48. โรคอ้วน


โรคอ้วน

สิ่งที่เป็นอุปสรรคและปัญหาของสุขภาพ การดำเนินชีวิตและการทำงาน  ได้แก่

โรคอ้วน

อาหารมีทั้งคุณและโทษแก่มนุษย์ การขาดอาหารทำให้เป็นโรคได้ และการรับประทานอาหารมากไปหรือไม่เหมาะสมก็ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน ประเทศที่เจริญแล้วมักมีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหารมากไป และประเทศที่กำลังพัฒนาและยากจนมักมีปัญหาทางด้านการขาดสารอาหารความอ้วนเกิดจากการรับประทานอาหารมากกว่าที่ร่างกายต้องการ และหรือขาดการออกกำลังกาย ร่างกายจึงสะสมส่วนที่เกินไว้ในร่างกายในรูปของไขมัน ถ้ารับประทานอาหารเท่ากับที่ร่างกายต้องการจะมีน้ำหนักเท่าเดิม ถ้ารับประทานอาหารน้อยกว่าความต้องการน้ำหนักจะลดลง คนที่อ้วนอาจรับประทานอาหารในขณะนี้ในปริมาณที่ร่างการต้องการพอดี แต่อาจเคยรับประทานอาหารมากในอดีต ทำให้ร่างกายสะสมไว้หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นของเก่า
                โรคอ้วนเป็นปัญหาอย่างมากในขณะนี้ ประมาณ 1/2 ของผู้ใหญ่ในยุโรปจะมีน้ำหนักมากเกินไป (overweight) และประมาณ 16-17% ของชาวอังกฤษจะเป็นโรคอ้วน (obese)

คำนิยามของโรคอ้วน
การที่จะอ้วนหรือไม่อาจดูได้จากน้ำหนักตัว, อัตราส่วน(ratio)ของเอวต่อสะโพก, ความหนาของผิวหนัง (skin fold thickness) แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ body mass index (BMI) หรือดัชนีมวลกาย ซึ่งก็คือ น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง เช่น ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 70 กก. และสูง 1.78 เมตร  จะมี  BMI  เท่ากับ 70 1.782  เท่ากับ 70 3.1684  เท่ากับ 22.09  ซึ่งถ้า  BMI  เกินกว่า  24.9  จะถือว่ามีน้ำหนักมากไป   แต่ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกแจ้งว่าชาวเอเซียควรมี  BMI  ไม่เกิน 23  แต่การใช้  BMI  เป็นการวัดแบบเคร่า ๆ  ต้องดูโครงรูปร่างด้วยว่าหนาหรือบาง ต้องดูที่พุงตัวเองด้วย  ผู้ที่ยกน้ำหนักมากๆอาจมี  BMI  สูง  แต่เป็นเพราะมีกล้ามเนื้อมากไม่ใช่ไขมัน
ไขมันที่ท้องจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ แต่ไขมันที่สะโพกไม่ค่อยมีความเกี่ยวข้องมากนัก ฉะนั้นการวัดรอบเอวจะมีความหมายมากสำหรับโรคหัวใจ

                ปัญหาที่เกิดจากความอ้วน

                - ความดันโลหิตสูง - ไส้เลื่อน
                - โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน - นิ่วในระบบทางเดินน้ำดี
                - โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตันและแตก(อัมพฤกษ์ อัมพาต)  

                - ไขมันในตับทำให้ตับอักเสบ
                - หลอดเลือดดำอุดตันทั่วร่างกาย เช่น ที่ขา ในระบบทางเดินอาหาร

                - เสี่ยงต่อการมีตับอ่อนอักเสบที่รุนแรง
                - เบาหวาน

                - เส้นประสาทถูกกด
                - ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ

                - เป็นหมัน
                - หอบ  และ ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์
                - นอนกรนและถ้าหยุดหายใจทำให้มีอันตรายได้ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ

อัมพฤกษ์  อัมพาต  สมองเสื่อม  ฯลฯ

                - กระดูกเสื่อม
                - มะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่

                - ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
                - กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ - เครียด ซึมเศร้า
                - กังวล

 

ที่มา  :  รศ.นพ.พินิจ กุลละวณิชย์   เลขาธิการ แพทยสภา

 

คำสำคัญ (Tags): #โรคอ้วน
หมายเลขบันทึก: 207337เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2008 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท