ระบบการศึกษาในประเทศไทย


ระบบการศึกษาในประเทศไทย

ระบบการศึกษาในประเทศไทย 

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 ได้กำหนดการศึกษาในประเทศไทยออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 

          1.การศึกษาในระบบ    

          2.การศึกษานอกระบบ

          3.การศึกษาตามอัธยาศัย

 

ส่วนการศึกษาในระดับปฐมวัยนั้นสามารถจัดการเรียนการสอนได้ทั้งสามระบบ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่หลายหน่วยงาน โดยมีโครงสร้างดังนี้

โครงสร้างของระบบการศึกษาปฐมวัย

         1.  ศูนย์เด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก  (Day  Care  Center / Nursery )  รับวัยแรกเกิด  ถึง 3 ปี

              หน่วยงานที่รับผิดชอบได้แก่ กระทรวงมหาดไทย   / กระทรวงสาธารณสุข / กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   และกระทรวงศึกษาธิการ   จัดขึ้นเพื่อบริการครอบครัวที่ไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้  ซึ่งการเลี้ยงดูจะใช้ระบบครอบครัว  โดยแม่บ้านที่ได้รับการฝึกอบรมในหลักสูตรการดูแลเด็ก หรือครูที่จบการศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย

ศูนย์เด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก  (Day  Care  Center / Nursery) ของภาคเอกชนในประเทศไทย  จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐ

        2. โรงเรียนอนุบาล (Kindergarten ) วัย 3- 5 ปี

การศึกษาชั้นอนุบาลในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานที่จัดการศึกษา เช่น องค์กรการบริหารส่วนท้องถิ่น   กระทรวงศึกษาธิการ   กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงสาธารณะสุข  และภาคเอกชน  สำหรับภาครัฐที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยจะรับเด็กวัย 4 – 5 ปี   ส่วนในภาคเอกชนจะรับเด็กวัย 3-5  ปี  และจะได้รับเงินสนับสนุนบางส่วนจากทางภาครัฐ  โดยทั้งสอบหน่วยงานจะจัดการศึกษาโดยแบ่งเป็นระดับดังนี้

ภาครัฐบาลแบ่งเป็น  2  ระดับ

       อนุบาลปีที่  1       นักเรียนอายุ  4   ปี

       อนุบาลปีที่  2      นักเรียนอายุ  5  ปี

ภาคเอกชน   แบ่งเป็น  3  ระดับ

       อนุบาลปีที่   1       รับนักเรียนอายุ    3  ปี

       อนุบาลปีที่   2        รับนักเรียนอายุ   4  ปี

       อนุบาลปีที่   3       รับนักเรียนอายุ     5 ปี

หลังจากจบการศึกษาในระดับอนุบาลแล้วเด็กจะเข้าสู่ระดับประถมศึกษาปีที่  1  ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษา ภาคบังคับ ซึ่งรัฐให้เงินสนับสนุน

                ครูอนุบาลทุกคนจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด     และในทุกชุมชนจะมีสถานรับเลี้ยงเด็ก และโรงเรียนอนุบาล     ในการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลทางกระทรวงศึกษาธิการจะกำหนดหลักสูตรแกนกลางเพื่อให้แต่ละโรงเรียนยึดเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนแต่ละแห่ง

 

 การศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ

เด็กทารกจะได้รับการตรวจเช็ดพัฒนาการจากแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง  ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงสาธารณะสุข  หากพบว่าเด็กมีความบกพร่องในพัฒนาการก็จะให้การบำบัดช่วยเหลือร่วมกับผู้ปกครองของเด็ก  หรือส่งยังศูนย์บำบัดเฉพาะ

 

การศึกษาพิเศษในประเทศไทย       

                เด็กที่มีความต้องการพิเศษ  ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ และช่วยเหลือเด็กในกรณีที่เด็กต้องได้รับการบำบัด  จากโรงพยาบาลที่มีหน้าที่และมีผู้เชี่ยวชาญดูแลตลอด  และหน่วยงานของเอกชน

                ในประเทศไทย  พ่อ  แม่  (ผู้ปกครอง)  มีส่วนการตัดสินใจในเรื่องการบำบัดรักษา  และการให้การศึกษาแก่เด็กเหล่านี้   โดยอาจแบ่งเป็น

             1.     ให้การศึกษาภาคพิเศษอย่างเต็มรูปแบบ  โดยมีผู้เชี่ยวชาญดูแลตลอดเวลา

             2.     ให้การศึกษาภาคปกติ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางช่วยเหลือบ้าง

             3.     ให้การศึกษาแบบเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียน

 

การฝึกหัดครูที่สอนเด็กปฐมวัย

                ครูอนุบาลจะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย  ทั่วประเทศที่เปิดสอนสาขาการศึกษาปฐมวัย  หรือการศึกษาพิเศษ   เป็นระยะเวลา  5 ปี  โดยจะใช้เวลาเรียนทั้งหมด  4  ปี   และเข้าฝึกงานในโรงเรียนอนุบาล  1  ปี  จึงจะได้รับปริญญาตรี  และถือว่าจบหลักสูตร

 

ปรัชญาการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย

                การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็ก  ตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน  บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู  และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ  และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ   ภายใต้บริบทสังคม  วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก  ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน  เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เกิดคุณค่าของตนเอง และสังคม

 

การจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย

ในประเทศเปิดโอกาสให้ชุมชน  และครอบครัวมีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนในการจัดการศึกษา  เพื่อมุ่งเน้นให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และศักยภาพสูงสุด  ( แผนผัง)

ปัญหาและอุปสรรคของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย

          1.       ครูผู้สอนยังไม่เข้าใจในนวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย

          2.       งบประมาณที่สนับสนุนสื่อ  สื่อสร้างสรรค์  และอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยมีจำกัด

          3.       พ่อแม่ ผู้ปกครองยังไม่เข้าใจเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม

         4.       ครูผู้สอนยังขาดการอบรมและให้ความรู้ทางด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง

         5.    การประสานความเข้าใจระหว่างบ้านและโรงเรียน

 

ทิศทางและแนวโน้มของการศึกษาปฐมวัย

         1.       จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา  โดยยุทธศาสตร์หลัก  3  ข้อ

                a.        ยุทธศาสตร์การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

                b.       ยุทธศาสตร์การส่งเสริมพ่อแม่  และผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

                c.        ยุทธศาสตร์การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

         2.       เน้นการศึกษาที่จะพัฒนาเด็กในทุกด้าน ( สติปัญญา  อารมณ์  สังคม  จิตใจ  ร่างกาย)  ตามแนวคิด Brain – Based  Learning  

         3.  เตรียมเด็กให้พร้อมในด้านการใช้ภาษาที่สอง  และเน้นกระบวนการคิด  การแก้ปัญหา อันนำไปสู่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์   และบูรณาการการใช้ชีวิตที่พอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

        4.  ผู้ปกครองมีส่วนส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของเด็ก

        5.  ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก  และผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่เด็ก  ( Child   Center)

        6.  ตั้งองค์กรที่รับผิดชอบงานเด็กปฐมวัย

        7.  ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดการศึกษา  การวิจัยและพัฒนา    และการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องเด็กปฐมวัย 

 

 

มาตรฐานแห่งชาติสำหรับการจัดการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลประเทศญี่ปุ่น

(National  Curriculum  Standards  for  Kindergarten of Japan)

 

         1.    หลักการพื้นฐานของการจัดการศึกษาในระดับอนุบาล

หลักการพื้นฐานของการจัดการศึกษาในระดับอนุบาล  คือ  การให้การศึกษาโดยคำนึงถึง สภาพแวดล้อม และลักษณะพิเศษของวัยเด็ก เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดเอาไว้ในมาตรา 77  ของพระราชบัญญัติการศึกษาในโรงเรียน ( School  Education Law)                ดังนั้น  ครูผู้สอนต้องสร้างความเชื่อมั่น  และไว้วางใจอย่างเพียงพอแก่เด็ก  และสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่เหมาะสมพร้อม ๆ ไปกับเด็ก  ในการจัดการศึกษาจะต้องยืนอยู่บนหลักการเหล่านี้  และให้ความสำคัญกับประเด็นดังต่อไปนี้

            1)      ส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเองและให้เด็กได้พัฒนา  การใช้ชีวิตที่เหมาะสมกับวัยเด็ก โดยคำนึงถึงว่าเด็กจะได้รับประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาการ  โดยผ่านการแสดงออกอย่างที่ภายใต้สภาวะแวดล้อมทางด้านอารมณ์ที่มีความมั่นคง

           2)      เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไหว้ในบทที่  2  อย่างสมบูรณ์  การเรียนการสอนจะสอนโดยผ่านการเล่นเป็นหลัก  โดยคำนึงว่าการเล่น เป็นกิจกรรมที่เด็กทำด้วยตนเอง  ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้  และจะเป็นการสร้างพื้นฐานการพัฒนาการอย่างสมดุลย์ของร่างกายและจิตใจ

          3)      ดำเนินการสอนให้เหมาะกับพัฒนาการของปัญหา   และให้สอดคล้องกับลักษณะพิเศษของเด็กแต่ละคน  โดยคำนึงว่าการพัฒนากในวัยเด็กเกิดขึ้น  โดยผ่านกระบวนการที่หลากหลาย  ผ่านความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในหลายมิติของร่างกายและจิตใจ   นอกจากนี้เด็กแต่ละคนที่ผ่านประสบการณ์ในชีวิตที่แตกต่างกัน

ในกรณีดังกล่าว  สภาพแวดล้อมควรที่จะสร้างขึ้น  ด้วยต้อมีวัตถุประสงค์ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง  และมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเด็กกับเด็ก   โดยยืนอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจ  และการคาดการณ์ในพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน  ต้องสร้างสภาพแวดล้อมอย่างมีแบบแผน   ดังนั้นครูผู้สอนจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมทั้งที่เป็นกายภาพ  และบรรยากาศ   โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าเด็กบุคคลอื่น  และอุปกรณ์นอกจากนั้นครูผู้สอนต้องแสดงบทบาทที่หลากหลาย  เพื่อที่จะสามารถตอบสนองกิจกรรมของเด็กแต่ละคน   และต้องพัฒนากิจกรรมนั้นให้ดีขึ้น

 

         2.       เป้าหมายของการศึกษาในระดับอนุบาล

การศึกษาในช่วงเด็กอนุบาลมีความสำคัญมากในแง่ที่จะเป็นการวางรากฐานของการสร้างบุคลิกภาพที่จะติดตัวไปตลอดชีวิต   การให้การศึกษาในช่วงนี้ต้องต้องกระทำควบคู่ไปกับการประสานความร่วมมือกับทางครอบครัวของเด็กอย่างใกล้ชิด    โรงเรียนอนุบาลมีหน้าที่จะพัฒนาฐานพลังในการดำรงชีวิตของเด็ก   โดยให้เด็กได้รับผ่านช่วงเวลาที่ใช้ชีวิตในโรงเรียนอนุบาล  เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียนอนุบาลตามที่  พระราชบัญญัติการศึกษา มาตรา 78    รวมถึงต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดที่ได้กำหนดไหว้ในหลักการพื้นฐานของการจัดการศึกษาในระดับอนุบาล

              1)  สร้างพื้นฐานของกายและใจให้สมบูรณ์   โดยให้การศึกษาเกี่ยวกับการแสดงออกและขนบธรรมเนียมอันเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้มีความสุข  มีความปลอดภัย และสุขภาพที่แข็งแรง

              2)  สอนให้มีทัศนะคติในการพึ่งตนเองและการร่วมมือกัน  รวมทั้งการปลูกฝังเรื่องศีลธรรมโดยผ่านความรัก และความเชื่อใจในบุคคลอื่น

             3)  ปลูกฝังให้มีความสนใจในภาษา  และรู้สึกสนุกสนานกับการพูดและการฟัง  โดยผ่านความสนใจ  และความสงสัยในภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

            4)  ปลูกฝังความสามารถในการคิดและเพิ่มพูน การแสดงความรู้สึก  โดยผ่านกระบวนการสร้างความใส่ใจและความสนใจกับธรรมชาติรอบ    ตัว 

           5)  ปลูกฝังให้มีความคิดสร้างสรรค์โดยผ่านการพัฒนาความรู้สึกจากประสบการณ์หลากหลาย

 

       3.            การวางหลักสูตรการศึกษา

                โรงเรียนอนุบาลแต่ละแห่งควรมีเอกลักษณ์ของตัวเอง  และวางหลักสูตรการศึกษาที่เหมาะสมกับพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจของเด็ก  รวมทั้งวางหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนอนุบาล  และชุมชนท้องถิ่น  ทั้งนี้ให้ดำเนินการตามกฎหมายและมาตรฐานแห่งชาติสำหรับการจัดการศึกษาในโรงเรียนอนุบาล

 

          1)  โรงเรียนอนุบาลต้องพัฒนาเปาหมายที่เป็นรูปธรรม และมีเนื้อหาที่คำนึงถึงระยะเวลาการให้การศึกษา ประสบการณ์ของเด็ก  และขั้นตอนพัฒนาการของเด็ก  เพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนไว้บทที่  2  โดยผ่านการใช้ชีวิตอนุบาล

หมายเลขบันทึก: 202442เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2008 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท