หลักสูตรสถานศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: ใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง


งานแปลผู้เขียน Laurie Brady & Kerry Kennedy

หลักสูตรสถานศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: ใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง

วัตถุประสงค์

เมื่อจบบทนี้สามารถที่จะ

·       แยกแยะความหมายที่หลากหลายที่ฝังอยู่ในคำว่าหลักสูตรสถานศึกษาและจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน

·       มีคำจำกัดความสำหรับคำว่า หลักสูตรสถานศึกษา

·       เข้าใจบทบาทของ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรสถานศึกษา

·       ทราบบทบาทของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความแตกต่างกันออกไป

 

สถานศึกษาเป็นชุมชนของการแสงหาความรู้ สถานศึกษาจึงต้องมีหลักสูตรของตนเอง คือหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลและประสบการณ์อื่น ๆ ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้ทั้งรายวิชาที่เป็นพื้นฐานและรายวิชาที่ต้องการเรียนเพิ่มเติม เป็นรายปีหรือรายภาค จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกภาคเรียน และกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการจัดหลักสูตรสถานศึกษา

หลักสูตรจะต้องสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ และเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของการศึกษา ผู้สอนต้องปรับปรุงกระบวนการสอนและประเมินกระบวนการสอนของตน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การศึกษาจะเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ถ้าหลักสูตรมีการปรับปรุง ให้เป็นไปตามความต้องการและความจำเป็นตลอดเวลา

                การจัดทำหลักสูตรและมีการทำงานร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานในการวางแผนจัดทำหน่วยการเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศออสเตรเลีย จากการเคลื่อนไหวด้านหลักสูตรสถานศึกษานี้ จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการหลักสูตรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตร และเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนได้วางแผนและจัดทำหลักสูตรระดับท้องถิ่นด้วยตนเอง โดยมีการสนับสนุนและอนุญาตให้ครูหยุดสอนในวันหลักสูตร (Curriculum days) เพื่อให้ครูได้วางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับหลักสูตร ต่อมาได้มีการรวมตัวกันของครูนี้ทำให้เกิดพลังและนำไปสู่การเขียนวารสารที่ชื่อ ครูออสเตรเลีย (Australian Teacher)   ซึ่งกลายเป็นวารสารที่ช่วยประชาสัมพันธ์ด้านการศึกษาและการปฏิรูปหลักสูตร ของรัฐต่าง ๆ ในออสเตรเลีย


ในประเทศออสเตรเลีย พบว่า   ครูจำนวนมากขาดความสนใจและไม่เข้าร่วมในกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งครู ผู้ปกครอง และนักเรียนจำนวนมากขาดทักษะในการทำงานกลุ่มและการตัดสินใจ่วมกันในการปฏิบัติงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  ซึ่งในประเทศแคนาดาก็พบปัญหาการขาดทักษะของครูทางด้านประสบการณ์ และแรงจูงใจในการพัฒนาหลักสูตร เนื่องมาจากถูกควบคุมในการพัฒนาหลักสูตรโดยกลุ่มผู้มีความรู้และมีอำนาจเพียงไม่กี่คน

ปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

1. ครูมีความรู้และความสามารถด้านการพัฒนาหลักสูตรไม่เพียงพอในด้านการ

วางแผน  ออกแบบ  การนำหลักสูตรไปใช้   และการประเมินผลหลักสูตร ครูขาดความมั่นใจ   และวิตกกังวลในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร  ดังนั้น จึงควรมีโปรแกรมพัฒนาความรู้และความสามารถของครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการพัฒนาหลักสูตรก่อนพัฒนาหลักสูตร

2.ครูขาดแรงจูงใจและมีเจตคติทางลบต่อการพัฒนาหลักสูตร  โรงเรียนที่ล้มเหลว

เกี่ยวกับโครงการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เนื่องมาจากการที่ครูมีเจตคติทางลบและเกิดการ

ต่อต้านจากครู ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารที่จะส่งเสริมและสนับสนุนบรรยากาศของโรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น และมีการพัฒนากลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มีเจตคติ และแรงจูงใจที่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตร

3. โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการพัฒนาหลักสูตรโดยโครงสร้าง

ของโรงเรียน และการบริหารจัดการเป็นสายงานบังคับบัญชาแบบดั้งเดิม

                               4.   ขาดการวางแผนด้านเวลา     การที่ไม่มีการวางแผนเรื่องเวลาในการทำงาน

พัฒนาหลักสูตร ไม่ลดคาบสอน เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกัน การสะท้อนความคิดและการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งเวลานี้เกี่ยวพันไปถึงเจตคติ และระดับแรงจูงใจของครู  ครูและผู้มีส่วนร่วมบางส่วนจึงอาจมีปฏิกิริยาต่อต้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาได้

5.  ขาดผู้เชี่ยวชาญสนับสนุน  โดยขาดผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้  ความเข้าใจ และทักษะใน

การให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร

6.   ขาดงบประมาณสนับสนุน ในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และเงินสนับสนุนช่วยเหลือครู

แต่ละวันในการพัฒนาหลักสูตร

7.       บรรยากาศของโรงเรียนที่ไม่ส่งเสริมการทำงาน เนื่องจากขาดผู้นำที่มี

ประสิทธิภาพและเกิดจากมีผู้ต่อต้านในการพัฒนาหลักสูตร  


ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลักสูตรสถานศึกษา

บุคคลที่สำคัญอันดับแรกๆเลยก็คือ นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและครู บุคคลเหล่านี้สนใจหรืออาจจะไม่สนใจในสิทธิประโยชน์ร่วมกันนี้

ผู้บริหารส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่มีอำนาจในการบริหารจัดการคน เงิน และงานเป็นสำคัญ ซึ่งอำนาจนี้ได้มาจากการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหาร การใช้อำนาจเหล่านี้กลับไม่เพียงพอที่จะรองรับการบริหารองค์กรท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากมาย ตัวอย่างสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาก็จะพบว่าการนำสถานศึกษาไปสู่ความสำเร็จในการสร้างเด็กให้มีสัมฤทธิผลทางการศึกษา (เก่ง) ควบคู่ไปกับการมีคุณลักษณะ (คุณธรรม) ต้องดำเนินการไปในขณะที่มีความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ปกครอง การมีเครือข่ายผู้ปกครอง ทำให้ต้องทำงานแบบเปิดกว้างมากขึ้น การมีระบบการประเมินภายนอก การมีระบบ Admission รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงผู้กำหนดนโยบายบ่อย

การบริหารที่ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มากมายเหล่านี้ ทำให้ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าทำให้โรงเรียนมีคุณภาพได้อย่างไร ซึ่งเป็นความต้องการร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และจะต้องนำพาหรือได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงานในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนการทำงานไปสู่ความสำเร็จ คือ คุณภาพตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้น การได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารที่สามารถควบคุมการเงินและงานได้จึงมิได้เป็นปัจจัยทำให้เกิดภาวะผู้นำ แต่ผู้นำในยุคใหม่จะต้องชี้นำสื่อสารและสร้างการเรียนรู้ อันจะเป็นการลดช่องว่างระหว่างผู้นำกับผู้ตาม หรือทำให้ผู้ร่วมงานสามารถตามทันวิสัยทัศน์ของผู้นำได้

การพัฒนาหลักสูตรมีสิ่งที่จะต้องกระทำเป็นประการแรก คือการกำหนดความมุ่งหมาย ในการกำหนดความมุ่งหมายจะต้องคำนึงถึงจิตวิทยา ปรัชญา เศรษฐกิจ การเมือง  การปกครอง สังคม จริยธรรม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีซึ่งแวดล้อมตัวผู้เรียน  และข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของผู้เรียน ข้อมูลที่ได้จากการพิจารณาปัจจัยดังกล่าวจะได้นำมาใช้เป็นรากฐานในการเลือกเนื้อหาวิชา  และประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่จะนำเข้ามาบรรจุในหลักสูตร  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปในทิศทางที่ได้กำหนดไว้ในความมุ่งหมาย
                หลักสูตรควรได้มาจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้านต่าง ๆ อย่างรอบคอบ หลักสูตรควรพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและสังคม หลักสูตรควรเกิดจากความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) พื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรโดยทั่วไปประกอบด้วยพื้นฐาน 4 ด้าน ได้แก่ พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา พื้นฐานด้านสังคมวิทยา และพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การพัฒนาหลักสูตรให้ประสบความสำเร็จโดยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียงกันตามมิติความต้องการจำเป็นของแต่ละสถานศึกษา มีกิจกรรมร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งหมายถึงกระบวนการสร้างแผนหรือแนวทางในการจัดมวลประสบการณ์ที่จัดทำโดยบุคคลหรือคณะบุคคลในระดับสถานศึกษาเพื่อใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้

ควรพัฒนาสิ่งต่อไปนี้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการบริหารจัดการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  คือ ทักษะเกี่ยวกับหลักสูตร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชา  ทักษะการสร้าง การใช้ และประเมินหลักสูตร และ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้แก่ การเป็นผู้นำในการประชุม/อภิปราย การสื่อสาร การประสานงาน การให้คำปรึกษา   เสนอแนะเพื่อนร่วมงาน   การสอนเพื่อนร่วมงาน   การบำรุงรักษาขวัญกำลังใจและลดความวิตกกังวลของเพื่อนร่วมงาน และการจัดการกับความขัดแย้ง

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษานั้นต้องคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ การสร้างแรงจูงใจให้ผู้มีส่วนร่วม  การเสนอนวัตกรรมที่น่าสนใจและการให้ผู้มีส่วนร่วมได้รับผิดชอบและมีความเป็นเจ้าของ ซึ่งจะมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้รูปแบบกิจกรรมต่างๆ การสร้างบรรยากาศของโรงเรียนที่เอื้ออำนวยมีบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกโรงเรียนสนับสนุน มีทรัพยากร/ข้อมูลที่เพียงพอมีการจัดสรรเวลาที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานร่วมกัน  รวมทั้งมีการวางแผนที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับ ทักษะการพัฒนาหลักสูตรและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้จะส่งผลให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาประสบผลสำเร็จอย่างมีคุณภาพ

                                               

แปลมาจากหนังสือ Curriculum Construction

ผู้เขียน Laurie Brady & Kerry  Kennedy

หมายเลขบันทึก: 210169เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2008 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้ความรู้ครับผม แต่ยาวจังเลย

นางรัตนา พันธ์พิทักษ์

กำลังเรียนเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาอยู่พอดี ขอบคุณมากที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท