การพระราชทานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันแก่สถาบันในประเทศญี่ปุ่น


ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาร่วมสมัยของญี่ปุ่น

กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ นำมูลนิธิร่วมจิิตต์น้อมเกล้า และผู้แทนกองทัพอากาศ
เข้าเฝ้า
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

Pic_002.jpg Pic_003.jpg Pic_015.jpg Princess Chulabhorn & World Tipitaka Princess Chulabhorn & World Tipitaka Pic_009.jpg

ข่าวในพระราชสำนัก

 

วันนี้ (20 มีนาคม พ.ศ. 2551) ณ พระตำหนักจักรีบงกช เวลา 15.00 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานพระวโรกาสให้ผู้แทนกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ พระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน (World Tipiṭaka Project in Roman Script) พร้อมกับกองทัพอากาศ และมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เข้าเฝ้ากราบทูลรายละเอียดการพระราชทานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันแก่สถาบันในประเทศญี่ปุ่นในปีนี้

สืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2550 สมาคมพระพุทธศาสนาเถรวาทแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Theravāda Buddhist Association) ได้รับพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน จากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ดังนั้น ผู้อุปถัมภ์พระไตรปิฎกในประเทศญี่ปุ่นจึงได้ร่วมกันขอพระราชทานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันจากประเทศไทยสำหรับสถาบันต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถาบันที่เคยได้รับพระไตรปิฎกอักษรสยามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อศตวรรษที่แล้ว

ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาต้องใช้เวลากว่าหนึ่งพันปีเดินทางผ่านจีนมาสู่ญี่ปุ่นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1000 ซึ่งแม้กระนั้นก็ยังมิได้มีการเผยแผ่พระไตรปิฎกบาฬี (Pāḷi Tipiṭaka) ในพระพุทธศาสนาเถรวาทสู่สังคมญี่ปุ่นอย่าง แท้จริง ดังนั้นการพระราชทานพระไตรปิฎกบาฬี ฉบับ ร.ศ. 112 อักษรสยาม ชุด 39 เล่ม ในสมัยรัชกาลที่ 5 แก่สถาบันต่างๆ ในญี่ปุ่นประมาณ 30 สถาบัน จึงเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์พระพุทธศ าสนาที่สำคัญยิ่ง เพราะทำให้สามารถสืบทอดคัมภีร์พระไตรปิฎกบาฬีในพระพุทธศาสนาเถรวาทได้สำเร็จในช่วงเวลาไม่ถึงหนึ่งทศวรรษในสังคมญี่ปุ่น

การพระราชทานพระไตรปิฎกบาฬี ฉบับสากลอักษรโรมันจากประเทศไทยที่กำลังจะจัดขึ้นในปี พ.ศ.2551 โดยผู้อุปถัมภ์พระไตรปิฎกชาวญี่ปุ่นร่วมกับชาวไทย จึงมีความสำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาร่วมสมัยของญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง เพราะอักษรที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นขาดเสียงในภาษาบาฬี ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นจึงศึกษาพระไตรปิฎกบาฬี ด้วยอักษรโรมัน ดังนั้นการจัดพิมพ์และพระราชทานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันแก่ญี่ปุ่น จึงเป็นประโยชน์โดยตรงกับ "พระไตรปิฎกศึกษาระดับนานาชาติ" (International Tipiṭaka Studies)

เนื่องด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นนักวิชาการที่ชาวญี่ปุ่นรู้จักยกย่องในสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศญี่ปุ่น คณะกรรมการโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน จึงเข้ากราบทูลรายละเอียดต่างๆ เพื่อขอพระราชทานพระวินิจฉัยการประดิษฐานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันในประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เกิดกุศลประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะสถาบันทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและความมั่นคงระดับนานาชาติ

DSCF9697.JPG

ในการเข้าเฝ้าครั้งนี้ คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร ประธานโครงการสมทบกองทุนเผยแผ่พระไตรปิฎสากลในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเข็มพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ด้วย

หมายเลขบันทึก: 207208เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2008 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 02:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท