ทักษะชีวิต (Life skills)


ทักษะชีวิต (Life skills)

การเรียนรู้ทักษะชีวิต

                                                                            รศ.มัณฑรา  ธรรมบุศย์                              

                    ทักษะชีวิต (Life skills)  หมายถึงทักษะที่มนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องมีและต้องใช้ในชีวิตประจำวัน  เพื่อช่วยให้ตนเองมีความสุข  สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และประสบความสำเร็จ   ทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มีอยู่ 2 อย่างคือ ทักษะทั่วไป (Generic Skills) กับ ทักษะวิชาชีพ (Profession Skills)    ทักษะทั่วไปเป็นทักษะที่มนุษย์ต้องใช้ทุกวันเพื่อการมีชีวิตอยู่ แต่ทักษะวิชาชีพเป็นทักษะที่มนุษย์จำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการหาเลี้ยงชีพ  

ในอดีต มนุษย์ยังไม่เห็นความสำคัญของทักษะวิชาชีพเท่าใดนักเนื่องจากประชากรยังมีน้อย  การแข่งขันในการทำงานก็ไม่มากนัก   แต่ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา โลกของการทำงานและโครงสร้างของงานได้เปลี่ยนแปลงไป  ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ เกิดโลกาภิวัตน์ทางด้านการค้าและอุตสาหกรรม (Globalization of commerce and industry)  และมีการนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในการทำงานมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้คนงานที่ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศและด้านเทคโนโลยีประสบปัญหาในการทำงาน  บางคนต้องออกจากงาน   เพราะเหตุนี้จึงทำให้สถานศึกษาต่าง ๆ ต้องปรับปรุงหลักสูตรและรายวิชาในโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและความเชี่ยวชาญในสาขาที่จะออกไปประกอบอาชีพ

                       

ทักษะชีวิตเพื่อความสำเร็จในอาชีพ (Life Skills for Vocational Success)

1.      ทักษะทางสังคม  (Social Skills)   ซึ่งได้แก่

1.1 ทักษะในการติดต่อสื่อสาร (Communication skills)

1.2   การจัดการกับความโกรธ (Anger management)

1.3   การจัดการกับความขัดแย้ง (Conflict resolution)

1.4   การผูกมิตร (Make friends)

1.5   การสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (Get along with co-workers)

1.6   ทักษะในการใช้เวลาว่าง (Leisure skills)

2. ทักษะในการตัดสินใจ  (Decision-making skills) และการแก้ไขปัญหา (Solving problem)

3. ความสามารถในการทำงาน (Employability)  ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้

3.1  การจัดการเรื่องเวลา  (Time management)

3.2  การเริ่มต้นงานในวันแรกของการทำงาน  (first day on the job)

3.3  การแต่งกายได้เหมาะสม (Proper attire)

3.4  ทักษะทางสังคมในสถานที่ทำงาน (Social skills in the workplace)

3.5  การวางตัวในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม (Acting appropriately on the job)

3.6  พฤติกรรมทางเพศในสถานที่ทำงาน (Sexual behavior in the workplace)

3.7  ผลงานและคุณภาพในการทำงาน (Productivity and quality on the job)

3.1  การมีเจตคติที่ดี (Good attitude)

3.2  การปรับตัวให้พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง (Adapt to change)

3.3     ความปลอดภัยในการทำงาน (Safety on the job)

3.4     การปฏิบัติงานตามสายงาน (Following chain of command)

4. การบริหารการเงิน (Money management)

    4.1 การขอความช่วยเหลือด้านการเงิน

    4.2 สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงาน (Benefits of the job)

    4.3 การใช้บริการของธนาคาร (Using bank services)

    4.4 ความเชื่อถือทางด้านการเงิน (Credit)

    4.5 การทำงบประมาณ (Creating a budget)

    4.6 วิธีเก็บรักษาเงินของตนเอง (How to protect your money)

    4.7 ปัญหาหนี้สิน (Problems with debt)

    4.8 เปรียบเทียบการไปซื้อของ (Comparative shopping)

    4.9 การจ่ายใบเสร็จ (Paying bills)

5. การเดินทางไปทำงาน (Transportation)

5.1     การเดินทางโดยรถประจำทาง

5.2     การให้ความไว้ใจแก่คนที่รู้จักเพื่อการเดินทาง

5.3     การเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนตัว

6. สุขภาพ (Health)

   6.1 การออกกำลังกาย (Physical fitness)

   6.2 โภชนาการ (Nutrition)

   6.3 การจัดการกับความเครียด (Stress management)

   6.4 การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำลายตนเอง (Avoid destructive behaviors)

   6.5 การไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ได้ถูกต้อง (Seek and follow appropriate

        medical advice)

   6.6 การสร้างสุขนิสัยที่ดี (Adopt Good personal health habits)

   6.7 การหลีกเลี่ยงโรคที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases)

   6.8 การใช้วันลาป่วยอย่างฉลาด (Using sick time benefits wisely)

7. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว (Family responsibilities)

   7.1 การตั้งครรภ์ (Pregnancy)

   7.2 การเลี้ยงดูเด็ก (Child care)

   7.4 เรื่องอื่น ๆ ในครอบครัว (Other family issues)

8. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย (Basic understanding of the law)

   8.1 การกระทำผิดด้านอาชญากรรม (Criminal violation)

   8.2 กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (Laws related to the workplace)

   8.3 การเล่าประวัติด้านอาชญากรรมให้นายจ้างทราบ (Explaining a criminal history to employers)

   8.4 การจ้างนิติกร (Hiring a lawyer)

 9. ทักษะการใช้โทรศัพท์ (Telephone skills)

    9.1 การค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ (Finding phone numbers)

    9.2 การสอบถามข้อมูล (Asking information)

    9.3 งานที่ต้องอาศัยทักษะการใช้โทรศัพท์ (Work related telephone skills)

    9.4 การใช้โทรศัพท์ทางไกล (Making long-distance phone calls)

 

http://edu.chandra.ac.th/teacherAll/mdra/data/life%20skills.doc

 

คำสำคัญ (Tags): #ทักษะชีวิต (life skills)
หมายเลขบันทึก: 210944เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2008 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทักษะชีวิตที่ได้รับในวันนี้ เป็นเรื่องที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันทั้งนั้นเลยครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท