26. การพัฒนาองค์การ


การพัฒนาองค์การ

ความจำเป็นในการพัฒนาองค์การ
               การบริหารงานมักมุ่งเน้นโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและความต้องการของผู้ร่วมงานในหน่วยงาน  การบริหารงานในแบบนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับคุณค่าและวิธีการทำงานของผู้ร่วมงาน  ระบบนี้จึงพบว่าการช่วยสายงานการบังคับบัญชา  การกำหนดแน่นอนตายตัวว่าจากใครถึงใครเป็นขั้นตอนสุดท้าย มีระเบียบ วิธีการแน่นอนการแบ่งงานให้ผู้ร่วมงานรับผิดชอบแบ่งตามความชำนาญเฉพาะอย่าง การมอบหมายภารกิจและเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับความสามารถทางวิชาการ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีจำกัด ของแต่ละคนในหน่วยงาน  งานส่วนรวมควรรับผิดชอบต่องานต่อตนเองมากกว่าคำนึงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น การประสานงานทำเฉพาะสายการบังคับเท่านั้น เช่น การควบคุม การกำกับดูแล ดำเนินไปตามความสัมพันธ์ของสายงานที่กำหนดในสมาชิกในองค์การเสมือนว่ามีความจงรักภักดีเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลำดับมากกว่าผูกพันต่อกัน และมีค่านิยมต่อกันส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อแก้ ปัญหาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

Worren G Bennis ชี้ให้เห็นว่าคนมีการศึกษาสูง ระบบการสื่อสารเจริญก้าวหน้าเทคโนโลยีการผลิตและการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองบ่อย ประชาชนได้มีส่วนร่วมการเป็นประชาธิปไตยมากมาย ขนาดขององค์การและความต้องการของผู้บริหารหรือสมาชิกในองค์การเพิ่มจำนวนมากขึ้นระบบการบริหารแบบเดิมเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานั้น ไม่สามารถให้ทุกหน่วยงานจะเติบโตโดยองค์การได้  เนื่องจากมีขั้นตอนยุ่งยาก สลับซับซ้อนเสียเวลาจนไม่อาจให้บริการได้ทันท่วงทีและทั่วถึง ความสลับซับซ้อนของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เช่นกัน จำเป็นต้องฝึกฝนให้มีความรู้ความสามารถในการประสานกิจกรรมภายในองค์การมากขึ้น ในแง่ของค่านิยมของคนเราจะพบว่า คนมีอิทธิพลต่อระบบ  การทำงานองค์การและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การบริหารงานของผู้บังคับบัญชามากมาย  เช่น คนในปัจจุบันมีแนวความคิดใหม่ ๆ กับสภาพแวดล้อมเป็นการจูงใจทำให้มีความหมายคาดหวังว่าจะได้รับการตอบสนองทางจิตใจเพิ่มมากขึ้นแนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจซึ่งควรอยู่บนรากฐานของเหตุผล  โดยอาศัยความร่วมแรงร่วมใจมากกว่าการกดขี่  ข่มเหง  ทำให้เกิดความไม่กล้า และเกรงใจแนวความคิดเกี่ยวกับค่านิยมจะเปลี่ยนการมองคนเป็นเครื่องจักรและจำทำอย่างไรให้คนให้กลับมาทำงานร่วมกันได้

หมายเลขบันทึก: 201485เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2008 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท