การพัฒนาจริยธรรมตามแนวคิดเชิงพุทธศาสนา


การพัฒนาจริยธรรมตามแนวคิดเชิงพุทธศาสนา

การพัฒนาจริยธรรมตามแนวคิดเชิงพุทธศาสนา

พระพรหมคุณาภรณ์ (.. ปยุตโต) (2548 : 5) ให้ข้อคิดแก่คณะผู้ดำเนินการโรงเรียนวิถีพุทธว่า ในการพัฒนาคนต้องอาศัยหลักการที่เป็นองค์รวมของ ศีล สมาธิ และปัญญา แต่เมื่อถึงขั้นของการพิจารณาผล หรือขั้นการวัดผลแห่งการพัฒนาต้องแยกเป็น 4 ด้านหรือ ภาวนา 4 เพื่อพิจารณาให้ชัดเจนเป็นด้านๆ ไปว่า ด้านใดเกิดผลอย่างไร ได้แก่

1) กายภาวนา เป็นการพัฒนาด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นกายภาพหรือทางด้านวัตถุ

2) ศีลภาวนา เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม ด้านเพื่อนมนุษย์ รวมทั้งสัตว์ทั้งหลาย

3) จิตตภาวนา เป็นการพัฒนาด้านจิตใจ ที่อาศัยสมาธิเป็นตัวแกนในการฝึก และมีบทบาทออกมาทางเจตจำนง

4) ปัญญาภาวนา เป็นการพัฒนาทางด้านปัญญา ความรู้ความเข้าใจ คิดได้ หยั่งเห็นจากหลักการดังกล่าวข้างต้น โครงการโรงเรียนวิถีพุทธกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำมาสร้างเป็นตัวชี้วัดด้านผลผลิต คือ

ผลอันพึงเกิดแก่นักเรียน ดังนี้

องค์ประกอบหลัก คือ พัฒนากาย ศีล จิต และปัญญาอย่างบูรณาการ องค์ประกอบย่อย คือ

1) กาย (กายภาพ) ข้อบ่งชี้คุณภาพ ได้แก่   (1) บริโภคใช้สอยปัจจัยสี่ในปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสม ได้คุณค่าแท้   (2) การดูแลร่างกายและแต่งกายสะอาดเรียบร้อย   (3) ดำรงชีวิตอย่างเกื้อกูลและ

สิ่งแวดล้อม

2) ศีล (สังคม) ข้อบ่งชี้คุณภาพ ได้แก่   (1) มีศีล 5 เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต   (2) มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา  (3) สามารถพึ่งตนเองได้ หรือทำงานเลี้ยงชีพด้วยความสุจริต

3) จิต (จิตใจ/อารมณ์) ข้อบ่งชี้คุณภาพ ได้แก่ (1) มีความกตัญญูรู้คุณ ตอบแทนบุญคุณ   (2) มีจิตใจเมตตา กรุณา (เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปัน) ต่อกัน   (3) ทำงานและเรียนรู้อย่างตั้งใจ อดทน ขยันหมั่นเพียร                         (4) มีสุขภาพจิตดี แจ่มใส ร่าเริงเบิกบาน

4) ปัญญา ข้อบ่งชี้คุณภาพ ได้แก่ (1) มีศรัทธา และเข้าใจถูกต้องในพระรัตนตรัย   (2) รู้บาป-บุญ คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์  (3) ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาแสวงหาความจริง และใฝ่สร้างสรรค์พัฒนางานอยู่

เสมอ   (4) รู้เท่าทัน แก้ไขปัญหาชีวิตและการทำงานได้ด้วยสติปัญญา

ในส่วนของวิธีการเรียนรู้ แม้ว่าตัวบ่งชี้จะเน้นการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการพุทธธรรมหรือหลักไตรสิกขาเข้ากับทุกกลุ่มสาระและเชื่อมโยงเข้าสู่ชีวิตประจำวันแล้ว ข้อบ่งชี้คุณภาพยังมีลักษณะที่สอด

คล้องกับการเรียนรู้ที่ใช้การพัฒนาตามวัยและ/หรือการพัฒนาสมองเป็นฐาน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่ให้มีการนำหลักธรรมมาเป็นฐานในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใฝ่รู้และแสวงหากความรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งให้มีการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข ทั้งผู้เรียนและผู้จัดการเรียนรู้ โดยจัดบรรยากาศให้เกิดความกระตือรือร้น จูงใจท้าทายทำให้อยากรู้ สนุกเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ สุขใจที่ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ (สำนักพัฒนานวัตกรรมฯ. 2548 : 9)

                พระเทพเวที (ประยูร ธมมจิตโต) กล่าวว่า การสอนจริยธรรมไม่ใช่เพียงการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ เพราะจะไม่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจอะไรเลย ต้องมีครูเป็นต้นแบบโดยครูต้องใช้วิธีสอนให้จำ ทำให้ดูอยู่ให้เห็น (สำนักพัฒนานวัตกรรมฯ. 2548 : 17-18)

 

 

หมายเลขบันทึก: 201486เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2008 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท