สภาการพยาบาล : หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง (๑)


ความรู้ ความชำนาญเฉพาะทาง ควรสอดคล้องกับการให้บริการของระบบบริการระดับต่างๆ และปัญหาสุขภาพของประเทศ

เมื่อวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายน ๒๕๕๑ สภาการพยาบาล โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาและรับรองหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง ได้จัดการสัมมนาผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการกำหนดสมรรถนะของพยาบาลเฉพาะทาง รวมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตรกลาง ณ ห้องประชุมราชนครินทร์ สภาการพยาบาล อาคารนครินทรศรี ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข

ดิฉันมีภารกิจต้องเข้าประชุมงานอื่นในช่วงเวลาใกล้เคียงกันอยู่แล้ว จึงเข้าประชุมงานนี้เอง เพื่อมหาวิทยาลัยจะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พักสำหรับผู้ที่เข้าประชุม การเข้าประชุมครั้งนี้ทำให้ได้ทราบว่าการอบรมพยาบาลเฉพาะทางเริ่มมีมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ และมีการจัดหลักสูตรเป็นเรื่องเป็นราวมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ ผู้จบหลักสูตรจะได้รับค่าตอบแทนด้วย

การประชุมในวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๑ ประกอบด้วยการบรรยายพิเศษเรื่องนโยบายสภาการพยาบาลเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ นายกสภาการพยาบาล ท่านนายกสภาการพยาบาลได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มีผลต่อการพยาบาล ได้แก่ Global Health Millennium Development Goals โครงสร้างประชากร ปัญหาสุขภาพและนโยบายสาธารณสุข ระบบบริการสุขภาพ มาตรฐานบริการสุขภาพ ความต่อเนื่องหลังการฝึกเฉพาะทางกับ APN ฯลฯ

ICN ทำการศึกษาพบว่า Nursing personnel มี ๕ กลุ่มคือ Support worker, Practical nurse, Register nurse, Nurse with specialization และ Advanced practical nurse (APN)

ท่านนายกสภาการพยาบาลบอกว่าโครงสร้างของประชากรจะเปลี่ยนไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ น่าจะมีโครงการบูรณาการการบริการผู้สูงอายุจากปฐมภูมิสู่ตติยภูมิอะไรบ้าง รวมทั้งด้านปัญหาสุขภาพและนโยบายต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขนั้น พยาบาลก็เกี่ยวข้องทุกเรื่อง มาตรฐานการกำหนดตำแหน่งของ ก.พ. พยาบาลอยู่ในกลุ่ม knowledge worker (วิชาการ/วิชาชีพ) ซึ่งเราจะต้องพยายามให้มี title

ในมาตรฐานบริการสุขภาพแต่ละระดับ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา) มีหลักเกณฑ์ว่าควรมี/ต้องมีพยาบาลวิชาชีพที่เฉพาะทาง/ผ่านการอบรมเรื่องใดบ้าง หลักสูตรที่เปิดต้อง standardize ไม่ใช่อยากจะเปิดอะไรก็เปิด จะพิจารณาว่าควรมีหลักสูตรสาขาอะไรบ้าง ต้องดูจากมาตรฐาน การจะเอาพยาบาลเฉพาะทางมาเป็นส่วนหนึ่งของ ป.โท ก็ต้องทำให้เข้มแข็ง

ทิศทางการพัฒนาคือ
๑. ความรู้ ความชำนาญเฉพาะทาง ควรสอดคล้องกับการให้บริการของระบบบริการระดับต่างๆ และปัญหาสุขภาพของประเทศ
๒. จัดทำมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งและมาตรฐานบริการสุขภาพให้สอดคล้องและชัดเจน มี title เช่น พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเฉพาะทาง พยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (APN)
๓. จัดทำ career advancement : ปริญญาโท APN ปริญญาเอก
๔. จัดทำหลักสูตร เพิ่มเติมแนวคิด Disease management, Case management กฎหมายที่เกี่ยวข้อง Clinical Practice Guidelines เตรียมอาจารย์/ผู้สอนในสาขาใหม่/เดิม
๕. จัดทำแผนพัฒนา ๕ ปี

นอกจากนี้ยังบอกให้รู้ว่าสภาการพยาบาลได้เสนอโครงการอะไรไปบ้าง จะผลิตกำลังคนด้านใด จำนวนเท่าไหร่ ใช้งบประมาณมากน้อยเพียงใด รวมทั้งแผนการลงทุนด้านพยาบาลศาสตร์ระหว่างปี ๒๕๕๒-๒๕๕๐

ต่อจากนั้นเป็นการบรรยายเรื่องนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการพัฒนากำลังคนสาขาสุขภาพเพื่อการจัดการกับโรคค่าใช้จ่ายสูงของประเทศ โดย นพ.ชูชัย ศรชำนิ ผอ.สำนักนโยบายและแผน

นพ.ชูชัยเล่าว่า สปสช.เกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๕ ระยะปี ๒๕๔๕-๒๕๔๙ มัวสาระวนอยู่กับการทำงานให้คนไทยประมาณ ๓๐ ล้านที่ยังเข้าไม่ถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพ ในปี ๒๕๔๘ มีคนไทย ๙๘% เข้าถึงแล้ว กลายเป็นภาระของผู้ให้บริการ อัตราเพิ่มของ demand สูงขึ้นเพราะ access มากขึ้น แต่ supply ไม่พอ ก็เกิด chaos

ต้องหันมาสนใจปัญหาของชาติ เช่น โรคค่าใช้จ่ายสูง โรคเรื้อรัง สปสช.เข้ามารับในเรื่องของการพัฒนาบุคลากร ส่วนการผลิตเป็น part ของกระทรวงสาธารณสุข อีก ๑๐ ปี ข้างหน้าจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ ต้องเตรียมการสำหรับเรื่องนี้ เช่น สวัสดิภาพด้านสังคม ความมั่นคงด้านการเงิน สุขภาพ ยิ่งมีอายุสูงขึ้น การ utilize ด้านสาธารณสุขจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายด้าน health care สูงขึ้น

ธงของ สปสช.คือต้องทำหลายๆ อย่าง
- resource generation หาทางเลือกหลายๆ ทางในการหา resource
- financing มีงบฯ จำนวนหนึ่งให้ไปพัฒนาโมเดล รวมทั้ง R2R
- service provision พัฒนาภาคบริการ
- stewardship กำลัง work out กับ อปท. พม.

ปรัชญา/แนวคิดของหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย สิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มักจะ cover คนยากคนจน คนจนเข้าถึงระบบน้อยกว่า จะมาเมื่อ serious, late stage แล้ว ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งสูง สิ่งที่ต้องทำคือทำให้คนเหล่านี้เข้าถึง health promotion, control, prevention

การจัดการโรคค่าใช้จ่ายสูง จัดเป็น ๓ หมวดหมู่คือ Case management เช่น CA โรคไต disease management เช่น พวก metabolic disease, DM, AIDS, TB และ Intensive management (Pilot contract)

การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพดีขึ้น แต่ยังมีปัญหาการกระจายของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรัง สปสช.คงจะมีส่วนในภาคของการพัฒนา สำนักนโยบายและแผนจะเน้นเรื่อง R2R, Model development ในเรื่องเกี่ยวกับ high cost care, long term care, community base development ส่วน incentive จะไม่ใช่ directly incentive รวมทั้งสนับสนุนโครงการ training โดยให้ทางต่างจังหวัดก่อน ที่ให้แล้วคือ PD nurse

อยากเห็นมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดได้มีงาน Model development for chronic care เพื่อขยายเครือข่าย เจ้าหน้าที่จะได้ไม่ต้องวิ่งมากรุงเทพ

ประเด็นสำคัญที่ สปสช.กำลังทำ มีอะไรบ้าง เช่น กำหนด national targets & directions, well balance drug ปรับระบบ payment ให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ฯลฯ มีงบฯ แต่ละประเภทเท่าไหร่ มีส่วนไหนที่สถาบันวิชาการจะใช้ได้ ในเรื่องอะไรบ้าง

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 211500เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2008 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับอาจารย์คุณหมอวัลลา

  • เห็นพี่สาวที่อยู่ รพ.อำเภอโชคชัย กำลังอบรมอยู่ที่ รพ.มหาราชนครราชสีมา น่าจะเป็นหลักสูตรนี้
  • บอกว่าใช้เวลา 4 เดือน
  • แต่ไม่ได้สอบถามว่าอบรมรมเฉพาะทางด้านใด

ขอบคุณครับ

 

เรียน อาจารย์

ขออนุญาตปรึกษานะคะ มีพยาบาลหลายคนจบด้านระบาดวิทยา(ป.โท) และได้มารับงานด้าน IC เป็น ICN มีบางคนได้ข้อมูลมาว่า สามารถปรับเป็นโท ทาง IC ได้ แต่ต้องไปเรียนเพิ่มหน่วยทางการพยาบาล ไม่ทราบว่า อาจารย์พอให้คำตอบที่ชัดเจนไหมคะ เพราะดิฉันฟังมาหลายคนแล้วไม่แน่ใจ รบกวนอาจารย์กรุณาให้ความกระจ่างด้วยนะคะ(ในส่วนที่อาจารย์ทราบ)

เรียนคุณวรัทยา

จะหาข้อมูลให้นะคะ ตอนนี้มีพยาบาลดมยาที่ผ่านการอบรมดมยาแล้ว สภาการพยาบาลให้เรียน/อบรมรายวิชาทางการพยาบาลเพิ่ม จะได้สอบ APN ได้

ลองเข้าไปดูข้อมูลใน website ของสภาการพยาบาลด้วยนะคะ อาจมีบอกไว้

เรียน วัลลา ตันตโยทัย

ดิฉันได้อ่านกระทู้ แล้วรู้สึกได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นมากคะ ดิฉันขอความกรุณาสอบถามเพิ่มเติมว่า การเรียนรู้เฉพาะทางของพยาบาลมีด้านใดบ้างค่ะและหากต้องการมีความก้าวหน้าในอาชีพนอกจากด้านเฉพาะทางมีอะไรอีกบ้างค่ะ. ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท