พฤติกรรมการสอนจริยศึกษา


ธรรมศึกษา

ความหมายของ พฤติกรรมการสอนจริยศึกษา

        คำว่า พฤติกรรม

                หมายถึง กิริยาอาการที่บุคคลแสดงออก ไม่ว่าจะด้วยคำพูดหรือการแสดงท่าทางต่าง ๆ  (หน่วยศึกษานิเทศก์. 2529 : 11)

        คำว่า การสอน

                หมายถึง การอบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้ความสามารถในวิทยาการทั้งปวง (ยนต์ ชุมจิต. 2531 : 49-55)

        ดังนั้น คำว่า พฤติกรรมการสอน หมายถึง การแสดงกิริยาท่าทางในการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดีมีความรู้ในวิทยาการทั้งปวง

        จริยศึกษา แยกออกเป็น 2 คำ คือ จริย กับ ศึกษา

                คำว่า จริย เป็นคำมาจากภาษาบาลี แปลว่า ความประพฤติ,กิริยาที่ควรประพฤติ

                คำว่า ศึกษา เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การเล่าเรียน การฝึกฝน อบรม

เมื่อรวมเป็น จริยศึกษา แล้ว แปลว่า การเล่าเรียนฝึกอบรมเรื่องความประพฤติเพื่อปฏิบัติตนให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม ตลอดจนระเบียบกฎหมายของบ้านเมืองแห่งชุมชนและประเทศนั้น ๆ

        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 (2531 : 217) ให้คำจำกัดความของจริยศึกษาไว้ว่า

การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติ และปฏิบัติ เพื่อให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม

        สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 8 (2521 : 45, 86-87) เขียนไว้ว่า จริยศึกษามุ่งให้ผู้เรียนได้รับผลหรือเกิดความงอกงาม ดังนี้

                1. เกิดความรู้ (Knowlegde) หมายถึง ความเข้าใจเกี่ยวกับความถูกต้องดีงาม สามารถตัดสินแยกความถูกต้องออกจากความไม่ถูกต้องได้

                2. เกิดเจตคติ (Atitude) หรือน้ำใจที่จะปฏิบัติคือ พึงพอใจ ศรัทธา เลื่อมใส เกิดความนิยมยินดีที่จะนำจริยธรรมมาเป็นแนวปฏิบัติ

                3. เกิดทักษะ (Skill) คือความคล่อง ชำนาญในการปฏิบัติในเรื่องจริยธรรมและวัฒนธรรม

        พระมหาประยูร ธมฺมจิตโต (2531 : 41-42) สรุปไว้ว่า เนื้อหาของวิชา จริยศึกษา  ประกอบด้วย

1. ความรู้เรื่องศีล คือ ข้อห้ามหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ

2. ความรู้เรื่องคุณธรรมที่ควรปลูกฝังในจิตใจ เช่น สัจจะ เมตตา กรุณา ฯลฯ เป็นต้น

3. ความรู้เรื่องจรรยามารยาท

4. ความรู้เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี

5. ความรู้เรื่องวัฒนธรรม

    จากการศึกษาความหมายของคำว่าจริยศึกษาแล้วจะเห็นว่า เน้นกระบวนการปลูกฝังสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ตามทฤษฎีที่เสนอไว้ และที่มีหลักการที่ถูกต้องได้ผลเป็นที่ประจักษ์มาแล้ว เช่น หลักศีลธรรม หลักจริยธรรม ตลอดจนระเบียบกฎหมายบ้าน

 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 3
หมายเลขบันทึก: 212209เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท