ทฤษฎี 3 มิติของเรดดิน


ทฤษฎี 3 มิติของเรดดิน

ทฤษฎี 3 มิติของเรดดิน ( 3 – D  Leadership  Effective  Model )

                ทฤษฎี 3 มิติของเรดดิน William J. Reddin     เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นํ าและแบบของผู้นำทางการบริหาร   ทฤษฎีนี้เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนล้วนแต่มีลักษณะความเป็นผู้นำและแบบของผู้นำอยู่ด้วยกันทั้งนั้นจะต่างกันก็เพียงแต่ว่าแบบของผู้นำแต่ละคนไม่เหมือนกันและลักษณะความเป็นผู้นำมีมากน้อยต่างกัน  บางคนอาจยึดมั่นแบบผู้นำแบบใดแบบหนึ่งตลอดไป   แต่บางคนอาจจะเปลี่ยนแบบผู้นำไปตามเวลา  สถานการณ์  สิ่งแวดล้อมและตำแหน่งหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ

          วิลเลียม  เจ.เรดดิน ( William  J. Reddin )  พัฒนารูปแบบตามทฤษฎี 3 มิติ จากการวิจัยที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ ( Ohio  University )   โดยมีสมมติฐานคล้ายกับแบบพฤติกรรมผู้นำสถานการณ์ของ Fiedler  บนพื้นฐานแนวคิดการศึกษาภาวะผู้นำของเรดดิน  แบ่งออกเป็น  3 มิติ  คือ

1. มิติมุ่งงานหรือกิจสัมพันธ์   (Task Orientation)  เป็นพฤติกรรมมุ่งให้ผู้ร่วมงานหรือผู้ตามปฏิบัติงานอย่างได้ผล  โดยผู้นำริเริ่มจัดการและอำนวยการ

                2. มิติมุ่งสัมพันธ์ภาพ หรือ มิตรสัมพันธ์ (Relation Orientation)  เป็นพฤติกรรมของผู้นำที่แสดงให้เห็นความเห็นอกเห็นใจ  ไว้วางใจ  และให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน

3. มิติมุ่งประสิทธิผล (Effectiveness  Orientation )


          ทฤษฎีนี้ได้รับการค้นคว้าโดยนักจิตวิทยา เพื่อหาหนทางบริหารงานให้ได้ผลมากที่สุด

และได้พบว่าหลักสํ าคัญในการบริหารมีอยู่ 2 ประการ คือ

1. มุ่งแต่งาน (Task to be done) ผู้นำแบบนี้จะมุ่งแต่ผลงานเป็นประการสำคัญ โดยไม่

คำนึงถึงความรู้สึกในด้านจิตใจ

2. การบริหารงานโดยให้ความสำคัญในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ด้วย (Relationship with

other people)  ความแตกต่างของผู้นำในการบริหาร  ในการให้ความสำคัญต่องานกับการให้ความ

สำคัญในเรื่องมนุษย์สัมพันธ์จึงมีมากน้อยต่างกัน  บางคนอาจให้ความสำคัญต่องานอย่างเดียว             โดยไม่คำนึงถึงมนุษ์ยสัมพันธ์   บางคนอาจจะให้ความสำคัญในเรื่องมนุษย์สัมพันธ์มากจนเกินไปจน

ทำให้ไม่ค่อยได้ผลงาน  สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล และตามทฤษฎีของ เรดดินได้แบ่งลักษณะภาวะผู้นำทางการบริหารงานออกเป็น  4 ลักษณะ

          1. แบบผู้ผสมผสาน (Integrated)   สูงทั้งงานและคนได้อย่างผสมผสาน  เป็นผู้ที่สามารถที่จะอิงอำนาจหน้าที่ของตนไว้กับวัตถุประสงค์ นโยบาย ตลอดจนความมุ่งหมายหรืออุดมคติที่มีอยู่ เป็นผู้ที่พยายามจะรวบรวมผู้ปฏิบัติงานกับองค์การให้เข้ากัน  ต้องการให้ลูกน้องเข้ามาส่วนร่วม              ไม่แสดงความแตกต่างในเรื่องอำนาจหน้าที่มากนัก  เป็นผู้ที่ชอบการมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน หรือมีการรับผิดชอบร่วมกัน สนใจในเทคนิคการจูงใจลูกน้อง

2. แบบมิตรสัมพันธ์ (Related)   เป็นแบบที่เน้นให้ความสำคัญมากในด้านที่เกี่ยวกับคน

แต่เน้นให้ความสำคัญน้อยในด้านที่เกี่ยวกับงาน  เชื่อว่าคนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุด จะต้องมา

ก่อนเรื่องงาน จะเน้นในเรื่องการพัฒนาบุคคลเป็นสำคัญ  เป็นคนแบบกันเอง เงียบๆ ไม่เป็นที่สังเกต

ของใคร ชอบสนทนาวิสาสะ เห็นอกเห็นใจคน  ยอมรับเห็นด้วยกับผู้ร่วมงาน มีอัธยาศัยเป็นมิตร

ชอบสร้างบรรยากาศของความอบอุ่น ปลอดภัย มั่นคงในหน่วยงาน

3. แบบผู้แยกตัว (Separated)   ผู้นำแบบนี้ไม่เอาทั้งคนและงาน  เป็นแบบผู้ที่มีนิสัยระมัดระวัง  เป็นผู้ชอบเก็บตัว ไม่ชอบเป็นผู้กว้างขวาง จะให้ความสำคัญในด้านตัวคน และตัวงานในระดับต่ำ  นักบริหารที่มีลักษณะเช่นนี้จะได้ผลงานน้อย  น้อยครั้งที่จะให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ไม่คิดอ่านแบบสร้างสรรค์ ชอบขัดขวางผู้อื่น ชอบขัดแย้งกับผู้อื่นหรือทำให้งานยากขึ้นโดยไม่เข้าเรื่อง มักจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง  ไม่ค่อยร่วมมือกับใคร

4. แบบผู้เสียสละ (Dedicated)  เน้นด้านงานสูงมาก ส่วนคนให้ความสํ าคัญต่ำ จะมีลักษณะของการมุ่งที่จะเอาอะไรก็จะเอาให้ได้  เป็นคนที่ออกจะกล้าทำ บางครั้งก็ถึงขั้นก้าวร้าวไปบ้าง มีความมั่นใจในตัวเองอยู่มาก ปกติเป็นชอบริเริ่มงาน มักจะกำหนดงานการให้ลูกน้อง  งานจะต้องมาก่อนเรื่องอื่นเสมอ

บุคคลใดมีลักษณะความเป็นผู้นํ าในทางบริหารไปตามแนวนอน จะมีลักษณะของคน

ที่มุ่งงาน (Task Orientation) มากกว่าจะมุ่งสัมพันธ์ภาพ ส่วนคนที่มีลักษณะความเป็นผู้นำในทาง

บริหารไปตามแนวตั้งจะมีลักษณะของการมุ่งด้านคนมากกว่าด้านงาน (Relation Orientation)

ตามทฤษฎีนี้ถือว่า ไม่มีผู้นํ าทางการบริหารใดจะมีลักษณะหนึ่งลักษณะใดโดยเฉพาะ แต่มีหลายๆลักษณะรวมกันอยู่ในแต่ละคน บางคนอาจจะมีหลายลักษณะ แต่บางคนอาจจะมีเพียงไม่กี่ลักษณะ บางคนอาจมีลักษณะหนึ่งลักษณะใดยึดมั่นตลอด  แต่บางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้

ตลอดเวลา ผลจากการที่คนอาจเปลี่ยนแปลงลักษณะได้นี้ทำให้การทำงานของคน ในสถานการณ์

หนึ่ง ๆ มีประสิทธิผลของงานแตกต่างกันออกไป อาจจะออกมาในรูปที่ดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ร่วม

งาน  แบบวิธีการทำงานและสถานการณ์ในการทำงานว่ามีความต้องการแบบบริหารตรงกันหรือไม่

ดังนั้นตามลักษณะของแม่แบบ ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ จึงสามารถแยกออกเป็นดังนี้ (Reddin

1970 อ้างถึงใน เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ 2536: 82-83)

+   ผู้สอนแนะ (Developer)

   1. แบบมิตรสัมพันธ์ (Related)

-   ผู้เอาใจ (Missionary)

                             +  ผู้คุมกฎ (Bureaucrat)

   2. แบบผู้แยกตัว (Separated)

-  ผู้ทนทํ า (Deserter)

+  ผู้นำทีม (Executive)

   3. แบบผู้ผสมผสาน (Integrated)

-  ผู้ยอมความ (Compromiser)

+  ผู้บุกงาน (Benevolent Autocrat)

   4. แบบผู้เสียสละ (Dedicated)

-  ลักษณะผู้คุมงาน (Autocrat)

 

 

ลักษณะการบริหารใดที่มีเครื่องหมายบวก ลักษณะการบริหารแบบนั้น เรียกว่าลักษณะที่มีประสิทธิผลสูงกว่า (More Effective)  ลักษณะการบริหารที่มีเครื่องหมายลบ ลักษณะการบริหารนั้นเรียกว่า ลักษณะที่มีประสิทธิผลด้อยกว่า

สำหรับลักษณะผู้นำตามแบบของเรดดินนั้น  เสริมศักดิ์   วิศาลาภรณ์  (2536: 82-83) ได้กล่าวว่า เราไม่สามารถบอกได้ว่าผู้นำแบบใดดีที่สุด ซึ่งงานวิจัยระยะแรก ๆ พบว่า ผู้นำแบบผสมผสานเป็นผู้นำที่ดีที่สุด แต่งานวิจัยระยะหลัง ๆ แสดงว่า แบบของการเป็นผู้นำที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ของการเป็นผู้นำ จากแบบผู้นำพื้นฐานทั้งสี่แบบนี้ ถ้าใช้ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมก็จะเกิดแบบผู้นำที่มีประสิทธิผลน้อย  4  แบบ คือ แบบผู้ทนทำ    ผู้เอาใจ    ผู้คุมงาน และผู้ยอมความ   หากใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสมก็จะเกิดเป็นแบบผู้นำที่มีประสิทธิภาพมาก 4 แบบ คือ แบบผู้คุมกฎ  ผู้สอนแนะ   ผู้บุกงาน และผู้นํ าทีม  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิผลน้อย เป็นประเภทที่ได้ผลงานต่ำ ความก้าวหน้า

ของงานไม่มี แบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ

1.1    ผู้ทนทำหรือผู้นำแบบทิ้งงาน  (deserter) เป็นลักษณะผู้นำที่ไม่มีความสนใจ           

ในงาน ไม่มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน  ขัดขวางผู้อื่น ไม่ยอมรับความผิดพลาด ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก  ผู้ร่วมงานจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว  ขาดขวัญกำลังใจ และผลสำเร็จของานไม่บรรลุผลตามที่ตั้งไว้

1.2    ผู้เอาใจหรือผู้นำแบบนักบุญ  (Missionary) เป็นลักษณะผู้นำที่มุ่งแต่เพียง

สัมพันธภาพอันดีเหนือสิ่งอื่นใด มีความเกรงใจต่อทุกคน ไม่กล้าว่ากล่าวตักเตือนผู้ใด ไม่โต้แย้งหรือคัดค้านการกระทำใด ๆแม้จะไม่เห็นด้วย พร้อมที่จะเปลี่ยนใจเสมอ เพื่อจะรักษาความสงบเรียบร้อยไว้ให้ได้  ผลของงานมักจะหย่อนประสิทธิภาพ

1.3    ผู้คุมงานหรือผู้นำแบบเผด็จการ  (Autocrat)   ผู้นำแบบนี้ใช้อำนาจในการ

บริหารงาน  เป็นลักษณะผู้นำที่มุ่งงานอย่างเดียว มิได้ คำนึงถึงอย่างอื่น  ไม่ไว้วางใจผู้อื่น  เชื่อมั่นในตนเองสูง  ขาดสัมพันธ์ภาพกับผู้ร่วมงาน มักใช้วิธีการสั่งสอน ผู้ร่วมงานจะตกอยู่ภายใต้ความกลัวตลอดเวลา ไม่กล้าริเริ่มหรือโต้แย้งกับหัวหน้า

1.4    ผู้ยอมความหรือผู้นำแบบประนีประนอม (Compromiser) เป็นลักษณะผู้นำที

ยอมรับว่า ความสำเร็จของงานและสัมพันธ์ภาพกับผู้ร่วมงานเป็นสิ่งสำคัญ พยายามที่จะให้ได้ทั้งสองอย่าง แต่ขาดความสามารถไม่กล้าตัดสินใจ ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง  เวลาเกิดปัญหาผู้นำแบบนี้ใช้วิธีการประนีประนอมอยู่ตลอดเวลา

2. ลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิผลมาก  เป็นประเภทที่ทำงานมีผลงานอยู่ในระดับสูง

กิจการงานมีความก้าวหน้า แบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ

                    2.1 ผู้คุมกฎเกณฑ์  (Bureaucrat) เป็นลักษณะผู้นำที่สนใจทั้งคนและงาน  ยึดถือ

กฎระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด มีความเข้มงวด  ลูกน้องมีความพึงพอใจซึ่งเป้าหมายร่วมกัน คือ ความสำเร็จ  ผู้นำเช่นนี้พบได้เสมอในระบบราชการทั่วไป

2.2 ผู้สอนแนะหรือผู้นำแบบพัฒนา  (Developer) เป็นลักษณะผู้นำที่ทํ างานร่วมก

ผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการจูงใจผู้อื่น สนใจการพัฒนาตัวบุคคล รู้จักมอบหมายหน้าที่การงานให้ผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสม ไม่ใช่วิธีการรุนแรง  มีความสุภาพนิ่มนวล  ผู้ร่วมงานมักจะเลื่อมใส วางใจ

2.3 ผู้บุกงานหรือผู้นำแบบเผด็จการอย่างมีศิลปะ   (Benevolent Autocrat) เป็น

ลักษณะผู้นำที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีจิตใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมุ่งผลงานเป็นหลัก  มีศิลปะในการปฏิบัติงาน มีทักษะและประสบการณ์ดี  งานมีผลผลิตสูง  เป็นแบบที่เหมาะสมกับวงการอุตสาหกรรม

2.4 ผู้นํ าทีม (Executive) เป็นลักษณะผู้นำที่มีความกระตือรือร้น รู้จักใช้ความ

สามารถของผู้ร่วมงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด วางมาตรฐานในการทำงาน มีประสิทธิภาพในการ

ทำงาน  เอาใจใส่และรับผิดชอบ  มีความคิดริเริ่ม  เปิดเผย  ยอมรับความคิดเห็นของผู้ร่วมงานด้วยใจ

ที่เป็นธรรม  ให้กำลังใจผู้ร่วมงาน  สนใจในวิชาความรู้ใหม่ ๆ  ปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเวลา มีผล

งานดี กิจการมีความก้าวหน้า เกิดความพึงพอใจทั้งผู้ร่วมงานและผู้นำ 

จะเห็นว่า แบบพื้นฐานของผู้นำ 4 แบบ แต่ละแบบถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสมจะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลมาก  แต่ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมจะกลายเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลน้อย  ดังนี้

สถานการณ์ไม่เหมาะสม                                                                   สถานการณ์เหมาะสม

ประสิทธิผลน้อย                                  แบบพื้นฐาน                         ประสิทธิผลมาก

ประนีประนอม                                    ผสมผสาน                             ทีม

นักบุญ                                                   มิตรสัมพันธ์                         พัฒนา

ทิ้งงาน                                                   แยกตัว                                   คุมกฎเกณฑ์

เผด็จการ                                                เสียสละ                                 เผด็จการอย่างมีศิลป์
ที่มา : เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, ภาวะผู้นํ า ในประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 5 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2536 .

หมายเลขบันทึก: 201638เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2008 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผู้นำเข้าใจงาน เข้าใจคน มีคุณธรรม  ก้อโอเค แล้วค่ะ

           แวะมาทักทาย

            มีความสุขมากมายนะคะ

                                          

understanding

work,employees

to be successful bussiness.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท