การจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมในต่างประเทศ


การจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมในต่างประเทศ

การจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมในต่างประเทศ

1. แนวความคิดในการจัดการเรียนรู้ในประเทศนิวซีแลนด์

ในประเทศนิวซีแลนด์ ได้มีมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาค่านิยม (The New Zealand Foundation for ValueEducation) มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนทางด้านค่านิยม เนื่องจากเล็งเห็นว่า ในปัจจุบันการศึกษาทางด้านนี้ย่อหย่อนลงเพราะนักการศึกษาปัจจุบันได้นำเอาความคิดความเชื่อแบบสัมพัทธนิยม(Relativism)มาใช้ ทำให้ปฏิเสธการปลูกฝังค่านิยมที่มีลักษณะเป็นค่านิยมร่วมหรือเป็นแกนกลางสำหรับทุกคน ด้วยเกรงว่าจะทำให้เกิดความลำเอียง หรือเกิดการแทรกแซงทางด้านค่านิยม

ทั้งนี้กลุ่มที่มีความเชื่อแบบสัมพัทธนิยมมีความเชื่อว่า ความดีเลว ถูกผิด แปรผันไปตามความคิดเห็น ความเชื่อของแต่ละคน รวมทั้งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป ปฏิเสธเกณฑ์การตัดสินการกระทำ

ถูกผิดที่เป็นปรนัยซึ่งอยู่เหนือความคิดเห็น หรือสถานการณ์ของแต่ละคน ซึ่งกลุ่มนี้เห็นว่าความเชื่อแบบสัมพัทธนิยมทำให้เกิดผลสองประการ ประการที่หนึ่งคือ ทำให้เกิดความคิดแบบเชิดชูปัจเจกบุคคล

หรือความคิดแบบตัวใครตัวมันมากเกินไป(radical individualism)และประการที่สองคือ ทำให้ไม่เกิดพลวัตหรือการเคลื่อนไหวทางด้านค่านิยม(dynamics of virtue)ความคิดแบบปัจเจกบุคคลรุนแรงจะเชื่อว่าบุคคลแต่ละคนมีอำนาจสูงสุดที่จะบรรลุถึงเป้าหมายของตนเองตามที่ตนคาดหมายดังนั้น คนแต่ละคนจึงสามารถเลือกตัดสินใจทางจริยธรรมได้จากพื้นฐานความเป็นจริงของตนเอง ซึ่งในความเป็นจริงความคิดแบบปัจเจกบุคคลเป็นตัวทำลายความรู้สึกละอายใจ ความรู้สึกผิดและสามัญสำนึกทางมโนธรรมและพลวัตทางค่านิยมที่เป็นตัวหล่อหลอมคนทั่วไปให้อยู่ในคุณงามความดีและสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันของสังคมคนในกลุ่มนี้เสนอแนวคิด เรื่อง ค่านิยมอันเป็นเสาหลัก(Cornerstone Values) เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนนำไปปลูกฝังแก่

เยาวชน โดยมีสมมติฐานความคิด ดังนี้

1) เชื่อว่ามีการกระทำบางอย่างเป็นการกระทำที่ผิด เช่นการลักขโมย การพูดโกหก หลอกลวง ฯลฯ

2) มีค่านิยมที่เป็นแกนกลางของสังคมอยู่จริง และจำเป็นต้องใช้ค่านิยมเหล่านี้เป็นเครื่องมือตัดสินสถานการณ์ หรือการกระทำที่เหมาะสมถูกต้อง

3) ทางเลือกหรือผลที่หลากหลายต้องตัดสินบนพื้นฐานที่ยอมรับร่วมกัน

4) โดยธรรมชาติบุคคลทั่วไป ไม่ได้เป็นคนที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล ไม่ใช่เป็นคนดีหรือเลว ถ้าปล่อยให้ตัดสินใจอะไรบนพื้นฐานความต้องการของแต่ละคน เขาอาจจะไม่ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล หรือ

ตัดสินใจทำในทางที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม ความคิดแบบค่านิยมหลักไม่ได้คิดว่า ต้องทำอะไรที่เป็นรูปแบบตายตัวอย่างเดียวกันหรือเหมือนกัน แต่ความคิดและเป้าหมายชีวิตของแต่ละคนก็มีความสำคัญ และมีความหมายเพียง

แต่เขาต้องรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดขึ้นค่านิยมหลักที่มูลนิธิเสนอ ได้แก่

1) ความซื่อสัตย์ และยึดมั่นความจริง (Honesty and  truthfulness)

2) ความเมตตากรุณา (Kindness)

3) การยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น (Consideration and Concernfor others)

4) ความเอื้ออาทร (Compassion)

5) ความเชื่อฟัง (Obedience)

6) ความรับผิดชอบ (Responsibility)

7) การยอมรับนับถือผู้อื่น (Respect)

8) การปฏิบัติตามหน้าที่ (Duty)

หมายเลขบันทึก: 201492เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2008 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท