ทฤษฎีทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กัน 2


กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

2. กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism หรือ S-R Associations) นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ให้ความสนใจศึกษาพฤติกรรมอย่างชัด  ซึ่งสามารถวัดได้สังเกตได้และทดสอบได้ แนวความคิดกลุ่มนี้ ถือว่าสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อเชื่อมโยงสิ่งเร้าและการตอบสนอง การแสดงพฤติกรรมจะมีความถี่มากขึ้น ถ้าหากได้รับการเสริมแรงนักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Pavlov. Watson . Skinner . Thorndike.  ซึ่ง Skinner ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้มี 2 ชนิด คือ

1. Classical Conditioning ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการมีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นให้คนแสดงพฤติกรรม  ซึ่งมีลักษณะเป็นไปโดยอัตโนมัติ โดยอาศัยสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCS) เป็นพื้นฐานก่อน ถ้าอยากให้เกิดการเรียนรู้  ให้นำสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไข (CS) มาจับคู่กับสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไข (UCS) ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน ทำซ้ำๆ(ฝึกฝน) ในที่สุดสิ่งที่วางเงื่อนไข (CU)  ก็จะเกิดการตอบสนองโดยถูกวางเงื่อนไข (CR)

2.  Operant Conditioning เป็นการเรียนรู้ที่ต้องเรียนต้องลงมือกระทำเองมิต้องรอให้สิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น แต่เกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวผู้เรียนเองเป็นตัวกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรม เช่น การกิน การเดิน การพูด ฯลฯ Skinner เห็นว่าพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น Operant Learning และสิ่งสำคัญที่ทำให้คนแสดงพฤติกรรมซ้ำเดิม คือ Reinforcement

                นอกจากนั้น Skinner  ยังได้แสดงความคิดเห็นว่า ข้อเสียของการจัดการศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้            

1.  ครูไม่สามารถเสริมแรงได้อย่างทันท่วงที ต้องใช้เวลามากกว่าจะตรวจงานแต่ละคนเสร็จ  และเมื่อเด็กสอบเสร็จแล้วก็ไม่สามารถให้ทราบผลได้ทันที

2.  เนื้อหาต่างๆที่จะนำมาสอนขาดการจัดขั้นตอนอย่างงมีระบบระเบียบ บางครั้งยากเกินกว่าเด็กจะเข้าใจได้  การให้แบบฝึกหัดไม่มีความสัมพันธ์กัน

3.  การเสริมแรงไม่ทั่วถึงและไม่สม่ำเสมอ  เพราะมีนักเรียนเป็นจำนวนมาก ครูจึงให้การเสริมแรงแก่นักเรียนไม่ทั่วถึง

 

การนำหลักการ Behaviorism มาใช้ในขุดการสอน

                ตามทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม Behaviorism นั้น การสร้างชุดการสอนได้นำหลักการเสริมแรง Skinner มาใช้ นอกจากนั้นชุดการสอนยังสามารถแก้ปัญหาของการจัดการศึกษา 3 ข้อ ข้างต้น Skinner เสนอไว้ได้ด้วย เพราะ

                1. ชุดการสอนเป็นการเรียนด้วยตนเอง  ผู้เรียนจะลงกระทำด้วยตนเอง ตัดสินใจในการเรียนครั้งนั้นๆ ด้วยตนเอง

2.  ชุดการสอนสามารถแก้ไขปัญหาของการเสริมแรงได้อย่างทั่วถึง  เพราะเด็กที่เรียนจากขุดการสอน  จะสามารถทราบผลการเรียนได้อย่างทันท่วงที  เท่ากับเป็นการเสริมแรง และยังสามารถแก้ปัญหาในกรณีที่นักเรียนมากแต่ครูน้อย แบ่งเบาภาระตรวจงานของครูช่วยให้นักเรียนทราบผลการทำงานของตนเองให้ทันทีโดยไม่ต้องรอผลการตรวจงานจากครู  ทำให้ครูสามารถเสริมแรงเด็กได้อย่างทั่วถึง

3. ชุดการสอนมีการจัดเนื้อหาการเรียนเป็นระบบระเบียบ โดยการจัดเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่สอนเข้าเป็นส่วนๆเรียงลำดับความยากง่ายมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เด็กประสบความสำเร็จที่ละขั้นก่อน จะได้เป็นกำลังใจให้เรียนในขั้นต่อไป

หมายเลขบันทึก: 201127เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

พฤติกรรมการบันทึกจะเพิ่มมากขึ้น ถ้ามีการเสริมแรงจากคนอ่าน อันนี้ คงเข้ากับทฤษฎีนี้ใช่ป่าว คะ อิอิ ชอบเคล็ดลับหน้าใสมากเลยค่ะ

อยากเร๊ยนรู้วิชาจิตวิทยาครับ ผมคิดว่าน่าศึกษามากครับ

  • น่าสนใจ
  • ปกติใช้ทฤษฎีปฎิบัตินิยม
  • อิอิ
  • ไม่กล้าขุดเลย
  • อิอิๆๆ
  • มาใช้ในขุดการสอน
  • อิอิ
  • พี่ขจิต อ่ะ
  • แอบมาจับถูก
  • เอิ๊กๆๆๆ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

คุณเอ๊ะค่ะ แวะมาทักทาย และเป็นกำลังใจให้นะค่ะ

คิดถึงๆๆๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท