ปรัชญาการศึกษากับพ.ร.บ. การศึกษา 2542


ปรัชญาการศึกษา

ความหมายของปรัชญา 

1. ความหมายโดยนัยแห่งรูปศัพทปรัชญาในภาษาไทย เป็นคำที่ประเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติขึ้นจากคำภาษาสันสกฤตว่าปร + ชญาแปลว่า ความรู้อันประเสริฐ โดยเทียบกับภาษาอังกฤษว่า Philosophy ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า Pholosophia แปลตามรูปศัพท์ว่า Love of Wisdom (ความรักในปัญญา)ปรัชญา = ปร + ชญา (ความรู้อันประเสริฐ)
2. ความหมายโดยนัยแห่งเนื้อหาสาระ
ปรัชญาคือ ศาสตร์สาขาหนึ่ง (an academic discipline) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น ศาสตร์แห่งหลักการ (a science of principles) ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้
2.1 มุ่งแสวงหาความจริง อันเป็นที่สุด (Ultimate Reality หรือ Ultimate Truth)
2.2 มีโครงสร้างของเนื้อหาสาระ ที่แบ่งเป็นสาขาย่อย ดังนี้
2.2.1 อภิปรัชญา หรือ ภววิทยา (Metaphysics หรือ Ontology)
2.2.2 ญาณวิทยา (Epistemology)
2.2.3 คุณวิทยา หรือ จริยศาสตร์ (Axiology หรือ Ethics)
2.2.4 ตรรกวิทยา (Logic) ซึ่งบางตำรารวมไว้กับสาขาญาณวิทยา
2.3 มีศัพท์เฉพาะที่ใช้สื่อความหมายระหว่างกัน
2.4 โดยทั่วไป ใช้วิธีการทางตรรกวิทยา (logic) ในการค้นคว้าหาความจริง วิธีดังกล่าว คือ คิดอย่างเป็นระบบ เพื่อพิสูจน์ความจริงอย่างมีเหตุผล
2.5 เมื่อจะพิจารณาเรื่องใดในเชิงปรัชญา จะกระทำในลักษณะเป็นองค์รวม (Totality) และพิจารณาเรื่องนั้นๆ อย่างกว้างขวาง (Generality) เพื่อให้ได้คำตอบขั้นสูงสุด (Ultimateness) ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นในเรื่องดังกล่าว

ขอบเขตของปรัชญา

ปรัชญา มุ่งตอบคำถาม 3 ด้าน คือ
              1.    อะไรคือสิ่งที่เป็นจริง (What is Real?)
              2.    อะไรคือความรู้ที่ถูกต้อง (What is True?)
               3.    อะไรคือความดี (What is Good?) ซึ่งจำแนกเป็น 2 แขนง ได้แก่
                         3.1  ความดีในแง่ความประพฤติของมนุษย์ หรือ จริยศาสตร์ (Ethics) ซึ่งตอบคำถามว่าอะไรคือความประพฤติที่เหมาะสม(Whatisrightconduct?)
                        3.2 ความดีในแง่ของสิ่งที่มีความงามหรือสุนทรียศาสตร์(Aesthetics) ซึ่งตอบคำถามว่าอะไรคือสิ่งที่มีความงามอย่างแท้จริง(Whatisbeautital?)


ตารางที่1ขอบเขตของปรัชญาในฐานะเป็นศาสตร์แห่งหลักการ

สาขาของปรัชญา

ขอบเขตของเนื้อหา

1. อภิปรัชญา หรือ ภววิทยา
(Metaphysics or Ontology)

  • อะไรคือความจริงสูงสุดWhat is Ultimate Reality?)

2. ญาณวิทยา(Epistemology)

  • อะไรคือความรู้(What is Truth?)
  • ทฤษฎีแห่งความรู้

3. คุณวิทยา หรือ จริยศาสตร์(Axiology or Ethics)

  • อะไรคือความดี (What is Good?)
  • อะไรคือความงาม (What is Beautiful?)

4. ตรรกวิทยา (Logic)

  • วิธีการหาเหตุผล แบบอุปนัย (Induction) และนิรนัย (Deduction)

สาขาของวิชาปรัชญา
          1. ภววิทยา
(Ontoloty หรือ Metaphysics)
เป็นแขนงหนึ่งของปรัชญา ที่มุ่งศึกษาสภาวะแห่งความเป็นจริง หรือธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งหลาย เพื่อจะให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ว่า อะไรคือความเป็นจริงอันเป็นที่สุด (What is Ultimate Reality?) ของสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาล และศึกษาถึงลักษณะของการมีอยู่ เป็นอยู่ (Existence) ของสิ่งทั้งหลาย ว่าอะไรเป็นส่งที่มีอยู่จริง สิ่งที่ว่านั้นเป็นจิต หรือ วัตถุภววิทยา เป็นสาขาที่มีขอบข่ายกว้างขวางมาก เพราะเป็นการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตและสรรพสิ่งทั้งมวลในจักรวาล
           2. ญาณวิทยา
(Epistemlogy) เป็นสาขาของปรัชญาที่มุ่งศึกษาวิเคราะห์หลัก หรือทฤษฎีแห่งความรู้ คำถามหลัก คือ

  •  
    • อะไรคือความรู้ที่ถูกต้อง
    • เรารู้ได้อย่างไรว่าถูกต้อง
    • มีหลักอะไรที่จะช่วยตัดสินความถูกผิด
    • ความรู้มีกี่ประเภท
    • ความรู้ได้มาจากแหล่งใด

ปรัชญาสาขานี้ มีส่วนสัมพันธ์กับการศึกษาอยู่มาก โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับหลักสูตรและการสอน เนื่องจากการศึกษาเป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ และการแสวงหาความรู้ ญาณวิทยา ช่วยให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความรู้ ใน 2 ลักษณะ คือวิธีการได้มาซึ่งความรู้(เรารู้ได้อย่างไร)และประเภทของความรู้วิธีการได้มาซึ่งความรู้ 5 วิธี ได้แก่
(1) รู้โดยข้อมูลทางผัสสะ (Sense Data)
หมายถึง การรู้หรือรับรู้ จากการใช้ประสาทสัมผัส คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทางใดทางหนึ่งหรือหลายๆ ทาง
(2) รู้โดยสามัญสำนึก (Common Sense)
หมายถึง ความรู้สึกหรือการรับรู้ที่คนใดคนหนึ่งมีร่วมกับคนอื่นโดยไม่จำเป็นต้องคิดค้นไตร่ตรองเสียก่อน เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์บางอย่างแล้วสามารถตัดสินได้ว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควรได้ทันที เช่น เมื่อบุคคลไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งทุกคนกำลังสงบนิ่งเพื่อทำจิตเป็นสมาธิ บุคคลนั้นจะรับรู้ทันทีว่าไม่ควรทำเสียงรบกวน การรับรู้เช่นนี้ เรียกว่า Common Sense
3) รู้โดยตรรกวิธี (Logic)
หมายถึง ความรู้ที่ได้รับจากการอาศัยเหตุผล ซึ่งเป็นวิธีการสำคัญที่นักปรัชญา ใช้ตัดสินความถูกต้องของความรู้ หรือความจริง
(4) รู้โดยญาณ หรือ การหยั่งรู้ (Intuition)
เป็นการรู้โดยจินตนาการ หรือ การคิดที่อาศัยสติปัญญาเป็นหลัก เป็นการรู้เฉพาะตัว ไม่อาจพิสูจน์ให้คนอื่นรู้แจ้งเห็นจริงได้ทั้งหมด บางครั้งจึงถูกมองว่าไม่ใช่วิธีการที่จะนำมาซึ่งความถูกต้องของความรู้เสมอไป ต้องผ่านการพิสูจน์โดยตรรกวิธี หรือโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ด้วย
(5) รู้โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Knowledge)
เป็นการรู้โดยอาศัยการสังเกต และการทดลอง เพื่อพิสูจน์ว่าความรู้ที่ได้สังเกตหรือสัมผัส เป็นความรู้ที่ถูกต้อง เมื่อได้ทดลองซ้ำๆ จนได้รับคำตอบที่ไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว จึงถือว่าเป็นความรู้จริง ตราบที่ผลการพิสูจน์ยังไม่เป็นอย่างอื่น
ประเภทของความรู้
(1) ความรู้ประเภทคัมภีร์ (Revealed Knowledge)
คือ ความรู้ที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้แก่ศาสดาของศาสนา เพื่อนำไปเผยแพร่แก่มวลมนุษย์ เช่น คัมภีร์ไบเบิ้ล พระไตรปิฎก คัมภีร์กุรอาน ฯลฯ ซึ่งได้รับการยอมรับจากศาสนิกชนที่นับถือศาสนานั้นๆ ว่าเป็นความรู้สูงสุดที่มีความจริงตลอดกาล เป็นอมตะ และเป็นสัจธรรม
(2) ความรู้ประเภทตำรา (Authoritative Knowledge)
คือ ความรู้ที่ได้จากการบอกเล่า บันทึก หรือถ่ายทอด จากผู้คงแก่เรียน ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ แห่ลงความรู้ประเภทนี้ อาจจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะอนุโลมว่าถูกต้อง
(3) ความรู้ประเภทญาณทัศน์ (Intuitive Knowledge)
คือ ความรู้ที่เกิดจากการหยั่งรู้โดยญาณ ในขั้นแรกก็เกิดขึ้นอย่างกะทันหันแบบบังเอิญ แต่เมื่อนำมาพิสูจน์ ทดลอง และหาเหตุผลประกอบ ก็กลายเป็นความรู้ที่ถูกต้องแท้จริงได้
(4) ความรู้ประเภทเหตุผล (Rational Knowledge)
คือ ความรู้ที่ได้จากการใช้หลักของเหตุผล ซึ่งเป็นวิธีการทางตรรกวิทยา ถ้ามีเหตุผลที่ฟังได้ว่าถูกต้องก็ยอมรับไว้ก่อนจนกว่าจะมีเหตุผลที่ดีกว่ามาหักล้าง
(5) ความรู้เชิงประจักษ์ (Empirical Knowledge)
คือ ความรู้ที่ได้จากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบกับวิธีการทางผัสสะ มีการสังเกต ทดลอง และพิสูจน์ความจริงด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และแปลความหมายข้อมูลด้วยวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ไม่ใช่ความรู้ที่ตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของการวิจัยค้นคว้า และความก้าวหน้าทางวิชาการ
               3. คุณวิทยา (Axiology)
เป็นสาขาของปรัชญา ที่มุ่งวิเคราะห์คุณค่า หรือค่านิยมเกี่ยวกับความดีและความงาม มีลักษณะเป็นปรัชญาชีวิต ที่มุ่งศึกษาความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับสิ่งดีงามหรือคุณค่าใน 2 แง่มุม ดังนี้
(1) จริยศาสตร์ (Ethics)
เป็นเรื่องของความดีความถูกต้องของแนวทางความประพฤติจริยาศาสตร์สนใจพฤติกรรมมนุษย์ในแง่การประเมินค่าของพฤติกรรม หรือการกระทำเพื่อจะกำหนดว่าเป็นการกระทำดีหรือกระทำชั่วถูกหรือผิดยุติธรรมหรืออยุติธรรมโดยพยายามกำหนดหลักเกณฑ์การประเมนค่าไว้เป็นมาตรฐานกลาง
(2) สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics)
เป็นเรื่องของความงาม การตัดสินว่าอะไรสวยอะไรงาม มุ่งศึกษาคุณค่าของศิลปะ ความไพเราะแห่งดนตรี ความงามของธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เพราะมักจะขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจของแต่ละคนคุณวิทยา มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษา เพราะการศึกษามีหน้าที่สำคัญในการปลูกฝังเจตคติ ค่านิยม และความดีงาม ดังนั้น หลักการทางจริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ และสัมพันธ์อย่างมากกับการจัดการศึกษาทุกระดับ
              4. ตรรกวิทยา (Logic)
เป็นสาขาของปรัชญาที่มุ่งศึกษากฎเกณฑ์การใช้เหตุผล การคิดอย่างมีระบบระเบียบ การอ้างอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ
(1) แบบอุปนัย (Induction)
เป็นการอ้างเหตุผล โดยอาศัยความจริง หรือประสบการณ์ย่อยหลายๆ ประสบการณ์ มาสรุปเป็นความจริงหลักทางการศึกษา ได้ใช้วิธีอุปนัยในการสอนและการวิจัย เช่น การวิจัยพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน โดยการสังเกต บันทึก การใช้แบบสอบถาม ฯลฯ หลายๆ คน เป็นรายโรงเรียน แล้วนำมาสรุปเป็นพฤติกรรมผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวม วิธีการดังกล่าวนี้เป็นวิธีการแบบอุปนัย
(2) แบบนิรนัย (Deduction) คือ การอ้างว่าสิ่งหนึ่งเป็นจริง เพราะสอดคล้องกับสิ่งอื่นที่เราทราบอยู่แล้วว่าเป็นจริง เช่น ทฤษฎีการบริหาร กล่าวว่า ถ้าขวัญของบุคลากรในองค์การอยู่ในระดับสูง จะทำให้ผลผลิตสูงตามไปด้วย ดังนั้น ถ้าต้องการทราบว่าขวัญของครูในโรงเรียนอยู่ในระดับใด สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนหรือไม่ ก็จะทำได้โดยอาศัยทฤษฎีที่กล่าวแล้วเป็นพื้นฐาน วิธีการเช่นนี้เป็นการอ้างเหตุผลแบบนิรนัย

ความเป็นมาของปรัชญา
วิวัฒนาการของศาสตร์แห่งหลักการ หรือปรัชญาในซีกโลกตะวันตก อาจจะแบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ
            1. ปรัชญาแบบดึกดำบรรพ์
เป็นความเชื่อของคนยุคโบราณ ก่อนคริสตศตวรรษ ประมาณ 600 ปี ซึ่งตอบคำถามว่าอะไรคือความจริง อะไรคือความรู้ที่ถูกต้อง และอะไรคือความดีความงาม โดยอาศัยการเดา และการเชื่อมโยงกับสิ่งเร้นลับ หรือเทพเจ้า 
 
                2. ปรัชญาที่เป็นระบบ เริ่มพัฒนาเมื่อประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตสมัย โดยนักปรัชญา

ชาวกรีก ที่ถือได้ว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญา คือ Thales นอกจากนี้ คนสำคัญอื่นๆ ได้แก่ Socrates, Plato และ Aristotle ลักษณะสำคัญของปรัชญาในยุคเริ่มเป็นระบบ คือ
                       1. ความรู้และวิทยาการ รวมอยู่ด้วยกัน และเรียกรวมกันว่าปรัชญา

                        2. วิธีคิดอาศัยหลักตรรกวิทยา คือ คิดตามหลักเหตุผล แบบนิรนัย (deduction)ที่มาของปรัชญาที่เป็นระบบ คือ ความสงสัยในความเชื่อเดิมของนักปรัชญาแบบดึกดำบรรพ์ แล้วนำข้อสงสัยนั้นมาตรวจสอบอย่างพินิจพิเคราะห์ ด้วยวิธีการที่เป็นระบบ ได้แก่ (1) ทบทวนใหม่ (2) วิเคราะห์ (3) วิจารณ์ (4) ประเมินค่า  

3.  ปรัชญาสมัยใหม คือ ปรัชญาในยุคปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้น

ของวิทยาศาสตร์ ลักษณะของปรัชญาสมัยใหม่ คือ
              3.1 เชื่อว่าประสบการณ์ทางผัสสะ เป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความจริง
                      3.2  อาศัยวิธีการเชิงประจักษ์ (emperical method) หรือวิธีการแบบอุปนัย (induction) เพื่อค้นหาความจริง
               3.3 วิทยาศาสตร์แยกออกจากปรัชญา
               3.4 ขอบเขตของปรัชญา ขยายไปศึกษาเรื่องธรรมชาติของมนุษย์
ปรัชญาตะวันออก
ความแตกต่างระหว่างปรัชญาตะวันตก กับปรัชญาตะวันออก คือ จุดมุ่งหมายของปรัชญา เนื่องจากปรัชญาตะวันออกเน้นการแสวงหาหลักในการดำเนินชีวิตที่ดีกว่า ดังนั้น ปรัชญาตะวันออกกับศาสนาจึงไม่แยกจากกัน ส่วนปรัชญาตะวันตกเน้นการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของโลกและมนุษย์ โดยอาศัยการคิดวิเคราะห์พิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล ความเป็นมาและวิธีคิดของปรัชญาตะวันออก พิจารณาได้จากปรัชญาของอินเดียว จีน และญี่ปุ่น ดังนี้
1. ปรัชญาอินเดีย เกิดจากความทุกข์ยากของการดำรงชีวิต และความพยายามที่จะค้นหาทางแก้ความทุกข์ ดังปรากฏในหลักศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่ในอินเดีย
2. ปรัชญาจีน เกิดจากความพยายามที่จะเข้าใจวิถีทางของธรรมชาติ และความจำเป็นของมนุษย์ เนื่องจากประเทศจีนมีสภาพภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ไพศาล มีภัยพิบัติที่รุนแรงจากธรรมชาติอยู่เนืองๆ และมีประชากรจำนวนมากมาย และหลากหลายกลุ่ม ดังนั้น ปรัชญาของจีน เช่น ลัทธิขงจื้อ จึงมีลักษณะเป็นหลักจริยธรรมและหลักการปกครอง ซึ่งช่วยให้เกิดความร่วมมือร่วมในกันแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตมากกว่าการคิดเพื่อรู้เพียงอย่างเดียว
3. ปรัชญาญี่ปุ่น เกิดจากพยายามที่จะแก้ปัญหาที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และภัยจากความขาดแคลนของทรัพยากร เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นเกาะ และการมีภัยธรรมชาติจากแผ่นดินไหว และพายุในฤดูหนาว จึงมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าต่างๆ ซึ่งเรียกว่าลัทธิชินโต ผสมผสานกับพุทธศาสนาแบบมหายาน และลัทธิขงจื้อ ที่รับไปจากประเทศจีน เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต

สรุปความแตกต่างระหว่างปรัชญาตะวันออก และปรัชญาตะวันตก

(1) ปรัชญาตะวันตก เป็นการแสวงหาความรู้ โดยอาศัยการคิดวิเคราะห์พิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล
(2) ปรัชญาตะวันออก เป็นแนวทาง หรือหลักการในการดำเนินชีวิต และไม่แยกออกจากศาสนา

กิจกรรมของปรัชญา
เนื่องจากปรัชญาสมัยใหม่ของโลกตะวันตก มุ่งเพื่อแสวงหาความรู้เพื่อจะตอบคำถามที่วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ ในเรื่องที่เกี่ยวกับความจริงสูงสุด ความรู้ที่ถูกต้อง คุณค่าที่ถือว่าเป็นความดีและความงาม ดังนั้น กิจกรรมของปรัชญา จึงจำแนกได้ ดังนี้
1. การอนุมาน หรือเก็งความจริง (Speculative Activity)
2. การสังเคราะห์ (Integrative Activity)
3. การประเมินค่า (Evaluative Activity)
4. การวิพากษ์วิเคราะห์ (Activity)

คุณค่าของวิชาปรัชญา
1. ได้รู้ความเป็นจริงของมนุษย์ โลก และจักรวาล
2. ได้รู้ถึงบ่อเกิด ธรรมชาติ และขอบเขตของความรู้
3. เป็นพื้นฐานที่นำบุคคลไปสู่ความเป็นผู้มีเหตุผล
4. เป็นพื้นฐานที่นำไปสู่ความสุขสมบูรณ์ที่แท้จริง ทั้งของบุคคลและสังคม

ลัทธิปรัชญาที่สำคัญ และมีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาของประเทศตะวันตก มีหลายกลุ่ม และเนื่องจากการศึกษาตะวันตกมีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน จึงควรทำความเข้าใจ กับลัทธิปรัชญาดังกล่าว ได้แก่
1. จิตนิยม หรือมโนคติวิทยา (Idealism)
2. สัจนิยม หรือวัตถุนิยม (Realism)
3. โทมัสนิยมใหม่ (Neo-Thomism)
4. ประสบการณ์นิยม หรือปฏิบัตินิยม (Pragmatism, Experimentalism, Instrumentalism)
5. อัตถิภาวนิยม หรืออัตภาวะนิยม
นักบริหารการศึกษา ควรมีความรู้ความเข้าใจถึงสาระสำคัญของลัทธิปรัชญาเหล่านี้ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้แก่
1. แนวคิดเกี่ยวกับโลก และจักรวาล
2. แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ และวิธีการเรียนรู้
3. แนวคิดเกี่ยวกับจริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์
4. แนวคิดและกระบวนการทางการศึกษาของนักปรัชญาคนสำคัญ

ปรัชญาจิตนิยม มีแนวคิดเกี่ยวกับโลกและจักรวาล ว่าเป็นโลกแห่งจิต” (The World of Mind) และมีแนวคิดว่าความรู้ที่แท้จริง คือจิตที่หยั่งรู้” (Truth as idea)แนวคิดเกี่ยวกับความดี หรือจริยธรรม ของนักปรัชญากลุ่มจิตนิยม คือจริยธรรมเป็นการเลียนแบบความดีอันสมบูรณ์” (imitation of the absolute self) ที่มีค่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาหรือสถานที่แนวคิดเกี่ยวกับความงาม หรือสุนทรียภาพ คือสุนทรียะ เป็นเครื่องสะท้อนถึงมโนคติ” (reflection of the idea)
นักปรัชญาคนสำคัญ คือ Plato
ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่าง 427 – 375 ปี ก่อนคริสตกาล แนวคิดของ Plato มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อการจัดการศึกษาของประเทศตะวันตก ทั้งในสมัยอดีตและปัจจุบัน เช่น
1. แนวคิดเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้
ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้โดยการรื้อฟื้นความจำ (Platonian process of Reminiscence) ซึ่งอาศัยการมองทะลุเข้าไปในตัวเอง (ตรงกับภาษาอังกฤษว่า introspection) หรือ กาวิปัสสนา (ตรงกับคำว่า contemplation)
2. แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม คือ คุณธรรม มี 2 ประเภท ได้แก่ คุณธรรมทางปรัชญา และคุณธรรมทางสังคม ซึ่งต่างกันดังนี้
2.1 คุณธรรมทางปรัชญา เป็นคุณธรรมที่ต้องอาศัยปัญญา เป็นคุณธรรมขึ้นสูงสุด
2.2 คุณธรรมทางสังคม เป็นการกระทำที่ถูกต้องตามความเชื่อหรือประเพณี

3. แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของการศึกษา
คือการศึกษา หมายถึง การให้ความเจริญเติบโต ซึ่งต้องเน้นการอบรมจิตใจ ให้มีระเบียบวินัย
4. แนวคิดเกี่ยวกับบุคคล หรือผู้เรียน
คือ ผู้เรียนแต่ละคนมีองค์ประกอบทางจิตใจ ซึ่งจำแนกเป็น 3 ภาค คือ ภาคตัณหา (Appetite) ภาคน้ำใจ (Spirit) และภาคปัญญา (Wisdom) ซึ่งมีความเข้มข้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล บางคนมีภาคตัณหาสูงกว่าภาคอื่นๆ บางคนมีภาคน้ำใจสูงภาคอื่นๆ แต่บางคนมีภาคปัญญาสูงกว่าภาคอื่นๆ
5. แนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐด้านการศึกษา
คือ รัฐควรจัดการศึกษาให้แก่คนทุกคนในชาติ และควรจัดให้ตามลักษณะขององค์ประกอบด้านจิตใจ โดยให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จนถึงอายุประมาณ 20 ปี และควรให้บุคคลที่มีองค์ประกอบด้านปัญญาสูง ได้ศึกษาต่อไปอีก ในสถาบันการศึกษาขั้นสูง จึงถึงอายุ 35 ปี แล้วฝึกปฏิบัติงานบริหารประเทศต่อไปอีก จนถึงอายุ 50 ปี จนถึงขั้นที่เรียกว่า ราชานักปราชญ์ (Philosopher King) เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตย
1. แนวคิดเกี่ยวกับโรงเรียน
คือ โรงเรียน เป็นสถานที่เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมทางความคิดให้แก่ผู้เรียน ความคิด แสดงออกเป็นสัญลักษณ์ เช่น ภาษา ศิลป คณิตศาสตร์ ฯลฯ จุดมุ่งหมายของโรงเรียน คือ สร้างคนให้เป็นนักศิลปะ และนักภาษา
2. แนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตร
คือ หลักสูตรที่โรงเรียนจัดให้แก่ผู้เรียน ควรเน้นความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ และการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของชีวิต สร้างคุณธรรม มโนธรรม และฝึกคิดหาเหตุผล โดยให้เรียนวิชา ภาษา วรรณคดี ปรัชญา ศาส

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญาการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 208267เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2008 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท