วิถีการเรียนรู้แบบเพลินพัฒนา (๓)


เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ปรีชาญาณจากการไม่คิด

การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใครครวญ เป็นวิถีการเรียนรู้ที่จะก่อให้เกิดปัญญาทั้งกับเรื่องที่อยู่นอกตัวออกไป รวมไปถึงเรื่องของใจที่อยู่ในตัวเองด้วย

ปีการศึกษานี้เป็นปีที่โรงเรียนให้ความสำคัญกับเรื่องของการพัฒนาชีวิตด้านในมาก เพราะ “เด็กเป็นอย่างที่ครูเป็น ไม่ได้เป็นอย่างที่ครูสอน” ครูจึงต้องหาเวลามาทำความรู้จักกับชีวิตด้านในของตนให้ดีเสียก่อน

เพราะบางทีเป้าหมายของงานก็ทำให้เรามุ่งไปข้างหน้า จนลืมมองตนเองและผู้คน ตลอดจนเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่รอบตัว

• การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใครครวญทำให้เราเห็นความงดงามของการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย

• ได้ค้นพบแหล่งพลังงานที่อยู่ข้างในใจของเราเอง ที่เมื่อเปิดใจของเราออกเราก็จะได้คพบกับความชัดเจนของการถ่ายทอดความรู้สึกที่มนุษย์พึงมีต่อมนุษย์ด้วยกันได้มากมายกว่าการสื่อสารด้วยภาษาถ้อยคำ

• การไม่พูดทำให้เราต้องโน้มตัวเข้าไปหากัน เป็นการลดอัตตาที่เคยขังตัวเราเอาไว้จากคนอื่นลง

• มิตรภาพ ความไว้วางใจ คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราใช้ชีวิตและทำงานอย่างมีความสุข

• เกิดการเติบโตภายใน เข้าใจตัวเองมากขึ้น และเข้าใจคนอื่นมากขึ้นจากการได้เรียนรู้ร่วมกัน

• ปราศจากความคิด ไว้วางใจ ยิ้มกับทุกสิ่งได้เสมอ ดูแลความรู้สึกกัน

ที่มา :เก็บตกจากวงสนทนาจิตตปัญญา - สุนทรียสนทนา กับกลุ่มครูโรงเรียนเพลินพัฒนาในหลายคราว

หมายเลขบันทึก: 207911เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2008 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ ... ชอบข้อความนี้มากเลยค่ะ "เกิดการเติบโตภายใน เข้าใจตัวเองมากขึ้น และเข้าใจคนอื่นมากขึ้นจากการได้เรียนรู้ร่วมกัน" ... เชื่อมั่นในการเรียนรู้จากภายใน ค่ะ

ขอบคุณค่ะ หวังว่าคงจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท