งานวิจัยด้านพฤติกรรมการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์(1)


พฤติกรรมการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์(บทนำ)

บทนำและความสำคัญของปัญหา

กกกการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีอยู่ในสถาบันการศึกษาทุกสถาบัน  ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา  ทั้งนี้เพื่อตอบสนองเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันมากขึ้น  โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ  หลากหลายรูปแบบ  ทั้งงานด้านฐานข้อมูล  งานด้านกราฟิก  งานด้านเอกสาร เป็นต้น การจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ที่ดีจึงต้องมีการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

กกกการดำเนินการเรียนการสอนสิ่งที่จะต้องพิจารณา คือ เลือกวิธีสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา จัดกลุ่มผู้เรียนให้พอเหมาะพอดี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากที่สุด จัดเวลาเรียนให้พอเหมาะกับความสามารถของผู้เรียน จัดห้องให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน เลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาหรือวิธีสอน แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วยังมีอุปสรรคและปัญหาต่างๆมากมาย ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 นับว่าเป็นระยะเริ่มต้นเท่านั้น จึงควรมีการพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในระดับนี้ให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อไปในระดับสูง และเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นในสังคม (สายฝน ค้าขาย)

กกกการศึกษาพฤติกรรมการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน  จึงมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอน  จากประสบการณ์ที่ผู้วิจัยปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์สอนวิชาคอมพิวเตอร์และเป็นอาจารย์ดูแลการให้บริการคอมพิวเตอร์แก่นักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 ผู้วิจัยได้พบเห็นพฤติกรรมของนักเรียนในหลายรูปแบบทั้งในด้านบวกและด้านลบ  ด้านบวก เช่น นักเรียนบางคนมีความสนใจในการเรียนคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ  มีความคิดสร้างสรรค์ระหว่างเรียนสูง  มีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาต่อยอดความรู้ด้วยตนเองหลังจากเรียนในห้องเรียนแล้ว  แต่นักเรียนบางคนจะเล่นเกมในระหว่างการเรียนการสอน  เล่นอินเทอร์เน็ตที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียน  ทำการบ้านวิชาอื่น  ไม่ให้ความสนใจกับการเรียนในวิชาที่กำลังเรียนเท่าที่ควร  เป็นต้น

กกกดังนั้น  ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์  ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3และช่วงชั้นที่ 4  โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง  ซึ่งผลจากการวิจัยที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นจะเป็นประโยชน์แก่โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง  สถาบันการศึกษาอื่นและผู้ที่สนใจ ในการนำผลการวิจัยไปศึกษาหาแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 211540เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2008 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท