ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิก


ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิก

ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโกลด์แฮมเมอร์
            โกลด์แฮมเมอร์  ได้เสนอรูปแบบ (model)  ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน  ซึ่งเป็นลำดับที่ต่อเนื่องของการนิเทศ (sequence  of  supervision)  ซึ่งความต่อเนื่องของการนิเทศนี้เมื่อรวมกันเข้าเรียกว่า  วัฏจักรของการนิเทศ  (cycle  of  supervision)  ดังนี้
            ขั้นตอนที่การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอน  (pre-observation  conference)
            ขั้นตอนที่การสังเกตการสอน  (observation)
            ขั้นตอนที่การวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวิธีการประชุมนิเทศ  (analysis  and  strategy)
            ขั้นตอนที่การประชุมนิเทศ  (supervision  conference)
            ขั้นตอนที่การประชุมวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ  (postconference  analysis)

            กระบวนการของการนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโกลด์แฮมเมอร์  จึงประกอบด้วย 5 ขั้นตอนที่มีความต่อเนื่องกัน  ซึ่งเรียกว่า  “วัฏจักรของการนิเทศ  ซึ่งเริ่มต้นด้วย  การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอน  เป็นพื้นฐานของความเข้าใจและตกลงร่วมกันระหว่างครูและผู้นิเทศเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน  การสังเกตการสอน  ซึ่งผู้นิเทศจะดำเนินการสังเกตการสอนจริงของครู  การวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวิธีการประชุม  คือการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการสอนให้เป็นหมวดหมู่เป็นระบบเพื่อนำมาวิเคราะห์  และในขั้นตอนนี้ครูและผู้นิเทศจะร่วมกันคิดและวางแผนขั้นตอนของการประชุมนิเทศด้วย  การประชุมนิเทศ  เป็นการให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครู  และในขั้นสุดท้ายคือ  การประชุมวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ  เป็นการเปิดโอกาสให้ครูและผู้นิเทศได้ปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้นในขั้นตอนที่หนึ่ง  จนถึงขั้นตอนที่สี่  เพื่อค้นหาถึงพฤติกรรมการนิเทศที่ดี  และที่บกพร่องสมควรปรับปรุงโดยที่ครูมีส่วนรับผิดชอบที่จะให้ข้อมูลป้อนกลับ  เกี่ยวกับพฤติกรรมการนิเทศ
ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโคแกน
           
การนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโคแกน  เป็นวัฏจักรของการนิเทศ  ซึ่งประกอบด้วย  8  วัฏภาคด้วยกัน  คือ
            วัฏภาคที่
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้นิเทศ  (establishing  the  teacher  supervisor  relationship)
            วัฏภาคที่
การวางแผนร่วมกันกับครู  (planning  with  the  teacher)
            วัฏจักรที่
การวางแผนยุทธวิธีในการสังเกตการสอน  (planning  the  strategy  of  observation)
            วัฏจักรที่
การสังเกตการสอน  (observing  instruction)
            วัฏจักรที่
การวิเคราะห์กระบวนการเรียนการสอน  (analyzing  the  teaching-learning  process) 

            วัฏจักรที่ วางแผนยุทธวิธีในการประชุมนิเทศ  (planning  the  strategy  of  the  conference)
            วัฏจักรที่
การประชุมนิเทศ  (the  conference )
            วัฏจักรที่
การวางแผนการสอนต่อเนื่อง  (renewed  planning)
            การนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโคแมน  เป็นรูปแบบที่ละเอียด  มีขั้นตอนที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน  แต่ก็มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโบยานและโคพแลนด์
            การนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโบยานและโคพแลนด์  ใช้ชื่อว่า  “กระบวนการนิเทศการสอน”  (Insturctional  supervision  process)  ซึ่งประกอบด้วย 4 ตอน  และมีอยู่ 8 ขั้น  ดังนี้
            ตอนที่การประชุมก่อนการสังเกตการสอน  (Preobservation  Conference)
                        ขั้นที่จำกัดความพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องหรือที่เป็นความกังวลห่วงใยของครู
                        ขั้นที่ตัดสินใจเลือกหาที่จะได้มาซึ่งการวักพฤติกรรมการสอน  โดยวัดจาก
พื้นฐานครั้งแรก  (base  rate) หรือโดยการวัดพฤติกรรมการสอนโดยการตั้งมาตรการของระดับความสามารถในการสอนเอาไว้  (performance  criterion)
                       
ขั้นที่ เลือกเครื่องมือหรือสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ในการสอนเอาไว้ 
(performance  criterion)
            ตอนที่การสังเกตการสอน  (Observation)
                       
ขั้นที่ สังเกตพฤติกรรมการสอนที่เฉพาะเจาะจง
            ตอนที่การวิเคราะห์การสอน  (Analysis)
                        ขั้นที่การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการสังเกตการสอน
                        ขั้นที่ขี้ระบุถึงพฤติกรรมการสอนที่ต้องการเก็บรักษาเอาไว้  หรือพฤติกรรมการ
สอนที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลง
            ตอนที่การประชุมหลังการสังเกตการสอน  (Postobservation  conference)
                        ขั้นที่ให้ข้อมูลป้อนกลับจากผลของการวิเคราะห์
                        ขั้นที่พิจารณาเลือกยุทธวิธี
            ใน 8 ขั้นนี้  เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วเป็นกระบวนการของการนิเทศการสอน  ที่แต่ละขั้นในกระบวนการจะมีความต่อเนื่องกัน  เช่นในขั้นที่ที่และที่จะต้องจัดทำก่อนขั้นที่และขั้นที่จะต้องจัดทำก่อนขั้นที่แล้วทำต่อเนื่องกันไปจนครบ 8 ขั้น  ในแต่ละตอนแต่ละขั้น  ครูและผู้นิเทศจะทำงานร่วมกันไปในเกือบทุกขั้น  ในบางโอกาสผู้นิเทศจะทำงานตามลำพัง  (โดยเฉพาะในขั้นที่และขั้นที่ 6)

ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของแอคคีสันและแกลล์
            แอคคีสันและแกลล์ได้เสนอรูปแบบของการนิเทศแบบคลินิกไว้อย่างกะทัดรัดและชัดเจน  โดยให้ความคิดเห็นไว้ว่า  วิธีการของการนิเทศแบบคลินิกนั้นหมายถึงกระบวนการหรือกิจกรรมที่ดำเนินการตามขั้นตอนการนิเทศ  ซึ่งเรียกว่า  “วัฏจักร”  (Cycle)  การนิเทศแบบคลินิกตามแนวคิดของแอคคีสันและแกลล์ได้เสนอไว้  3  วัฏภาค  (phase)   ดังนี้
            วัฏภาคที่การประชุมปรึกษาหารือกัน  (planning  conference)
            วัฏภาคที่การสังเกตการสอน  (classroom  observation)
            วัฏจักรที่ 3  การประชุมให้ข้อมูลป้อนกลับ  (feedback  conference)
ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของเบล์ลอนและฮัฟฟ์แมน
            เบล์ลอนและฮัฟฟ์แมน  ได้เสนอรูปแบบของการนิเทศการสอนไว้ในลักษณะที่มีส่วนใกล้เคียงกันกับรูปแบบของการนิเทศการสอนไว้ในลักษณะที่มีส่วนใกล้เคียงกันกับรูปแบบต่างๆที่ได้เสนอมา โดยมีอยู่ 4 วัฏภาค  (phase)
            วัฏภาคที่การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอน  (pre-observation  conference)
            วัฏภาคที่การสังเกตการสอน  (classroom  observation)
            วัฏภาคที่การประชุมปรึกษาหลังการสังเกตการสอน  (post-observation  conference)
            วัฏภาคที่การวัดผลและประเมินผลพฤติกรรมการสอน  (evaluation  performance)
            เบล์ลอนและฮัฟฟ์แมน  ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ว่า  ความเชื่อและมีศรัทธาอันแรงกล้าในการทำงานของผู้นิเทศนั้น  เป็นแรงจูงใจที่สำคัญมาก  ผู้นิเทศควรมีความเชื่อเกี่ยวกับกระบวนการของการนิเทศการสอน

หมายเลขบันทึก: 207341เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2008 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ หนูอยากทราบทฤษฎีการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพน่ะค่ะ หนูขอให้ท่านได้เผยแพร่เรื่องนี้หน่อยนะค่ะ

ขอบคุณที่มีสาระดีๆ ลง  gotoknow  ครับผม

การพัฒารูปแบบการนิเทศที่มุ่งศักยภาพการนิเทศทางคลินิกของอาจารย์นิเทศในสถาบันเอกชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท