ดอกรัก
นาง อมรรัตน์ เปิ้ล เถื่อนทอง

การเรียนรู้เรื่องการนิเทศ


ใครควรได้รับการนิเทศก่อนกัน

การนิเทศการสอนแบบคู่สัญญา(Buddy Supervision)

     การนิเทศแบบคู่สัญญา (Buddy Supervision)  คือ การนิเทศโดยตรงที่เปิดโอกาสให้ครู 2 คน ได้ดึงเอาศักยภาพทางการสอนที่มีอยู่ในตัวของแต่ละคนออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยเริ่มต้นจากการจับคู่สัญญา เพื่อสร้างมิตรสัมพันธ์อันดีต่อกัน และใช้สัมพันธภาพอันดีนี้ เป็นตัวนำไปสู่กิจสัมพันธ์หรือความสำเร็จในการจัดกระบวนการเรียน

    แนวคิดทฤษฎ๊    การนิเทศแบบคู่สัญญาใช้แนวคิดทฤษฎีของ ระบบ Buddy System ของทหารในสนามรบ  ใช้ระบบกระบวนการทำงานแบบกลุ่มสัมพันธ์ (Group Process) และใช้แนวคิดที่มุ่งทั้งการพัฒนาคนและพัฒนางาน คือ เน้นมิตรสัมพันธ์ (Concern for People) และกิจสัมพันธ์(Concern for Production) ใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์ของ Heider ที่ว่า คนเราถ้าชอบสิ่งใดหรือไม่ชอบสิ่งใดเหมือนกัน จะเป็นมิตรกันได้ ใช้หลักจิตวิทยาที่ว่า "คนเรารู้จักตนเองจากการเปรียบเทียบกับคนอื่น" และใช้ปรัชญา "หยิน-หยาง"   คือ ในดีมีเสีย ในเสียมีดี ไม่มีผู้ใดที่ดีพร้อม ทุกคนมีจุดเด่นและจุดด้อยในตัวเอง เหมือนกับสีขาวที่มีจุดดำหรือสีดำที่มีจุดสีขาว

    จุดประสงค์ของการนิเทศการสอนแบบคู่สัญญา

    1. เพื่อให้ครูที่สอนวิชาเดียวกันหรือชั้นเดียวกันสามารถนิเทศการสอนซึ่งกันและกันได้

    2. เพื่อให้ครูที่สอนวิชาเดียวกันหรือชั้นเดียวกัน ซึ่งมีปัญหาอย่างเดียวกัน สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันได้

    3. เพื่อให้ครูเกิดขวัญกำลังใจในการทำงาน ด้วยการเสริมแรงซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการสอน

    4. เพื่อให้ครูเกิดเจตคติที่ดีต่อการนิเทศภายในโรงเรียนที่ว่า มิใช่การตรวจตราจับผิด แต่คือการพัฒนาและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของครูในฐานะเพื่อร่วมวิชาชีพ

      กระบวนการนิเทศการสอนแบบคู่สัญญา

      ขั้นที่ 1 เสนอนแนวคิด

                 1.1 ผู้บริหารสถานศึกษาเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการนิเทศการสอนแบบคู่สัญญาให้ครูในโรงเรียนทดลอง นำไปปฏิบัติ ภายใต้การสนับสนุนทุกรูปแบบ

                 1.2 เมื่อครูยอมรับหลักการแล้ว ให้ครูจับคู่สัญญาที่มีปัญหาการเรียนการสอนในวิชาเดียวกันหรือชั้นเดียวกัน เพื่อร่วมกันวางแผยการนิเทศ เช่น สังเกตการสอน เขียนแผนการสอนและเตรียมสื่อการสอน เป็นต้น

                 1.3 คู่สัญญแต่ละคนเขียนแผนการสอนในวิชาที่มีปัญหา โดยต่างฝ่ายต่างเขียนแผนการสอนตามแนวคิดของตน

      ขั้นที่ 2 สาธิตให้ดู (สมมติว่า คร A เป็นคู่สัญญากับครู B)

                 2.1 ครู A สาธิตการสอนตามแผนการสอนของตน โดยมีครู B เป็นผู้สังเกตการสอน และบันทึกจุดเด่นจุดด้อยของครู A ตามแบบสังเกตการสอน

                 2.2 ครู B สาธิตการสอนตามแผนการสอนของตนในวิชาที่มีปัญหาเดียวกับครู A โดยมีครู A เป็นผู้สังเกตการสอน และบันทึกจุดเด่นจุดด้อยตามแบบสังเกตการสอนเช่นเดียวกัน

                 2.3 ครู A และครู B ร่วมกันวิเคราะห์วิจารณืจุดเด่นจุดด้อยของกันและกันเพื่อนำจุดเด่นของแต่ละคนมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และช่วยกันปรับปรุงแก้ไขจุดด้อย

                 2.4 ครู A และครู B นำจุดเด่นของแต่ละคนมาบูรณาการ เพื่อสร้างนวัตกรรมหรือแนวทางแก้ปัญหาในรูปแบบใหม่ ที่นำเอาส่วนดีของแต่ละคนมาผสมผสานกัน

     ขั้นที่ 3 อยากรู้ต้องปฏิบัติ

                3.1 ครู และครู  B  นำวิธีการสอนที่ได้รับการปรับปรุงตามข้อ 2.4 มาใช้ปฏิบัติการสอนในวิชาเดิมหรือในบทเรียนต่อไป

                3.2   ครู และครู  นิเทศการสอนซึ่งกันและกันอีกครั้งหนึ่ง แล้วสรุปผลการนิเทศการสอน

     ขั้นที่ 4 อยากทราบผลให้ชัดต้องวัดและประเมินผล

                 4.1 ครู และครู  B ร่วมกันวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหากยังไม่บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ คู่สัญญาต้องกลับไปค้นคว้าหาความรู้หรือแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นเพิ่มเติม เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และใช้แก้ปัญหาร่วมกันอันจะจำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาใหม่

                 4.2 ถ้านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์แล้ว คู่สัญญาควรแสดงความยินดีร่วมกัน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและเป็นแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน

         เครื่องมือในการนิเทศแบบคู่สัญญา  

                  1. แบบสังเกตพฤติกรรมการสอน

                 2. แบบวิเคราะห์การสังเกตการสอน

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 32550
หมายเลขบันทึก: 212084เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท