แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา


แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

           แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

                เพื่อน   ครู  และบุคลากรทางการศึกษา  ยุคใหม่  ควรที่จะต้อง  พัฒนาตนเอง เพื่อ  ที่นำความรู้ทางด้านเทคโนโลยี  มาพัฒนาการเรียนการสอนให้กับนักเรียน  เพื่อนครูหลายคนก็เครียด  และไม่ยอมรับสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นกับอาชีพของ  ครู  ยิ่งทางด้านเทคโนโลยีด้วยแล้ว บางท่านปฏิเสธ  กล่าวว่า  อายุมากแล้ว  ไม่ทำ  และไม่ยอมที่จะพัฒนาตัวเอง  แต่เมื่ออย่างไรก็ตาม   อายุไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ หรอกคะ  ค่อยฝึกฝนวันละเล็ก วันละน้อย  ไม่ช้าไม่นาน ครูไทยทุกคนก็เก่งได้ค่ะ

               เพื่อนครูค่ะ  มีแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ  พ.ศ. 2550 – 2554  ลองศึกษาดูค่ะ  เราจะได้ทราบความก้าวหน้า

  

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2550 – 2554

 

ในช่วง ปี 2550 -  2554  กระทรวงศึกษาธิการกำหนดทิศทางการพัฒนาด้าน ICT ไว้ดังนี้

                                             

วิสัยทัศน์

                                ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน  ใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐาน สากล

 

พันธกิจ

                    1.  การใช้ ICT   พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพ การเรียนรู้ 

                    2.  การใช้ ICT   เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการศึกษา

                    3.  การผลิตและพัฒนาคุณภาพผู้จบการศึกษาด้าน ICT เพื่อการพัฒนาประเทศ          

 

เป้าประสงค์

           1.  การเรียนรู้ในระบบ  นอกระบบ และตามอัธยาศัย  เป็นการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT - based   Learning) ที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพและประสิทธิภาพ:

                    1.1 มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Contents)   เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้

หลากหลายและเพียงพอ ทั้งในลักษณะ e-Book, e-Library,  Courseware, LMS และ e- Content Center และในลักษณะอื่น  ที่สอดรับกับความต้องการและจำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน การจัดการเรียนรู้และการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                    1.2    มีโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ที่มีสมรรถนะสูง ทั่วถึง พอเพียงและ มีคุณภาพ

                    1.3    การจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ทั้งในสถานศึกษาและในสังคมชุมชนเป็นการเรียนรู้ที่ใช้ ICT เป็นฐาน

          2.  การบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา  ของหน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา เป็นการบริหารจัดการที่ใช้ ICT เป็นฐานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล:

                   2.1   มีโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน โดยมีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง  มีระบบคอมพิวเตอร์  มี Software รวมทั้งบุคลากรที่มีทักษะด้าน ICT อย่างพอเพียง

                   2.2    หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา  พัฒนา จัดหา และใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) ระบบบริหาร (Back Office) อย่างครบวงจร

                   2.3    หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษา ใช้ระบบการให้บริการ (Front Office) ตามลักษณะงานของหน่วยงานและให้บริการผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์

          3.  ผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้าน  ICT   ที่มีคุณภาพ เพียงพอ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ  และในทุกพื้นที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง

                  3.1   สถานศึกษา มีความพร้อมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT   ทั้งด้านหลักสูตร เครื่องมือ  อุปกรณ์  และผู้สอน  รวมทั้งให้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพด้าน ICT

                  3.2    ผู้สำเร็จการศึกษาด้าน ICT  มีคุณภาพ  มีจริยธรรมตามมาตรฐานหลักสูตร มีปริมาณเพียงพอกับการพัฒนาประเทศ

                  3.3    บุคลากรด้าน ICT ได้รับการพัฒนาและมีทักษะตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน                  มีความมั่นคงในวิชาชีพและได้รับการรับรองสมรรถนะด้าน ICT ตามมาตรฐานสากล

                  3.4    ประชาชนได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานและใช้ ICT ในการพัฒนาการเรียนรู้               และพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง

 

เป้าหมาย  ภายในปี 2554

           1.  สถานศึกษาทุกแห่ง  ทุกระดับจัดการเรียนการสอน โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT- based Learning)   และเป็นศูนย์การเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอกที่มีความเร็วสูง   โทรทัศน์การศึกษาและสื่อ ICT  อื่นๆ  ตามมาตรฐานที่กำหนด

                2.   การจัดการศึกษาทางไกลครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีศูนย์บริการการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานในทุกจังหวัด  เขตพื้นที่การศึกษา และทุกตำบล

               3.   หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา ร้อยละ 80  ใช้ ICT  เพื่อการบริหารจัดการ ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

               4.    มีหน่วยงานหรือองค์กรบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในทุกระดับ

               5.    ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา อย่างน้อยร้อยละ 80    มีสมรรถนะทาง  ICT  ตามมาตรฐานที่กำหนด

               6.    ผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับ อย่างน้อยร้อยละ  80  มีมาตรฐานสมรรถนะด้าน ICT  ตามมาตรฐานหลักสูตรแต่ละระดับ   และผู้สำเร็จการศึกษาด้าน ICT ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50  ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล

              7.     ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาเทคโนโลยีกับผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่น คิดเป็นสัดส่วน  50 : 50

              8.    ประชาชนที่ด้อยโอกาสและอยู่ห่างไกล ร้อยละ 90  ได้รับข่าวสาร ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากแหล่งความรู้ผ่านสื่อ ICT  และร้อยละ 70  ของประชากรวัยแรงงานใช้สื่อ ICT เพื่อยกระดับการศึกษาของตนเอง

 

ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์

             ยุทธศาสตร์ที่ 1    การสร้างโอกาส  เพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยสื่อ

                                          อิเล็กทรอนิกส์  (e - Learning)

กลยุทธ์ที่ 1.1   สร้างความร่วมมือและส่งเสริมการพัฒนาและการใช้สื่ออีเล็กทรอนิกส์                  (e-Contents)   เพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย  โดย 

                      1.1.1     กำหนดนโยบาย  แนวทางและมาตรการในการส่งเสริมให้ครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งบุคคลและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน   ร่วมพัฒนาและผลิตสื่ออีเล็ก           ทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐาน โดยจัดให้มีหน่วยงานกลางรับผิดขอบในการกำหนดนโยบายและการส่งเสริมการพัฒนาและการผลิตเป็นการเฉพาะ

                     1.1.2     ส่งเสริมให้ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา พัฒนาและใช้สื่ออีเล็กทรอนิกส์ (e-Contents) เพื่อการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานที่กำหนด  ทั้ง e-Book,                  e-Library, Courseware, LMS รวมทั้งการจัดศูนย์สื่ออิเล็กทรอนิกส์  (e-Content Center) และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้วย ICT (e-Learning System) ในรูปแบบที่หลากหลาย

                     1.1.3     ส่งเสริมและร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศในการผลิต                    e - Contents เพื่อการจัดการเรียนรู้

                     1.1.4     ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT  Based Learning) รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนเห็นประโยชน์และอยากรู้อยากเรียน ICT

                     1.1.5     กำหนดและควบคุมมาตรฐานการใช้สื่อ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาแต่ละระดับ                         

กลยุทธ์ที่  1.2   เร่งรัดการใช้โครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการเรียนรู้ตามความต้องการและ

                         ความจำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ โดย

                    1.2.1    จัดหาและใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง   Free T.V. และคลื่นความถี่โทรคมนาคมอื่น ที่เพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นในการจัดการศึกษา

                    1.2.2 จัดให้มีระบบคอมพิวเตอร์และชุดอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอน เพื่อจัด Virtual University, Virtual Classroom   และ Virtual Laboratory  ชุดอุปกรณ์เพื่อการจัด Distance Learning  และการจัดการศึกษาในรูปแบบอื่นที่ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในแต่ละระดับ

                  1.2.3  จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการพัฒนา Software   และ ระบบ

e-Contents เพื่อการจัดการเรียนการสอน

                 1.2.4   พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบและผู้ใช้ ICT เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีความรู้ความสามารถด้าน ICT ตามมาตรฐานที่กำหนด

                 1.2.5   กำหนดมาตรฐานและจัดหาโครงสร้างพื้นฐาน ICT   เพื่อการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานของแต่ละระดับและประเภทการศึกษา

                1.2.6   จัดเครือข่ายสถานศึกษาและความร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาและการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้   

 

               ยุทธศาสตร์ที่  2     การเป็นผู้นำในการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการ

                                            ให้บริการทางการศึกษา (e- Management)

                           กลยุทธ์ที่  2.1    เร่งรัดการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เพื่อการบริหารจัดการและการ

                                                     ให้บริการทางการศึกษา (e – Management Infrastructure)

               2.1.1 จัดหาระบบคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ   ใช้บริหารจัดการอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ทั้งในระดับหน่วยงานและสถานศึกษา และจัดหน่วยบำรุงรักษา  รวมทั้งร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและภายนอก  ในการใช้และบำรุงรักษาระบบ

              2.1.2 จัดหาระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการบริหารจัดการ จัด Network Directory  ของหน่วยงาน จัดสรรและใช้เครือข่ายโทรคมนาคม และการสื่อสารเพื่อการบริหาร การให้บริการทางการศึกษา                                           

              2.1.3 จัดหาระบบซอฟต์แวร์ เครื

หมายเลขบันทึก: 211606เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2008 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท