เดินตามรอยพ่อ...เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า


...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกินและมีเศรษฐกิจ

การเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน   แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้พอเพียงกับตัวเอง...

      อย่างนี้นักเศรษฐกิจต่างๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย จริงอาจจะล้าสมัย เพราะว่าคนอื่นต้องการเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียกว่าเป็นเศรษฐกิจการค้า  ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียงรู้สึกไม่หรูหรา   แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าการผลิตที่พอเพียงทำได้   อย่างข้าวที่ปลูกเคยสนับสนุนให้ปลูกข้าวให้พอเพียงกับตัวเอง   เก็บเอาไว้ในยุ้งเล็กๆ แต่ละครอบครัวเก็บและถ้ามีพอก็ขาย แต่คนอื่นกลับบอกว่าไม่สมควร      โดยเฉพาะภาคอีสาน เขาบอกต้องปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อที่จะขาย อันนี้ถูกต้อง   ข้าวหอมมะลิขายได้ดี  แต่เมื่อขายแล้วพอตัวเองจะบริโภคเองต้องซื้อ        สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของเศรษฐกิจแบบค้าขาย ภาษาฝรั่งเรียก TRADE ECONOMY ไม่ใช่แบบพอเพียง  ซึ่งฝรั่งเรียก SELF SUFFICIENT ECONOMY     ถ้าเราทำแบบที่ไหนทำได้ คือเศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง   เราก็อยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน...

       (พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะรัฐมนตรี ข้าราชการ ทหาร ตำรวจและประชาชนทุกหมู่เหล่า ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐)

 

ทฤษฎีใหม่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

     ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีตจนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม รวมทั้งการปลูกพืชที่ไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว

     ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากดังกล่าว พระราชดำรินี้ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" อันเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด  

 

ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่หนึ่ง

     ทฤษฎีนี้ เป็นวิธีปฏิบัติของเกษตรกร ที่เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนน้อยแปลงเล็ก (ประมาณ๑๕ ไร่)  โดยมีหลักสำคัญ คือ : ให้เกษตรกร

มีความพอเพียง โดยเลี้ยงตัวได้ (Self Sufficiency)  ในระดับชีวิตที่ประหยัดมีการผลิตข้าวบริโภคพอเพียงประจำปีโดยถือว่าครอบครัวหนึ่ง ทำนา ๕ ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี

     เพื่อการนี้ มีหลักว่า ต้องมีน้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ฉะนั้น ๕ ไร่ ต้องมี๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี จึงได้ตั้งสูตรคร่าวๆ ว่า แต่ละแปลงประกอบด้วยนา๕ ไร่ และพืชไร่และสวน ๕ ไร่ สระน้ำ๓ ไร่ ลึก ๔ เมตร จุประมาณ ๑๙,๐๐๐ลูกบาศก์เมตร (๑๙,๒๐๐) ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ ๒ ไร่ รวมทั้งหมด ๑๕ ไร่ หรือแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ โดยประมาณ เกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่"

 ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่สอง

     สนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมแรงใน

     (๑) การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)

   (๒) การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้งเครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)

   (๓) การเป็นอยู่ (กะปิน้ำปลา อาหารเครื่องนุ่งหุ่ม ฯลฯ) ด้วยความร่วมมือของหน่วยราชการ มูลนิธิ และเอกชน      เกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" ที่วัดมงคลชัยพัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

จังหวัดสระบุรี

  

โครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน อำเภอเขาวง

จังหวัดกาฬสินธุ์

 ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่สาม

     ติดต่อร่วมมือกับแหล่งเงิน (ธนาคาร) และกับแหล่งพลังงาน (บริษัทน้ำมัน) ตั้งและบริหารโรงสี ตั้งและบริหารร้านสหกรณ์ ช่วยการลงทุน ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคาร

กับบริษัทจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน คือ     เกษตรกรขายข้าวในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) ธนาคารกับบริษัทซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ

(ซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรและมาสีเอง)     เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในราคาต่ำ(เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง)     ธนาคารกับบริษัท จะสามารถกระจายบุคคล ฯลฯ

 

 เกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่"

บริเวณโครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน

อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

      เป็นที่ทราบกันดีว่าการพัฒนาประเทศโดยเน้นการส่งเสริมการลงทุนทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมด้วยการระดมทรัพยากรธรรมชาติ

มาใช้เพื่อขยายกำลังการผลิต โดยหวังว่าจะนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนในประเทศนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง

มากจนขาดความสมดุลระหว่างประชากรกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆอาทิเช่น ปัญหาอาชญากร ปัญหาสิ่งแวดล้อม

เป็นพิษ ปัญหาการกระจายรายได้ ปัญหาโสเภณีฯลฯ เป็นผลผลิตตามหลายประการ ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาในระบบผลิตของประเทศ

อุตสาหกรรมซึ่งนำพาประเทศไปสู่หนทางอันมืดมน ทางออกที่ดีที่สุดทางหนึ่งในการแก้ปัญหาคือ การช่วยกันคิดช่วยกันทำบนรากฐานของการพึ่งตนเองและพึ่งกันเองในระหว่างชุมชน

     ทฤษฎีใหม่ในการพัฒนา ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงนับเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

เพื่อให้ประชาชนคนไทยสามารถพัฒนาชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ด้วยรูปแบบที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางนิเวศวิทยาและวัฒนธรรมท้องถิ่นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญ

ในการนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป 

 

 

หมายเลขบันทึก: 207699เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2008 07:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท