ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

เรียนรู้กับ ICN


การดำเนินการเมื่อเกิดการระบาดของการติดเชื้อ

           

           การดำเนินการเมื่อเกิดการระบาดของการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล

การดำเนินการควบคุมการระบาดของการติดเชื้อดื้อยา ต้องดำเนินร่วมกันระหว่างบุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและความร่วมมือร่วใจกัน จึงจะทำให้การควบคุมการระบาดของการติดเชื้อดื้อยาได้ผล

          การดำเนินการมีขั้นตอน  ขอสรุปเป็น ข้อ ๆ นะคะจากการศึกษาอ้างอิงและจากประสบการณ์ บทเรียน

          1. รวบรวมข้อมูล เพื่อให้ทราบลักษณะทางระบาดวิทยาของการติดเชื้อที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นที่ไหน ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลของผู้ป่วย ใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ ซึ่งจะนำไปหาแหล่งรังโรคและวิธีการแพร่กระจาย

               ข้อมูลที่ได้นำมาทำ line listing ให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ป่วยที่   ติดเชื้อ รวมทั้งผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อแต่ไม่มีอาการ

               ข้อมูลประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล เพศ โรค หรือภาวะเจ็บป่วย หอผู้ป่วยที่รักษา การรักษาที่ได้รับ การสอดใส่อุปกรณ์ ตำแหน่งการติดเชื้อ วันที่เริ่มมีอาการ วันที่ตรวจพบเชื้อ

            2. ในระหว่างที่รวบรวมข้อมูลต้องปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันและ ควบคุมการติดเชื้อดื้อยา ไปพร้อมกันด้วย เน้นในเรื่องการล้างมือ การดูแลทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม การแยกอุปกรณ์ของผู้ป่วย ยึดหลัก Contact precautions

            3. สอบสวนการระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาลตั้งสมมติฐาน     

ค้นหาแหล่งรังโรค  วิธีที่แพร่กระจายของเชื้อในครั้งนี้ 

ขอบเขตของหน่วยงานที่เกิดการระบาด  คำนวนอัตราการติดเชื้อ 

            4. ตรวจสอบ ประเมินการปฏิบัติของบุคลากร มีการปฏิบัติครบตามขั้นตอนตามวิธีและระเบียบปฏิบัติหรือไม่ มีการละเมิดในขั้นตอนใด

            5. การประกาศ แจ้งเตือนว่ามีการระบาดของการติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์สาขาโรคติดเชื้อ  คณะกรรมการควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาล

            6. ดำเนินควบคุมการระบาด โดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่   เกี่ยวข้อง ประชุมร่วมกัน ทั้งแพทย์ พยาบาล บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย  ให้ปฏิบัติตามแนวทางอย่างเคร่งครัด  ที่สำคัญอย่าลืมแจ้งเตือนญาติด้วยนะคะ    

           7. รายงานการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเป็นระยะนะคะ และอย่าลืมสรุปรายงาน  ศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานและวิชาการที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมนะคะ 

         วิ่งให้ทันเชื้อโรค ลักษณะและธรรมชาติของเชื้อ  มีความไวต่อยาอย่างไร

 

หมายเลขบันทึก: 209568เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2008 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เจ้าเชื้อโรค....อย่าดื้อให้มันมากเกินไปนะคะ ICN เขาจะเดือดร้อนค่ะ...

สวัสดีคะ คุณพอลล่า

  • เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบนะคะ
  • และต้องพัฒนาคุณภาพงานด้วย
  • เดี่ยวสอบตก ตอบคำถาม พรพ.ไม่ผ่าน
  • การเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาที่เกิดกับผู้ป่วย ต้องรวดเร็วและครบถ้วนนะคะ โดยประสานงานกับห้องปฏิบัติการรายงานผลการ     เพาะเชื้อโดยเร็ว ให้ ICN ก่อน1ชุด ตรวจจับเชื้อร่วมกัน 
  • โดยเฉพาะตอนนี้เชื้อ MDR A.baumannii จะชอบความชื้นมาก อยู่กับน้ำ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมข้างเตียงได้นานมาก
  • ส่วน MRSA อยู่กับผู้ป่วยนานเหมือนกัน

สวัสดีค่ะพี่สาว

- ทีม ICN ขยันจังเลยค่ะ

เชื้อโรคดื้อยังไม่เท่ากับคนป่วยดื้อไม่ยอมไป รพ.

 

สวัสดีคะน้องเพชรน้อย

ตอบช้าไปหน่อยนะคะ ขอบคุณคะที่ชม

ตอนนี้กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่องอยู่คะ

พยาบาลที่หอผู้ป่วยจะมีบทบาทสำคัญที่สุดนะคะป้องกันเชื้อดื้อยา

ขอบพระคุณท่านผอ.ประจักษ์นะคะ

คนป่วยต้องไปโรงพยาบาลนะคะ ปล่อยไว้นานจะรักษายากนะคะ

ขอให้มีสุขภาพดีคะ

  • สวัสดีค่ะ
  • ดูเหนื่อยนะคะ แต่คิดอีกทีก็ดูสนุก ท้าทายดีค่ะ

สวัสดีคะ ป้าแดง

ป้าแดงเหนื่อยกว่านะคะ งานคุณภาพ

แต่ งาน IC กับงานคุณภาพต้องไปด้วยกันคะ

เตรียมรับ reacreditation อีก 4 เดือนข้างหน้า

จะขอคำแนะนำจากป้าแดงนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท