ผู้นำกับการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน


"เราเปลี่ยนแปลงคนอื่นไม่ได้...นอกจากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง"

           อ่านบันทึกของอาจารย์ประพนธ์ Leadership – ภาวะผู้นำ กับการสร้างความแตกต่าง แล้ว  เลยนำมาคิดต่อ  และนำสิ่งที่คิดต่อนั้นมาเรียบเรียง  รายละเอียดก็เขียนตามสิ่งที่เคยพบพบเห็น มุมมองอาจจะอยู่ในวงจำกัดหรือให้น้ำหนักแก่หน่วยงานของรัฐ เพราะอยู่และเห็นอยู่ในวงการนี้มากที่สุด  อาจจะไม่ถูกต้องหรือตรงใจท่านผู้อ่านมากนัก/บางท่านก็ต้องกราบขออภัย

           เท่าที่เรารู้ๆ กันอยู่แล้วว่าภาวะผู้นำนั้น  ไม่ได้ขีดกรอบหรือขีดวงจำกัดอยู่แต่ผู้บริหารขององค์กรเท่านั้นที่จะมีภาวะผู้นำ  เราๆ ท่านๆ ทุกคนต่างล้วนมีอยู่ในตัวในตน  และเป็นผู้นำกันได้ทุกคน  โดยไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งแห่งหน  ก็การเป็นผู้นำตนเองนั่นก็แบบหนึ่งที่ทุกคนสามารถเป็นได้ เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ / ในหรือนอกระบบ  คือมีได้ในทุกระดับไม่ว่าจะในระดับบุคคล-ปัจเจก  นำในระดับกลุ่ม-ฝ่าย  จนถึงนำองค์กรในระดับที่สูงขึ้นไป

          แต่จากประสบการณ์อันน้อยนิดที่อยู่ในวงการ-ระบบงานของรัฐนั้น  ผมคิดว่าการที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร  ไปสู่ทิศทางที่ถูกที่ควร   หรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้กับองค์กรได้นั้น ผู้บริหารในทุกระดับ(ที่เป็นทางการ)ควรจะมีภาวะของผู้นำ-ผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในตัวสูงตามไปด้วย(ตามบทบาทและความรับผิดชอบ)  เพราะวัฒนธรรมการทำงานของหน่วยงานภาครัฐนั้น  ยังดำเนินอยู่อย่างเดิมและเหนียวแน่น  คือการทำงานตามระบบ   มีสายงานการบังคับบัญชาที่ตายตัว  สิ่งใหม่แม้จะเป็นสิ่งที่ดี-ถูกต้องและเป็นวิธีการใหม่ๆ ที่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำมาปรับวิธีการทำงาน  หากไม่เป็นไปตามระบบ หรือสอดคล้องกับรูปแบบที่มีอยู่เดิมแล้ว หรือคนคิดไม่ใช่ผู้บริหารระดับสูงแล้วไซร้...ยากที่จะสามารถนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้

         จึงไม่แปลกเลยที่เรามักจะเคยได้ยินคนทำงานบ่นเสมอว่า  "มีความสุขมากหากได้ทำในสิ่งที่เขา(คนอื่น)ไม่ได้สั่ง(คิดเอง)...แต่ไม่มีความสุขมากนักกับงานที่ต้องทำตามเขาสั่ง(ทำให้เสร็จๆ)"  อาจจะอ่านแล้วงง ทั้งๆ ที่เป็นการทำงานเหมือนกัน   ขออธิบายเพิ่มเติมว่าที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าคนทำงานทุกคนนั้นล้วนมีความสามารถที่จะคิด-วิเคราะห์งาน แล้วนำไปสู่การปฏิบัติได้เองทุกคน  แต่ไม่สามารถที่จะนำสิ่งเหล่านี้มาปรับใช้-ปรับเปลี่ยนงานที่ทำอยู่ได้ (แต่บรรลุเป้าหมายของงานตามหน้าที่ไม่บกพร่อง น่าจะดีกว่าเดิมด้วยซ้ำในหลายๆ ด้าน)  โดยธรรมชาติคนเราไม่ต้องการการควบคุม ชอบการเป็นอิสระ และเราก็จะได้ยินผู้มารับบริการหรือคนทั่วๆ ไปบ่นเสมอว่า

  • งานล่าช้า 
  • ยังไม่ปรับปรุงวิธีการทำงานกันเลย
  • ไม่มีรูปแบบที่หลากหลายเหมือนบริษัท-หรือหน่วยงานอื่นที่เคยไปใช้บริการมา
  • งานมักจะขึ้นอยู่กับตัวบุคคล  ไม่สามารถทำแทนกันได้ คนนั้นไม่อยู่คนนี้ก็ทำให้ไม่ได้
  • ฯลฯ

         สิ่งเหล่านี้เราสามารถที่จะแก้ได้  แม้อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง  และจะทำให้เกิดขึ้นได้นั้นก็ต้องโยงไปหาผู้นำอีกนั่นแหละครับ  เพราะนอกจากคนทำงานจะเป็นผู้นำในระดับบุคคลกันแล้ว   ในงานของหน่วยงานนั้นผู้นำองค์กรมีความสำคัญอย่างสูงมากต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร  เพราะจุดสูงสุดนี้สามารถที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาได้ใหม่  และส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคล-กลุ่มคนได้นั้น  ล้วนอยู่ที่ผู้นำ/ผู้บริหารแทบทั้งสิ้น

        แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากมองแต่มุมภายในนั้นยังไม่น่าจะเพียงพอ   สิ่งที่ต้องปรับไปคู่ขนานกันก็คือปัจจัยที่ส่งผลกระทบมาจากภายนอกด้วย(คิดต่อ) จึงจะส่งผลในทางบวกต่อการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กรด้วย

          นั่นคือมุมมองที่นำมาคิดต่อและเรียบเรียงเพราะ  "นายเลือกลูกน้องไม่ได้  และลูกน้องก็เลือกเจ้านายไม่ได้" นี่คือความเป็นจริงของหน่วยงานภาครัฐ  ผู้นำ/ผู้บริหารที่เก่งๆ ก็มีมากมายแต่ลูกน้องอาจตรงกันข้าม  หรือลูกน้องทำงานดีแต่เจ้านายไม่ใส่ใจงานก็มี

          แต่ข้อสรุปสุดท้ายเราก็คงหันกลับมาที่ตนเองนั่นแหละครับ   เพราะหากทุกคนพัฒนาตนเอง  เรียนรู้และปรับปรุง-พัฒนาตนเองอยู่เสมอ  ปัญหาและข้อขัดข้องต่างๆ ก็คงแก้ไขได้ไม่ยากเย็น  การสร้างวัฒนธรรมใหม่ไม่ใช่เรื่องยากในการทำงานในองค์กร  ที่สรุปเช่นนี้ก็เพราะว่า "เราเปลี่ยนแปลงคนอื่นไม่ได้...นอกจากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง" หากทุกคนเปลี่ยนแปลงตนเอง (ในทางที่ถูก-ดี)  คงจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับสังคมแห่งนี้อีกมากมาย

          วันนี้เราอาจจะยังหาส่วนผมผสมของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ลงตัว  แต่หากว่าทุกคนไม่หยุดที่จะเรียนรู้และพัฒนาแล้ว  วัฒนธรรมใหม่ของการทำงานคงจะมาถึงหน่วยงานเราได้สักวัน

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก  2  ตุลาคม  2551

หมายเลขบันทึก: 213470เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2008 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับ

        ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

       ผมเห็นด้วยอย่างที่สุดในประเด็นนี้ครับ

เราเปลี่ยนแปลงคนอื่นไม่ได้...นอกจากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง"

      ในการบริหารความเปลี่ยนแปลง คงจะต้องเริ่มที่การเปลี่ยนแปลงที่ตัวเองก่อนเป็นประการแรกครับ

      ที่ผ่านมา  หลายคน มักจะเริ่มการเปลี่ยนแปลงด้วยการ "จับผิด" คนอื่น   เป็นเบื้องต้น

      เป็นประเภทที่ว่า ที่ต้องเปลี่ยนแปลง คือ "คนอื่น"

      ในขณะที่ "คนอื่น" ที่ต้องการให้เปลี่ยน  เขาก็กำลัง "จับผิด" คนอื่นอยู่เหมือนกัน

      มันก็ "วนจับผิด" กันไปอย่างนี้แหละครับ

     ก็ไม่ทราบว่าจะจบที่ใหน

                           ขอบคุณครับ

P

 

  • สวัสดีครับท่าน small man~natadee
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.ผ่านบล็อกครับ
  • ใช่เลยครับ  เริ่มต้นก็ที่ตัวเรา  สุดท้ายก็อยู่ที่ตัวเรานะครับ
  • หากเรามองเห็นตนเอง เข้าใจตนเอง ก็จะเข้าใจคนอื่น
  • และทุกคนต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด
  • แค่นี้ก็ยอดเยี่ยมแล้วนะครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมา ลปรร.
  •  "นายเลือกลูกน้องไม่ได้  และลูกน้องก็เลือกเจ้านายไม่ได้"
  • ใช่แล้ว  แต่เราเลือกเปลี่ยนตัวเองได้
  • เริ่มที่ตัวเอง ปรับเปลี่ยนตัวเองก่อนดีกว่า อิ อิ

P

 

  • สวัสดีครับ อ.มนัญญา
  • ผมเขียนไปตามประสาคนชอบคิดและมองต่างมุม
  • แต่สุดท้ายก็กลับมาที่ตัวเราเองอยู่ดี...555
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาต่อยอดทางความคิดครับ

 

  • พี่สิงห์ป่าสักที่รัก
  • ภาวะผู้นำ (Leadership)พูดกันมากมายเหลือเกินค่ะ
  • นกแอบหวังลึก ๆ ว่าจะเจริญเติบโตในภาครัฐ หลังจากที่ภาคเอกชนต่างประสบความสำเร็จถึงไหนต่อไหนไปแล้วค่ะ
  • อย่างหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ในแนวคิดของนกเองนั่้นคือ วัฒนธรรมขององค์กรนั้น ๆ ที่สืบทอดกันจนเป็นประเพณี 
  • การที่จะหวังให้ผู้นำเป็นแบบอย่างเหมือนในภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับทุก ๆ รายละเอียดในองค์กร คงเป็นไปได้ยากส์
  • ก็หวังว่า คงจะมีสักวันที่จะสามารถเป็นไปได้
  • และนกก็คิดเหมือนพี่คะที่จะไม่ยอมที่จะหยุดพัฒนาตัวเอง
  • อิอิ สัญญาค่ะ

สวัสดีครับ

  • ที่เห็นทำกันในวงราชการ .. การเปลี่ยนแปลงตัวเอง มักจะเป็นการปรับตัวให้อยู่อย่างสบายๆ ภายใต้ระบบที่เรียกว่าราชการ
  • ปรับกันจนไม่ได้เป็นตัวของตัวเองก็ไม่น้อย
  • พวกที่รู้จักปรับเปลี่ยนเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ก็มักกลายเป็นเป็นคนแปลกปลอม เป็นตัวประหลาด  พูดกับใครไม่ค่อยรู้เรื่อง
  • เป็นเรื่องเรื้อรังที่คงต้องหนักใจกันไปอีกนานครับ

 

P

 

  • สวัสดีครับ อ.นก
  • อิอิ...ผมก็เคยหวังเหมือนกันครับ
  • แต่ไปๆ มาๆ ก็ไม่ค่อยแตกต่างกัน
  • ได้แต่ทำใจยอมรับและเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เหมาะสม
  • และจะไม่ขอตายไปตามระบบ/วัฒนธรรม
  • จึงได้ข้อสรุปว่าต้องหันมาหาตนเอง/พัฒนาตนเอง
  • ส่วนการขยายผลนั้นแล้วแต่สถานการณ์ (แล้วแต่วาสนาครับ)
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาแลกเปลี่ยน

P

 

  • สวัสดียามเช้าครับท่าน อ.handy
  • เจอเหมือนกันครับ ว่าเรากลับกลายเป็นสิ่งแปลกปลอม
  • เพื่อนบอกว่า หากสังคมเขาไม่เปลี่ยนเราจะกลายเป็นแกะดำ
  • น่าเห็นใจเขานะครับ
  • ผมคิดว่าช่วงชีวิตการทำงานที่เหลืออยู่ของเราคงอาจจะไม่ได้เห็น
  • ยกเว้นเราสามารถเลือก(บางอย่าง)ได้
  • ยิ่งสมัยนี้หรือในอนาคตอาจริบหรี่เต็มทน
  • คนที่เก่ง  มีความสามารถ  มีภาวะผู้นำ  มีคุณธรรม และเป็นผู้นำ ฯลฯ มักจะหาไม่ได้ในคนๆ เดียวกัน (ซึ่งบางบทบาทจำต้องมี)
  • เราจึงจะพบเห็นสิ่งที่ผิดฝาผิดตัว  ผิดปรกติมากมาย เช่น คนเล็กทำงานใหญ่  คนใหญ่ทำงานเล็ก  คนคิดไม่ได้ทำ  คนทำไม่ได้คิด ฯลฯ  กลับหัวกลับหาง มั่วกันไปหมด
  • อิอิ....ไม่ได้บ่นนะครับ  เพียงหวังว่าหากมันเป็นไปตามสิ่งที่ควรจะเป็น สังคมนี้หรืองานต่างๆ คงพัฒนาไปได้กว่านี้อีกเยอะ
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • เห็นด้วย 100% เลย
  • เพราะว่าเราก็มีลูกน้องของเรา ที่จะมองเราเป็นตัวแบบได้นี่นา
  • ส่วนคนที่เขาชอบหางานให้เราทำ ก็ต้องทำใจ เอ๊ย ทำความเข้าใจค่ะ
  • เคยได้เข้าอบรมที่หนึ่ง
  • เริ่มจากท่านต้องการหัวหน้าแบบใด????
  • ทุกคนใส่ความรู้สึกเต็มที่...
  • แล้ว..
  • ให้หลับตา..แล้วสมมุติว่าเราได้เลื่อนขั้นขึ้นเป็นหัวหน้า
  • มีหน้าที่รับคนใหม่เข้ามาแทนตำแหน่งเดิมของเราที่ว่างลง
  • คิดอยากได้ลูกน้องแบบไหน...อย่างไรบ้าง..
  • แล้วลืมตาตื่น..ตอนนี้เรายังเป็นลูกน้องอยู่..เราเป็นลูกน้องที่ดีตามที่เราฝันให้คนอื่นเป็นหรือไม่..
  • เปลี่ยนที่ตัวเรา....

P

 

  • ไม่ได้เขียนเรื่องเครียดนะครับ
  • อิอิ.....
  • บางครั้งก็ต้องเข้าใจจริงๆ เลยครับ

 

P

 

  • แม่นแล้วครับท่านเกษตร(อยู่)จังหวัด
  • ไม่ต้องออกไปนอกตัว 
  • มองในตัวและพัฒนาตัวเรานี่ก็ยิ่งใหญ่และยากยิ่งพอแล้ว
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาแลกเปลี่ยน
  • อิ อิ กลายเป็นเรื่องเครียตซาแย้วค่ะพี่สิงห์ป่าสัก
  • ในองค์กรหนึ่งมีคนอยู่ในองค์กรมากมายต่างมาจากที่ไหน ๆ ที่ไม่เหมือนกัน ต่างพ่อต่างแม่ต่างการอบรม
  • นกเคยเจอค่ะในที่ประชุม ประธานบอกว่าให้แสดงความคิดเห็นเต็มที่เลย  แต่ในที่ประชุมกลับเงียบกริบ
  • 55+ ต่างก็บอกว่า - ึ ง ออกความคิดไปซิ จะได้ไม่ต้องผุดต้องเกิด
  • แต่นกเป็นคนหนึ่งที่กล้าแสดงความคิดเห็น และเป็นคนหนึ่งที่คิดว่า ถึงแม้ว่าเราเป็นแค่ก้อนกรวดก้อนเล็ก ๆ แต่ไม่ควรมองข้าม
  • ก็เลย "มักกลายเป็นตัวประหลาด " เหมือนกับที่พี่ ๆ ข้างบนพูด
  • แต่ไม่เป็นไรค่ะ เพราะต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ สร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่
  • ...ถึงแม้รู้ว่า จะต้องเจ็บตัว..ก็ตาม

 

  • เอาภาพอิ่มบุญมาฝาก
  • จากงานสืบชะตาที่ผ่านมา  ที่วัดสวนดอก  เชียงใหม่

 

 

P

 

  • เป็นการ ลปรร. นะครับ
  • ที่ครูนกบอกเล่านั้น  ผมว่าจะยังมีอีกมากนะครับ
  • พวกเรามักจะเรียกว่าเป็นการบริหารแบบเก่า
  • ซึ่งก็คงจะดีในมุมมองหนึ่ง แต่ก็จะมีจุดอ่อนอีกเยอะ
  • หากจะเรียกให้ตรงกับยุคนี้เขาบอกว่าเป็นการประชุม(บริหาร)เพื่อให้มีรูปแบบของการมีส่วนร่วม(เหมือน ปชต.บ้านเรา)
  • แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เพราะจะมีธงอยู่ในใจ  วิธีนี้ก็จะใช้ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น  ต่อไปคนทำงานก็จะอึดอัด และเกิดแรงต้านจากข้างใน
  • ไม่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมที่แท้จริงได้
  • ผมก็คงจะเหมือนๆ กับครูนกเพราะผมอยู่กับความจริง
  • ความจริงที่เป็นสิ่งไม่ตาย....แต่คนพูดตาย...555

P

 

  • สวัสดีครับ อ.มนัญญา
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำภาพกิจกรรมดีๆ ของสังคมบ้านเรามาแบ่งปัน
  • เป็นอีกยุทธศาสตร์หนึ่ง(ทางจิตวิญญาณ) ที่ช่วยให้คนมองเห็นความสำคัญของการอยู่ร่วมกัน  และช่วยทำให้รู้ตัวเองว่ามิติทางจิตใจสำคัญไม่ด้วยไปกว่าวัตถุ
  • เยี่ยมมากเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท