ปัญญาประดิษฐ์


ปัญญาประดิษฐ์   [Artificial Intelligence หรือ AI]

ประวัติของปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์

ตั้งครรภ์ AI (ค.ศ. 1943-1955)

- โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์โปรแกรมแรกเป็นการจำลองหน่วยประสาทเดี่ยว (neurons) สร้างโดย Warren McCulloch และ Walter Pits โดยใช้ความรู้เรื่องหน้าที่ของสมองในเชิงกายภาพ ตรรกศาสตร์ และทฤษฎีการคำนวณ และภายหลัง Donald Hebb ได้เสนอกฎการเรียนรู้เพื่ออธิบายการเรียนรู้ของโครงข่ายประสาทเทียม

- มาร์วิน มินสกี (Marvin Minsky) และ ดีน เอ็ดมอนด์ (Dean Edmond) นักศึกษามหาวิทยาลัย Princeton ได้ร่วมกันสร้างโครงข่ายใยประสาทเทียม (neural network) ใช้หลอดสุญญากาศถึง 3000 หลอด จำลองหน่วยประสาท 40 หน่วย

- อลัน ทัวริง (Alan Turing)ได้เสนอวิธีการทดสอบว่าโปรแกรมฉลาดหรือไม่ วิธีนี้เรียกว่า Turing test, เครื่องจักรเรียนรู้, การเรียนรู้แบบเสริมแรง และอัลกอริธึมเชิงพันธุกรรม (genetic algorithm)

ในช่วงปีนี้ได้มีการสร้างแนวคิดอันเป็นพื้นฐานของการสร้างผลงานปัญญาประดิษฐ์

 

กำเนิด AI (ค.ศ. 1956)

- ปัญญาประดิษฐ์กำเนิดอย่างเต็มตัวที่มหาวิทยาลัย Princetone โดยจอห์น แมคคาร์ธี (John McCarthy) ได้ชวนมาร์วิน มินสกี(Marvin Minsky) ,คอล็ด แชนนอน (Claude Shannon), ,นาธาเนียล โรเชสเตอร์ (Nathaniel Rochester) และนักวิจัยจากสถาบันอื่นรวม 10 คน ให้ช่วยกันทำวิจัยเรื่องทฤษฎีอัตโนมัติ (automata theory) โครงข่ายใยประสาท และศึกษาเรื่อง "ความฉลาด : intelligece"

- Allen Newell และ Herbert Simon ได้พัฒนาโปรแกรมหาเหตุผลและพิสูจน์ทฤษฎีตรรกศาสตร์ คือโปรแกรมนักทฤษฎีตรรกศาสตร์ (Logic Theorist)

- ผู้ตังชื่อใ้ห้กับศาสตร์สาขาใหม่นี้คือ John McCarthy ก่อนที่จะได้ชื่อว่า AI: Artificial Intelligence นั้นมีอีกชื่อหนึ่งที่น่าจะเหมาะคือ Computational rationality

- AI เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านจิตวิทยา กายวิภาค คณิตศาสตร์ แต่เป็นศาสตร์ย่อยของวิทยาการคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเน้นการทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานที่มนุษย์ทำได้ หรือทำได้ดีกว่า

 

ฝันที่เป็นจริงและฝันที่สลาย (ค.ศ. 1966-1973)

- โปรแกรมส่วนไม่มีความรู้ในของเขตความรู้ที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา

- ความสามารถในการโต้ตอบทำได้ยาก

- แนวคิดเรื่องเครื่องจักรกลายพันธุ์

- Minsky และ Papert ได้ชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดในการใช้งานโครงข่ายใยประสาทเทียมแบบหนึ่งชั้น ซึ่งส่งผลให้งานวิจัยเรื่องนี้เงียบหายไปนับสิบปี เนื่องจากนักวิจัยเชื่อว่าถึงทางตันแล้ว

ระบบฐานความรู้ (ค.ศ.1969-1979)

- ระบบฐานความรู้เป็นการแทนข้อมูลให้โปรแกรมที่ทำงานด้าน AI สามารถนำไปใช้หาเหตุผล หรือหาคำตอบได้

- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเป็นการผนวกความรู้ในฐานความรู้กับกฎเกณฑ์เพื่อช่วยในการ

ตัดสินใจ

- ระบบผู้เชี่ยวชาญได้ถูกพัฒนาต่อจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยรวบรวมความรู้ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ และมีโปรแกรมในการอ้างเหตุผล ผู้ใช้ป้อนข้อมูลลักษณะของปัญหาเข้าระบบ แล้วโปรแกรมในการอ้างเหตุผลจะกหาคำตอบหรือคำปรึกษากับผู้ใช้

อุตสาหกรรม AI (ค.ศ. 1980-present)

ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาได้เข้ามามีบทบาทในวงการอุตสาหกรรม เช่น ระบบ R1 ถูกใช้ในบริษัท DEC ในการช่วยหาการสั่งซื้อระบบคอมพิวเตอร์ใหม่ที่เหมาะสม ซึ่งทำให้บัริษัทประหยัดได้ถึงปีละ 40 ล้านดอลลาร์ต่อปี ในบริษัท DEC เองใช้โปรแกรมระบบผู้เชี่ยวชาญถึง 40 ระบบ บริษัทอื่นอีกหลายบริษัทต่างก็ให้ความสนใจและยอมลงทุนมหาศาลสร้างโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จดังที่คาดไว้

การกลับมาของโครงข่ายประสาทเทียม -neuron network

(ค.ศ.1986-ปัจจุบัน)

- ตั้งแต่ปี 1970 โครงข่ายประสาทเทียมได้รับความสนใจน้อยมาก เนื่องจากนักวิจัยเชื่อว่าไม่สามารถสร้างโปรแกรมที่แก้ปัญหาได้้จริง แต่เมื่อนักฟิสิกส์ชื่อ Hopfield ได้ใช้วิธีการทางสถิติกลศาสตร์วิเคราะห์ความต้องการหน่วยความจำ และ์คุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุดของ เครือข่าย โดยมองแต่ละหน่วยในเครือข่ายเป็นอะตอม ทำงานงานวิจัยโครงข่ายใยประสาทเทียมได้กลับมาอีกครั้ง

- การเรียนรู้แบบแพร่กระจายย้อนกลับ (Backpropagation learning) ได้ถูกเสนอโดย Rumelhart, Hinton และ Williams สามารถแก้ปัญหาได้ทั่วไปมากขึ้นและทำให้นักวิจัยกลับมาให้ความสนใจโครงข่ายใยประสาทเทียมอีกครั้ง

วิทยาศาสตร์แห่ง AI (ค.ศ. 1987-ปัจจุบัน)

ปัญญาประดิษฐ์ได้รับการยอมรับเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งในปีี 1987 เนื่องจากที่ผ่านมามีการคิดค้นวิธีการ ทฤษฎี ที่ทำให้สร้างเครื่องจักรที่มีความฉลาด แก้ปัญหาได้จริง เช่น หุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์วิทัศน์ การแทนความรู้ การรู้จำเสียง การค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลจำนวนมาก (data mining) เป็นต้น

ตัวแทนปัญญาปรากฎตัว (ค.ศ.1995-ปัจจุบัน)

ในการแก้ปัญหาของโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์นั้น ถ้าเป็นปัญหาซับซ้อน และปัญหานั้นมีการคอยติดต่อหรือติดตามดูการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสิ่งแวดล้อม มักจะแบ่งงานออกเป็นงานย่อย แล้วมีตัวแทนปัญญา (intelligent agent) ทำงานในส่วนย่อย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือตัวแทนปัญญาบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเรามักจะเรียกว่า -bot (บอต) เช่น บอตของโปรแกรมค้นหาข้อมูล (search engine)

 

แหล่งอ้างอิง

http://www.atom.rmutphysics.com/charud/scibook/computer/evolution/AI_what.html

หมายเลขบันทึก: 204437เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2008 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จุ๊กรู้ ๆๆๆ มาเป็นกำลังใจให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท