี้การตัดสินใจโดยต้องรู้ถึงความประสงค์  แล้ววางโครงการซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือความไว้วางใจ

                         7.  สร้างความเชื่อมั่น  โดยการปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจจากบุคคลในทีมงาน  และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กันและกัน

                         8.  แสดงให้เห็นถึงความสามารถ  ทำให้คนอื่นมีความชื่นชมและความเคารพนับถือโดยการแสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านอาชีพและเทคนิคต่าง ๆ ความรู้สึกที่ดีต่อธุรกิจ  ให้ความสนใจในการพัฒนาการสื่อสาร  การสร้างทีมงาน  และทักษะการสรางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

                         การทำงานเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีมงานนั้นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในทีมงาน  มีการให้ข้อมูลแก่กันและกัน  รวมถึงต้องเผชิญกับความแตกต่างของแต่ละคนด้วยไม่ว่าจะเป็น    ในด้าน  อุปนิสัย  ทัศนคติ  ความสนใจ  และการแสดงออก  ของแต่ละคน

                           ในทุกวันของการทำงานดูเหมือนว่ามีการทำงานเป็น  “ทีมงาน”  แต่จริง ๆ แล้วอาจเป็นเพียง  “กลุ่มงาน”  เท่านั้น

                           แล้วทีมงานกับกลุ่มงานแตกต่างกันอย่างไร (Teams VS Groups : What is the different ?)

                         กลุ่มงาน  (Work group)  คือ  กลุ่มซึ่งมีกิจกรรมระหว่างกันเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกันในการ      ตัดสินใจช่วยเหลือให้สมาชิกแต่ละคนทำงานภายในขอบข่ายที่เขารับผิดชอบ

                         กลุ่มงานไม่จำเป็นต้องใช้ความพยายามในการทำงานร่วมกัน  ดังนั้นจึงมีลักษณะคล้ายกับการที่สมาชิกแต่ละคนมีการช่วยเหลือกันตามส่วนที่ได้รับแบ่งความรับผิดชอบ  ไม่มีการเชื่อมโยงทรัพยากรและใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลในทางบวกซึ่งจะสร้างระดับของสมรรถนะที่มากกว่าผลรวมของปัจจัย    นำเข้า

                         ทีมงาน  (Work team, Team work)  เป็นการเชื่อมโยงและใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  ทำให้เกิดผลจากการใช้ความพยายามของแต่ละบุคคลรวมกัน  หรือหมายถึงกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันทำงานให้สำเร็จ  ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในองค์กรหรือสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่องค์การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

มีการแบ่งปันข้อมูล

(Share information)

เป็นกลาง  บางครั้งเป็นลบ

[Neutral (Sometimes negative)]

ทำงานส่วนบุคคล

(Individual

ไม่สม่ำเสมอ

(Random and varied)

ลักษณะการทำงานร่วมกัน

(Collective Performance)

เป็นบวก

(Positive)

ส่วนบุคคลและร่วมมือ

(Individual and mutual) 

มีการพัฒนาอยู่เสมอ

                (Complementary)               

 

 

 

ในการทำงานเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีมงานนั้นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในทีมงานมีการให้ข้อมูลแก่กันและกัน  และต้องยอมรับความแตกต่างของแต่ละคนด้วย  เพื่อให้สามารถดึงศักยภาพของแต่ละคนในทีมงานออกมาให้ได้มากที่สุด

 

 

 

 

 เรียบเรียงจาก  : หนังสือพฤติกรรมองค์การ

                               Organizational Behavior (OB)

                                                                                                                                      ศิริวรรณ  เสรีรัตน์  และคณะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 213945เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2008 02:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท