ที่ปรึกษางานวิจัยข้ามกลุ่มสาระฯ


ระยะนี้ไม่ค่อยได้เขียนบันทึกมากนัก  เนื่องจากมีภารกิจยาวๆที่ต้องศึกษา  ต้องใช้ระยะเวลาในการอ่านนานมาก  จึงจะตกผลึก  และแสดงความคิดเห็นได้  ดังนั้นอาจจะห่างเหินไปเล็กน้อย  แต่ก็กลับมาด้วยประสบการณ์จากภารกิจนั้น......นั่นก็คือ..... 

การอ่านงานวิจัย 

ด้วยครูอ้อย  รับเป็นที่ปรึกษาของเพื่อนครูต่างกลุ่มสาระฯ  ต่างกลุ่มชาติพันธุ์.....ซึ่งค่อนข้างเป็นงานหนัก  และเป็นงานชิ้นแรกที่ทำ  จึงต้องพิถีพิถันแบบท้าทาย  เพราะเคยอ่านแต่งานในกลุ่มสาระฯของตนเอง  ชาติพันธุ์เดียวกัน 

เมื่อเป็นงานใหม่  ก็ต้องตั้งใจให้สมกับความพึงพอใจ  ความไว้เนื้อเชื่อใจ  และการให้เกียรติที่เพื่อนมีให้กับครูอ้อย

Kru7

ในภาวะของกลิ่นอายการเลื่อนวิทยฐานะ  คุกรุ่น  หอมหวลเย้าใจให้นักวิจัยเกิดขึ้นมามากมาย  ตลอดทั้งที่ปรึกษางานวิจัย  ก็เกิดขึ้นมาเป็นเงาตามตัว   ครูอ้อยไม่ได้รับงานเพื่อนมากนัก  เพราะตนเองก็เข้าสู่การเป็นผู้รอรับการประเมินด้วย 

เริ่มต้นจากประสบการณ์ที่นำมาเล่าสู่กันอ่านเลย......งานที่อ่านนี้  เป็นกลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม  สาระประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

ครูอ้อยไม่สามารถจะนำชื่อผลงานมาเอ่ยถึงได้ต้องขออภัย  แต่จะกล่าวเล็กน้อย  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปรึกษาท่านผู้อ่านที่เคารพไปด้วยกัน  ไม่ว่ากัน 

งานนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ แฟรงค์ วิลเลี่ยมส์  นักจิตวิทยา และนักการศึกษาชาวอเมริกัน

Kru5

จากการที่เพื่อนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญอ่านงานวิจัย  โดยนำเครื่องมือที่เป็น แบบฝึกความคิดสร้างสรรค์มาให้ครูอ้อยในวันแรก  มีความคิดเกิดขึ้นมาทันทีเลยว่า.....จะอ่านได้ไหมนี่.....แต่ท้าทายดีนะ.....ลองทำงานที่ไม่เคยทำบ้างสิ.....จึงตอบตกลงเพื่อนไปว่า.....ได้เลย 

เมื่อกลับมาบ้านลองอ่านแบบผ่านๆ  ก็พบข้อบกพร่องต่างๆเล็กน้อยก่อน  แล้วค่อยๆพบไปเรื่อยๆ  ในเชิงแบบฝึก  ลักษณะนวัตกรรมทั่วๆไปก่อน 

ได้เขียนติงไว้  และเมื่อพบกันในโรงเรียน   ก็ได้บอก  ได้พูดกันว่า.....งานที่ให้มาอ่านนี้  มีกรอบวิธีวิจัยอย่างไร  นำทฤษฎีของใครมาอ้างอิง  เท่านั้น

 Tuan1 

วันต่อมา  เธอก็นำเอกสารสำเนาทฤษฎีมาให้  แล้วครูอ้อยก็ดองไว้ 2 สัปดาห์   จนมาอ่านเมื่อคืนนี้  พบว่า..... กลวิธีการสอนตามแนวคิดของ  แฟรงค์ วิลเลี่ยมส์  น่าสนใจสำหรับการสอนวิชาประวัติศาสตร์  ตามที่เพื่อนบอกว่า  ตรงกับงานของตัวเอง  ที่ส่งเสริมทักษะการคิดให้นักเรียน....

ขอเกริ่น แนวความคิดนี้ก่อนว่า.....เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมพฤติกรรมความคิดสร้างสรรค์ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึก หรือเจตคติในห้องเรียน  หรืออาจกล่าวได้ว่า  เป็นรูปแบบที่สอนให้เด็กรู้จักคิด  การแสดงความรู้สึกและการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ (A Model for Implemetina Cognitive-Affective Behaviele in the Classroom)  รายละเอียดมีมาก  ขอเกริ่นเพียงเท่านี้ก่อน 

จากนั้น ครูอ้อย ก็นำแบบฝึกที่เพื่อนสร้างออกมาอ่าน  เทียบเคียงไปกับทฤษฎี  พบว่า......ต้องมาวิเคราะห์ทฤษฎีเสียก่อน  จึงจะเข้าใจงานของเพื่อนว่า  ตรงตามทฤษฎีหรือไม่ 

จับดินสอได้  ก็เขียนเป็นผังมโนทัศน์  ที่เห็นโครงสร้างของทฤษฎีนี้ 

และต่อไปก็เขียนผังมโนทัศน์ของงานเพื่อน  คราวนี้ล่ะ  ก็จะได้เห็นว่า  ระหว่างทฤษฎี กับงานเพื่อนนั้น  มันไปด้วยกันแบบ.....ปี่กับขลุ่ย  หรือเปล่า.....

การอ่านทฤษฎีพบว่า.....กลวิธีการสอน มี 3 มิติที่เกิดขึ้น  คือ  หลักสูตรเนื้อหา  พฤติกรรมการสอนของครู  และ  พฤติกรรมที่เกิดขึ้นของนักเรียน  กับ  พฤติกรรมการสอนของครู  ต้องมีทั้งหมด 18 ลักษณะ 

ตรงนี้น่าสนใจมาก  เพราะการที่เราจะทำผลงานวิชาการ  ต้องเน้นย้ำเสมอว่า .....เกิดอะไรกับนักเรียน  

ทฤษฎีนี้เกิดการพัฒนาสมองนักเรียน  ให้คิดคล่องตัว คิดยืดหยุ่น คิดริเริ่ม คิดละเอียดละออ  และเปลี่ยนแปลงความรู้สึก เจตคติเรื่อง  ความอยากรู้อยากเห็น  พร้อมใจที่จะเสี่ยง  คิดซับซ้อนด้วยความตั้งใจ  คิดจินตนาการเป็น....ตรงนี้จะกล่าวต่อไปทำเครื่องหมายไว้ก่อน*****

การอ่านงานของเพื่อนพบว่า......เพื่อนได้คิดแบบฝึกความคิดสร้างสรรค์เพียง 10 ลักษณะ   ซึ่งไม่ครบตามจำนวนตามทฤษฎีที่มี 18 ลักษณะ 

ครูอ้อยค้นพบจากการอ่านงาน  และขอสรุปรวมๆแบบแนะนำ ติ และถาม รวมๆกันว่า.....

1. ต้องแจกแจงแบบฝึกว่า  แต่ละแบบฝึกนั้น  ส่งเสริมให้เกิดอะไรกับนักเรียน  ตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ในเครื่องหมายที่ครูอ้อยทำไว้....ข้างบนโน้น*****โดยสังเคราะห์ออกมาให้เห็นเป็นภาพรวม

2. สิ่งทั้งหมดในข้อ 2 นำไปเขียนได้ในบทสรุป บทที่ 5 ของวิจัย

3. ถามว่า  ทำไมไม่ทำแบบฝึกให้ครบทั้ง 18 ลักษณะ มี้เหตุผลอะไร  น่าจะทำให้ครบ  จะได้อ้างอิงทฤษฎีของ แฟรงค์ วิลเลี่ยมส์ ได้เต็มรูปแบบ  ตามโมเดล

4.  เขียนงานวิจัย ได้แค่ไหน  เอามาดูสิ  จะได้ไม่หลงทาง  หรือหลุดออกมากรอบวิธีวิจัย  และขออ่านวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ด้วย

5.  ตัวแบบฝึก เรายังไม่ได้ดูรายละเอียด  เพราะไม่รู้หลักสูตร สาระประวัติศาสตร์  ขอหลักสูตรแนบมาให้ดูด้วย 

6.  ชื่อของงานวิจัย  อาจจะต้องเปลี่ยนไปตามวัตถุประสงค์และสิ่งที่เกิดขึ้นกับนักเรียน 

7. ขอเพิ่ม  แบบแนะนำให้เพิ่ม  ทักษะการคิดที่มีลักษณะ Graphic Organiser แบบง่ายๆ  แบบ circle thinking map  เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิดและเขียนด้วยก็ได้

Thi50

ครูอ้อยอ่านและสรุปออกมาให้ได้อ่าน  มีอะไรคืบหน้าจะกลับมานำเสนอต่อไป 

เป็นอย่างไรคะ  การที่ครูอ้อยหายหน้า ห่างเหินไปคราวนี้  ได้ประโยชน์คุ้มค่าไหมคะ 

คราวนี้มาชมโฉมเพื่อนของครูอ้อย

นี่ไง  เพื่อนของครูอ้อย  เจ้าของงานวิจัย  นั่งยิ้มเผล่  นี่ล่ะค่ะ

 

Kru1

ขอบคุณที่อ่านจนจบ 

ด้วยความปรารถนาดี และรักมากๆ

จาก

ครูอ้อย แซ่เฮ

 

หมายเลขบันทึก: 204517เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2008 04:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

แวะมาอ่าน ศึกษาหาความรู้ค่ะพี่ครูอ้อย

สุดยอดค่ะ

ขอคุณความดี  ปกป้องคุ้มครอง  นะคะ

สุขภาพแข็งแรง

เก็บกล้วยไม้ ที่โรงเรียน  มาให้สดชื่น นะคะ :)

เพื่อนช่วยเพื่อน นี่แหละ เพื่อนแท้ น้องก็เอางานไปให้เพื่อนที่เป็น คศ.3 อ่านเหมือนกัน เพื่อนบอกดีแล้ว ไม่รู้เพื่อนเข้าข้างเพื่อนรึเปล่า

ต้องตั้งใจ ช่วยเพื่อนจริงจัง

เพราะใช้ เวลา ใช้ ความอดทน และความรักมากเลย

มาเชียร์ คน รัก เพื่อนค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อ้อย

  • ขอร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

 

  • ก็ยังไม่เห็นรายละเอียดของงานวิจัยชิ้นนี้ แต่เท่าที่พี่อ้อยเล่ามา ก็มองว่างานวิจัยชิ้นนี้น่าจะมี

ตัวแปรต้นคือ การสอนโดยใช้แบบฝึก(ที่ใช้กรอบความคิดสร้างสรรค์ของ วิลเลี่ยมส์)

ส่วนตัวแปรตามไม่แน่ใจ ว่าเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมฯ หรือความคิดสร้างสรรค์(ประเด็นนี้ต้องดูที่วัตถุประสงค์ของงานวิจัยอย่างที่พี่อ้อยว่า) เพราะจะมีผลต่อการสร้างเครื่องมือที่จะมาทดสอบด้วย

  • งานวิจัยชิ้นนี้อิงเนื้อหาในหลักสูตรหรือไม่ หากใช่ต้องบอกเหตุผลด้วยว่าความคิดสร้างสรรค์ กับ เนื้อหาในหลักสูตรมีปัญหา เชื่อมโยงกันอย่างไร ทำไมต้องใช้แบบฝึกที่ใช้กรอบแนวคิดของวิลเลี่ยมส์ ในการแก้ปัญหา ซึ่งจะต้องอธิบายในความเป็นมา ของบทที่ 1 ให้ชัดเจน

 

  • ตามข้อสรุปของพี่อ้อยในข้อที่ 3 น้องสาวคิดว่า หากผู้วิจัยมีเหตุผลในการทำแบบฝึกไม่ครบทั้ง 18 ลักษณะ ซึ่งจะต้องอธิบายไว้ในบทที่ 2 ผู้วิจัยต้อง เขียนนิยามศัพท์ไว้ให้ชัดด้วย ว่าลักษณะของแบบฝึกเป็นอย่างไร

 

  • ตามข้อแนะนำของพี่อ้อย ตามข้อที่ 7 น้องสาวคิดว่า ดีนะคะ แต่ต้องเพิ่มทฤษฎีเรื่องทักษะการคิดที่มีลักษณะ Graphic Organiser แบบง่ายๆ  แบบ circle thinking map  เข้าไปในบทที่ 2 ด้วย  แต่งานวิจัยชิ้นนี้จะกลายเป็นใช้กรอบแนวคิดสร้างสรรค์ของวิลเลี่ยมส์ และการคิดที่มีลักษณะ Graphic Organiser แบบง่ายๆ  แบบ circle thinking map 

 

  • แต่จะอย่างไร น้องสาว ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนพี่อ้อยด้วยนะคะ

 

  • ขอให้พี่อ้อยมีความสุข และรักษาสุขภาพบ้างนะคะ และน้องจะมาติดตามความคืบหน้าคะ

                           

แวะมาชื่นชมงานของครูอ้อยครับ

ดูแลสุขภาพด้วยครับ

สวัสดีค่ะน้องสาว  @..สายธาร..@

  • ขอบคุณที่เป็นแรงกำลังใจให้ครูอ้อยเสมอมา
  • ครูอ้อย  เพียงแต่นำเสนอ งานที่ได้ทำ  อาจจะมีถูก หรือ ผิด ก็แย้งและแนะนำครูอ้อยได้
  • แบบบันทึกขอคำปรึกษานะคะ

แวะมาทักทายกันอีกนะคะ  ครูอ้อยช้อบชอบ

สวัสดีค่ะน้องรัก  NONGYAO - CHAMCHOY

  • ครูอ้อย  ไม่ค่อยได้ช่วยเพื่อน  เท่าไรนัก  เนื่องจาก  ไม่ค่อยสบายตัวและหัวใจ  ขอพัก  หลังจากขึ้นเขียง  รอรับการประเมิน  กบดานไว้บ้าง
  • แต่บางที  งานท้าทาย  ครูอ้อย ช้อบชอบค่ะ

ขอบคุณค่ะ

น้องต้องโชคดีเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ  คุณหมอหน่อยที่รัก พญ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล

  • ขอบคุณค่ะ  ที่เป็นแรงใจให้ครูอ้อย เสมอมาค่ะ
  • เพื่อนช่วยเพื่อนได้  ก็อาสาช่วยเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องสาว  อังคณา สืบเนียม

  • ที่น้องเสริมมานั้น  มีประโยชน์แก่ครูอ้อยมากเลยค่ะ  ทำให้ครูอ้อยได้วางแผนให้เพื่อต่อได้ค่ะ

ขอบคุณมากจริงๆค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ .... จารุวัจน์

ดีใจมากเลยค่ะ  ที่อาจารย์มาเยี่ยมชมและให้กำลังใจ

รักษาสุขภาพเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อ้อย

  • ดีใจจังที่ได้เจอคนมีเพื่อนต่างกลุ่มสาระ ต่างชาติพันธุ์เหมือนกัน มีศิลปะ (ดนตรี ,ทัศนศิลป์) ภาษาไทย  สังคมศึกษา สุขศึกษา และ การงานอาชีพ
  • ตอนแรกๆ ก็รู้สึกเช่นเดียวกันค่ะว่าจะทำได้ไหมหนอ  แต่คนที่ขอให้เราช่วยช่างเชื่อมั่นเหลือเกินว่า "เราทำได้" ซึ่งเราก็ออกตัวแต่แรกว่าช่วยได้นะแต่ไม่รับประกัน ทุกคนก็โอเคจึงช่วยไปอย่างสบายใจและไม่มีภาวะกดดัน  ที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จไปแล้ว ๗ คน  ปีนี้รอลุ้นอีก ๘ คนค่ะ
  • อ่านของพี่อ้อยแล้วได้ความรู้ และหลักคิดเพิ่มขึ้นค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะสำหรับประสบการณ์ดีๆ

สวัสดีค่ะ น้องสาว แจ่มใส

เก่งจังเลยค่ะ  ที่เป็นที่ปรึกษา ให้เพื่อนด้วยความมั่นใจ

ขอให้น้อง โชคดีตลอดไปค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท