ใช้เกมเป็นสื่ออย่างไร


สื่อการสอนโดยใช้เกม

 

นางสาวพิไลพร ก้องสมุทร
แหน่ง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
กองการศึกษา เทศบาลตำบลบางปู



เกมเป็นกิจกรรมที่สนุกสนามมีกฎเกณฑ์กติกา การเล่นเกมอาจเล่นเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เกมบางอย่างเล่นเพื่อความสนุกสนานและผ่อนคลายความตึงเครียดของอารมณ์ บางอย่างเล่นเพื่อกระตุ้นการทำงานของร่างกายและสมอง และบางอย่างก็เล่นเพื่อฝึกทักษะทางร่างกายและจิตใจ
เกมเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการเร้าความสนใจและสร้างความสนใจและสร้างความสนุกสนาน การเล่นเกมเป็นวิธีหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ รวมทั้งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
ประเภทของเกมการสอน
1. เกมพื้นฐาน เป็นเกมที่สนุกสนาน การเล่น มีความสัมพันธ์กับความคิดรวบยอดน้อยมากเหมาะสำหรับเด็กอนุบาลหรือเด็กเล็กๆ
2. เกมทที่กำหนดขึ้น เป็นเกมที่สร้างขึ้นอย่างมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน การสร้างเกมจะสร้างไปตามความคิดรวบยอดที่สอดคล้องกับเนื้อหาของบทเรียน
3. เกมเพื่อฝึกหัด เกมนี้จะช่วยเน้นความเข้าใจมากยิ่งขึ้น การจัดเกมดังกล่าวควรเริ่มต้นเป็นขั้นตอน ตั้งแต่เกมเบื้องต้น จนถึงเกมที่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะเนื้อหาที่เด็กทำความเข้าใจช้า
คุณค่าของเกมประกอบการสอน
1. ช่วยให้เด็กได้รับความสนุกสนาน ร่าเริง ผ่อนคลาย ความตึงเครียดในอารมณ์
2. ช่วยให้เด็กทุกคนได้ร่วมกิจกรรมทางกาย เพื่อส่งเสริมลักษณะเบื้องต้น
3. ช่วยส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้วิธีการทำงานและเล่นร่วมกับผู้อื่น และรู้จักการปฏิบัติตามระเบียบ กฏเกณฑ์ รู้จักใช้ความคิดของตนเอง
4. เป็นการเปิดโอกาสให้ครูได้ศึกษาพฤติกรรมที่แท้จริงของเด็ก
5. เป็นการสร้างพื้นฐานทักษะทางด้านกีฬาและสมสมรรถภาพทางกาย เพื่อการเข้าร่วมในกีฬาประเภทอื่นต่อไป
6. ช่วยฝึกทักษะทางด้านภาษา
7. ช่วยให้นักเรียนได้แสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่
8. เป็นกิจกรรมในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน และขั้นสูง
การคัดเลือกเกมต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. วุฒิภาวะและอายุของนักเรียน
2. ความสนใจ ความพอใจ ความต้องการ และความสามารถของนักเรียน
3. ความยุติธรรมในการให้คะแนน
4. ความมุ่งหมายในการเล่นเกมแต่ละชนิด
5. เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเลือกเกมสำหรับเล่น
6. จักปรับปรุงและดัดแปลงเกมต่างๆ ที่นำมาใช้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ
ความต้องการ ตลอดจนสภาพแวดล้อม
การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จากเกมเพื่อการเรียนรู้
1. ต้องการเน้นการฝึกให้เด็กมีความคิดอย่างอิสระ
2. ต้องให้เด็กมีการแสดงออกทั้งทางด้านร่างกายความรู้สึก
3. ให้ความสำคัญกับเด็กทุกคนอย่างเสมอภาคกันเน้นในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุลคล
4. ควรจัดสถานที่เล่นให้มีความรู้สึกสบาย อบอุ่น เป็นกันเองกับทุกคน
5. ให้เด็กผลัดกันเป็นผู้นำและผู้ตาม
6. ไม่ควรว่ากล่าว ตำหนิหรือวิจารณ์เด็กในขณะที่เล่นเกมต่อหน้าบุคคลอื่น ๆ
7. ยกย่องและชมเชยเด็ก เมื่อมีความคิดหรือการกระทำที่แปลกและใหม่ในด้านดี และ แนะนำแก่เด็กในโอกาสที่ทำไม่เหมาะสม
8. พยายามให้เด็กค้นพบสิ่งใหม่ๆให้กับตนเอง
9. พยายามให้เด็กเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด ครูอย่าชี้แนะเกินความจำเป็น
10. ให้เด็กเกิดความสนุกสนานตลอดเวลาที่เล่นเกม
11. พยายามสังเกตพฤติกรรมเด็กขณะเล่นเกม และเก็บข้อมูลเพื่อดูพฤติกรรมที่ทำซ้ำ ๆ
12. หลักจากการเล่นเกมควรสรุปสิ่งที่ได้จากเกมโดยให้ผู้เล่นมีส่วนร่วม
13. ควรพยายามเชื่อมโยงเข้ากับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

 

หมายเลขบันทึก: 202516เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2008 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท