คุณภาพหลักสูตรระดับอุดมศึกษา


คำว่า "คุณภาพ" ใช้อะไรวัดคะ

คุณภาพหลักสูตรอุดมศึกษามีเกณฑ์การวัดอย่างไรใครรู้บ้างคะ

คุณภาพหลักสูตรและการสอนระดับอุดมศึกษา

 

                การศึกษาเป็นรากฐานและเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาคน เศรษฐกิจและสังคม อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ประเทศทุกประเทศทั่วโลกจึงมุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ กระบวนการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการดำเนินการตามแผนการประเมินผลการดำเนินงาน ในทุกขั้นตอนของการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพจำเป็นต้องนำสารสนเทศระบบการศึกษามาเป็นข้อมูลปรับปรุงนโยบายและกำหนดวัตถุประสงค์  เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของระบบการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามที่กำหนดไว้ (นงลักษณ์ วิรัชชัย,2542)

ระดับอุดมศึกษา
                  หลักสูตรอาชีวศึกษา ด้านเนื้อหาพบว่า วิชาสามัญและพื้นฐานไม่สัมพันธ์กับประเภท วิชาที่เรียน และส่วนใหญ่ยังเน้นภาคทฤษฎีมากกว่าภาคปฏิบัติ อีกทั้งยังไม่มีโอกาสได้ฝึกงานตรง กับวิชาที่เรียนและในระยะเวลาที่นานพอควร นอกจากนี้หลักสูตรยังไม่หลากหลายและยืดหยุ่นที่จะ จัดการศึกษาได้สอดคล้องกับ สภาพความต้องการของท้องถิ่น และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ทั้งนี้เป็นเพราะการจัดทำหลักสูตรอยู่ในมือของนักวิชาการในสถานศึกษา ซึ่งมีความ ถนัดด้านการจัดหลักสูตรสามัญแต่ขาดประสบการณ์ด้านหลักสูตรวิชาชีพช่าง
                   ส่วนหลักสูตรของสถาบันผลิตครู พบว่าเป็นหลักสูตรแบบแยกส่วน มิใช่เป็นหลักสูตร ที่เชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จนไม่สามารถทำให้บัณฑิตครูมีโลกทัศน์กว้างไกลสามารถเกิด ปัญญา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดอย่างเป็นระบบ หลักสูตรส่วนใหญ่เน้นภาคทฤษฎีมากกว่าภาคปฏิบัติ
                  สำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พบว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการขยายการจัดตั้ง ภาควิชาใหม่ ๆ และขยายการเปิดสอนหลักสูตรในหลายสาขาวิชาที่มีความใกล้เคียงกันมาก หรือมี ความซ้ำซ้อนระหว่างหลักสูตรบางสาขาวิชาในแต่ละระดับ โดยมิได้มีการวางแผนและผนึกกำลัง การผลิตทั้งภายในสถาบันและระหว่างสถาบัน รวมทั้งยังมีบางหลักสูตรที่จัดไว้โดยไม่ได้เปิดสอน ติดต่อกันเป็นเวลานาน สภาพเช่นนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ทางวิชาการเป็นอย่างมาก นอกจากนี้หลักสูตรต่าง ๆ ที่เปิดสอนในสถาบันอุดมศึกษาทั้งเก่าและใหม่ ยังไม่มีระบบการตรวจสอบการศึกษาและวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมรวมไปถึงคุณภาพของหลักสูตร
               ในส่วนของการปรับตัวเพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าทางวิชาการ ในปี 2534 พบว่ามีการ ขยายตัวของหลักสูตรนานาชาติในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชนถึง 132 หลักสูตร ซึ่งจะ ต้องติดตามผลการดำเนินงานต่อไป

                                                    ( http://www.onec.go.th/plan/8/pl242.htm)

 

หมายเลขบันทึก: 202338เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2008 23:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท