หลักสูตรท้องถิ่น


ท้องถิ่น

หลักสูตรท้องถิ่น  เรื่องการเพาะพันธุ์ต้นกล้ายางพารา

 

ข้อมูลพื้นฐาน

                ผู้จัดทำหลักสูตรได้สำรวจข้อมูลพื้นฐาน หมู่ที่ 2   ตำบลปริก   อำเภอทุ่งใหญ่  จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยวิธีการสัมภาษณ์และสังเกตได้ข้อสรุปดังนี้

1.       ข้อมูลทางด้านภูมิอากาศ  /  ภูมิประเทศ

สภาพภูมิอากาศอยู่ในเขตร้อนชื้น  ภูมิประเทศเป็นที่ราบ ชนิดของดินร่วน

2.       ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ

       ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา  มีการทำนาในที่ราบลุ่มมีการเลี้ยงสัตว์จำพวก วัว ควาย เพื่อใช้แรงงานพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ การผลิตทางการเกษตรนิยมทำเพื่อการบริโภคในครัวเรือน

3.       ข้อมูลทางด้านปัญหา / ความต้องการ

       จากการสอบถามปัญหาและความต้องการของประชาชน จำนวน 10 ครัวเรือนสรุปข้อมูลทางด้านปัญหาได้ว่า  ประชาชนมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ มีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายมีหนี้สินมีความต้องการในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยวิธีการเพิ่มรายได้จากทรัพยากรยางพาราที่มีอยู่ทุกครัวเรือนต้องการยางพาราที่มีคุณภาพดีขายได้ในราคาที่สูง เกษตรเล็งเห็นความสำคัญของต้นกล้ายางพาราการเพาะชำ ติดตาจำหน่าย

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว  สามารถวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของประชาชน หมู่ที่ 2                                                                             ตำบลปริก  อำเภอทุ่งใหญ่  จังหวัดนครสรีธรรมราชได้ดังนี้

 

ปัญหา

สาเหตุ

ผลกระทบ

วิธีการแก้ปัญหา

1. คุณภาพยางต่ำขายได้   ราคาต่ำ

 

2. ราคาวัสดุ อุปกรณ์ ปุ๋ยเคมีมีราคาสูงขึ้น

 

3. โรคและแมลงศัตรูของยางพารา

1. ขาดความรู้

 

 

2. พ่อค้ากักตุนสินค้าการลงทุนสูง

 

3. ขาดความรู้ในการคัดเลือกพันธุ์ยางพารา

1. ราคายางต่ำ

 

 

2. รายรับน้อย

 

 

3. ยางพาราที่ไม่มีคุณภาพผลผลิตต่ำรายได้น้อยไม่พอกับรายจ่าย

1. ให้ความรู้ในเรื่องผลิตยางแผ่น

 

 

2. เพิ่มมูลค่าผลผลิต

 

 

3. ให้ความรู้ ในการคัดเลือกพันธุ์ยางพารา

 

จากการจัดอันดับปัญหาและความต้องการ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวและเพื่อก้าวไปสู่ 1ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ตามนโยบายของรัฐและจากการสำรวจความต้องการของเกษตรกรนิยมปลูกยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจ สมามรถนำรายได้เข้าสู่ประเทศมาก เกษตรกรเล้งเห็นความสำคัญของการเพาะชำ ติดตา ซึ่งการเพาะชำต้นกล้ายางพารา ได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ การเพาะพันธุ์ต้นกล้ายางพาราด้วยวิธีการติดตาเขียวหรือชาวบ้านเรียกว่า  ยางตาเขียว

เกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความเชื่อมั่นกับการปลูกยางพารานอกจากราคาของน้ำยางและยางแผ่นที่ราคาดีขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตราคาของไม้ยางสามารถขายได้ราคาสูง

 

หลักการ

                เป็นหลักสูตรที่มุ่งจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น คือยางพาราให้เกิดประโยชน์และมีคุณภาพเป็นการเพิ่มมูลค่า สมาชิกในครอบครัวและชุมชนสามารถช่วยเหลือกันได้และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน

               

จุดมุ่งหมาย

1.       เพื่อให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น

2.       เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิต

3.       เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต

4.       เพื่อแก้ปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย

5.       เพื่อให้สมาชิก/นักเรียน มีส่วนช่วยในการเพิ่มรายได้

6.       เพื่อพัฒนาเป็นอาชีพเสริมรายได้ประจำหมู่บ้าน 1 ตำบล 1ผลิตภัณฑ์ตามนโยบายของรัฐ

 

คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาสังเกตคัดเลือกพันธุ์ยางลักษณะยางพันธุ์ดีการขยายพันธุ์ยางด้วยการติดตาเขียวและกำจัดศัตรู การเพาะพันธุ์ต้นกล้ายางพารา  การดูแลและบำรุงรักษาการป้องกันการตรวจสอบคุณภาพพันธุ์ต้นกล้าและการวางแผนจัดจำหน่าย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงสร้างหลักสูตร

 

เรื่องที่

หัวเรื่อง

เวลารวม

เวลา  ชั่วโมง

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

1.

2.

3.

4.

5.

 

คุณค่าของการทำอาชีพการเพาะพันธุ์ต้นกล้ายางพารา

ขั้นตอนการเพาะพันธุ์ต้นกล้าหรือการทำยางตาเขียว

การดูแลและบำรุงรักษาต้นกล้ายางพารา

การวางแผนการจัดจำหน่าย

การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

2

5

3

3

2

 

1

2

1

1

1

 

1

3

2

2

1

 

รวม

15

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรื่องที่ 1 ความรู้เรื่องยาง

จุดประสงค์

                ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ

                1. อภิปรายประโยชน์และคุณค่าการเพาะพันธุ์ต้นกล้ายางพารา

                2. คัดเลือกพันธุ์ยาง

                3. เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ต้นกล้ายางพารา

 

                ขอบเขตเนื้อหา

                1. การคัดเลือกพันธุ์ยาง  สำหรับเพาะต้นกล้า

                2. การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ต้นกล้ายางพารา

 

                กิจกรรมการฝึกอบรม

                1. ผู้เข้ารับการอบรมทำแบบทดสอบก่อนอบรมเพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐาน

                2. แบ่งกลุ่มอภิปราย ปัญหาต้นกล้ายางพาราล้นตลาดและแนวทางในการแก้ปัญหา

                3. วิทยากรนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหา

                4. ผู้เข้ารับการอบรมศึกษาในความรู้เรื่องการคัดเลือกพันธุ์ยางพารา

                5. วิทยากรสาธิต ผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติตามที่ละขั้นตอน

          6. ผู้เข้ารับการอบรมสรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

 

สื่อการเรียนการสอน

1. ในความรู้เรื่อง การเพาะพันธุ์ต้นกล้ายางพาราด้วยวิธีติดตาเขียว

2. วัสดุ อุปกรณ์ในการติดตาเขียว

3. วิทยากรในชุมชน

4. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน / อภิปรายกลุ่ม

5. แบบรายงานของกลุ่ม

6. แบบทดสอบก่อนการอบรม

7. แบบรายงานสรุปความรู้

 

การประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

1. สังเกต

2. ตรวจสอบผลงาน

3.จัดอันดับคุณภาพ

4.ตรวจแบบทดสอบ

- แบบสังเกต

- ความถูกต้อง

- แบบจัดอันดับคุณภาพของงาน

คำสำคัญ (Tags): #หลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 201288เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2008 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 04:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท