พัฒนาทักษะปลูกคะน้าโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง (2)


คะน้าปลอดสารพิษ

 

 

เกษตรกรควรทำการวางแผนในการผลิตอย่างละเอียดรอบคอบ เช่นการคัดเลือกพันธุ์ที่จะนำมาปลูกก็ควรจะต้องเป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคและแมลงและเป็นที่ต้องการของตลาดด้วย, มิฉะนั้นจะทำให้การผลิตในเบื้องต้นก็จะดูแลรักษาลำบาก หรือไม่ก็ปลูกจนได้ผลผลิตแล้วไม่รู้จะไปขายให้แก่ใคร เพราะเป็นพันธุ์ที่ไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค การใช้ขนาดของพื้นที่ในเบื้องต้นไม่ควรใช้พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่มากเกินไป เพียงแค่ ประมาณ 1 งาน หรือ 2 งาน ก็เพียงพอ เพื่อให้มีเวลาดูแลและจัดการกับโรคแมลงได้อย่างทั่วถึงทันท่วงที

ก่อนทำการเตรียมแปลงให้ทำการตรวจวัดสภาพความเป็นกรดและด่างของดินเสียก่อน  คะน้าจะชอบดินที่มีค่า พีเอช ระหว่าง 6.0 – 6.5 ซึ่งจะช่วยให้คะน้ามีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น  ถ้าตรวจพบว่าดินเป็นกรดให้ทำการใช้ กลุ่มวัสดุปูน เช่น ปูนมาร์ล, ปูนขาว, โดโลไมท์ และฟอสเฟต หว่านปรับปรุงบนแปลง ประมาณ 80 – 10  กิโลกรัมต่อไร่  และถ้าตรวจพบว่าดินเป็นด่าง ให้ใช้ ยิปซั่ม หรือ ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีแดงหว่านโรยบนแปลงในอัตราที่เท่ากับกลุ่มปูนก็ได้ครับ แต่ถ้าต้องการจะทำให้ประณีต ก็ควรตรวจวัดให้ได้ค่าตัวเลขความเป็นกรดเป็นด่างให้ชัดเจนเสียก่อนที่จะเติมปูน หรือ ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีแดง ถ้าเป็น กรดหรือด่างมากก็ใช้ในปริมาณที่มากหน่อย เป็นกรดหรือด่างน้อย ก็ใช้น้อยลงไปตามสัดส่วนที่ได้ทำการตรวจวัด ซึ่งอาจจะต้องใช้ประสบการณ์หรือสอบถามจากนักวิชาการหรือผู้ที่มีความรู้เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำก็ได้นะครับ

จัดทำแปลงให้กว้างประมาณ  1 เมตรและกำหนดความยาวตามต้องการ ทำการพรวนดินลึกประมาณ 15 -25 เซนติเมตร และทำการพรวนหน้าดินให้ขนาดเม็ดดินมีขนาดเล็กละเอียด หลังจากนั้นทำการตากดินไว้ 7 -10 วัน เพื่อเป็นการทำลายเชื้อโรคจากแสงแดด  แล้วค่อยนำภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลือง (สารปรับปรุงสภาพดินให้ดินโปร่ง, ร่วนซุย ระบายถ่ายเทน้ำดี, มีธาตุรองและ ซิลิก้าที่ทำให้พืชตั้งตัวได้ดี และมีผนังเซลล์ที่แข็งแรงต้านทานต่อโรคแมลง เพลี้ย หนอน รา ไร ) ในปริมาณ  20- 40 กิโลกรัมต่อไร่ และตามด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก 2 – 3 ตันต่อไร่ หว่านทับลงไปเพื่อเป็นการช่วยประหยัดการใช้ปุ๋ยเคมี  ในอนาคตทางชมรมจะพัฒนาให้เกษตรมีการเตรียมปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดีโดยการใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่ผลิตได้เองจากธรรมชาติและพยายามเติมลงไปในแปลงเกษตรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุสะสมลงไปในดินให้เพียงพอหรือมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 5 เปอร์เซ็นต์ของโครงสร้างดินทั้งหมดให้เหมือนกับดินที่อยู่ป่า เขา ลำเนาไพร ซึ่งไม่ต้องมีใครไปใส่ปุ๋ย พืชผักไม้ผล ก็สามารถที่จะดำรงอยู่ได้และมีดอกออกผลตามธรรมชาติ  เพื่อเป็นการวางแผนผลิตพืชผัก ไม้ผล ในอนาคต ในกรณีที่เขาไม่ต้องการให้ใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้นเกษตรกรก็สามารถที่จะทำการผลิตได้   เราจึงควรต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้กันแต่เนิ่น ๆ นะครับ เพื่อจะได้ปรับตัวให้อยู่กับกระแสโลกาภิวัฒน์ได้อย่างยั่งยืนและสืบไป  โดยยังคงเป็นแนวทางเกษตรแบบที่บรรพบุรุษของเราได้ทำกันมา แต่เราพัฒนาให้อยู่ในรูปที่ปลอดสารพิษ และยั่งยืนตลอดไป

 

มนตรี   บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 205429เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท