การเรียนรู้การคิดวิเคราะห์


การคิดวิเคราะห์

สมาชิกใหม่ ครูชั้น ป.4  อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่งการคิดวิเคราะห์

หมายเลขบันทึก: 201472เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2008 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สนใจเรื่องการคิด ดีมากครับ

ฝึกนักเรียนด้วยนวัตกรรมสำหรับการคิดวิเคราะห์มีหลากหลาย

ใครเป็นเพชรในตมบ้าง ชูมือขึ้น แวะมาบ้างนะ

การประเมินอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียนในการอ่านหนังสือ เอกสารและสื่อต่าง ๆ

แล้วนำมาคิดสรุปเป็นความรู้ความเข้าใจของตน สามารถคิดวิเคราะห์ และแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ

โดยสามารถถ่ายทอดความคิดเห็นเหล่านั้นด้วยการเขียนที่สะท้อนทั้ง สติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหา และสร้างสรรค์จิตนาการอย่างเหมาะสมและมีคุณค่า

พร้อมด้วยประสบการณ์และทักษะในการเขียนที่มีสำนวนภาษาที่ถูกต้อง มีเหตุผล และลำดับขั้นตอนในการนำเสนอ ที่สามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจน การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

เป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่นักเรียนทุกคนจะต้องได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด

จึงจะได้รับการตัดสินให้ผ่านการศึกษาแต่ละช่วงชั้น เป็นการประเมินที่จะช่วยให้นักเรียนทุกคนได้รับการฝึกฝน ให้มีความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และการเขียน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ทุก ๆ ด้าน

1. ความหมายของการประเมินความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน

การประเมินความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน หมายถึง การประเมินศักยภาพของผู้เรียนในการอ่านหนังสือ เอกสาร

และสื่อต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว แล้วนำมาสรุปเป็นความรู้ความเข้าใจของตน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่าน ซึ่งนำไปสู่การสังเคราะห์สร้างสรรค์ และแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และความสามารถในการถ่ายทอดความคิดเหล่านั้นด้วยการเขียนสื่อความที่สะท้อนถึงสติปัญญา ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหา และสร้างสรรค์จินตนาการอย่างเหมาะสม และมีคุณค่าด้วยทักษะในการเขียนที่มีสำนวนภาษาถูกต้อง มีเหตุผล และลำดับขั้นตอนในการนำเสนอความคิดที่สามารถสร้างความเข้าใจให้ผู้อ่านได้อย่างชัดเจน ตามระดับมาตรฐานช่วงชั้นอย่างแท้จริง มาตรฐานการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน

1. เข้าใจและใช้กระบวนการการอ่าน สร้างความรู้และความคิดไปใช้ในการตัดสินใจวางแผนดำเนินการหรือแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์ ผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้ในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ และอย่างสร้างสรรค์

2. เข้าใจและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านอย่างมีวิจารณญาณ และสะท้อนความรู้ความคิด ความรู้สึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. สามารถใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสารแสดงถึงความเข้าใจในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้อ่าน

หรือสิ่งที่ได้ดำเนินงานด้วยการนำเสนอออกมาในรูปแบบของการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ขั้นตอนดำเนินการในการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน โรงเรียนกำหนด ดังนี้

คณะกรรมการดำเนินการประเมิน กำหนดเกณฑ์ และแนวทางการประเมิน ดังต่อไปนี้

( 1 ) กำหนดมาตรฐานการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และเขียน และตัวชี้วัดความสามารถ

( 2 ) กำหนดแนวทางและวิธีการประเมิน ดังนี้

1. ครูผู้สอนประเมินความสามารถจริงของนักเรียนในการปฏิบัติกิจกรรมทางการเรียนในรายวิชาต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการอ่าน

คิดวิเคราะห์ และเขียน โดยการสังเกต หรือการมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าแล้วเขียนเป็นรายงาน

2. ครูผู้สอนทำการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบแบบเขียนตอบ หรือการให้ผู้เรียนเขียนความเรียง หรือประเมินจากผลงานเชิงประจักษ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนที่รวบรวมและนำเสนอในรูปของแฟ้มสะสมงาน

3. กำหนดเกณฑ์ตัดสินคุณภาพการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน

4. ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมินการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน ทำหน้าที่ใน การจัดทำเครื่องมือประเมิน สรุปรวบรวมข้อมูล และตัดสินผลการประเมิน แล้วนำเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการของโรงเรียน เพื่อให้ความเห็นชอบและนำเสนอผู้บริหารอนุมัติผล

แนวทางและวิธีการประเมิน

การประเมินความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน โรงเรียนจะใช้แนวทางการวัดและการประเมินจากการปฏิบัติจริง (Authentic Performance Measurement) ที่ถือว่าเป็นการวัดทางเลือกใหม่ โดยเน้นการวัดจากการปฏิบัติจริงหรือคล้ายของจริง มีคุณค่าต่อตัวผู้ปฏิบัติจึงกำหนดแนวทางและวิธีการประเมินให้ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้นำไปใช้ในการประเมินดังนี้

1. วิธีการประเมิน

1.1 ความสามารถจริงของผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรมทางการเรียนรายวิชาต่างๆในส่วนที่เกี่ยวกับการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน โดยการสังเกตของครู

1.2 มอบหมายให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้า แล้วเขียนเป็นรายงาน

1.3 ผลงานเชิงประจักษ์ต่างๆ เกี่ยวกับการอ่าน การคิด การวิเคราะห์ และเขียน ที่รวบรวมและ นำเสนอในรูปของแฟ้มสะสมงาน

1.4 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบแบบเขียนตอบ หรือเขียนเรียงความ

1.5 การเขียนรายงานจากการปฏิบัติโครงงาน

2. เกณฑ์การประเมินผลงาน การเขียนจากการอ่าน คิด วิเคราะห์

2.1 การใช้กระบวนการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 การแสดงความคิดเห็นอย่างมีวิจารญาณ

2.3 ใช้กระบวนการเขียนสื่อความอย่างมีประสิทธิภาพ

เกณฑ์ระดับคุณภาพ ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน

เกณฑ์ระดับคุณภาพ : การอ่าน

ระดับ

3 =ระบุสาระของเรื่องที่อ่านได้ถูกต้องครบถ้วน ลำดับเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง ระบุประเด็น สำคัญ ของเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง ระบุจุดมุ่งหมาย และเจตคติของผู้เขียน

2 = ระบุสาระของเรื่องที่อ่านได้ครบถ้วน ลำดับเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง ระบุประเด็นสำคัญของ

เรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง ระบุจุดมุ่งหมายและและเจตคติของผู้เขียนไม่ครบถ้วน

1 =ระบุสาระของเรื่องที่อ่านถูกต้องครบถ้วน ลำดับเรื่องที่อ่านค่อนข้างถูกต้อง ระบุประเด็น

สำคัญของเรื่องที่อ่านได้ไม่สมบูรณ์ ระบุจุดมุ่งหมาย และเจตคติของผู้เขียนเพียงเล็กน้อย

0 = ระบุสาระของเรื่องที่อ่านไม่ครบถ้วน ลำดับเรื่องที่อ่านผิดพลาดเล็กน้อย ระบุประเด็นสำคัญ

ของเรื่องที่อ่านไม่ถูกต้อง ไม่ระบุจุดมุ่งหมาย และเจตคติของผู้เขียน

เกณฑ์ระดับคุณภาพ : การคิด วิเคราะห์

ระดับ

3 =แสดงความคิดเห็นชัดเจน มีเหตุผลระบุข้อมูลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ มีความคิดที่แปลกใหม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม

2 =แสดงความคิดเห็นค่อนข้างชัดเจน มีเหตุผลระบุข้อมูลสนับสนุน มีความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมรอบข้างตนเอง

1 =แสดงความคิดเห็นที่มีเหตุผล ระบุข้อมูลสนับสนุนที่พอรับได้ มีความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง

0 =แสดงความคิดเห็นที่มีเหตุผลไม่ชัดเจน ขาดข้อมูลสนับสนุน มีความคิดที่ยังมองไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจน

เกณฑ์ระดับคุณภาพ : การเขียน

ระดับ

3 =มีจุดประสงค์ในการเขียนชัดเจนได้เนื้อหาสาระ รูปแบบการเขียนถูกต้อง มีขั้นตอนการเขียนชัดเจน ง่ายต่อการติดตาม ใช้ไวยากรณ์และสะกดคำถูกต้อง พัฒนาสำนวนภาษาที่สื่อความหมายได้ชัดเจนกะทัดรัด

2 =มีจุดประสงค์ในการเขียนชัดเจนได้เนื้อหาสาระ รูปแบบการเขียนถูกต้อง มีขั้นตอนการเขียนชัดเจน ง่ายต่อการติดตาม ใช้ไวยากรณ์และสะกดคำผิดพลาดไม่เกิน 3 แห่ง พัฒนาสำนวน ภาษาที่สื่อความหมายได้ชัดเจน

1 =มีจุดประสงค์ในการเขียนชัดเจนค่อนข้างได้เนื้อหาสาระ รูปแบบการเขียนถูกต้องมีขั้นตอนการเขียนชัดเจน ง่ายต่อการติดตาม ใช้ไวยากรณ์และสะกดคำผิดพลาดมากกว่า 3 แห่ง ขาดการพัฒนาสำนวนภาษาที่สื่อความหมายได้ชัดเจน

0 =ขาดจุดประสงค์ในการเขียนและเนื้อหาสาระน้อย ใช้ไวยากรณ์และสะกดคำผิดพลาดมาก ขาดการพัฒนาสำนวนภาษาที่สื่อความหมาย

3. การประเมินความสามารถการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน ปลายปี ครูผู้สอนประเมินตรวจสอบตามวิธีการและเครื่องมือที่คณะกรรมการดำเนินการประเมิน การอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนกำหนดโดยประเมินเป็นระดับคุณภาพ 4 ระดับตามเกณฑ์ที่กำหนดด้านบน

เพื่อให้ได้ข้อมูลความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนสื่อความอย่างเหมาะสม ครบถ้วน ตามศักยภาพที่แท้จริงของผู้เรียน หรือตามผลการเรียนรู้ที่โรงเรียนกำหนด แล้วสรุปผลการประเมินเมื่อสิ้นภาคเรียน เพื่อแจ้งให้ผู้เรียนหรือผู้ปกครองได้รับทราบ ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านการประเมิน ให้ครูผู้สอนดำเนินการซ่อมเสริม ปรับปรุง แก้ไข โดยวิธีการที่เหมาะสม

4. การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนผ่านช่วงชั้น เป็นการประเมินความสามารถการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนของนักเรียน เมื่อจบการศึกษาแต่ละช่วงชั้นเพื่อพิจารณาตัดสินผู้เรียนผ่านช่วงชั้น ตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด โดยสรุปผลการประเมินในภาคเรียนสุดท้ายของช่วงชั้น โดยครูผู้ทำหน้าที่ประเมิน ทำการตรวจสอบ หรือประเมินผู้เรียนตามวิธีการและเครื่องมือที่กำหนดให้ได้ข้อมูลความสามารถของนักเรียนด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามศักยภาพของผู้เรียน แล้วรายงานต่อคณะกรรมการดำเนินการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เพื่อพิจารณาตัดสินการผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ให้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการซ่อมเสริม ปรับปรุงแก้ไข แล้วทำการประเมินผลใหม่ คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ส่งผลการประเมินนำเสนอคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการของโรงเรียนให้ความเห็นชอบ เพื่อนำเสนอให้ผู้บริหารโรงเรียน อนุมัติผลการตัดสินการผ่านช่วงชั้น

เพชรในตม รุ่นที่ 12

ตามเจออีกคนแล้ว

ขอรวมไปแพลเน็ตเพชรในตมซะ..

ขออนุญาติพี่ๆๆเพชรในตมนำข้อมูลไปใช้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท