ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

การใช้โปรแกรมดูแลคลังยาของเภสัชกร


ปัจจัยที่สนับสนุนการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารเวชภัณฑ์

จากการร่วมออกประเมินผลการดำเนินงานของ คปสอ. ในเขตจังหวัดอุดรธานี พบว่ามีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลชุมชนยังมีความไม่เหมาะสม เช่น การเรียกดูข้อมูลย้อนหลัง การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าการใช้   ชั้นความลับของข้อมูล ความต่อเนื่องของข้อมูล  การเก็บรักษาข้อมูล และอื่น ๆ  ซึ่งมีข้อมูลว่าโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ดมีข้อตกลงเกี่ยวกับการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารเวชภัณฑ์โดยให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ใช้โปรแกรม INV ที่กระทรวงสนับสนุน (ข้อมูลจาก ภก.ปิยเชษฐ์ จตุเทน รพ.เสลภูมิ , 2551 )   , โรงพยาบาลในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ มีการใช้โปรแกรมดังกล่าวและมีการเขียนโปรแกรมประยุกต์เพื่อส่งออกข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานตามที่ผู้ใช้ต้องการ  และตามเกณฑ์มาตรฐาน PSO กล่าวถึง ระบบข้อมูลที่มีมาตรฐาน หมายถึง ระบบข้อมูลที่ประกอบด้วย เกณฑ์มาตรฐานรวม 9 ด้านได้แก่ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล   (2) ความรวดเร็ว  (3) ความถูกต้อง  (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ  (7) ความสามารถในการเข้าถึง  (8) ความสามารถในการตรวจสอบ  (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการข้อมูล ผู้เขียนได้เล็งเห็นว่าการนำแนวคิด 7 S มาวิเคราะห์ปัจจัยที่สนับสนุนการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารเวชภัณฑ์ รวมทั้งศึกษากระบวนงานการบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี จะทำให้สามารถกำหนดทิศทางในการพัฒนาระบบข้อมูลงานบริหารเวชภัณฑ์ที่มีมาตรฐานได้ โดยจะเริ่มงานประมาณกลางเดือนกันยายน 2551 นี้ และได้ความอย่างไรจะมาเล่าไว้ในบล๊อกนะครับ

สมชาย ชิน ภ.09610  เอ้าเพื่อนพ้องน้องพี่เภสัชกร โดยเฉพาะจังหวัดอุดรธานี ใครมีความเห็นอะไร เข้ามาช่วยกันให้ความเห็น ความคิด ความอ่าน วิชาชีพเราจะได้ก้าวรุดหน้า คิดถึง "มงคลนาม" ไว้ครับ คิดถึงฝันวัยเยาว์ของพวกเราได้ไหม ทบทวน ทบทวน ด่วน

หมายเลขบันทึก: 207401เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2008 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ผมคิดว่าจะนำหลักการการบริหารเวชภัณฑ์ หมายความว่า กระบวนการทั้งหมดเกี่ยวกับเวชภัณฑ์ ตั้งแต่

1. การกำหนดนโยบายและการวางแผน

2. การสำรวจความต้องการ

3. การจัดหา / การจัดซื้อ

4. การตรวจรับ

5. การเก็บรักษา

6. การเบิกจ่าย

7. การตรวจสอบ

8. การรายงาน

9. การจำหน่าย

มาเป็นตัวตั้งต้นคำถามก่อน แล้วค่อยลงรายละเอียดใน 9 ประเด็น ของ PSO น่าจะเข้าท่า ไม่ลงเรือ

ฝันของผมคืออยากเห็นเภสัชกรไม่ใช่เพียง STOCK KEEPER แต่น่าจะนำข้อมูลจากการเบิกยาไปทำ DUR น่าจะดีนะครับ หรือวิเคราะห์ปริมาณการใช้ยาในเขตอำเภอตัวเอง แล้วเอาข้อมูลมาคืนให้ประชาชน เช่น คนไข้โรคไตมาเยอะมาก เรากำลังกินยาชุดหรือเปล่า เราก็จะได้ประเด็นทำงานเพิ่มเติมว่า ยาชุดกำลังระบาดนะ ก็จะได้ลงพื้นที่ ไม่ให้ใครเขาว่าได้ว่า มีคนมาก แต่ก็เห็นวิ่งวุ่นกันอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยม ไม่เคยลงไปดูปัญหายาในชุมชน

คิดถึงรายการยาน่ารู้ เมื่อ 20 ปีกว่ามาแล้ว เภสัชกรเราช่วยกันผลักดันให้วิชาชีพมีหน้ามีตา มีความจำเป็นต่อสังคม ตอนนี้ระบบสังคมกำลังทำให้เราต้องย้อนมองตัวเองอีกครั้ง

ทุ่งฝน

แนวคิด “เภสัชกำหนดสเป็กให้ดี ธุรการทำก็ได้” มองว่าเภสัชเจเนอเรทเรื่องนี้ขึ้นมา การกำหนดคุณลักษณะร่วมกัน เช่นไวอัลกลูโคส กับลิโดเคน เหมือนกันมาก น่าจะขยับขึ้นมาทำเรื่องนี้มากกว่า เจมไฟโบรซิล กับ อีริไทรมัยซิน ซึ่งปัจจุบันมีการร่วมกันจัดซื้อทำให้ได้ลักษณะเม็ดยาที่เหมือนกันมาก

ถ้าเราจะไล่ตั้งแต่กระบวนการสรรหา ภายหลังที่ประกาศผู้ชนะรายนี้ไปแล้ว อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการจ่ายยาผิดได้ จากการที่ลักษณะยาเหมือนกัน

การกดดัน หมดยุคที่จะใช้มือทำ เดี๋ยวยูก็ขอข้อมูลนู่นนี่ คอมพิวเตอร์ สปสช.บังคับใช้รหัสมาตรฐานยา ที่ใดที่ยังไม่ได้ใช้ จะมีความยุ่งยากมากเลย จะรับส่งข้อมูลจากกระทรวงไม่ได้เลย โปรแกรมหลากหลายจะต้องปรับตามให้ทัน

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง โรงพยาบาลทุ่งฝน จังวัดอุดรธานี

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภก.อักษร สันติไชยกุล 081-8726492 [email protected]

ลูกจ้าง เป็นแรงงาน เป็นดับเบิ้ลเช็ค แบบคนนึงอ่าน คนนึงหยิบ เคยเกิดกรณีหยิบผิด เช่น นอร์ฟลอก 200 เป็น นอร์ฟลอก 400

จพงเภสัช ให้รับจากกรรมการตรวจรับ ลงทะเบียนรับพัสดุ จัดเก็บโดยมีลูกจ้างช่วย จ่ายทำบันทึกเบิกจ่าย ลงไปเบิกออกมาตัด ตัดที่คอมพิวเตอร์ โดยมีสมุดคุมยอด ลงบันทึก

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 377 รายการ วชย.ให้พยาบาลดูแล เราเป็นพี่เลี้ยงเรื่องระเบียบพัสดุ

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

โปรแกรม DRUG ของสุพรรณบุรี “แม่งไม่บอกห่าอะไรเลย อัพทุกครั้งต้องมีอะไรแลกเปลี่ยน”

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

สรรชนีย์ บัวคอม จพง.เภสัช 2 on m คล่อง

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน 1 ปี 10 เดือน

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ

(1) ความครอบคลุมของข้อมูล

(2) ความรวดเร็ว

(3) ความถูกต้อง

(4) ความเชื่อมโยง

(5) ความทันสมัยของข้อมูล

(6) ความน่าเชื่อถือ

(7) ความสามารถในการเข้าถึง

(8) ความสามารถในการตรวจสอบ

(9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

• การกำหนดนโยบายและการวางแผน ระบบยาเป็นระบบคุณภาพหนึ่ง ที่ต้องการ Reference ที่ชัดเจน การนำยาเข้า ออก ต้องทดแทนกัน กรณีกลุ่มยาเดียวกัน ต้องทำ Monograph ประชุมปีละ 3 ครั้ง โดยมีบันทึกไว้ในการประชุมของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด เช่น ofloxacin กับ ciprofloxacin เกือบเหมือนกันทุกอย่าง ความไวต่อเชื้อ ครอบคลุมกว่าเพียงในแง่ TB (ofloxacin)

การดูยาที่มี Look Like Sound Like เช่น Ampicillin 500 mg. กับ Ampicillin 1000 mg. ของ GPO ต่างกันแค่ฝา

• การสำรวจความต้องการ เริ่มต้นที่ ให้โปรแกรมประมวลผลรวมจำนวนการใช้ยา โดยดูความแตกต่างในช่วงเดือน บางช่วงต้องสต๊อคยาสูง ๆ บางช่วงไม่ต้องสต๊อคเลย โดยจะดูจาก Sum ของเดือน เป็นการดูแนวโน้มของการใช้ยา “ไม่ให้ทื่อ ๆ เกินไป เหมือนเป็นกระดาษทดกันลืม”

• การจัดหา / การจัดซื้อ ขั้นตอนกระบวนการดำเนินการตามระเบียบ โดยเฉพาะซื้อจากองค์การ 53 % ในปีนี้ แต่มีอัตราการเพิ่มเท่ากับโรงพยาบาลอื่น

o เมื่อเกิดความต้องการ ยาขาด ไล่หาบริษัทที่ต้องจัดซื้อ

o ทำเรื่องขอซื้อ

o ทำใบสั่งซื้อ บัญชีพึงรับพึงจ่ายจะมีการปรับปรุงยอดน้อยที่สุด ยอดเจ้าหนี้ผิดไม่ได้ “ทีมงานทำงานต้องการแบบเป็นเลิศ”

• การตรวจรับ

o เมื่อได้รับพัสดุ ฝ่ายจะเชิญกรรมการตรวจมาตรวจรับ

o เมื่อพัสดุถูกต้องครบถ้วน นำมาลงทะเบียนรับพัสดุรวมของหน่วยงาน

o ลงทะเบียนในบัญชีรับเวชภัณฑ์ โดยเภสัชกรอักษร ในฐานะเจ้าหน้าที่พัสดุ “ผมต้องได้เห็นก่อน เพื่อมีข้อผิดพลาดจะได้แก้ไขได้ทันการ”

o ลงรับในโปรแกรม โดย จพง.

o นำเข้าคลัง

• การเก็บรักษา

o ในการนำเข้าคลัง มีการแยกเวชภัณฑ์ที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ และทั่วไป เนื่องจากเงินไม่พอจ่ายค่าไฟ ลดสต๊อค ไม่ให้เกิน 1.5 เดือน ให้การหมุนเวียนเร็ว เพิ่มอุณหภูมิ

• การเบิกจ่าย

o สัปดาห์ละ 1 ครั้ง สอ.เดือนละ 1 ครั้ง แต่ยืดหยุ่นได้

o ขั้นตอนการดำเนินการ

 เขียนเบิก โดย จพง รับรองการเบิก โดย เภสัชกร

 เบิก โดย จพง

 นำมาตัดจ่าย ในโปรแกรม โดย จพง

• การตรวจสอบ

o In process control น้อง ๆ ไปนับยากันเถอะ โดยสุ่ม

• การรายงาน

o บัญชีรับเวชภัณฑ์ ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มีการดำเนินการเป็นปกติ และดำเนินการจัดส่งตามขั้นตอน

o โปรแกรมจะรายงานข้อมูลการใช้ยาประจำเดือนได้

• การจำหน่าย

o ตามระเบียบ

o Dead stock Expire Stock เท่ากับ 0 ถ้าไม่เคลื่อนไหวใน 2 เดือน “ให้ยืมไม่คืน ก็มี”

รพ.พิบูลย์รักษ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภญ.ณัฏฐศรัณย์ อาจนนท์ลา 087-6442978 [email protected]

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 278 รายการ เวชภัณฑ์มิใช่ยา 100 รายการ

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

ระบบ Excel เป็นตารางคำนวณ 1 ชีท

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

อาภาพร ภักดีศรี จพง.เภสัชกรรม 3

สรารัตน์ แฝงสวรรค์ จพง.ภสัชกรรม 3

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน 3 ปี เดือน

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

• การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o การคัดเลือกยาเข้าออก ปีละ 1 ครั้งผ่านการประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด โดยบูรณาการกับงานคุณภาพเรื่องความคลาดเคลื่อนด้านยา ทั้งนี้ จะประชุมทุกเดือน

o คณะกรรมการบริหารเวชภัณฑ์ระดับอำเภอโดยมี สอ. สสอ.มาร่วม

• การสำรวจความต้องการ แต่ละขั้นตอนทำอย่างไร มีใครบ้าง

o แบ่งงานให้ จพง. 2 คน ดูแลยา และเวชภัณฑ์มิใช่ยา

o คำนวณไม่เกิน 3 เดือน ขั้นต่ำกว่า 1 เดือน ให้รายงาน

o ยาองค์การเภสัชกรรมสั่งก่อน ยารวม ยาจัดซื้อเอง อาจจะเป็นราคาเดิมโดยกรณีจัดซื้อเอง จะตกลงราคา

• การจัดหา / การจัดซื้อ

o ทำบันทึกอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง จำนวน ราคา บริษัท โดยระบุให้ใบส่งของที่ส่งมาต้องตรงตามใบสั่งซื้อ โดยเภสัชกร

o ส่งงานการเงิน ให้เซ็นรับ นำส่งโทรสาร

o นำสำเนาใบสั่งซื้อลงรับบัญชีเจ้าหนี้

o กรณีล่าช้าเภสัชกรจะตามเรื่อง

• การตรวจรับ

o ผู้จำหน่ายต้องแนบใบสั่งซื้อ ที่ได้ส่งโทรสารไป มาพร้อมกับใบส่งของเพื่อใช้ในการตรวจสอบ และการชำระเงิน

o จพง.ที่ดูแลเรื่องยา แจ้งให้กรรมการตรวจรับ ตรวจรับเวชภัณฑ์ ให้ตรงตามใบสั่งซื้อ

o จพง. ผู้รับผิดชอบลงรับในสมุดรับเวชภัณฑ์ (สมุดเบอร์ 2)

o จพง.ที่รับผิดชอบนำมาบันทึกในสต๊อคการ์ด

o จพง.ที่รับผิดชอบนำมาบันทึกในไฟล์ Excel ที่ได้พัฒนา เบิก จ่าย สรุปคงคลัง ยอดคงเหลือ

• การเก็บรักษา

o จัดเข้าสต๊อค โดยมี ลูกจ้างผู้ช่วย (พนักงานเภสัชกรรม) และ จพง.

o มีระบบการควบคุมอุณหภูมิ เปิดตลอดเวลาทำการ เลิกงานปิด

o ระบบความชื้น ควบคุมโดยเครื่องปรับอากาศ

• การเบิกจ่าย กระบวนงาน

o แต่ละหน่วยงานส่งวันศุกร์ ผู้รับผิดชอบลงสต๊อคเบิกทุกวันอังคาร

o นำมาตัดสต๊อคการ์ดและ โปรแกรมทุกสัปดาห์

• การตรวจสอบ

o มีการตรวจสอบภายในทุกปี นับทุกรายการหรือสุ่ม และดำเนินการภายในฝ่ายประมาณ 2-3 ครั้งต่อปี

o

• การรายงาน

o มีรายงานตามที่จังหวัดขอ หรือข้อกำหนด

o การนำรายงานมาวิเคราะห์ โดยไม่ให้เกิน 3 เดือน ใช้วิธี นำคงคลังแต่ละเดือนหารด้วยยอดเบิก

• การจำหน่าย

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง โรงพยาบาลกุมภวาปี

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภญ.ชมพูนุท บุตตะโยธี 081-7080957

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 500 รายการ เวชภัณฑ์มิใช่ยา 200 รายการ วัสดุการแพทย์ ซื้อมา จ่ายไป วัสดุอื่น ของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะคัดเลือกเอง กรณีซื้อรวมให้ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชนซื้อ

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

DRUG 4.4 เป็นระบบ Access

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

มี 2 คน

เภสัชกร ทำหน้าที่ รับเข้า , เบิกออก , จัดทำรายงาน , ประมวลผล , ลงฐานข้อมูล , วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนจัดซื้อ

เจ้าพนักงานเภสัชกรรม นส.อัจฉรา ศรีทนงาม ทำหน้าที่ เปิดกล่อง ลงสต๊อคการ์ด เรียงยาขึ้นชั้นร่วมกับคนงาน 2 คน จัดยาให้หน่วยเบิก , การตัดสต๊อคการ์ดให้ผู้ที่เบิกยาตัดที่ชั้นวาง แล้ว นำใบเบิกมาตัดที่โปรแกรมภายหลัง โดยจะแบ่งการตัดสต๊อคในโปรแกรมตามหน่วยเบิก

• หน่วยเบิกภายใน ได้แก่ วอร์ด งานอื่นๆ ให้ จพง.ดำเนิ นการ

• หน่วยงานภายนอก สถานีอนามัย 22 อนามัย รวมโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง และ พีซียูกุมภวาปี ให้ จพง.ดำเนินการ

• ห้องยาโอพีดี ห้องยาไอพีดี ให้เภสัชกรดำเนินการ

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน ปี เดือน

เริ่มใช้ 2546

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

• การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o มีขั้นตอนการดำเนินการ ได้แก่ มีคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ได้ดำเนินการ คือ กำหนดนโยบายได้แก่การใช้ยา DUR รวบรวมมูลค่าการใช้ยาสูงสุด 10 รายการแรก , ลดมูลค่าการใช้ยาอินซูลิน , การสงเคราะห์ยาราคาสูงโดยแพทย์ให้มีการลงนามขออนุมัติใช้ยา กำหนด high alert drug คลังจะดูแลการจัดซื้อยาไม่ให้ Look Like Sound Like

o ปี 2552 กำหนดให้มีการประชุมปีละ 3 ครั้ง วาระการประชุมเกี่ยวข้องกับ การรีวิวยาในโรงพยาบาล , แนวทางการใช้ยา , แนวทางการใช้ยาราคาสูง

o ภญ.ชมพูนุช เป็นผู้รวบรวมข้อมูล

• การสำรวจความต้องการ

o แผนจะมี แผนยาซื้อร่วม , แผนยาแยก (ยาตกลงราคาของโรงพยาบาล) , แผนยาออริจินัล , แผนยาขององค์การเภสัชกรรม , แผนจัดซื้อเกี่ยวกับโหนดตา , บางเดือนจะมีแผนจัดซื้อยาเสพติด

o เมื่อเริ่มปีงบใหม่ จะเริ่มทำแผนจัดซื้อยาและ วชย. ซึ่งจะมีงบประมาณโรงพยาบาลมาให้พิจารณาเทียบเคียงกับแผนการซื้อยา

 แผนใหญ่จะพิมพ์ออกจากโปรแกรม

 นำไปเทียบเคียงกับปริมาณการใช้

 นำมาปรับตามจริง

 มีการจัดทำแผนเดือนด้วย และสอบทาน TRIPLE Check

o แต่ละเดือน หลังจากให้โปรแกรมประมวลผลแล้ว เภสัชกรจะตรวจสอบคลัง ในช่วงก่อนวันที่ 25 ของทุกเดือน พร้อมกับเคลียร์บิล

o ส่งแผนซื้อยาภายในวันที่ 5 ให้หัวหน้าฝ่ายเภสัช เพื่อขออนุมัติจัดซื้อ

• การจัดหา / การจัดซื้อ

o ให้ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ดำเนินการจัดทำเอกสารการจัดซื้อทั้งระบบ โดยใช้ Excel

o กระบวนการจัดซื้อหลังจากจะใช้การโทรศัพท์ แจ้งบริษัท และให้ตัวแทนมาเซ็นรับใบสั่งซื้อ โดยเภสัชกรที่รับผิดชอบ

• การตรวจรับ

o สมุดรับของจากขนส่ง สมุดรับยาจากบริษัท โดยมีข้อมูลลำดับที่ , วันที่รับ , บริษัทที่ส่ง , บริษัทขนส่ง , เลขที่ใบนำส่ง หรืออินวอยซ์ , จำนวนกล่อง , ผู้รับ , ผู้ส่ง เป็นการจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับการสูยหายของใบส่งของ และสอบทานว่าได้รับสินค้าจริง

o เปิดกล่องนับจำนวน กรรมการตรวจรับ ตรวจรับหลังจากทำบันทึกอนุมัติ โดยผู้เปิดกล่องจะบันทึกชื่อสามัญทางยาไว้

o ผู้เปิดกล่อง (ไม่จำกัด) นำอินวอยซ์ส่งที่เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

o

• การเก็บรักษา

o มีบริเวณที่ยังไม่ได้เปิดกล่องจัดไว้ด้านหนึ่ง หลังจากจัดการด้านเอกสารแล้ว จะ ย้ายมาอีกด้านหนึ่ง

o เวชภัณฑ์ทั่วไปเปิดกล่องภายใน 3 วัน ในความเป็นจริงแล้วทำได้ที่ 2 วัน ยาแช่เย็นภายใน 24 ชม. หลังจากเปิดกล่อง รับผิดชอบโดยผู้เปิด ลงชื่อในอินวอยซ์

o เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลนำใบอินวอยซ์มาลงทะเบียนรับเวชภัณฑ์

o เภสัชกรนำใบอินวอยซ์ลงรับในโปรแกรมคลัง โดยตรวจสอบกับทะเบียนรับเวชภัณฑ์ และแยกว่าเป็นยาหรือเวชภัณฑ์มิใช่ยา

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรม นำอินวอยซ์ใบสุดท้ายแยกไปลงสต๊อคการ์ด ซึ่งจะปรับเป็นหลังจากที่เวชภัณฑ์มาถึงแล้วจะนำไปลงสต๊อคทันที

o ใช้โปรแกรมคลังในการตรวจสอบการรับเวชวภัณฑ์ พิมพ์ออกให้ผู้จัด นำเวชภัณฑ์ขึ้นชั้น

o มีการใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิ โดยมีเทอร์โมมิเตอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิ

• การเบิกจ่าย

o การตัดสต๊อคการ์ดให้ผู้ที่เบิกยาตัดที่ชั้นวาง แล้ว นำใบเบิกมาตัดที่โปรแกรมภายหลัง โดยจะแบ่งการตัดสต๊อคในโปรแกรมตามหน่วยเบิก

o หน่วยเบิกภายใน ได้แก่ วอร์ด งานอื่นๆ ให้ จพง.ดำเนิ นการ

o หน่วยงานภายนอก สถานีอนามัย 22 อนามัย รวมโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง และ พีซียูกุมภวาปี ให้ จพง.ดำเนินการ

o ห้องยาโอพีดี ห้องยาไอพีดี ให้เภสัชกรดำเนินการ

o การส่งใบเบิก ให้หน่วยเบิก วันธรรมดา ให้ห้องยาโอพีดี ส่งเช้าจันทร์ รับอังคารบ่าย ห้องยาไอพีดี ส่งเช้าอังคาร รับบ่ายอังคาร หน่วยอื่นส่งใบเบิกพฤหัส ใบเบิกน้ำยาแบ่งบรรจุ ส่งขวดเปล่พร้อมระบุหน่วยงาน รับวันศุกร์ สถานีอนามัย ส่งวันจันทร์ อังคาร รับวันพุธ หรือศุกร์บ่าย

• การตรวจสอบ

o เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลจะประมวลผลการจัดซื้อในแต่ละเดือน โดยใช้ Excel ในการคำนวณ

o ในการตรวจยาประจำปี จะดำเนินการตามระเบียบ ปิดคลังนับเวชภัณฑ์ประมาณ

• การรายงาน

o รายงานมูลค่าการจัดซื้อเวชภัณฑ์ประจำเดือน

o รายงานมูลค่าประหยัด

o รายงานการใช้ยาของ สอ

o รายงานการใช้ยาสมุนไพร

o รายงานการจัดซื้อยาประจำเดือน

o รายงานรายไตรมาส

• การจำหน่าย

o ตามระเบียบ ยาหมดอายุประมาณ ร้อยละ 0.02

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง โรงพยาบาลโนนสะอาด

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภก.วิมุติ อุตตะกัง 085-8531113 [email protected]

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 380 รายการ

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

Excel ที่พัฒนารูปแบบการจัดการโดยใช้สูตร ทั้งนี้ในระบบจะควบคุมเวชภัณฑ์ที่เป็นของโรงพยาบาล โดยเวชภัณฑ์สำหรับสถานีอนามัยนั้นจะจัดซื้อตามแผนและแยกจากคลังยาของโรงพยาบาล

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

ภก.วิมุติ อุตตะกัง

ปานกลาง เวิรด์ , แอกเซส

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน 1 ปี เดือน

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

• การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด มีวาระรับ เข้า ตัดออกเวชภัณฑ์ โดยเภสัชกรมี โดยใช้ข้อมูลหลักได้แก่ มูลค่าเวชภัณฑ์ หรือการเปรียบเทียบการใช้ยาในแง่ประสิทธิภาพของเวชภัณฑ์

o เนื่องจากเภสัชกรอยู่ในช่วงเริ่มการทำงาน การขยายผลเกี่ยวกับการนำข้อมูลยังมีน้อย

• การสำรวจความต้องการ

o ในส่วนของสถานีอนามัย โรงพยาบาลทำหน้าที่จัดซื้อให้ตามแผนที่สถานีอนามัยนำส่ง และไม่ได้สต๊อคไว้ที่โรงพยาบาล ทั้งนี้กรณีที่เวชภัณฑ์ขาดคลัง โรงพยาบาลจะได้ดำเนินการให้โดยสะดวก ซึ่งจะมีแผนรายปี เบิก 3 เดือนต่อครั้ง 4 งวด แต่เนื่องจากเวชภัณฑ์บางรายการมีความจำเป็นต้องใช้เป็นช่วง ๆ แก้ปัญหาโดยให้สถานีอนามัยเบิก แล้วแจ้งให้การเงินบันทึกยอดหนี้และเรียกเก็บ

o แผนจัดซื้อของโรงพยาบาล ได้แก่ แผนจัดซื้อ นำข้อมูล 6 เดือนย้อนหลัง มาประมวลผล ซึ่งขณะนี้ดำเนินการเฉพาะแผนซื้อยาร่วมระดับจังหวัด

o มีแผนรายเดือน โดยสำรอง 2 เดือน ใช้ข้อมูลจากการคำนวณของระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในการควบคุมคลังยา

o ดำเนินการโดย ภก.วิมุติ

• การจัดหา / การจัดซื้อ

o มีระบบฐานข้อมูลการสั่งซื้อ พัฒนาจาก Access

o เมื่อถึงรอบการสั่งซื้อ หรือ มีความต้องการ โดยเภสัชกร เรียกดูจากโปรแกรมคลัง

o กรณีขาดมาก จะโทรสั่ง

• การตรวจรับ

o เปิดกล่องโดยลูกจ้าง ลงบันทึกรับเวชภัณฑ์ (โครงการศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา) เลขที่อินวอยซ์ รายการ จำนวน มูลค่า

o นำยาเข้าคลัง

o นำบิลมาสอบทานจากระบบการสั่งซื้อ ลงข้อมูลในโปรแกรมสั่งซื้อ

o ลงข้อมูลในระบบคลังเวชภัณฑ์

o มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบลงข้อมูลสต๊อคการ์ด

• การเก็บรักษา

o มีสติ๊กเกอร์สีติดบอกอายุยา เขียนตัวเลขเดือนหมดอายุไว้

o ในบัญชีรับยา มีช่องวันหมดอายุ

o ลูกจ้าง จะนำเวชภัณฑ์จัดขึ้นชั้น แบบ FIFO

• การเบิกจ่าย

o ทุกสัปดาห์จะเขียนรายการเบิก โดยผู้รับผิดชอบ นำไปจัดตามที่เบิก ทำสัญลักษณ์โดยสีน้ำเงิน

o นำรายการเบิกไปตัดสต๊อคการ์ด โดยลูกจ้าง

o นำรายการเบิกไปตัดในโปรแกรมโดย เภสัชกร

• การตรวจสอบ

o การตรวจสอบยาขาดคลัง ใช่การคำนวณ จากอัตรา 2 เดือน

o ดำเนินการตรวจสอบตามระเบียบ

• การรายงาน

o รายงานมูลค่าคงคลัง มูลค่าการเบิกจ่ายต่อเดือน มูลค่าการจัดซื้อยาองค์การเภสัชกรรม , มูลค่าประหยัด โดยใช้ Excel

• การจำหน่าย

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง รพ.เพ็ญ

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภญ.ปิยะฉัตร บุญพา 085-0054410 [email protected]

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา ประมาณ 300 กว่า รายการ

เวชภัณฑ์มิใช่ยา ประมาณ 200 กว่า รายการ

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

Mirosoft excel

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

ภญ.ปิยะฉัตร บุญพา เภสัชกร 7 085-0054410 [email protected]

โปรแกรมเบื้องต้นต่าง ๆ เช่น Microsoft Word

การบริหารเวชภัณฑ์ ประกอบด้วย

มีบุคลากร

ภญ.ปิยฉัตร ทำหน้าที่หลัก สั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ , วิเคราะห์ระบบรายงาน

นายมนตรี ทองดอนจุย เจ้าหนักงานเภสัชกรรม ทำหน้าที่ ตัดสต๊อคการ์ด เช็คยาหมดอายุ ตรวจสอบยาขาดคลัง (ต่ำกว่า Minimum Stock)

นายแหลมทอง รอดชมภู ทำหน้าที่ จัดยาให้หน่วยเบิกต่าง ๆ ตามใบเบิก

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน 4 ปี เดือน

ก่อนหน้านี้เคยซื้อโปรแกรมระบบเวชภัณฑ์ (สุพรรณ)

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

• การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o มีคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด มีการประชุมปีละ 2 ครั้ง กำหนดจำนวนรายการยาและเวชภัณฑ์ การเสนอยาเข้า ออก

o บทบาทของเภสัชกรสืบหาข้อมูลตามแบบฟอร์มยาเสนอเข้า เช่น ชื่อ ราคา ยา กลุ่มใกล้เคียง โดยทำเป็นลักษณะโมโนกราฟเปรียบเทียบ LookLike SoundLike

o สิ้นปีงบประมาณ จะมีการวิเคราะห์ คำนวณมูลค่าการเบิกใช้ และนำมาใช้ทำแผนการจัดซื้อด้วย

o สถานะเวชภัณฑ์คงคลัง และมูลค่าเบิกจ่าย ในแง่ของมูลค่า

o มีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานชัดเจน

o คณะกรรมการบริหารเวชภัณฑ์ ระดับโรงพยาบาล มีหน้าที่ที่กำหนดชัดเจน ส่งแผนความต้องการให้ผู้บริหาร นำแผนความต้องการไปสั่งซื้อ ได้รับยาและบิล ส่งบิลให้บริหารการเงินจัดทำเอกสารตรวจรับ

• การสำรวจความต้องการ

o แบ่งกลุ่มยาในบัญชียาหลัก ยานอกบัญชี และยาสำหรับช่วยชีวิต จะมีการสำรวจยาสำหรับช่วยชีวิต ทุกสัปดาห์ ยาในบัญชี ทุก 2 สัปดาห์ ยานอกบัญชี ทุก 4 สัปดาห์ (ทุกดือน) โดยเจ้าพนักงานเภสัชกรรม ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงาน โดยอยู่ประจำการทำงาน

o กระบวนงานสำรวจความต้องการ พิจารณาจากเมื่อดำเนินการตัดการ์ด จะเทียบเคียงกับจำนวนขั้นต่ำทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว ถ้าต่ำกว่าจะจัดทำบัญชีรายการความต้องการ ส่งให้เภสัชกรที่รับผิดชอบ ในบางครั้งอาจพิจารณาโดยใช้ประสบการณ์ส่วนบุคคลของผู้ดูแลสต๊อค

o มีการจัดทำแผนจัดซื้อประจำปี โดยนำมูลค่าจัดซื้อรวมทั้งหมดของแต่ละปี มาเทียบเคียงกับผลการดำเนินงานจริง เพียงแต่ไม่ได้แยกตามรายการเวชภัณฑ์แต่ละรายการ

o เวชภัณฑ์ของ สถานีอนามัย จะมีการจัดทำแผน และนำมารวมในสต๊อดโรงพยาบาล

• การจัดหา / การจัดซื้อ

o หลังจากได้รับบัญชีรายการความต้องการ เภสัชกรดำเนินการจัดซื้อ โดยโทรสาร หรือสั่งซื้อทางโทรศัพท์ โชว์เบอร์

• การตรวจรับ

o แจ้งให้กรรมการตรวจรับ มาตรวจรับที่คลัง ร่วมกับผู้รับผิดชอบ

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมผู้รับผิดชอบนำบิลลงสต๊อคการ์ด

o นำบิลส่งให้เภสัชกร ลงรายการในระบบฐานข้อมูลแบบตารางคำนวณ พิมพ์ออกแนบแทนสมุดรับเวชภัณฑ์ ยังไม่ได้ส่งให้กองควบคุมยา

o เภสัชกร จัดพิมพ์รายการใบส่งของรวบรวม ส่งให้การเงินพร้อมบิล

o การเงินจัดทำเอกสารตรวจรับ

o มูลค่าที่ดำเนินการจะนำไปลงข้อมูลในตารางคำนวณ เพื่อจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทียบเคียงมูลค่าประหยัด ส่งรายงานกระทรวงในรูปของตารางคำนวณ

o สิ้นเดือน ส่งข้อมูลการจัดซื้อให้กระทรวง โดยใช้ข้อมูลจากตารางคำนวณ

• การเก็บรักษา

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมมีหน้าที่จัดทำบัญชียาหมดอายุ จัดทำสติ๊กเกอร์สีแสดงปีที่หมดอายุ โดยพิมพ์เดือนลงไว้

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ในขั้นตอนการลงรับ นำรายการเวชภัณฑ์มาลงไว้ที่บัญชียาหมดอายุซึ่งเรียงตามวันที่ ปีเอาไว้ เมื่อถึงกำหนดล่วงหน้า 6 เดือน จะนำบัญชีไปตรวจสอบกับเวชภัณฑ์ที่มีอยู่จริง โดยเป็นการเฝ้าระวัง

• การเบิกจ่าย

o ห้องยา พีซียู ส่งใบเบิกทุกวันอังคาร รับยาวันพุธ

o เวชภัณฑ์มิใช่ยาส่งใบเบิกวันพฤหัส รับวันศุกร์

o ผู้อำนวยการอนุมัติเบิก

o ลูกจ้างจะดำเนินการจัด

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมนำใบเบิกมาตัดสต๊อคการ์ด

o รวมมูลค่าในใบเบิกแต่ละใบ สิ้นเดือนนำมูลค่าเบิกจ่ายส่งให้เภสัชกรนำไปลงข้อมูลในตารางคำนวณ

o ไม่ได้ใช้ระบบสารสนเทศในการควบคุมเวชภัณฑ์คงเหลือ

o บางระบบรายงานต้องใช้ตารางคำนวณ จึงจะสะดวกและสอดคล้องความต้องการ

• การตรวจสอบ

o เภสัชกรจัดทำแบบฟอร์มรายการเวชภัณฑ์รับจ่าย ประจำปี โดยเจ้าพนักงานเภสัชกรรมจะนำข้อมูลการจ่ายจากสต๊อคการ์ด มาลง

o มีการสุ่มตรวจประจำปีโดยกรรมการตรวจสอบภายใน

• การรายงาน

o รายงานข้อมูลตามที่มีการร้องขอ และตามข้อกำหนด โดยใช้ระบบโปรแกรมตารางคำนวณ

• การจำหน่าย

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง รพ.สร้างคอม

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภญ.จิราวรรณ แสงแจ้ง 042-276231 [email protected]

ทำหน้าที่หลัก จัดซื้อยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา รับยาเข้าโปรแกรมคลังและสต๊อคการ์ด

นายสมัคร พันชมพู เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

ทำหน้าที่ กรรมการตรวจรับ รับเข้าในคลัง (จัดขึ้นชั้น) , เบิกยาให้ห้องยาและฝ่ายอื่น ๆ และตัดเบิกในสต๊อคการ์ดและโปรแกรม

นางสาวอรอุมา แสนโพธิ์ เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

ทำหน้าที่ เบิกยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา ตัดสต๊อคการ์ด และตัดในโปรแกรม

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 293 รายการ

เวชภัณฑ์มิใช่ยา 152 รายการ

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

Microsoft Access (สุพรรณ)

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

3 คนตามด้านบน

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน 2 ปี เดือน

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

• การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด มีการประชุมปีละ 2 ครั้ง ประมาณช่วงเดือนตุลาคม และเดือนพฤษภาคม เพื่อกำหนดนโยบาย

o ในการประชุมเน้นเรื่องการนำยาเข้า ออก โดยให้ทีมแพทย์กรอกข้อมูลยาที่ต้องการใช้ เพื่อให้ภสัชกรหาข้อมูลเปรียบเทียบ เน้นที่ราคา ยังไม่ได้จัดทำโมโนกราฟ เช่น ตัวยาเดียวกันแต่ต่างขนาด หรือ ต่างตัวยา

o การกำหนดความคลาดเคลื่อนทางยา , ยาที่มีความเสี่ยงสูง เป็นต้น

• การสำรวจความต้องการ

o เภสัชกรผู้รับผิดชอบ และสถานีอนามัยจัดทำแผนประจำปี นำมารวบรวมในภาพรวมระดับอำเภอ โดยใช้ข้อมูลจากการเบิกจ่าย ในโปรแกรมคลัง

o อัตรา 1.5 เดือน สำหรับยาที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว อัตรา 3 เดือนสำหรับยาทั่วไป โดยจัดซื้อตามอัตราการใช้

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ทำการตรวจสอบคลังทุกเดือน รวบรวมรายการความต้องการส่งให้เภสัชกร โดยใช้ประสบการณ์ส่วนบุคคลของผู้ดูแลสต๊อคในการพิจารณา โดยใช้แผนประจำปีเป็นตัวคุม

o แจ้งให้เภสัชกรผู้รับผิดชอบ

• การจัดหา / การจัดซื้อ

o ดำเนินการสั่งซื้อ ทางโทรศัพท์ โดยเภสัชกร

• การตรวจรับ

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมตรวจรับ เปิดกล่อง

o นำเวชภัณฑ์จัดขึ้นชั้น

o เภสัชกรลงทะเบียนรับเวชภัณฑ์ในสมุดรับเวชภัณฑ์ ลงรับในสต๊อคการ์ดและโปรแกรมคลัง

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมดำเนินการจัดทำเอกสารตรวจรับ

• การเก็บรักษา

o การจัดทำสติ๊กเกอร์ควบคุมวันหมดอายุ

o สุ่มตรวจจากโปรแกรม โดยเภสัชกร

o จัดทำแบบบันทึกอุณหภูมิตู้แช่เวชภัณฑ์

• การเบิกจ่าย

o ผู้เบิกส่งใบเบิกให้เจ้าพนักงานเภสัชกรรมรวบรวม ภายในสัปดาห์แรก

o รับเวชภัณฑ์ประมาณสัปดาห์ที่สอง

นายสมัคร พันชมพู เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

ทำหน้าที่ กรรมการตรวจรับ รับเข้าในคลัง (จัดขึ้นชั้น) , เบิกยาให้ห้องยาและฝ่ายอื่น ๆ และตัดเบิกในสต๊อคการ์ดและโปรแกรม

นางสาวอรอุมา แสนโพธิ์ เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

ทำหน้าที่ เบิกยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา ตัดสต๊อคการ์ด และตัดในโปรแกรม

• การตรวจสอบ

o การตรวจสอบภายในประจำปี ตามระเบียบ

• การรายงาน

o รายงานความประหยัด ใช้ข้อมูลจากการบันทึกลงทะเบียนรับเวชภัณฑ์ โดยใช้ตารางคำนวณในการบันทึก

o รายงานคงคลังประจำเดือน จากยอดเบิกจ่าย ยอดจัดซื้อ ในแต่ละเดือน นำมาคำนวณ

o รายงาน บว. ส่งให้การเงิน นำข้อมูลจากการจัดซื้อ เบิกจ่าย และคงคลัง รายงานหนี้สะสม

o รายงานบัญชีจัดซื้อประจำเดือน

o รายงานไตรมาส ส่งให้ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กระทรวง ฯ

• การจำหน่าย

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง รพร.บ้านดุง

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภญ.นิตยา ศิริรัตน์ไพบูลย์ 089-7103845 [email protected]

บทบาทหน้าที่หลัก จัดทำแผนประจำปี จัดทำอนุมัติแผน จัดซื้อรายเดือน ตรวจสอบเทียบเคียงระหว่างการ์ดกับคงคลังในโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์

นางสาวศิริพร ศรีเทวินทร์ เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ ตรวจสอบความคลาดเคลื่อนจากแผน ตรวจสอบปริมาณเวชภัณฑ์ในสต๊อคการ์ดทุกเดือน ส่งแผนความต้องการรายเดือนให้เภสัชกรที่รับผิดชอบการจัดซื้อ

เอาบิลมาลงสต๊อดการ์ด

ตัดเบิกจ่ายในสต๊อคการ์ด

เอาบิลลงในสมุดรับเวชภัณฑ์

นางสาวกรรณิกา ศรีสุข เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ นำใบส่งของลงรับเวชภัณฑ์ในสมุดรับเวชภัณฑ์ ลงข้อมูลการรับในโปรแกรม ตัดเบิกจ่ายในโปรแกรม เช็คสต๊อคการ์ดกับคอม

นางสาวบุษราคัม เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ ลงรับยาและเวชภัณฑ์ในสมุดรับเวชภัณฑ์

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 328 รายการ

เวชภัณฑ์มิใช่ยา รายการ

วิธีการจัดการ

ให้ จพง.ลงรับในสมุดรับเวชภัณฑ์ ให้เจ้าหน้าที่ลงรับในการ์ด จากการ์ดลงรับในโปรแกรม

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

โปรแกรมระบบฐานข้อมูล FOXPRO เขียนโดย ภก.ดนุภพ ศรศิลป์ พัฒนาโดย ภก.สมชาย

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

นางสาวกรรณิกา ศรีสุข เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

EXCEL WORD

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน 6 ปี เดือน

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

•การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o คณะกรรมการภสัชกรรมและการบำบัด ประชุมปีละ 1 ครั้ง

o เภสัชกรผู้รับผิดชอบมีการทำ DRUG MONOGRAPH เมื่อแพทย์ผู้สั่งใช้ยามีความต้องการใช้ โดยไม่จำกัดช่วงเวลา

o มีการเพิ่มกรอบยาให้สถานีอนามัย

•การสำรวจความต้องการ

o จัดทำแผนจัดซื้อประจำปี โดยใช้ข้อมูลจากสต๊อคการ์ด

o แบ่งแผนจัดซื้อเป็นรายเดือน

o กำหนดคงคลังให้เวชภัณฑ์แต่ละอย่างเป็นกลุ่ม

o ไม่มียาขาดคลัง

•การจัดหา / การจัดซื้อ

o เมื่อเจ้าพนักงานเภสัชกรรมผู้รับผิดชอบ ส่งรายการความต้องการให้เภสัชกรผู้รับผิดชอบ

o เภสัชกรผู้รับผิดชอบ จัดทำบันทึกซื้อจ้าง โดยเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

o นำส่งผู้อำนวยการอนุมัติ

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรม (พร) ดำเนินการโทรศัพท์ ยกเว้น อย. องค์การเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศวร์

o กรณีที่ใบส่งของมาไม่ตรงกับบันทึก จะให้บริษัทแก้ไขใบส่งของ ไม่แก้บันทึก

o

•การตรวจรับ

o ลูกจ้างจะรับของจากบริษัท โดยจะมีรายการซื้อที่เภสัชกรจัดทำใว้ในแต่ละเดือนเพื่อตรวจสอบ

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมจะไปนำใบส่งของ มาตรวจสอบกับบันทึกซื้อจ้าง นำไปลงข้อมูลในสต๊อคการ์ด

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมอีกคนหนึ่ง นำใบส่งของลงข้อมูลในสมุดรับเวชภัณฑ์

o นำเวชภัณฑ์ขึ้นชั้น โดย

o ใบสั่งซื้อที่ปิดบิลแล้วนำไปตั้งเบิก

o นำข้อมูลการรับจากสมุดรับเวชภัณฑ์ ลงในโปรแกรม โดยเจ้าพนักงานเภสัชกรรม (ปู)

•การเก็บรักษา

o FIFO

o จัดเวรตรวจสอบการบันทึกอุณหภูมิ และความชื้น โดยผู้รับผิดชอบให้ความสำคัญทั้งอุณหภูมิและความชื้น

•การเบิกจ่าย

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมจะพิจารณาการใช้จากโปรแกรมคลัง โดยมีการกำหนดความต้องการ

o เขียนจำนวนเบิกในใบเบิกที่มีรายชื่อไว้แล้ว โดยจะมีการแบ่งการเบิกยาเม็ดกับยาฉีด ยาน้ำกับยาใช้ภายนอก

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรม (พร) รวบรวมให้หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรมอนุมัติ

o ลูกจ้างนำใบเบิกไปจัดเบิก

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรม (พร) ลงไปตรวจสอบ

o เบิกวันพุธ ได้พฤหัส ส่งใบเบิกวันจันทร์

o นำใบเบิกให้เจ้าพนักงานเภสัชกรรม (พร) ตัดสต๊อคการ์ด เจ้าพนักงานเภสัชกรรม (ปู) ตัดในโปรแกรม

•การตรวจสอบ

o มีการตรวจสอบคลังปีละ 2 ครั้ง โดยปิดคลัง

o เภสัชกรตรวจสอบเทียบเคียงระหว่างการ์ดกับคงคลังในโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมตรวจสอบเทียบเคียงระหว่างการ์ดกับคงคลังสต๊อค

•การรายงาน

o รายงานมูลค่าการจัดซื้อ โดยใช้ข้อมูลจากโปรแกรมคลัง

o รายงานกระทรวง โดยใช้ข้อมูลจากโปรแกรมคลัง

o รายงานมูลค่าการใช้ยาแยกรายกลุ่ม โดยใช้โปรแกรมคลัง

o จัดทำตารางแผนจัดซื้อรายปี โดยใช้

o มีการเชื่อมโยงรายการยา โดยใช้ EXCEL

o กรณีมีรายการยาใกล้หมดอายุ จะเร่งการสั่งใช้

•การจำหน่าย

o ตามระเบียบ แต่ยังไม่มีรายการยาหมดอายุ

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง โรงหนองวัวซอ

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภญ.จันทร์ธิดา ตรัยศิลานันท์ 081-8720556 [email protected]

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 321 รายการ

เวชภัณฑ์มิใช่ยา 120 รายการ

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

ใช้ระบบโปรแกรมตารางคำนวณ Excel

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด จะกำหนดนโยบาย ทำแผน

เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ทำหน้าที่ เบิกจ่าย

ลูกจ้าง ทำหน้าที่ เบิกจ่าย

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน ปี เดือน

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

•การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ประชุมปีละ 1 ครั้ง กรณีมีการเปลี่ยนแพทย์ผู้สั่งใช้ยา จะมีการประชุมเพิ่มเติม

o วาระการประชุม กำหนดนโยบายการจัดซื้อ บัญชีรายการเวชภัณฑ์ การกำหนดราคา

o กำหนดรายการยาเข้า ออก เช่นไม่ใช้ยานั้น เหตุผลทางวิชาการใหม่ ๆ

•การสำรวจความต้องการ

o เภสัชกรผู้รับผิดชอบ จะดำเนินการจัดทำแผนการจัดซื้อประจำปี โดยใช้ข้อมูลจากสต๊อคการ์ด ซึ่งนำรายการลงข้อมูลไว้ในโปรแกรมตารางคำนวณ และวิเคราะห์อัตราการใช้

o รายการเวชภัณฑ์ของสถานีอนามัย ให้ผู้รับผิดชอบของแต่ละสถานีอนามัยจัดทำแผน เพื่อกำหนดการจัดการเพื่อการสนับสนุนให้เหมาะสม

o แผนความต้องการในแต่ละเดือน เจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่เบิกเวชภัณฑ์จัดทำใบเช็คคงคลัง ให้เภสัชกรตรวจสอบรายการความต้องการ จัดทำเป็นรายการความต้องการ เสนอผู้อำนวยการเพื่ออนุมัติ

o

•การจัดหา / การจัดซื้อ

o เภสัชกรผู้รับผิดชอบจัดทำบันทึกขออนุมัติสั่งซื้อ หลังจากรายการความต้องการผ่านการอนุมัติ

o ดำเนินการสั่งซื้อ โดยใช้การโทรศัพท์ พบผู้แทนจำหน่าย และส่งโทรสาร

o บันทึกการสั่งซื้อจะใช้แบบฟอร์มในระบบโปรแกรมตารางคำนวณ เพื่อให้สะดวกในการเชื่อมโยงข้อมูล

•การตรวจรับ

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมหรือเภสัชกรผู้รับผิดชอบ เปิดกล่องนำใบอินวอยซ์ตรวจสอบกับเวชภัณฑ์ และลงรับในสมุดรับเวชภัณฑ์

o จัดทำบันทึกตรวจรับ ให้คณะกรรมการตรวจรับ

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมนำข้อมูลการรับในสมุดรับเวชภัณฑ์ลงข้อมูลในสต๊อคการ์ด

•การเก็บรักษา

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมและลูกจ้างจัดเรียงเวชภัณฑ์ขึ้นชั้นจัดเรียง

o เปิดเครื่องปรับอากาศ ตามเวลา

o จัดทำบันทึกอุณหภูมิและความชื้น ตามข้อกำหนด

•การเบิกจ่าย

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมเขียนจำนวนที่ต้องการเบิก จากใบเบิกที่มีรายการและอัตราการใช้กำกับไว้

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมนำไปเบิกจ่าย

o กรณีหน่วยงานอื่น ๆ เบิกเวชภัณฑ์มิใช่ยาจากคลังใหญ่ ยื่นใบเบิกไม่เกินวันพุธ รับวันพฤหัสบ่าย

•การตรวจสอบ

o มีการตรวจสอบเวชภัณฑ์ จัดทำบัญชีรับจ่ายเพื่อให้ตรวจสอบ

•การรายงาน

 ได้ใช้ข้อมูลจากโปรแกรมตารางคำนวณ

o รายงานการเบิกจ่าย

o รายงานมูลค่าคงคลัง

o รายงานมูลค่าความประหยัด โดยใช้ข้อมูลจากการจัดซื้อ

o รายงานมูลค่าการรับจ่ายรายไตรมาส ส่งศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา

o รายงานที่ต้องรายงานให้กับผู้ตรวจราชการ

•การจำหน่าย

 รายการยาใกล้หมดอายุจะใช้สติ๊กเกอร์สีควบคุม ยังไม่มีการจำหน่าย

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภญ.ชลทิพา พิเศษกุล

ภญ.นพานีย์ พีรยานันท์

ภก.สมชาย แซ่โค้ว

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 848 รายการ (โดยทำหนังสือขออนุมัติ)

เวชภัณฑ์มิใช่ยา รายการ

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

โปรแกรมที่พัฒนาเอง

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

ภญ.นพานีย์ พีรยานันท์

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน 2 ปี เดือน

แต่ผ่านการใช้มา 3 – 4 โปรแกรม

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

•การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด กำหนดการประชุมปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยในปีที่ผ่านมา ปี 2551 ประชุม 6 ครั้ง มีการประชุมเสนอยาเข้า ออก

o วาระการประชุมที่น่าสนใจ การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ยาตามความเหมาะสมโดยพิจารณาข้อมูลการจ่ายยา โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบการจ่ายยาที่อยู่ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์

o การนำเสนอยาเข้าออกจะมีกระบวนการตั้งแต่การวางตัวอย่างยา เช่นยา Local ที่เปลี่ยนจาก Original ในช่วงมกราคม การเสนอยาเข้า มีระบบโปรแกรมที่สนับสนุนให้บริษัทลงข้อมูล เพื่อสืบราคายา ลงคุณสมบัติและรูปภาพ

o ตั้งคณะกรรมการในการพิจารณา

•การสำรวจความต้องการ

o การจัดทำแผนการจัดซื้อประจำปี โดยใช้ข้อมูลการใช้ยาจากปี พิจารณาอัตราความเติบโต เพื่อใช้วางแผนการจัดซื้อประจำปี วิธีการจัดซื้อ เช่นสัญญาจะซื้อจะขายที่ราคาคงที่ ตามระเบียบพัสดุ

•การจัดหา / การจัดซื้อ

o สต๊อคไม่เกิน 2 เดือน

•การตรวจรับ

o เจ้าหน้าที่รับยาลงสมุดรับยา

o เภสัชกรผู้รับผิดชอบรับยาเข้าโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์ คำนวณอัตราการใช้ วันหมดอายุ และนำไปลงข้อมูลในสต๊อดการ์ด

o ธุรการจัดทำเอกสารการตรวจรับ

o พิมพ์ใบคุมคลัง รายการรับของ ให้เจ้าพนักงานเภสัชกรรมจัดยาขึ้นชั้น

•การเก็บรักษา

o มีรายการยาใดบ้างที่ต้องเข้าตู้เย็น

o คลังต่ำกว่า 25 องศา

o บันทึกอุณหภูมิ ความชื้นภายในห้องเก็บ เป็นประจำ

•การเบิกจ่าย

o ห้องยาย่อย 6 ห้อง เบิกตามรอบ มีระบบฐานข้อมูลทุกรอบ 2 สัปดาห์ ส่งข้อมูลการเบิกมาที่คลังยาใหญ่ มีการตัดสต๊อคอัตโนมัติ

o พิมพ์ใบเบิกให้จัดยา

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมจะเป็นผู้ตัดสต๊อคการ์ด

•การตรวจสอบ

o ตามระเบียบปีละ 1 ครั้ง

o ผู้รับผิดชอบกำหนดให้มีการสุ่มตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง

•การรายงาน

o การเชื่อมโยงการรายงานต่าง ๆ สามารถดึงได้สะดวก โดยมีโปรแกรมเมอร์ของโรงพยาบาลพัฒนาให้

•การจำหน่าย

o ตามระเบียบ

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง โรงพยาบาลนายูง

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภญ.สุวรรณี สุวรรณราช

ภญ.นันทพร หัตถนัตย์ 089-4199044 [email protected]

บทบาทหน้าที่ แผนความต้องการการใช้ยาและสถานีอนามัย , จัดทำรายการความต้องการ , แยกรายการตามผู้จำหน่าย , ดำเนินการสั่งซื้อ ขอเลขที่อนุมัติ , ลงข้อมูลรับจ่าย

นายอุดม เพชรสุวรรณ ตำแหน่งลูกจ้าง

บทบาทหน้าที่ รับและเปิดกล่อง , เขียนวันหมดอายุทุกกล่อง , จัดขึ้นชั้น , เบิกยา (ห้องยา , สถานีอนามัย)

นายกิตติพงษ์ อันสน ลูกจ้าง

บทบาทหน้าที่ ลงข้อมูลรับจ่ายในสต๊อคการ์ด , เบิกจ่าย

นางสาวพจนีย์ แพะขุนทด เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ ลงสมุดรับเวชภัณฑ์

เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ ตรวจสอบรายการความต้องการเวชภัณฑ์เพื่อเบิก ทุกวันอังคาร ของสัปดาห์

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 277+25 รายการ

เวชภัณฑ์มิใช่ยา 183 รายการ (พยาบาลเป็นผู้ดูแล รับผิดชอบ)

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

เดิมใช้ ระบบฐานข้อมูล Foxpro พัฒนาโดย ภก.ดนุภพ

ปัจจุบันใช้ระบบโปรแกรมตารางคำนวณ

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

ภญ.นันทพร หัตถนัตย์

สามารถใช้ powerpoint , access , excel , word

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน ปี 3 เดือน

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

•การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ประชุมปีละ 1 ครั้ง วาระการประชุมเน้ไปที่เรื่องการรับเข้าตัดออกรายการยา

o การจัดทำโมโนกราฟ กรณีเป็นยาทดแทน ตามความถนัดของผู้สั่งใช้

•การสำรวจความต้องการ

o การจัดทำแผนการจัดซื้อประจำปี จากสต๊อคการ์ดและนำมาลงข้อมูลในระบบข้อมูลตารางคำนวณ แบ่งการจัดซื้อเป็นงวด

o ยาที่มีการขาดคลัง เนื่องจากปริมาณการใช้คลาดเคลื่อนจากแผน , มีการส่งต่อคนไข้กลับมา ได้แก่ ยากลุ่มปฏิชีวนะ

o ยาขาดที่นอกแผน จะดำเนินการซื้อระหว่างงวด โดยลูกจ้างที่ทำการเบิกจะตรวจสอบร่วมกับเภสัชกรผู้รับผิดชอบกรณีที่มียาจะขาดคลัง

•การจัดหา / การจัดซื้อ

o รวมรายการความต้องการ

o จัดทำบันทึกอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง โดยใช้ระบบโปรแกรมตารางคำนวณ เสนอผู้อำนวยการ

o ดำเนินการสั่งซื้อ โดยใช้โทรศัพท์เป็นส่วนใหญ่ สอบถามระยะเวลาการส่ง

•การตรวจรับ

o ลูกจ้างที่รับผิดชอบ ตรวจรับ ลงข้อมูลในสมุดรับเวชภัณฑ์

o เภสัชกรตรวจสอบความถูกต้องของใบส่งของกับบันทึก

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมลงข้อมูลการรับวชภัณฑ์ในสมุดรับ

o ลูกจ้างที่รับผิดชอบลงรับในสต๊อคการ์ด

o เภสัชกรลงรับในระบบโปรแกรมตารางคำนวณ

•การเก็บรักษา

o ลูกจ้างจัดเวชภัณฑ์ขึ้นชั้น โดยเขียนวันหมดอายุไว้ที่ฉลาก

o อยู่ระหว่างการซื้อเครื่องวัดความชื้น

•การเบิกจ่าย

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมตรวจสอบรายการความต้องการเวชภัณฑ์เพื่อเบิก ทุกวันอังคาร ของสัปดาห์

o เภสัชกรตรวจสอบจำนวนคงเหลือ เพื่อสอบทานกับคงคลังที่มีอยู่จริง

o นำใบเบิกดำเนินการเบิก

•การตรวจสอบ

o ทุก 2 สัปดาห์ เภสัชกรจะลงข้อมูลคงคลังในรายการเบิกเวชภัณฑ์ ซึ่งจะใช้ในการตรวจสอบกับคงคลังที่มีอยู่จริง

o กรรมการตรวจสอบประจำปีตามปกติ

•การรายงาน

o รายงนต่าง ๆ ตามที่หน่วยงานต้องการจากระบบโปรแกรมตารางคำนวณ และรวบรวมรายงานจากสมุดรับเวชภัณฑ์

o ให้โปรแกรมตารางคำนวณ จัดทำมูลค่าคงคลัง , มูลการการเบิกจ่าย รับเข้าในภาพรวม

•การจำหน่าย

o ตามระเบียบราชการ

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง โรงพยาบาลบ้านผือ

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภญ.ผ่องพรรณ แมนเมือง 081-8737142 [email protected]

บทบาทหน้าที่ ดำเนินการจัดซื้อ , สำรวจรายการความต้องการทุกเดือนเมื่อต่ำกว่า Minimum Stock , สำเนารายการสั่งซื้อให้เจ้าพนักงานเภสัชกรรมที่ทำหน้าที่ดูแลคลังเพื่อรับให้ตรงกับรายการ , จัดทำบันทึกอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง , จัดทำสมุดส่งบันทึกอนุมัติพร้อมใบตรวจรับแนบไปกับแบบสรุปปัญหาที่เกิดจากการส่งบิลเวชภัณฑ์

เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ ดูแลคลัง รับเข้าจ่ายออกในสต๊อคการ์ด จัดทำสมุดรับเวชภัณฑ์ให้กรรมการตรวจรับ, จัดของขึ้นชั้นพร้อมกับลูกจ้าง

เจ้าพนักงานเภสัชกรรมของแต่ละห้อง ห้องจ่ายยาในนอก

บทบาทหน้าที่ เขียนเบิก

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 365 รายการ

เวชภัณฑ์มิใช่ยา รับผิดชอบโดยเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน

วัสดุทันตกรรม ห้องแล็ป เอกซเรย์ ตามวิชาชีพ

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

ใช้ระบบโปรแกรมตารางคำนวณ ในการอำนวยสะดวกจัดทำเอกสาร

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน ปี เดือน

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

•การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด กำหนดประชุมปีละ 1 ครั้ง เภสัชกรจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับเวชภัณฑ์ในการนำเสนอ เพื่อพิจารณายาเข้า ออก รายการเวชภัณฑ์ที่ไม่ได้ใช้

•การสำรวจความต้องการ

o การจัดทำแผนจัดซื้อประจำปี โดยใช้ข้อมูลการเบิกจ่ายจากสต๊อคการ์ด นำข้อมูลมาลงในโปรแกรมตารางคำนวณ

o สำรวจรายการความต้องการทุกเดือน (ทุกวันศุกร์สิ้นเดือน) เมื่อต่ำกว่า Minimum Stock โดยผู้เบิกจ่ายจะช่วยตรวจสอบ กรณีมีโรคระบาดหรืออัตราการใช้มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อดำเนินการจัดซื้อตามปกติ ทั้งนี้พิจารณาตามความเหมาะสมของขนาดคลัง โดยเภสัชกรผู้รับผิดชอบจะมีสมุดบันทึกรายการเวชภัณฑ์คงคลังเพื่อใช้ตรวจสอบรายการ

•การจัดหา / การจัดซื้อ

o จัดทำบันทึกอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง โดยใช้ระบบโปรแกรมตารางคำนวณ พร้อมกับโทรศัพท์สั่งซื้อ

o สำเนารายการสั่งซื้อให้เจ้าพนักงานเภสัชกรรมที่ทำหน้าที่ดูแลคลังเพื่อรับให้ตรงกับรายการ

•การตรวจรับ

o สำเนารายการสั่งซื้อให้เจ้าพนักงานเภสัชกรรมที่ทำหน้าที่ดูแลคลังเพื่อรับให้ตรงกับรายการ

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมเปิดกล่อง ให้กรรมการตรวจรับ

o นำใบส่งของส่งมอบให้เภสัชกรลงข้อมูลในสมุดบัญชีรับเวชภัณฑ์

o เจ้าพนักงานนำข้อมูลในสมุดรับเวชภัณฑ์ลงรับในสต๊อคการ์ด

•การเก็บรักษา

o หลังจากกรรมการตรวจรับ จะดำเนินการจัดขึ้นชั้น

o ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นตามมาตรฐาน โดยมีสมุดทะเบียนคุมอุณหภูมิ

•การเบิกจ่าย

o กำหนดการเบิกวันจันทร์ และพฤหัส , สถานีอนามัยเบิกตามสะดวกโดยจ่ายเวชภัณฑ์ทุกวันพุธ

o จัดยาทุกวันจันทร์ , อังคาร รับเวชภัณฑ์บ่ายวันพุธ

o เขียนเบิกในใบเบิกเวชภัณฑ์ ลงจำนวนเบิก

o นำเบิกและลงจำนวนจ่าย

o นำใบเบิกตัดสต๊อคในสต๊อคการ์ด

•การตรวจสอบ

o ตรวจสอบประจำปีตามระเบียบ

•การรายงาน

o การใช้รายงานโดยใช้ข้อมูลจากการดำเนินการ และลงข้อมูลในระบบโปรแกรมตารางคำนวณ

•การจำหน่าย

o มีการควบคุมไม่ให้ยาหมดอายุ

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง โรงพยาบาลกุดจับ

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภก.ประยงค์ อนสุวรรณ์ 089-5775750 [email protected]

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 310 รายการ

เวชภัณฑ์มิใช่ยา 115 รายการ

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

ระบบฐานข้อมูล FOXPRO ภก.ดนุภพ

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

นายสมร วงศ์หาจักร เจ้าพนักงานเภสัชกรรม 6 รับผิดชอบคลังยา

นายวีรศักดิ์ ลิชัยมูล เจ้าพนักงานเภสัชกรรม 5 รับผิดชอบคลังเวชภัณฑ์มิใช่ยา

บทบาทหน้าที่ , รับของจากขนส่ง , เปิดกล่อง ตรวจรับ ลงบัญชีรับเวชภัณฑ์ , ลงข้อมูลรับ จ่ายในโปรแกรมบริหารคลังและสต๊อคการ์ด , จัดขึ้นชั้น , เบิกจ่าย , นำใบเบิกตัดจ่าย กำหนดเบิก ทุกวันอังคาร กำหนดเบิกยาของสถานีอนามัย ไม่กำหนดวัน กำหนดเฉพาะเดือนแรกของไตรมาส

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน 10 ปี เดือน

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

•การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o ประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด กำหนดนโยบาย ทุกหน่วยงานเช่นห้องคลอด , ห้องผ่าตัด เป็นต้น ต้องมีบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ (นำมาทำเป็นใบเบิก)

o บัญชียาของสถานีอนามัยเป็นบัญชีย่อยของโรงพยาบาล

o ทบทวนการใช้ยาแยกแต่ละรายการ มูลค่าการใช้ การบริโภค โดยใช้ข้อมูลจากสต๊อคการ์ดในการคำนวณ ดำเนินการโดยเจ้าพนักงานเภสัชกรรม เพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม การซื้อ การใช้ยา เช่น อินซูลินมีมูลค่าการใช้มากที่สุด

o

•การสำรวจความต้องการ

o เภสัชกรผู้รับผิดชอบจัดทำแผนจัดซื้อประจำปี โดยใช้ระบบโปรแกรมตารางคำนวณ และพิจารณาจากแนวโน้มของแต่ละปี แบ่งการจัดซื้อเป็นรายไตรมาส

o การปรับแผนจัดซื้อมี แต่ไม่มาก โดยมีแผนการตรวจสอบประสิทธิภาพของแผนจัดซื้อที่ดำเนินการ

•การจัดหา / การจัดซื้อ

o เภสัชกรผู้รับผิดชอบจัดทำบันทึกอนุมัติจัดซื้อ เสนอผู้อำนวยการ

o ติดต่อผู้จำหน่ายทางโทรศัพท์เป็นหลัก ส่งโทรสารตามที่บริษัทร้องขอ

•การตรวจรับ

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรม รับของจากขนส่ง , เปิดกล่อง ตรวจรับ ลงบัญชีรับเวชภัณฑ์ , ลงข้อมูลรับ จ่ายในโปรแกรมบริหารคลังและสต๊อคการ์ด

o เภสัชกรผู้รับผิดชอบนำใบส่งของ ลงสมุดบัญชีงบประมาณ เพื่อยแกบัญชีรับยาใน นอกบัญชียาหลัก ตามระบบการซื้อร่วม หรือตกลงราคา จัดทำเอกสารตรวจรับ นำส่งการเงิน โดยบัญชีเกณฑ์คงค้างได้ช่วยให้ระบบรายงานเป็นปัจจุบันมากขึ้น

•การเก็บรักษา

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมจัดขึ้นชั้น แยกตามรูปแบบยาเตรียม

o มีการตรวจสอบรายการยาที่จะหมดอายุ น้อยกว่า 6 เดือน ติดสติ๊กเกอร์สีแดง , น้อยกว่า 1 ปี ติดสติ๊กเกอร์สีเหลือง

•การเบิกจ่าย

o นำใบเบิกตัดจ่าย กำหนดเบิก ทุกวันอังคาร กำหนดเบิกยาของสถานีอนามัย ไม่กำหนดวัน กำหนดเฉพาะเดือนแรกของไตรมาส ดำเนินการโดยเจ้าพนักงานเภสัชกรรม

o ลงข้อมูลรับ จ่ายในโปรแกรมบริหารคลังและสต๊อคการ์ดการตรวจสอบ

•การรายงาน

o รายงานหนี้คงค้าง สำหรับการเงิน โดยใช้ข้อมูลจากสมุดบัญชี ประมวลผลในระบบโปรแกรมตารางคำนวณ

o รายงานคงคลัง , รายงานการเบิกจ่าย แต่ละเดือน เพื่อจัดทำอัตราเวชภัณฑ์คงคลัง จากระบบโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์ ประมวลผลในระบบโปรแกรมตารางคำนวณ

o รายงานต่าง ๆ ตามที่ผู้รับผิดชอบงานระดับจังหวัดร้องขอ ซึ่งเภสัชกรผู้รับผิดชอบมีความชำนาญในการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ ทำให้จัดรูปแบบรายงานได้เร็ว

o รายงานมูลค่าประหยัด

•การจำหน่าย

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง โรงพยาบาลหนองแสง

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภญ.ปิยดา ภูวิเลิศ 087-2159591 [email protected]

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 295 รายการ

เวชภัณฑ์มิใช่ยา 93 รายการ

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

Access (สุพรรณบุรี)

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

ภญ.ปิยดา ภูวิเลิศ 087-2159591 [email protected]

บทบาทหน้าที่ วิเคราะห์ข้อมูลคงคลัง จัดซื้อ รับเข้า จ่ายออก รายงานการจัดซื้อ , จัดทำแผนจัดซื้อประจำปี

นายฉัตรชัย จิปุนาโพธิ์ เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ ตรวจรับจากขนส่ง , เบิกมาที่คลังยาย่อย

นายสุพรรณ บุญเวิน เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ จัดเวชภัณฑ์ขึ้นชั้น , ลงข้อมูลรับจ่าย ในโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์และสต๊อคการ์ด , จัดทำรายการความต้องการในแต่ละเดือน , จัดทำข้อมูลสำหรับให้เภสัชกรวิเคราะห์รายงาน , จ่ายยา โดยห้องยาเบิกทุกสองสัปดาห์ , หน่วยสำรองยาอื่นๆ (สัปดาห์ละครั้ง) , สถานีอนามัย (ตามงวด)

6.ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน 2 ปี เดือน

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

•การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ประชุมปีละ 1 ครั้ง

•การสำรวจความต้องการ

o แผนจัดซื้อประจำปี

 เภสัชกรผู้รับผิดชอบสรุปข้อมูลการใช้ยาจากโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์

 จัดพิมพ์รายการตามบัญชียาโรงพยาบาลและคำนวณแผนจัดซื้อ

o แผนความต้องการแต่ละเดือน ใช้ข้อมูลจากโปรแกรมบริการเวชภัณฑ์

•การจัดหา / การจัดซื้อ

o จัดทำรายการความต้องการเสนอผู้อำนวยการอนุมัติ

o ดำเนินการสั่งซื้อ โดยโทรสาร , โดยตรงกับผู้แทนจำหน่าย , โทรศัพท์

•การตรวจรับ

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เปิดกล่อง นำใบส่งของตรวจสอบ แจ้งกรรมการตรวจรับ

o นำใบส่งของ ลงสมุดรับเวชภัณฑ์ จากนั้นลงรับในโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์และสต๊อคการ์ด โดยเจ้าพนักงานเภสัชกรรม

•การเก็บรักษา

o จัดเก็บขึ้นชั้น

o บันทึกอุณหภูมิและความชื้น เป็นประจำ

•การเบิกจ่าย

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรม พิมพ์ออกจากบัญชีรายการยาโรงพยาบาล ระบุจำนวนที่ต้องการส่งให้ผู้คุมคลัง

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมเบิกจ่ายยา โดยห้องยาเบิกทุกสองสัปดาห์ , หน่วยสำรองยาอื่นๆ (สัปดาห์ละครั้ง) , สถานีอนามัย (ตามงวด)

o นำใบเบิกมาตัดจ่ายในโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์และสต๊อคการ์ด

•การตรวจสอบ

o ตรวจสอบประจำปีตามปกติ

•การรายงาน

o วิเคราะห์ข้อมูลคงคลัง จัดซื้อ รับเข้า จ่ายออก รายงานการจัดซื้อ , จัดทำแผนจัดซื้อประจำปี

•การจำหน่าย

o ดำเนินการตามระเบียบ ยังไม่มียาหมดอายุ

อีกบทเรียนที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดการคลังยาของสถานีอนามัย ที่ http://learners.in.th/blog/big2/139122

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง รพ.น้ำโสม

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภก.อุทัย โคตรมณี 089-8613934 [email protected]

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 350 รายการ

เวชภัณฑ์มิใช่ยา 320 รายการ (ฝ่ายการพยาบาลรับผิดชอบ)

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

Access (ภก.ยุทธพงศ์) เริ่มใช้เมื่อปี 2548

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

ภก.อุทัย โคตรมณี

บทบาทหน้าที่ จัดซื้อจัดหา , รับ จ่าย ในโปรแกรม ( กรณีเบิกจ่าย จะใช้เวลา ประมาณ 30 นาที ต่อรายการเบิก 80 รายการ )

นางสุดาภรณ์ เมยดง เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ ดูแลคลัง ทำหน้าที่เบิกจ่าย , จัดขึ้นชั้นในคลังย่อย , ตรวจสอบคงคลังให้ตรงกับสต๊อคการ์ด

นายธรณ์ธันย์ สมภาร ลูกจ้าง

บทบาทหน้าที่ ดูแลคลัง , เปิดกล่อง , จัดขึ้นชั้น

นายศิริชัย นามจุมจัง เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ ตรวจสอบคลังย่อย , เขียนใบเบิก (โดยพิมพ์รายการจากโปรแกรมตารางคำนวณ)

นางสาววิภาพร ตุงคโสภา เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ ตัดจ่ายจากสต๊อคการ์ด (ลงจำนวนคงคลังเพื่อสอบทานให้ตรงกันกับโปรแกรม)

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน 4 ปี เดือน

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

•การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด พิจารณารายการบัญชีเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาล ประชุมปีละ 1 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการปรับฐานข้อมูลบัญชียาให้เป็นปัจจุบัน โดยขณะนี้เภสัชกรผู้รับผิดชอบได้ใช้รายการบัญชียาหลักแห่งชาติ พศ.2551 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 10 มีนาคม 2551 แล้ว

o วางหลักเกี่ยวกับยาในระบบบริการ เช่น นำรายการยาซื้อร่วมมาทดแทนรายการยาของโรงพยาบาล

o คลังยาโรงพยาบาลใช้รวมกับสถานีอนามัย

•การสำรวจความต้องการ

o แผนจัดซื้อประจำปี เภสัชกรผู้รับผิดชอบ ใช้ข้อมูลจากโปรแกรมคลัง

o แผนการจัดซื้อปกติ โดยสำรวจความต้องการจากโปรแกรมคลัง มีการสั่งซื้อทุกสัปดาห์

•การจัดหา / การจัดซื้อ

o จัดทำบันทึกรายการสั่งซื้อในสมุด

o ดำเนินการจัดทำบันทึกอนุมัติสั่งซื้อ

•การตรวจรับ

o ผู้รับผิดชอบเปิดกล่อง แจ้งกรรมการตรวจรับ ตรวจสอบ

o เภสัชกรนำใบส่งของลงบันทึกในสมุดรับเวชภัณฑ์ ซึ่งปรับปรุงให้มีข้อมูลที่สอดคล้องกับการทำงานของโปรแกรมคลัง และบันทึกข้อมูลการรับในโปรแกรม

o เจ้าพนักงานนำสมุดรับเวชภัณฑ์ ลงข้อมูลในสต๊อคการ์ด

•การเก็บรักษา

o ผู้ดูแลคลังจัดเวชภัณฑ์ขึ้นชั้น

o จัดทำบันทึกอุณหภูมิและความชื้น ตามเวลาราชการ

•การเบิกจ่าย

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ดูแลคลัง ทำหน้าที่เบิกจ่าย , จัดขึ้นชั้นในคลังย่อย , ตรวจสอบคงคลังให้ตรงกับสต๊อคการ์ด ตรวจสอบคลังย่อย , เขียนใบเบิก (โดยพิมพ์รายการจากโปรแกรมตารางคำนวณ)

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมตัดจ่ายจากสต๊อคการ์ด (ลงจำนวนคงคลังเพื่อสอบทานให้ตรงกันกับโปรแกรม)

o เภสัชกรลงเบิกจ่ายในโปรแกรม

•การตรวจสอบ

o สุ่มคงคลังทุก 2 – 3 เดือน โดยเฉพาะรายการยาที่มีการใช้บ่อย

o การตรวจสอบภายในประจำปี ดำเนินการตามระเบียบ

•การรายงาน

o ใช้ศักยภาพของโปรแกรมในการรายงานรายการสั่งซื้อ

o รายงานมูลค่าประหยัด และรายงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับการร้องขอ

o ใช้โปรแกรมตารางคำนวณ ในการเก็บข้อมูลเพื่อการรวบรวมรายงาน

•การจำหน่าย

พี่ต้นคะ เป็นไปได้ไหม ที่จะลบเบอร์โทรสามออกค่ะพี่ คือแบบว่าข้อมูลนี้มันsearch ได้ใน google ค่ะพี่ต้น

ลบแล้วนะครับ

ประเด็นการสัมภาษณ์

1. ชื่อหน่วยงาน และจังหวัดที่ตั้ง โรงพยาบาลหนองหาน

2. เภสัชกรผู้รับผิดชอบการบริหารงานคลังเวชภัณฑ์ ( ชื่อ นามสกุล , หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ , e-mail address )

ภญ.วาณี ธนสีลังกูล

บทบาทหน้าที่ ดูแลคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของโรงพยาบาล

ภญ.ขวัญสุดา ชาติโสม

บทบาทหน้าที่ ดูแลคลังเวชภัณฑ์สถานีอนามัย

ภญ.นิภาภรณ์ ภูดรโพธิ์

บทบาทหน้าที่ ดูแลคลังเวชภัณฑ์มิใช่ยา

นางสาวมัลลิกา ลุนชัยภา เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ ลงข้อมูลในโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์

นางสาวเพชรไพรินทร์ ทิศเชย เทคนิคเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ ดูแลข้อมูลในสต๊อคการ์ด กลุ่มยา

นางสุธีรา จิตรณรงค์ พนักงานเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ จัดจ่ายยา

นางจิราภรณ์ เมฆรา เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน

บทบาทหน้าที่ ตรวจรับยา ลงข้อมูลการรับเวชภัณฑ์ยาในสมุดรับเวชภัณฑ์

นางสาววรัญญา อารีรักษ์ เทคนิคเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ รับเข้า ตัดออก ในสต๊อคการ์ด ของเวชภัณฑ์ที่สนับสนุนให้สถานีอนามัย

นางสาวหฤทัยรัตน์ คามเขต เทคนิคเภสัชกรรม

บทบาทหน้าที่ รับเข้า ตัดออก ในสต๊อคการ์ด และโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์ ของเวชภัณฑ์มิใช่ยา ทั้งหมด

“น่าจะมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของการบริหารเวชภัณฑ์”

“อยากให้มีการทบทวนความรู้เกี่ยวกับระเบียบพัสดุ นวัตกรรม เหมือนต่างคนต่างทำ”

3. กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรม รับผิดชอบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในส่วนของยากี่รายการ , เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากี่รายการ

ยา 369 รายการ

เวชภัณฑ์มิใช่ยา 190 รายการ

วัสดุการแพทย์ 135 รายการ

4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานของท่านใช้ช่วยในการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน

โปรแกรม Access (สุพรรณบุรี)

5.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้างต้น คือชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ทักษะในการใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่

นางสาวมัลลิกา ลุนชัยภา เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

EXCEL WORD ACCESS

6. ระยะเวลาที่หน่วยงานได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้งาน 8 ปี เดือน

7. หน่วยงานของท่านมีการวางระบบกระบวนงาน การจัดการกำลังคน การมอบหมายภาระงาน และการใช้โปรแกรมฯ ในการบริหารเวชภัณฑ์ ในแง่ของ (1) ความครอบคลุมของข้อมูล (2) ความรวดเร็ว (3) ความถูกต้อง (4) ความเชื่อมโยง (5) ความทันสมัยของข้อมูล (6) ความน่าเชื่อถือ (7) ความสามารถในการเข้าถึง (8) ความสามารถในการตรวจสอบ (9) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ข้อมูล ในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร

•การกำหนดนโยบายและการวางแผน

o คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด มีการประชุมปีละครั้ง เพื่อคัดเลือกรายการ รับเข้า ตัดออก เภสัชกรทำหน้าที่จัดทำโมโนกราฟ ดูเรื่องราคายา ความเหมาะสมของการนำยาเข้า เช่น นำเข้า nimesulide แต่พบว่ายังไม่เหมาะสม หรือตัด Fenac 50 เนื่องจากพบว่ามีการจัดยาผิดพลาดจากลักษณะยาที่เหมือนกัน

o

o บริษัทจัดส่งมาจะตรวจรับ

o มีคนงานเอายาลง

•การสำรวจความต้องการ

o ทำแผนจัดซื้อ ทำแผนความต้องการ 4 งวด โดยใช้ข้อมูลจากการใช้ปีที่แล้ว จากสต๊อคการ์ด จากโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์ประมวลผลแยกรายการส่งไปที่ Excel ทั้งปี ลบด้วยคงคลัง

o แต่ละเดือน เภสัชกรจัดทำแผนจัดซื้อเทียบคียงกับสต๊อคการ์ดทุกรายการ ทั้งนี้อาศัยประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติ (เภสัชกร) ทั้งนี้มีแผนการจัดการให้สามารถใช้โปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์ในการตอบสนองการดำเนินงานด้านนี้

•การจัดหา / การจัดซื้อ

o การคัดเลือกผู้จำหน่ายเภสัชกรจะเทียบเคียงราคาจากข้อมูลราคาของโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี

o นำรายการความต้องการมาคัดแยกเป็นกลุ่มตามระเบียบพัสดุ

o เภสัชกรจัดทำใบสั่งซื้อ (โปรแกรม Excel) เสนอผู้อำนวยการอนุมัติ ยกเว้นกรณีที่ได้ดำเนินการสั่งซื้อผู้จำหน่าย และผู้จำหน่ายส่งช้าหรือแจ้งขาดช้า ทำให้เปลี่ยนผู้จำหน่ายไม่ทัน

o เจ้าหน้าที่ธุรการส่งโทรสารไปยังผู้จำหน่าย โดยให้ผู้จำหน่ายสำเนาใบสั่งซื้อ กรณีที่ใบส่งของไม่ตรงกับใบสั่งซื้อ จะขอให้ผู้จำหน่ายแก้ไขใบส่งของ

•การตรวจรับ

o คนงานในห้องยาพร้อมกับผู้ตรวจรับ รับของจากขนส่ง กรณีเป็นเวชภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม เภสัชกรจะจัดทำรายการเพื่อให้ผู้ตรวจรับสอบทาน เปิดกล่อง นำใบส่งของส่งมอบให้เภสัชกร

o เภสัชกรตรวจสอบความถูกต้อง ส่งใบส่งของให้เจ้าพนักงานเภสัชกรรมลงรับในสมุดรับเวชภัณฑ์

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรมที่รับผิดชอบนำข้อมูลการรับไปลงในสต๊อคการ์ด

o เจ้าพนักงานเภสัชกรรม (อีกท่าน) ลงโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์

o ส่งใบส่งของให้การเงินเพื่อทำบันทึกหนี้สิน

o จัดทำบันทึกตรวจรับเพื่อแนบกับบันทึกจัดซื้อ

•การเก็บรักษา

o จัดเวชภัณฑ์ขึ้นชั้นหลังจากตรวจรับเรียบร้อย

o ดำเนินการควบคุมอุณหภูมิ และควบคุมความชื้น โดยจัดทำบันทึกเพื่อติดตามและรายงาน

•การเบิกจ่าย

o กรณีห้องยา เจ้าพนักงานเภสัชกรรม นำแบบฟอร์มเปล่า เขียนรายการและจำนวนเวชภัณฑ์ที่ต้องการเบิก ระยะเวลาเบิกและรับ ภายใน 1 วัน (ส่งวันจันทร์ รับวันอังคาร)

o ส่งให้ผู้จัดจัดเบิก

o เจ้าพนักงานภสัชกรรมที่รับผิดชอบนำใบเบิกตัดสต๊อคการ์ด

o เจ้าพนักงานภสัชกรรมที่รับผิดชอบนำใบเบิกลงข้อมูลในโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์

•การตรวจสอบ

o ตามระเบียบราชการทั่วไป

o มีแผนพัฒนาในการสุ่มตรวจ เพื่อเทียบเคียง

•การรายงาน

o รายงานมูลค่าประหยัด โดยใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น

o รายงานมูลค่าคงคลัง โดยใช้เป็นข้อมูลหลัก

o จัดทำแผนจัดซื้อประจำปี

o ใช้โปรแกรมตรวจสอบกับสต๊อคการ์ด

•การจำหน่าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท