ตอนที่ 64 ระบบส่งเสริมการเกษตรใหม่ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท


ธรรมดาเมื่อมองถึงจิตใจของผู้นำเสนอถ่ายทอดแนวคิด และความรู้สึกลงบนแผ่นกระดาษนี้

               

                ในเวทีประชุมเกษตรอำเภอประจำเดือน  เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท พร้อมกันเข้าร่วมประชุมรับฟังนโยบาย และแนวทางส่งเสริมการเกษตร โดยมีนายรังสรรค์  กองเงิน  เกษตรจังหวัดชัยนาทเป็นประธาน

หลังจากกล่าวถึงคำสั่ง และนโยบายต่างๆ ทั้งของกรมส่งเสริมการเกษตร และจังหวัดชัยนาท ซึ่งได้มีคำสั่งลงมา (Top down) ให้พื้นที่ดำเนินการมีหลากหลายเวลาแต่ส่วนใหญ่จะเป็นคำสั่งที่จะให้เร่งรีบดำเนินงานให้แล้วเสร็จด่วนที่สุด   ที่ฟังแล้วทอดถอนใจกันเฮือกๆ  รอจนเวทีเปิดโอกาสให้กษตรอำเภอสรรคบุรี (นายวิชัย  มาฆพัฒนสิน)  ึงได้รับฟังเรื่องราวที่น่าสนใจทั้งที่ได้รับฟังมาแล้วจากี่อัญชัญ  นุ่นละออง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  6ว าหลายครั้งตั้งแต่เริ่มโครงการพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร สิ่งที่สร้างความสนใจคือแผนภาพแห่งความคิด (Mind Map) ที่แสดงแผนการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนที่วางไว้อย่างลงตัว พร้อมการนำเสนอของเกษตรอำเภอด้วยใบหน้าที่ยิ้มแยม แฝงไว้ด้วยความจริงจังกับงานที่ได้รับมอบหมายจากเกษตรจังหวัดชัยนาท  การนำเสนองานหรือความคิดนั้นไม่ใช่ครั้งแรกของเกษตรอำเภอ เพราะจากการประชุมหรือเวทีหลากหลายงานแต่ละครั้ง จะได้รับการนำเสนอเป็นประจำ  แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการนำเสนอด้วย Mind Map ซึ่งขีดเขียนด้วยปากกาเคมีลงบนกระดาษฟาง  ซึ่งดูเหมือนธรรมดา แต่คงไม่ธรรมดาเมื่อมองถึงจิตใจของผู้นำเสนอถ่ายทอดแนวคิด และความรู้สึกลงบนแผ่นกระดาษนี้  ต่างจากที่ผู้เขียนเคยใช้โปรแกรม Mind Map นำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครื่องฉายสู่สายตาผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งดูเหมือนแข็งและไร้ความรู้สึกทั้งที่ได้ใส่เทคนิคนำเสนอ  จึงได้ทราบถึงสัจธรรมและอำนาจของงานศิลป์ที่ผ่านการสร้างสรรค์ด้วยมือ แม้ไม่ทันสมัยแต่ได้ใจผู้ชม

จากการนำเสนอของท่านเกษตรอำเภอสรรคบุรีครั้งนี้ อดไม่ได้ที่จะต้องนำกล้องถ่ายรูปที่ถูกวางไว้ในตู้ เนื่องจากไม่ได้ประสงค์ที่จะหยิบขึ้นมาใช้งาน ด้วยเห็นว่าวันนี้คงเป็น วันพักผ่อนของกล้องที่ได้ผ่านงานมาหนักมานาน แต่แล้วต้องเร่งรุดบรรจุแบตเตอร์รี่ ให้พร้อมบันทึกภาพเพื่อประกอบการนำเสนอ  แต่สบายอยู่ที่ไม่บันทึกตามคำบอกเล่าเพราะมีประเด็นสำคัญอยู่ที่  Mind Map   กล่าวโดยสรุปประเด็นต่าง ๆ ได้ดังนี้

1.       กำหนดให้มีการประชุมเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทุกวันจันทร์

2.       กำหนดให้มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบภารกิจตามความถนัด

3.     เน้นที่ข้อมูลได้ปรับปรุงข้อมูลอำเภอให้เป็นปัจจุบัน  โดยผ่านเวทีหารือของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเกษตรอำเภอ กำหนดให้มีการรวบรวมข้อมูลมือ 2  ซึ่งจากหน่วยงานต่างๆ เช่น พัฒนาที่ดิน  เกษตรจังหวัด ท้องถิ่น ( อบต. เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน)  ปกครอง (อำเภอ  พัฒนาการ) และการจัดข้อมูลมือ 1 เป็นข้อมูลเชิงลึก  โดยจะเก็บข้อมูลการพืชเป็นรายแปลง โดยเน้นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอ ในเบื้องต้นจะจัดเก็บข้อมูลการผลิตข้าว โดยใช้เครื่องวัดพิกัด GPS ในการเก็บข้อมูลพิกัดแปลงที่ดิน และจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดประกอบแปลงนา และการปฏิบัติในการปลูกข้าวของเกษตรกร โดยข้อมูลที่จัดเก็บจะนำมาประมวลผลและจัดทำเป็นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยจะนำมาเชื่อมกับข้อมูลอื่นๆที่มีอยู่แล้ว ของหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผน และสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ต่อไป เช่น

                                -  ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร และข้อมูลเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ  ของกรมส่งเสริมการเกษตร

                                -  ข้อมูลชุดดิน/ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ของกรมพัฒนาที่ดิน 

                                -  ข้อมูลการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของมหาวิทยาลัยเกษตรกร 

4.  มีการปรับปรุงคณะกรรมการศูนย์ฯ  โดยแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล 

5. เน้นศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล (ศบกต.)  เป็นกลไกลขับเคลื่อนงานเบ็ดเสร็จ การจัดการองค์ความรู้  เบ็ดเสร็จ ด้านเอกสารวิชาการ เผยแพร่ ข้อมูลพื้นฐานตำบล  คลินิกเกษตรเคลื่อนที่  มีการเชื่อมโยงระหว่างภาคี  วิทยากร ปราชญ์ชาวบ้าน

6. แผนพัฒนาการเกษตร   โดยผ่านเวทีประชาคม  ศบกต.  อปท.  คณะกรรมการหมู่บ้าน  จัดทำแผนพัฒนาการเกษตร 3  ปี   แผนพัฒนาการเกษตร 1  ปี  และเสนอของบประมาณจาก อปท.  ซึ่งในแต่ละตำบลมีทั้งได้รับการสนับสนุน  และไม่ได้รับการสนับสนุน

เวทีหารือในสำนักงานเกษตรอำเภอ

ได้ข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว  จึงได้กำหนดจัดประชุมชี้แจ้งทำความเข้าใจ
การดำเนินงานและการถ่ายโอนภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตรสู่ อปท.  ให้กับปลัดและเจ้าหน้าที่ของอปท. ทุกตำบลทีสำนักงานเกษตรอำเภอ  เมื่อวันที่
4  สิงหาคม  2551  จากการจัดประชุมชี้แจ้งพบจุดอ่อนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล  ที่ผ่านมาสรุปดังนี้ (ข้อมูลจากปลัดประจำตำบล) ดังนี้

1.  เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ไม่ทราบเงื่อนเวลาในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งตามปฏิทินในเดือนมีนาคมจะมีการทบทวนแผนและกำหนดให้แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายนของทุกปี เพื่อประชุมพิจารณาอนุมัติแผน ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานมีการส่งแผนให้ล่าช้าหลังการประชุมอนุมัติเรียบร้อยแล้ว  หลายหน่วยงานไม่มีการประสานและบูรณาการในการจัดทำแผนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่างคนต่างทำ โดยเฉพาะการจัดเวทีประชาคม 

2.   ข้อมูลที่ได้จากการทำแผนมีความหลากหลาย ซ้ำซ้อน และมีการของบประมาณรวมกันแล้วเกินมากกว่าจำนวนงบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้สำหรับการพัฒนาท้องถิ่น

3.   การบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร

4.   ในการเสนอแผน จะทำหนังสือประสานอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการประสานด้วยวาจา ใช้ความคุ้นเคยใกล้ชิด และความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้บริหาร หรือเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

5.   การจัดส่งแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล ไม่มีรายละเอียดของโครงการ กิจกรรม ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน และงบประมาณในการดำเนินงานในส่วนย่อย ส่วนใหญ่เขียนแค่ชื่อโครงการและงบประมาณ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ทราบรายละเอียดของโครงการที่แท้จริง ทำให้บางครั้งไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณได้

6.   ไม่จัดลำดับความสำคัญของแผนงาน/โครงการ และไม่ชี้ชัดหรือระบุว่าว่าอะไรเป็นแผนงานเป็นนโยบายหลักหรือที่สำคัญเร่งด่วนของหน่วยงานที่จะขอรับการสนับสนุนเป็นอันดับแรกๆ

7.   พระราชบัญญัติการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับใหม่ ต้องเริ่มที่การจัดทำแผนของชุมชน โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านที่มาจากตัวแทนของกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชน เป็นคณะทำงานในการจัดทำแผนชุมชนโดยตำแหน่ง และแผนพัฒนาท้องถิ่นมีการแต่งตั้งตัวแทนของหน่วยงานรัฐประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน

8.    การเรียนรู้   ของเจ้าหน้าที่ ได้จากเอกสารวิชาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคี เกษตรกร และจากการศึกษาดูงาน   ส่วนเกษตรกรได้จากนักวิชาส่งเสริมการเกษตร เอกสาร ศูนย์เรียนรู้ อบรม  ศึกษาดูงาน  และภาคี

การดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ( ศบกต. )

จะดำเนินงานด้านบริการแบบเบ็ดเสร็จ  จัดเวทีการจัดการองค์ความรู้ ข้อมูลพื้นฐาน การสร้างวิทยาการ  การจัดการอบรม  รวมถึงการให้บริการคลินิกเกษตร จัดเฉพาะตามสถานการณ์  เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร  รวมถึงการประสานงานกับภาคีให้บริการสู่ประชาชน โรงเรือน นักเรียน และนักศึกษา

จากการนำเสนอแผนและการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรใหม่  โดยใช้  Mind Map     โดยลำดับขั้นตอนให้เข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจ   ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังอย่างน่าสนใจ หวังว่าแนวคิดต่างๆ   ตามระบบส่งเสริมการเกษตรใหม่   จะได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ภายใต้ข้อมูล   ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิชาการ จากการประสานงานเพื่อการรับความร่วมมือจากภาคี   เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐ ประชาชน เกษ๖รกร สถาบันเกษตรกร และองค์กรต่างๆ และการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีส่วนร่วมของชุมชน ควบคู่กับการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร

หมายเลขบันทึก: 206576เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2008 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

  • กำลังฝึกทำกล้วยตากแบบชัยนาท
  • แต่จะอร่อยเหมือนเปล่าไม่รู้...555

สวัสดีครับ อาจารย์ประจักษ์

ขอให้ได้สูตรที่อร่อยกว่านะครับ สู้ๆๆ จะได้กล้วยตากสูตรอาจารย์ประจักษ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท