แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถาบันพระปกเกล้า


การจัดการความรู้

ทดสอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเมืองการปกครอง  สันติวิธีและธรรมาภิบาล 

กระบวนการสร้างความรู้

-        Socialization การแบ่งปันและการสร้างความรู้ จากคนไปสู่คน โดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงของผู้ที่สื่อสารระหว่างกัน

-        Externalization ความรู้ฝังอยู่ในคนเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง โดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

-        Combination ความรู้ที่ชัดแจ้งไปสู่ความรู้ที่ชัดแจ้งโดยรวบรวมความรู้มาสร้างเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งประเภทใหม่ๆ

-        Internalization การแบ่งปันและสร้างความรู้จากความรู้ที่ชัดแจ้งไปสู่ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน นำความรู้ที่เรียนมาไปปฏิบัติจริง

 

หลักการจัดการความรู้

-        Artifact : ความรู้ในรูปเอกสาร ลายลักษณ์อักษร

-        Skills : เป็นทักษะ

-        Heuristics : ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ ประสบการณ์

-        Experience : ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล (ยากแก่การถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยน)

-        Natural Talent : พรสวรรค์ หรือสิ่งที่ธรรมชาติให้มา ยากที่จะบริหารจัดการได้ เป็นความรู้ที่ฝังลึกและยากในการถ่ายทอด

 

การจัดการความรู้

-        การจัดการความรู้เอื้อให้เกิดความรู้ใหม่ โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่ ประสบการณ์ของคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ พัฒนานวัตกรรมที่จะทำให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งทางธุรกิจ

-        การจัดการความรู้เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่ หรือเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การสร้าง รวบรวม และเปลี่ยนและใช้ความรู้

 

กระบวนการจัดการความรู้ทำได้อย่างไร

-        การค้นหาความรู้ (Knowledge Identification)

-        การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)

-        การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)

-        การะประมวลผลและการกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)

-        การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)

-        การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Exchange)

 

การค้นหาความรู้ (Knowledge Identification)

-        ค้นหาคำว่าองค์กรมีความรู้อะไรบ้าง รูปแบบใด อยู่ที่ใคร

-        ความรู้อะไรที่องค์กรจำเป็นต้องมี

-        ทราบว่าขาดความรู้อะไรบ้าง หรือทำแผนที่ควรรู้

1. แผนที่ความรู้คือช่วยให้เห็นภาพรวมของคลังความรู้ องค์กรมีความรู้อะไร จะหาความรู้ที่ตนเองต้องการได้จากที่ไหน

2. เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางความรู้ที่องค์กรสามารถใช้เป็นฐานในการต่อยอดขยายความรู้ในเรื่องต่างๆ อย่างเป็นระบบ

-        จัดลำดับความสำคัญของความรู้เหล่านั้น

 

การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation & Acquisition)

-                   จากแผนที่ความรู้ ทำให้ทราบว่ามีความรู้ที่จำเป็นต้องมีอยู่หรือไม่

-                   วิธีการในการดึงความรู้ที่อาจกระจัดกระจายมารวมไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสม และตรงกับความต้องการของผู้ใช้

 

การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)

-                   เพื่อให้ค้นหา นำความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์

-                   จัดทำสารบรรณ จัดเก็บความรู้ประเภทต่างๆ

-                   ค้นหา นำมาใช้ได้ง่าย และรวดเร็ว

 

การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)

ประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจ

o  จัดทำหรือปรับปรุงรูปแบบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

o  ป้อนข้อมูล จัดเก็บ ค้นหา ใช้ข้อมูลสะดวกรวดเร็ว

o  ใช้ ภาษา เดียวกันทั่วทั้งองค์กร โดยจัดทำคำอภิธานศัพท์

o  เรียบเรียง ตัดต่อ ปรับปรุงเนื้อหาให้มีคุณภาพ ครบถ้วน เที่ยงตรง ทันสมัย

 

การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)

มีวิธีการในการจัดเก็บความรู้เพื่อใช้ประโยชน์

o  “Push” (การป้อนความรู้) ส่งข้อมูล / ความรู้ให้ผู้รับ เช่น การส่งหนังสือเวียน การส่งข่าวสารต่างๆ

o   “Pull” (การให้โอกาสเลือกใช้ความรู้) การให้ผู้รับสามารถเลือกรับ หรือใช้แต่เฉพาะข้อมูล / ความรู้ที่ต้องการเท่านั้น

 

การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้  (Knowledge Exchang)

-                   การแบ่งปันความรู้ประเภท Explicit เช่น การจัดทำเอกสาร จัดทำฐานความรู้ การจัดทำสมุดหน้าเหลือง นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

-                   การแบ่งปันความรู้ประเภท Tacit ผสมผสานเพื่อผู้ใช้ข้อมูลสามารถเลือกใช้ได้ เช่น

o  ทีมข้ามสายงาน

o  Quality Circles

o  ชุมชนแห่งการเรียนรู้

o  ระบบพี่เลี้ยง

o  การสับเปลี่ยนงาน

o  เวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้

o  การเรียนรู้

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 210668เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2008 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • แวะมาเรียนรู้วิชาการค่ะ

  • coffee break ค่ะ

องค์กรที่ดูเหมือนเป็นองค์กรที่เป็นคลังวิชาการ และงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ผลลัพธ์ที่จะนำมาผลักดันสังคมไทยที่กำลังป่วย อ่อนแรงเต็มที

มีคำถามว่า "เพราะอะไร"

คำตอบคือ องค์กรขาดการจัดการความรู้ จึงทำให้ทุนขององค์กรที่มีอยู่ ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเต็มที่ เต็มประสิทธิภาพ

เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย...

การเริ่มคิดเพื่อสร้างสรรค์องค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ในช่วงเริ่มต้น ต้องใช้พลังสูงในการทำความเข้าใจร่วมกัน ว่าเส้นทางในการ "จัดการความรู้" นั้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะเกิดคุณูปการอย่างไรกับ บุคคล และ องค์กร

นอกจากการพัฒนาระดับปัญญาของคนในองค์กรแล้ว บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความเป็นมิตร สมานฉันท์ และสร้างความสุขร่วมกัน

เป็นสังคมานุภาพ ที่เต็มไปด้วยพลังปัญญาและความสุข

ให้กำลังใจคนทำงานสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ครับ

 

 

  • ตามมาแล้วครับพี่เอก
  • ปกติใช้หลากหลายรูปแบบของการเรียนรู้
  • พยายามให้นิสิต
  • ค้นหาความรู้ทั้งที่เป็น Tacit knowledge และ Explicit knowledge
  • นอกจากนี้ยังใช้การเรียนแบบการแลกเปลี่ยน knowledge sharing ครับ
  • ขอบคุณครับ
  • มาเพิ่มครับ
  • ปกติเครื่องมือที่ใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มีหลายแบบเช่น  wiki ใช้ bullectin board , chat room , audio conference แต่โดยทั่วไปเครื่องมือ ICT สามารถแบ่งเป็น
  • 1.ประเภทที่อยู่ที่เดียวกันเวลาเดียวกันเช่น การประชุมที่ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • 2. ประเภท ต่างที่ ต่างเวลากัน เช่น teleconference, internet conference
  • 3. ประเภทที่เดียวกันแต่ต่างเวลา เช่น mailbox
  • 4. ประเภทต่างที่ ต่างเวลา เช่น e-mail, bullectin board นอกจากนี้ยังเป็น blog เช่น gotoknow ของเรา
  • อยากให้มีการใช้ blog ในด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสังคมบ้านเรามากกว่านี้ครับ
  • ขอบคุณครับ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท