เสนอแผนพัฒนา KM ของโรงเรียน


เพื่อเป็นการเสนอแนะโรงเรียนที่อาจกำลังแสวงหาแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนโดยใช้กระบวนการ KM

    ขณะที่ สพท.วางแผนพัฒนา KM ใน สพท. ผมเลยลองเสนอ แผนพัฒนา KM ของโรงเรียน คู่ขนานไปด้วย เพื่ออาจเป็นแนวคิดแนวทางให้โรงเรียนนำไปพิจารณาปรับใช้ และเป็นการขอความเห็นจากวิทยากร สคส.ด้วย โดยสรุป 3 ขั้นตอนดังนี้

1.ขั้นเตรียมการพัฒนางาน KM ของโรงเรียน โดย

       1.1 แต่งตั้งทีม KM ของโรงเรียน

        1.2 อบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในโรงเรียน โดยให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ 1 วัน

        1.3 ทบทวนหัวปลาของโรงเรียน และกำหนด CoPs ที่จะทำ KM แต่ละฝ่าย/กลุ่ม/งาน

        1.4 วางแผนการพัฒนา Km ของโรงเรียน

2.ขั้นดำเนินการตามกระบวนการ KM โดย

       2.1 เป็นเจ้าภาพเชิญคุณกิจที่มีความรู้และประสบการณ์สูงจากศูนย์พัฒนาวิชาการหรือโรงเรียนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ CoP ของโรงเรียน ประมาณ CoP ละ 3 คน มาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/เล่าประสบการณ์ โดยมีครูและบุคลากรในโรงเรียนแต่ละ CoP ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย/คุณลิขิต และเป็นคุณกิจร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/เล่าประสบการณ์ด้วย พร้อมทั้งบันทึกเป็นขุมความรู้/แก่นความรู้

     2.2 แต่ละ CoP นำขุมความรู้/แก่นความรู้จากข้อ 2.1 มาประยุกต์ใช้ โดยนำมาปรับแผน/โครงการ/กิจกรรม/แผนการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งดำเนินการ

    2.3 กำหนดปฏิทินทำกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ KM/AAR ในแต่ละ CoP อย่างต่อเนื่อง

    2.4 เปิดบล็อกและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง โดยมีฝ่าย ICT คอยดูแลระบบและให้ความรู้

    2.5 ปรับกิจกรรมการนิเทศภายใน มาใช้กระบวนการ KM แทน

   2.6 ไปศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนอื่นๆ

   2.7 บันทึกถ่ายทำวีดิทัศน์ หรือ บทความ แสดงผลงานจากการทำ KM เพื่อเผยแพร่

   2.8 พัฒนาโรงเรียนให้พร้อมเป็นแบบอย่างที่จะศึกษาดูงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของหน่วยงานอื่นๆ

   2.9 นำเสนอความก้าวหน้าการทำ KM ในการประชุมผู้บริหารประจำเดือน ของ สพท.

   2.10 มอบรางวัลให้ครู/บุคลากร/CoP ที่ทำ KM ดีเด่นประเภทต่างๆอย่างต่อเนื่อง

3.ขั้นติดตามประเมินผล โดย

    3.1 จัดให้มีการเสนอผลงาน KM ของแต่ละ CoP

   3.2 จัดทำสารสนเทศเรื่องเล่าที่เป็นขุมความรู้/แก่นความรู้แต่ละ CoP ที่เป็นระบบ

  3.3 ประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจในบรรยากาศการทำ KM

  3.4 ประเมินมูลค่าเพิ่มตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาหลังทำ KM

  3.5 มีการสรุปข้อมูลการทำ KM และข้อเสนอแนะการพัฒนาที่ต่อเนื่อง

หมายเหตุ แต่ละกิจกรรมจะมีเงื่อนไขเวลา งบประมาณ และผู้รับผิดชอบในรอบปีการศึกษา

แต่ละกิจกรรมจะมีเงื่อนไขเวลา งบประมาณ และผู้รับผิดชอบในรอบปีการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 21199เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2006 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เบื้องต้น..บุคลากรในสถานศึกษาควรจะมีวัฒนธรรมการใช้งานไอทีอยู่ในระดับดี..
การเข้าถึงสื่อ..โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต หรืออินทราเน็ตภายในสถานศึกษาต้องทั่วถึง และเอื้อต่อการใช้งาน คือใช้งานง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก..
บุคคลากรชอบที่จะเขียน บันทึก เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์แลกเปลี่ยนระหว่างกัน..

บุคลากรมีความสุขเมื่อได้ใช้งานไอที มิใช่ถูกบังคับสั่งการลงมาจากผู้บังคับบัญชา

คือ ต้องเห็นเป้าหมายร่วมกันว่า สิ่งที่ทำนี้มีคุณค่าต่อตนเอง และองค์กร ตลอดจนถึงเด็กนักเรียน..

สพท. ๑ จัดงาน "เวทีนวัตกรรมการเรียนรู้พหุปัญญา"   "เวทีนวัตกรรมการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์วัยใส"  ฯลฯ ดีไหมครับ    เป็นเวที ลปรร. good practice ของทั้งจังหวัด    โดยทางทีมแกนนำของ สพท. ต้องทำการบ้าน หา รร. ที่มี good practice (ความสำเร็จ) เชื้อเชิญมาเล่า storytelling และสะกัดขุมความรู้   เรื่องนี้ปรึกษาคุณหญิงได้ครับ

หลักการสำคัญคือ ทีมแกนนำต้องเปลี่ยนวิธีทำงานของตน    หันไปใช้ KM เป็นเครื่องมือสร้างผลงาน โดย empowerment

ต้องอย่าทำให้ KM เป็นอีกหนึ่งงาน    แต่ให้ KM ไปช่วยให้ทำงานประจำได้ง่ายขึ้น   สนุกขึ้น

วิจารณ์ พานิช

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท