BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

หัวข้อบรรยายเรื่องศาสนพิธี


หัวข้อบรรยายเรื่องศาสนพิธี

  • ศาสนพิธี คือ ระเบียบแบบอย่างการปฏิบัติทางทางศาสนา
  • พิธีกรรม คือการกระทำตามระเบียบแบบอย่าง

องค์ประกอบ ๕ ประการของศาสนา คือ

  • พระศาสดา ๑ 
  • หลักคำสอน ๑
  • ศาสนิกชน ๑
  • วัด ๑
  • ศาสนพิธี ๑

 

 ศาสนพิธี จำแนกได้ ๒ ประการ กล่าวคือ

  • ศาสนพิธีตามสังฆกรรม
  • ศาสนพิธีตามวัฒนธรรม ๑

 

กรอบความคิดเรื่อง วัฒนธรรม

  • ขนบ แบบอย่างที่ต้องทำให้ถูกต้อง
  • ธรรมเนียม ค่านิยม ไม่เหมาะไม่ควร
  • จารีต แบบอย่างที่เน้นคุณค่าทางจริยธรรม
  • ประเพณี แบบอย่างตามวาระและโอกาส
  • วัฒนธรรม ความรุ่งเรืองเจริญงอกงาม

 

ศาสนพิธีตามวัฒนธรม ๒ ประการ คือ

  • ศาสนพิธีหลวง กำหนดระเบียบแบบแผนชัดเจน๑  
  • ศาสนพิธีชาวบ้าน ไม่ชัดเจนขึ้นอยู่กับความนิยมท้องถิ่นนั้น

 

การจัดแบ่งศาสนพิธี ๔ หมวด ในหนังสือศาสนพิธี

  •  กุศลพิธี การแสดงตัวเป็นพุทธมามกะ พิธีเวียนเทียน พิธีรักษาอุโบสถศีล  
  • บุญพิธี บุญมงคล (เช่น ขึ้นบ้านใหม่ เลี้ยงพระ) บุญอวมงคล (เพื่อผู้ตาย) 
  • ทานพิธี การถวายทาน ปาฏิปุคคลิกทาน สังฆทาน  
  • ปกิณณกพิธี การกรวดน้ำ การประเคนพระ การอาราธนานิมนต์ ใบปาวารณา

 

การกำหนดผิดถูกของศานพิธี ๔ อย่าง คือ

  • ตามระเบียบราชการ๑
  • ตามค่านิยมสังคมในท้องถิ่น๑
  • ตามผู้นำ๑
  • ตามใจฉัน๑ 

แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา

 

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนพิธี
หมายเลขบันทึก: 203805เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2008 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

นมัสการครับ

    ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรืองของ "พิธีกรรม"  ตามที่กำหนดความถูกผิดของศาสนพิธี  4 อย่าง  ก็ถือว่าเป็นข้อกำหนดที่ยึดถือกันมาในสังคมไทย

    ผมเองไม่ติดใจอะไรหรอกครับ  แต่มาติดใจอยู่นิดตรงที่ว่า "เหตุผล" ของพิธีกรรมต่างๆ  อย่างน้อย  ก็น่าที่จะมีตำตอบว่า เรื่องนี้  ทำไมถึงต้องทำอย่างนี้  ทำอีกอย่างได้หรือไม่  ทำได้เพราะอะไร ทำไม่ได้เพราะอะไร

  นั่นคือ บางครั้งเรามักทำตามๆกันมาแบบ "เถรส่องบาตร" โดยมักจะยึดถือกันว่าเป็น "พิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์" จนอาจกลายเป็นศรัทธาอย่างงมงายไป

   ตามความคิดเห็นของผม  ผมว่าควรที่จะเข้าใจความหมายของพิธีกรรมแต่ละอย่าง  ว่ามีความสำคัญอย่างไร  มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์อย่างไร

    เมื่อทราบความสำคัญ  วัตถุประสงค์ และ เป้าหมาย ของพิธีกรรมแต่ละอย่าง  แทนที่จะเป็นการศรัทธาแบบไสยศาสตร์ (อำนาจ)  ก็พัฒนามาเป็นการศรัทธาแบบพุทธศาสตร์(ปัญญา)

    เมื่อเข้าใจพิธีกรรมแต่ละอย่าง  เราก็สามารถยืดหยุ่นและประยุกต์พิธีกรรมให้เหมาะกับบริบทได้ โดยไม่เสียหลักธรรม

    ช่วยพัฒนาศาสนาด้วยพิธีกรรมโดยไม่เสียหลักการ

                        ขอบคุณครับ

P small man

 

พิธีกรรม จัดอยู่ใน วัฒนธรรม ซึ่งเบื้องต้นในการบรรยายก็ได้ให้ความเห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมกับปรัชญาว่า...

  • ปรัชญา ที่แปรสภาพเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตเรียกว่า วัฒนธรรม
  • เหตุผลที่รองรับ วัฒนธรรม (พิธีกรรม) คือ ปรัชญา

นั่นคือ พิธีกรรมทั้งหมด จะมีเหตุผลรองรับที่เรียกกันว่าปรัชญาเสมอ เพียงแต่บางอย่างเราไม่รู้เท่านั้น... ขณะที่พิธีกรรมบางอย่างที่ไม่อาจหาเหตุผลรองรับได้แล้วก็จะค่อยๆ เสื่อมสูญสลายไป...

ส่วนที่เราคิดว่าไร้เหตุผลนั้น เพราะเรามิได้สนใจค้นหาหรือสร้างเหตุผลมารองรับนั่นเอง...

การที่ท่านรองฯ. ให้ความเห็นมาตามที่ปรากฎอยู่... ก็บ่งชี้ได้ว่า่ ท่านรองฯ. กำลังสนใจและค้นหาเหตุผลมารองรับพิธีกรรมบางอย่างที่กำลังสนใจอยู่กระมัง ! 

เจริญพร

นมัสการอีกครั้งครับ

      ท่านอาจารย์เดาใจผมได้ถูกครับ  ตอนนี้ผมพยายามหาเหคุผลมารองรับพิธรกรรมบางอย่างอยู่

      พิธีกรรมบางอย่าง  ก็พอหาเหตุผลมารองรับได้  แต่บางอย่างก็มืดสนิท   ต้องทำตามๆกันไปก่อน

      ผมเคยปรึกษากับผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อยู่ท่านหนึ่ง ท่านก็เห็นด้วย  แต่คงต้องใช้เวลา

 

P small man

 

ประเด็นที่ท่านรองฯ ว่ามา ก็มีการเถียงกันอีกว่า เหตุผลเกิดก่อนพิธีกรรม หรือพิธีกรรมเกิดก่อนเหตุผล ซึ่งประเด็นนี้เชื่อกันว่า

  • เหตุผลเกิดก่อนพิธีกรรม นั่นคือ คนคิดก่อนที่จะทำเสมอ

แต่ เหตุผลบางอย่างเกิดหลังพิธีกรรม นั่นคือ คนคิดหาเหตุผลเพื่อจะให้พิธีกรรมนั้นๆ ดำรงอยู่ ซึ่งเหตุผลที่เกิดหลังพิธีกรรมทำนองนี้ บางอย่างก็สอดคล้องกับเหตุผลเดิมที่รองรับพิธีกรรมนั้นๆ แต่บางอย่างก็เป็นเหตุผลใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุผลเดิมเลย...

นึกถึงความเห็นของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ ในความเรียงว่าด้วยเสรีภาพ ทำนองว่า

  • ความคิดเห็นอย่างหนึ่งอย่างใด ถ้าถูกกำหราบให้เงียบสงบไป ความคิดเห็นนั้น อาจถูกต้องเป็นจริงก็ได้
  • แม้ความคิดเห็นนั้นๆ จะไม่ถูกต้องเป็นจริง แต่อาจมีส่วนหรือชี้แนวทางความถูกต้องเป็นจริงบางอย่างก็ได้
  • ถ้าเราเชื่อว่า สิ่งนี้เท่านั้นถูกต้องเป็นจริง เป็นความเห็นที่เข้าข้างตนเอง ที่ปราศจากการตรวจสอบ
  • สิ่งที่ผ่านการตรวจสอบ จะมีความเข้มแข็งยืนอยู่ได้นาน แต่สิ่งที่ไม่ได้ตรวจสอบก็จะค่อยๆ ปราศจากเหตุผลรองรับ และจะกลายเป็นเพียงความเชื่อปะรำปะราที่ค่อยๆ สลายไป

ในเรื่องพิธีกรรมก็เช่นเดียวกัน ก็อาจนำแนวคิดนี้ไปกล่าวอ้างได้

เจริญพร

นมัสการครับ

     แนวคิดที่ท่านอาจารย์เพิ่มเติมมา เป็นประโยชน์มากครับ ในเรื่องของ "เหตุผล"

    คงจะต้องขอหยิบยืมนำไปใช้ในการหาเหตุผลมารองรับพิธีกรรมที่ผมกำลังศึกษาอยู่

 

นมัสการพระคุณเจ้า

ขอบคุณอาหารสมองทั้งสองท่านที่ทำให้เกิดปัญญา

ในเรื่องความเชื่อ และเหตุผล ถ้าไม่ใช้ปัญญา ก็เข้าตำราเรื่องเล่า "สิบหกเป็นจริง"

"เรื่องมีอยู่ว่า มีคนไปยิงหมูเถือนได้หนึ่งตัวหามเข้าหมู่บ้านเขา ชันชี กันว่าถ้าไครถามว่าหามไหร ให้ตอบให้เหมือนกันว่าหามแพะ พบเพื่อนบ้าน 10 คนถามคำถามเดียวกัน คนหามหมูก็ตอบแบบเดียวกัน ผลปรากฎว่าเพื่อนบ้านทั้ง 10 เกิดการลังเลในสิ่งที่เห็น เมื่อไปเล่าให้เพื่อนบ้าน คนที่ 11 ฟัง หมูกลายเป็นแพะ ด้วยประกระฉะนี้////////

P บังหีม

 

อ่านเรื่อง "สิบหกเป็นจริง" ของบัง ทำให้นึกถึงพระบาลีในเกสปุตตสูตรว่า

  • มา อนุสฺสเวน อย่าปลงใจเชื่อเพราะฟังตามกันมา

ส่วนเรื่องเต็มและเรื่องขยายความ คลิกที่นี้

เจริญพร

น.ต.พยนต์ เกลื้อนรัตน์

นมัสการพระอาจารย์

กระผมกำลังศึกษาปริญญาโทพุทธศาสตร์ที่ มมร.ทำสารนิพนธ์เรื่องศาสนพิธีเถรวาทในประเทศไทย ต้องการคำแนะนำเร่ืองเอกสารงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้องเพื่อนำมาอ้างอิงงานวิจัย

กระผมมีความสนใจในเร่ืองศาสนพิธีมาก เพราะได้ยินได้ฟังมานานแล้วที่นักวิชาการด้านพุทธศาสนาบอกว่าศาสนพิธีมีส่วนสำคัญในการปกป้องพระศาสนา เปรียบเสมือนเปลือกกระพี้ไม้ปกป้องแก่นไม้ให้คงอยู่มีอายุยืนนัอบร้อยปีเป็นที่อาศัยของฝูงสัตว์น้อยใหญ่และพืชพันธุ์ไม้เล็กๆเหล่าอื่น นักวิชาการเหล่านี้ท่ีอ้างอิงได้คือสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้ทรงเรียบเรียงตำราเรียนพุทธศาสนาทุกระดับชั้นหรือตำราเรียนศาสนพิธีของกรมการศาสนา การที่เราท่านทั้งหลายจะอธิบายเหคุผลรองรับที่มาของศาสนพิธี้นั้น ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนที่จะนำไปเผยแผ่ ความคิดเห็นง่ายๆที่ว่าพิธีกรรมไร้สาระแล้วก้าวข้ามขั้นตอนพิธีกรรมไปออกจะตื้นเขินและดูแคลนภูมิปัญญาบุรพาจารย์ของเรามากไป คนที่นำพิธีกรรมไปใช้โดยผิดวัตถุประสงค์เดืมต่างหากที่ควรประณามแม้จะครองสมณเพศก็ตาม ไม่ใช่พิธีกรรม คนเช่นนี้เหมือนปลวกแมลงอาศัยต้นไม้แล้วแทะกินเปลือกกระพี้จนต้นไม้ตายไปในที่สุด เหมือนเมื่อครั้งสังคายนาครั้งท่ี ๓ พ.ศ.๒๓๔ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชท่ีเดียรถีปลอมบวชจนสงฆ์รังเกียจกันและกันไม่ยอมร่วมสังฆหรรมกัน ศาสนาแทบล่มสลายไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท